อากาศร้อนแบบซ้อมตกนรก! จะแก้เหงื่อออกเยอะ กวนใจได้ยังไงบ้าง

แชร์ต่อ
ปัญหากวนใจที่ตามมาเมื่อเหงื่อออก

เมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนของบ้านเราทีไร หลายคนคงมองหาวิธีแก้เหงื่อออกเยอะ กันจ้าละหวั่นเลยใช่ไหมล่ะ !? เพราะต่อให้อาบน้ำเสร็จเหงื่อก็ท่วมตัวในทันที ไม่มีช่องว่างให้ร่างกายได้แห้งบ้างเลย ซึ่งเราก็ได้รวบรวมวิธีแก้ปัญหาดังกล่าว พร้อมกับบอกต่อรายละเอียดต่างๆ ที่ทำให้เหงื่อออกเยอะระหว่างวัน แต่จะมีรายละเอียดที่น่าสนใจมากน้อยแค่ไหน? MrKumka จะเล่าให้ฟัง !

สาเหตุที่ควรรู้ แก้เหงื่อออกเยอะ อย่างตรงจุด

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “เหงื่อ” มีส่วนช่วยในการระบายความร้อนในร่างกาย ซึ่งถือเป็นกลไกธรรมชาติที่ร่างกายตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม และสภาพอากาศอย่างตรงไปตรงมา เพื่อรักษาอุณหภูมิในร่างกายให้อยู่ในระดับปลอดภัย และไม่เกิดอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต

หากคุณอยู่ในพื้นที่อบอ้าว หรือสถานที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 32 องศาเซลเซียส สมองจะเริ่มประมวลผลว่าคุณกำลังเผชิญหน้ากับความร้อน หลังจากนั้นจึงเริ่มกระตุ้นการทำงานของต่อมเหงื่อ เพื่อขับเหงื่อออกมาตามรูขุมขน รวมถึงลดกระบวนการเผาผลาญ เพิ่มการขยายตัวของหลอดเลือด เพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกายโดยเร็วที่สุด

อันตรายจากอากาศร้อนมาก ๆ มีอะไรบ้าง ?

เมื่ออ่านสาเหตุที่ทำให้เหงื่อออกเยอะมาแล้ว หลายคนก็มองว่ายิ่งเหงื่อออกเยอะเท่าไหร่ยิ่งดี เพราะแสดงให้เห็นว่าร่างกายกำลังปกป้องตัวเองจากอากาศที่อบอ้าว แต่คุณรู้ไหมว่า “ความร้อน” ส่งผลร้ายแรงต่อชีวิตได้ ! หากอยู่เอาตัวเองไปอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ร้อนจนเกินไป โดยเฉพาะ “โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heat Stroke)”

โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก เป็นภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส ซึ่งเกิดขึ้นร่วมกับการเปลี่ยนแปลงการรับรู้ของร่างกาย บางทีร้ายแรงถึงขั้นชักและหมดสติได้ ซึ่งภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ ได้แก่

สาเหตุที่ควรรู้ แก้เหงื่อออกเยอะอย่างตรงจุด
  • 1. โรคลมแดดจากการออกกำลังกายหนัก

    ในกรณีที่คุณออกกำลังท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อนจัด หรืออยู่ในสถานที่ที่ไม่เอื้อต่อการระบายความร้อน ยิ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโรคลมแดดสูง ส่วนใหญ่คนที่เป็นโรคลมแดดประเภทนี้ คือ ผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง หรือผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายหนัก

  • 2. โรคลมแดดทั่วไป

    โรคลมแดดทั่วไปส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว โรคร้ายแรง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจ รวมถึงผู้ที่อยู่ในภาวะที่ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่าที่ควร

แนะนำให้สังเกตความผิดปกติให้ดี เพราะหลายคนมักคิดว่าอาการดังกล่าวเป็นเพียง “ไข้ธรรมดา” เท่านั้น หากพบว่าเริ่มมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรืออาการอื่น ๆ ที่เห็นชัดแล้วว่าเป็นมากกว่าการเจ็บไข้ได้ป่วยทั่วไป ควรรีบเดินทางไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด อย่าได้คิดปล่อยทิ้งไว้เด็ดขาด ไม่อย่างนั้นอาจจะเกิดอาการที่รุนแรงมากกว่าเดิม

ปัญหากวนใจที่ตามมาเมื่อเหงื่อออก

นอกจากความร้อนที่มากเกินไปจะทำให้เกิดโรคลมแดดได้แล้ว เหงื่อที่เกิดจากความร้อน ยังส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาทั้งด้านร่างกายและจิตใจมากมาย ได้แก่

  • เกิดการหมักหมมของเหงื่อไคล ซึ่งเป็นชนวนเหตุของโรคอื่น ๆ ตามมา แต่ส่วนใหญ่จะไม่ใช่โรคที่รุนแรงสักเท่าไหร่
  • มีความเสี่ยงในการเกิดโรคผิวหนังติดเชื้อ โดยเฉพาะในกรณีที่ผิวหนังถูกทำลาย เช่น สังคังจากเชื้อราบริเวณขาหนีบ หูดจากเชื้อไวรัส หรือติดเชื้อราที่เท้า เป็นต้น
  • ผิวหนังมีกลิ่นอับ มีกลิ่นตัวแรง อันเนื่องมาจากเหงื่อที่ปะปนกับสารที่เชื้อแบคทีเรียบนผิวหนังสร้างขึ้น โดยเฉพาะบริเวณเท้า อวัยวะเพศ หรือรักแร้

ทำยังไงไม่ให้เหงื่อออก หรือแก้เหงื่อออกเยอะอย่างไร ?

แม้ว่าในปัจจุบันจะไม่มีวิธีป้องกันภาวะเหงื่อออกมาก แต่อย่างน้อยก็ยังมี “วิธีช่วยให้เหงื่อออกน้อยลง” แต่จะมีวิธีไหนบ้าง ? ไปดูกันเลย

  • อาบน้ำและฟอกสบู่ให้สะอาดเป็นประจำทุกวัน รวมถึงเช็ดตัวให้แห้งเพื่อลดการสะสมของแบคทีเรีย
  • ทาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรดแทนนิก ในบริเวณที่เหงื่อออกเยอะ
  • ใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายที่มีส่วนผสมของสารลดเหงื่อ อาทิ อะลูมิเนียมคลอไรด์ โดยสามารถทาได้ทั้งระหว่างวันหรือก่อนนอน ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยปิดต่อมเหงื่อชั่วคราว ลดกลิ่นตัวแรงได้
  • สวมใส่เสื้อผ้าที่ผลิตจากใยธรรมชาติ ที่มีคุณสมบัติในการระบายเหงื่อได้ดี
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มร้อน เช่น ชา กาแฟ นอกจากนี้ยังรวมถึงแอลกอฮอล์ หรืออาหารที่มีรสเผ็ด เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นกระตุ้นเหงื่อได้ดีมาก ๆ

ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นวิธีช่วยให้เหงื่อออกน้อยลง ที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง แต่ถ้าเหงื่อออกเยอะเกินไปจนส่งผลกระทบต่อความมั่นใจ หรือภาพลักษณ์ในตำแหน่งหน้าที่การงาน “ทางการแพทย์” สามารถรักษาปัญหานี้ได้ ! ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยคลื่นไมโครเวฟ การรักษาด้วยไออนโตฟอรีซีส การกำจัดต่อมเหงื่อด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ เป็นต้น

*หมายเหตุ: หากต้องการรักษาภาวะเหงื่อออกเยอะแบบจริงจัง แนะนำให้เข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง

" เป็นอย่างไรกันบ้าง ?"
สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับเหงื่อที่เรานำมาบอกต่อในวันนี้ เป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณมากเลยใช่ไหมล่ะ ? และอย่างที่ทราบกันดีว่า นอกจากเหงื่อที่คอยกวนใจในแต่ละวันแล้ว “ความร้อน” ยังก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงต่อชีวิตอีกด้วย คงจะดีไม่ใช่น้อยหากมี “ประกันสุขภาพ” ที่คอยแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นให้คุณทุกช่วงเวลา แถมยังให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมทุกช่วงจังหวะชีวิต

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่