เคยเป็นไหม ? อาการแบบว่า กินจุกจิก หิวตลอดเวลา กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม เพิ่งกินไปเมื่อกี้ ผ่านมาไม่กี่นาทีอยากหาอะไรกินอีกแล้ว หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่มีอาการนี้ แล้วกำลังเกิดความสงสัยว่า “หิวบ่อยปกติไหม” เกิดจากอะไร และเสี่ยงเป็น ‘โรคร้าย’ หรือไม่ มิสเตอร์ คุ้มค่า จะพาคุณไปเจาะลึกประเด็นนี้ให้มากยิ่งขึ้น พร้อมบอกต่อวิธีแก้ซึ่งจะมีอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลย
สาเหตุอะไรที่ทำให้ หิวตลอดเวลา กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม ?
หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่มีอาการ หิวบ่อย อยากกินอะไรก็ไม่รู้อยู่ตลอดเวลา เรามาดู ‘สาเหตุ’ ที่ทำให้คุณรู้สึกแบบนี้กันก่อนดีกว่า โดยหลัก ๆ แล้วมีทั้งหมด 6 สาเหตุดังนี้
- ความเคยชิน เพราะปกติกินจุกจิกทุก 1 ชั่วโมง
- ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
- ฮอร์โมนเลปติน (Leptin) หรือ ‘ฮอร์โมนควบคุมความหิว’ ไม่สมดุล
- ปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น ตั้งครรภ์, อาการ PMS หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ
- ความเศร้า ความเครียด จึงเลือกใช้ ‘อาหาร’ บำบัด
- การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากอาหารบางประเภททำให้หิวเร็วขึ้น
เมื่อพอจะรู้สาเหตุที่ทำให้รู้สึกหิวบ่อย หิวเร็วคร่าว ๆ แล้ว ลำดับต่อมาเรามา “เช็กสัญญาณอันตราย” กันต่อเลยดีกว่า ว่าอาการหิวที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ จะนำพา ‘โรคร้าย’ มาให้คุณหรือเปล่า ถ้าพร้อมแล้วไปเช็กพร้อม ๆ กับเราได้เลย
อาการหิวบ่อย ที่เกิดจาก “ความผิดปกติของร่างกาย”
อาการ หิวเร็ว ที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกาย ถือเป็น 1 ใน “ความเสี่ยง” ต่อการเป็นโรคร้ายแบบไม่รู้ตัว ซึ่งจะมีโรคอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
โรคเบาหวาน
เนื่องจากร่างกายของคนเรามี “กลไก” ในการเปลี่ยนน้ำตาลในเลือกให้กลายเป็นกลูโคส เพื่อใช้เป็นพลังงานให้กับเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย แต่สำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน จะไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ ทำให้เกิดการ “สะสม” ของน้ำตาลในเลือดค่อนข้างสูง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาหารหิวบ่อย เพราะร่างกายต้องการแหล่งพลังงานเข้าสู่ร่างกาย
นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น กระหายน้ำมากผิดปกติ, ปัสสาวะบ่อย, น้ำหนักลดหรือเพิ่มผิดปกติ ฯลฯ แนะนำว่าควรหมั่นเช็กความผิดปกติของร่างกายให้ดี เพื่อที่คุณจะได้เข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที
ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์
“ไทรอยด์” เป็นต่อมที่มีลักษณะคล้ายกับผีเสื้อ มีหน้าที่ในการควบคุมระบบเมตาบอลิซึมของร่างกาย และการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ให้เป็นไปตามปกติ แต่ถ้าหาก “ต่อไทรอยด์ผิดปกติ” ทำให้เกิดอาการหิวบ่อย เป็นเพราะโรคเกรวฟส์ หรือ “ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน” นอกจากนี้ยังเกิดอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เหงื่อออกง่าย, เหนื่อยง่าย, คอบวม, หัวใจเต้นเร็ว ฯลฯ หากพบว่าตัวเองหิวบ่อย พร้อมกับมีอาการอื่น ๆ เมื่อข้างต้นร่วมด้วย แนะนำว่าควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป
วิธีแก้หิวบ่อย หิวตลอดเวลา กินไม่รู้จักอิ่ม
สำหรับคนที่เผชิญหน้ากับอาการกินจุกจิก หิวตลอดเวลา กินเท่าไหร่ไม่รู้จักอิ่ม บอกเลยว่าถ้าไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายแรง เสี่ยงเป็น “โรคอ้วน” แน่นอน แนะนำให้ทำตามวิธีดังต่อไปนี้ เพื่อแก้ปัญหาเบื้องต้นกันก่อนดีกว่า
-
1. ปรับเปลี่ยนการทานอาหาร
แนะนำว่าควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และควร “หลีกเลี่ยง” อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวสูงเกินไป ไม่ว่าจะเป็นขนมปังขัดขาว ข้าวขาว อาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง นอกจากนี้ยังรวมถึงการกิน “ไข่ดิบ” ด้วย
ควรเน้น “อาหารคลีน” หรืออาหารที่ผ่านการคัดสรรมาเป็นอย่างดี เพื่อให้อาหารช่วยเพิ่มโปรตีนและไขมันดี รวมถึงเพิ่มสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยลดการตกค้างของเสียให้น้อยลง เพียงเท่านี้จะช่วยลดความหิวลงได้บ้างแล้ว
-
2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไลฟ์สไตล์
หากคุณมีวิถีชีวิตที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และกลับมาใช้ชีวิตตามปกติโดยเร็วที่สุด เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ภายใน 6-8 ชั่วโมง, ออกกำลังกายเบา ๆ และดื่มน้ำเริ่มต้นวันละ 1 แก้ว เพื่อให้ร่างกายเกิดความรู้สึกสดชื่น และกระฉับกระเฉงตลอดทั้งวัน
นอกจากนี้ยังควรทานอาหารที่มี “ไฟเบอร์สูง” หลีกเลี่ยงขนมหวานและอาหารที่มีน้ำตาลสูง พร้อมกับเคลื่อนไหวร่างกายตลอดเวลา เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว ไม่เครียด และลดปัญหาการทานอาหารที่ผิดปกติได้ในที่สุด
-
3. ปรึกษาแพทย์
ในกรณีที่พยายามปรับเปลี่ยนทั้งการทานอาหาร และพฤติกรรมมาสักระยะหนึ่งแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาให้หายขาดได้ การ “ปรึกษาแพทย์” จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะถ้าหากปล่อยปัญหานี้ไว้นาน อาจส่งผลเสียให้กับร่างกายต่อไปเรื่อย ๆ คงจะดีไม่ใช่น้อยหากคุณได้รับคำปรึกษา และรู้วิธีแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง
เป็นยังไงกันบ้าง ? สำหรับอาการ “หิวบ่อย หิวเร็ว และหิวตลอดเวลา กินเท่าไรก็ไม่อิ่ม” ที่เรานำมาบอกต่อในวันนี้ หากมองเผิน ๆ ดูเป็นเรื่องปกติของคนกินเก่ง แต่ถ้าหากมองเข้าไปให้ลึกกว่านั้น อาจพบความเสี่ยงที่จะส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไม่รู้จบ โดยเฉพาะ “โรคร้ายแรง” ต่าง ๆ แนะนำว่าควรเช็กความผิดปกติของร่างกายให้ดี หากสอดคล้องกับโรคร้ายใด ๆ ก็ตาม แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัย และเข้ารับการรักษาตามขั้นตอนต่อไป