เลือก ประกันชีวิตผู้สูงอายุ เพื่อคนที่คุณรักเลือกแบบไหนดีที่สุด ?

แชร์ต่อ
ประกันชีวิตผู้สูงอายุแบบไหนดี

การเลือกซื้อ ประกันชีวิตผู้สูงอายุ คือหนึ่งในวิธี “วางแผนชีวิตหลังเกษียณ” ที่หลายคนให้ความสำคัญมาก ๆ หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่สนใจ และต้องการทราบรายละเอียดต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น ต้องเลือกจากอะไร ต้องทำเมื่ออายุเท่าไหร่ MrKumka ได้รวบรวมคำตอบที่น่าสนใจ รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อการเลือกซื้อประกันมาให้เรียบร้อยแล้ว จะมีข้อมูลอะไรบ้าง ? ไปติดตามพร้อม ๆ กับเราได้เลย

ความแตกต่างระหว่าง ประกันชีวิตผู้สูงอายุ vs ประกันทั่วไป

สิ่งที่ทำให้ประกันชีวิตผู้สูงอายุ “แตกต่าง” จากประกันทั่วไป มีดังนี้

  1. ช่วงอายุที่ผู้สูงอายุสามารถทำประกันได้ จะอยู่ในช่วง 50-70 ปี จะได้รับความคุ้มครองต่อเนื่องถึง 80-90 ปี หรือตลอดชีพ โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัทประกัน
  2. “การยกเว้นไม่ต้องตรวจ หรือตอบคำถามสุขภาพ” ของประกันชีวิตผู้สูงอายุ ถูกออกแบบมาสำหรับผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มสุขภาพไม่แข็งแรง หรือไม่มีโรคประจำตัวใด ๆ แยกออกมาจากประกันทั่วไป เนื่องจากเป็น “ความเสี่ยง” ที่บริษัทประกันจะต้องแบกรับ

ประกันชีวิตผู้สูงอายุ เลือกแบบไหนดีที่สุด ?

อย่างที่เกริ่นไปในตอนแรกว่า “ประกันชีวิตคือการวางแผนชีวิตหลังเกษียณ” หากคุณมีอายุ 50 ปีขึ้นไป จะต้องเลือกประกันชีวิตแบบไหนให้ตอบโจทย์ เราลิสต์วิธีเลือกซื้อมาให้แล้ว

เลือกประกันชีวิตผู้สูงอายุเพื่อคนที่คุณรัก
  • 1. ศึกษาเงื่อนไขและรายละเอียด

    การซื้อประกันชีวิตใด ๆ ก็ตาม สิ่งที่ควรทำมากที่สุดคือการศึกษาเงื่อนไขและรายละเอียดให้ถี่ถ้วน เช่น การจ่ายเบี้ยประกันต่าง ๆ ในกรณีเจ็บป่วย เสียชีวิต หรือเมื่อครบกำหนด รวมถึงการรับผลประโยชน์ และอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อประโยชน์สูงสุดของคุณเอง นอกจากนี้ยังจะต้องศึกษาด้วยว่า “หากไม่สามารถส่งเงินได้ครบตามกำหนด” จะสามารถเวนคืนเงินประกันได้หรือไม่ หรือถ้าหากได้จะได้ในอัตราส่วนเท่าไหร่

    สำหรับเงื่อนไขการจ่ายค่าเบี้ยประกันผู้สูงอายุ จะจ่ายกรณีที่ “เสียชีวิต” เท่านั้น หากเสียชีวิตภายใน 2 ปี นับตั้งแต่ได้รับอนุมัติกรมธรรม์ บริษัทฯ จะดำเนินการจ่ายดังนี้

    • กรณีเสียชีวิตจากโรคภัยไข้เจ็บ

      จะได้รับแค่ค่าเบี้ยประกันที่จ่ายไปทั้งหมด รวมถึงเงินเพิ่มเติมประมาณ 2-5% ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทประกัน

    • กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ

      จะได้รับเงินเอาประกันเต็มจำนวน รวมค่าเบี้ยประกันผู้สูงอายุที่จ่ายไปทั้งหมด รวมถึงเงินเพิ่มเติมประมาณ 2-5% ของค่าเบี้ยที่จ่ายไปแล้ว

    ในกรณีที่เสียชีวิต “หลังจาก 2 ปี” นับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติกรมธรรม์ บริษัทประกันจะจ่ายเงินเอาประกันเต็มจำนวนทุกกรณี

  • 2. ระยะเวลาในการคุ้มครอง

    แม้ว่าการทำประกันชีวิตของผู้สูงอายุ จะครอบคลุมไปถึงอุบัติเหตุและโรคร้ายแรง แต่ก็ใช่ว่าคุณจะชะล่าใจและปล่อยผ่านรายละเอียดอื่น ๆ ได้ เพราะในประกันจะมี “ระยะเวลารอคอย” เข้ามาแทรกกลางเพิ่มเติม ที่เมื่อถึงเวลาเคลมประกันกรณีเจ็บป่วย หรือเสียชีวิต ลูกหลานหรือคนที่คุณรัก อาจได้รับแค่ “เบี้ยประกัน”​ กลับไป รวมถึงผลตอบแทนเพิ่มเติมประมาณ 2-5% เท่านั้น ไม่ใช่จำนวนทุนตามทุนประกันที่ทำไว้

    Note: ระยะเวลารอคอย คือ กำหนดการเริ่มการคุ้มครองโรคร้าย
  • 3. เลือกซื้อประกันแบบที่ต้องการ

    หลายบริษัทที่ขายประกันชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ จะมี 2 รูปแบบ คือ “แบบสะสมทรัพย์” และ “แบบคุ้มครองชีวิต” โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

    • ประกันชีวิตแบบคุ้มครองชีวิต

      บริษัทฯ จะจ่ายเงินต่อเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตเท่านั้น เว้นแต่จะมีประกันอุบัติเหตุหรือประกันสุขภาพเพิ่มเติม บริษัทจะให้ความคุ้มครองเรื่องค่ารักษา เมื่อผู้สูงอายุต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลด้วย

    • ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์

      ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เป็นประกันแบบออมเงินที่จะให้ “เงินปันผล” คืนตามสัญญาที่ระบุไว้ เช่น 5 ปี / 10 ปี หรือครบกำหนดแล้วผู้สูงอายุยังแข็งแรง ไม่ได้เสียชีวิตจะได้รับเงินตามสัญญา ในกรณีที่เสียชีวิตภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดจะได้รับ “เงินก้อน” เป็นมรดกส่งต่อให้ลูกหลานที่เป็นผู้รับผลประโยชน์

  • 4. เลือก “เบี้ยประกัน” ที่จ่ายไหว

    สิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้ไปกว่ารายละเอียดอื่น ๆ คือ “ค่าเบี้ยประกัน” คุณจะต้องพิจารณาตั้งแต่เนิ่น ๆ ว่ามีความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกัน จนครบอายุสัญญาได้หรือไม่ ซึ่งเงินในส่วนนี้จะต้องไม่กระทบต่อค่าใช้จ่ายประจำเดือนด้วย เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจจะตามมาเมื่อยามเกษียณ

  • 5. ช่วงอายุ

    ประกันผู้สูงอายุส่วนใหญ่ จะกำหนดอยู่ที่ 50-70 ปี และจะได้รับความคุ้มครองไปจนถึงอายุ 80-90 ปี หรือตลอดชีพ (ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัท) หากแบบประกันใด ๆ ที่สามารถทำสัญญาได้ก่อนอายุ 50 ปี หรือหลังอายุ 70 ปี จะถือเป็น “ประกันทั่วไป” แม้ว่าจะมีระยะเวลาคุ้มครองในช่วง 50-90 ปี ยกตัวอย่างเช่น

    • ประกันอุบัติเหตุผู้สูงอายุ ทำได้จนถึงอายุ 75 ปี
    • ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ทำได้ก่อนอายุ 50-70 ปี
    • ประกันชีวิตแบบบำนาญ ทำได้จนถึงอายุ 50 ปี
  • การทำประกันชีวิตผู้สูงอายุ ถือเป็น “ตัวช่วย” ที่ทำให้คุณมีวินัยในการเก็บเงิน และกระจายหลังเกษียณความเสี่ยงในการลงทุน รวมถึง “สร้างความมั่นใจ” ว่าจะมีอิสระทางการเงิน และคุณภาพชีวิตที่ดีในบั้นปลาย โดยเฉพาะการทำประกันชีวิตควบคู่กับประกันสุขภาพ ที่จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และยิ่งไปกว่านั้นหากเสียชีวิตยังมีมรดกตกทอดถึงลูกหลานได้อีกด้วย

สำหรับคนที่สนใจและต้องการเลือกซื้อประกันชีวิตผู้สูงอายุให้ตัวเอง หรือคนที่คุณรัก เหนือสิ่งอื่นใดคือจะต้องพิจารณารายละเอียดต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วน เพื่อให้ได้รับเบี้ยประกัน และแผนประกันที่ตอบโจทย์ สามารถวางใจและใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างไร้กังวล หากต้องการทราบหรือสอบถามรายละเอียดใด ๆ เพิ่มเติม สามารถติดต่อ MrKumka เข้ามาได้ตลอดเวลา เพราะเรายินดีมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้คุณอย่างสุดความสามารถ

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่