รู้หรือไม่ว่า ! ในประเทศไทย มะเร็งเต้านมกลายมาเป็นโรคร้ายที่พบบ่อยที่สุดในเพศหญิง เป็นอันดับ 1 ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติระบุว่าหญิงไทยป่วยเป็นมะเร็ง “รายใหม่” 13,000 คนต่อปี หรือราว ๆ 35 คนต่อวัน มากไปกว่านั้นยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปีอีกด้วย
เพื่อช่วยให้หญิงไทยห่างไกลโรคร้ายดังกล่าว MrKumka จึงจะพาคุณไปทำความรู้จัก และทำความเข้าใจการป้องกันมะเร็งเต้านม “ภัยเงียบ” ของสาว ๆ ทุกคน ซึ่งจะมีรายละเอียดเป็นอย่างไร ? ไปติดตามพร้อม ๆ กันเลย…
มะเร็งเต้านม เกิดจากอะไร ? ช่วงอายุไหนเสี่ยงมากที่สุด ?
ในปัจจุบันมะเร็งเต้านมยัง “ไม่พบสาเหตุ” ที่แน่ชัด สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน แต่จะพบ ปัจจัยเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งหลายประการที่สัมพันธ์กับการเกิดโรค ดังนี้…
- 1. เพศหญิงที่มีอายุมากขึ้น : ส่วนใหญ่มักจะพบได้มากในวัยกลางคน เฉลี่ยตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป และมีเพียงประมาณ 10% ที่พบได้ในเพศหญิงอายุต่ำกว่า 40 ปี
- 2. ฮอร์โมนเพศหญิง : สังเกตได้จากปัจจัยหลายประการ ได้แก่
- ผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ชาย 100 เท่า
- ช่วงเวลาในการมีประจำเดือน โดยเฉพาะผู้ที่มีประจำเดือนครั้งแรกตอนอายุน้อย หรือหมดประจำเดือนช้า
- ผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตร หรือตั้งครรภ์ครั้งแรกเมื่อมีอายุ มากกว่า 30 ปี
- ผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดมากกว่า 5 ปี
- 3. พฤติกรรม : มีพฤติกรรมหลายประการที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ได้แก่
- การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
- การขาดการออกกำลังกาย
- ภาวะอ้วนหลังหมดประจำเดือน
ป้องกันตัวเองอย่างไร ให้ห่างไกลจากมะเร็งเต้านม ?
สำหรับวิธีการป้องกันตัวเองให้ “ห่างไกล” จากมะเร็งเต้านม คือการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน รวมถึงเข้ารับการตรวจจากแพทย์เป็นครั้งคราว โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง แนะนำให้เข้ารับการตรวจเอกซเรย์เต้านม ปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากมะเร็งเต้านมยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด ดังนั้นการป้องกันมะเร็งเต้านมอย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงเป็นเรื่องที่ทำได้ค่อนข้างยาก
วิธีตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง ด้วยการ “คลำ” เต้านม
สำหรับการคลำเต้านมเพื่อตรวจมะเร็งด้วยตัวเอง สามารถทำได้ทั้งท่ายืนและท่านอน หากเป็นท่ายืน ให้ยกแขนทั้ง 2 ข้างเหนือศีรษะ และท่านอน ให้นอนหงายหนุนหมอนเตี้ย ใช้ผ้าหนุนไหล่ และยกแขนข้างที่จะตรวจไว้เหนือศีรษะ หลังจากนั้นใช้ปลายนิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง ค่อย ๆ กดลงบนผิวหนังเบา ๆ และกดแรงขึ้นจนสัมผัสกระดูกซี่โครง
ไม่ว่าคุณจะเสี่ยงหรือไม่ก็ตาม หากพบถึงความผิดปกติก็ไม่ควรสรุปเอาเอง ว่าใช่หรือไม่ใช่โรคมะเร็งเต้านม ทางที่ดีแนะนำให้พบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมจะดีกว่า แต่ถ้าคุณกังวลในเรื่องค่าใช้จ่าย รวมถึงค่ารักษาพยาบาลอยู่ล่ะก็ MrKumka ช่วยคุณได้ ! แถมไม่ต้องใช้งบมากอย่างที่คิด เพราะบางแผนประกันเริ่มต้นเพียง 500 บาทเท่านั้น เปรียบเทียบประกันมะเร็งออนไลน์ได้แล้ววันนี้ คลิกเลย ! MrKumka.com