คนวัย 30 อัพ อยากใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างไร ? มี เงินออมวัยเกษียณ หรือไม่ ? เชื่อว่าทุกคนมีภาพในหัวว่าอยากใช้ชีวิตวัยเกษียณสบาย ๆ มีสุขภาพที่ดี และมีเวลาว่างสำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ให้ความสุขกับชีวิตของตัวเอง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการใช้ชีวิตในวัยเกษียณอย่างมีความสุข ต้องเป็นแบบไหน ? หากคำตอบไปพร้อม ๆ กันได้เลย !
30 เคล็ดลับสร้าง เงินออมวัยเกษียณ สำหรับคนวัย 30++
หากคุณวาดฝันไว้ว่าอยากใช้ชีวิตในวัยเกษียณอย่างมีความสุข อันดับแรกจำเป็นจะต้องมีการวางแผนการเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น แต่เป็นเรื่องน่าเสียดายที่หลายคนยังเข้าใจว่า “การเตรียมความพร้อมสำหรับการเกษียณ เป็นเรื่องของคนอายุมาก” แต่อันที่จริงแล้วการวางแผนใด ๆ ก็ตาม จะต้องวางแผนล่วงหน้าในระยะยาว เรียกได้ว่าตั้งแต่เริ่มทำงานเลยก็ว่าได้ ซึ่งเคล็ดลับดี ๆ ที่เรานำมาบอกต่อมีทั้งหมด 30 ข้อ ดังนี้
- กำหนดอายุที่ต้องการเกษียณ - เพื่อดูว่าคุณมีเวลาเตรียมตัวและเตรียมเงินมากน้อยเท่าไหร่
- ตั้งเป้าหมายและไลฟ์สไตล์หลังเกษียณ - เพื่อประเมินว่าคุณมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนเท่าไหร่
- ประมาณอายุขัยหรืออายุที่คาดว่าจะเสียชีวิต - เพื่อให้รู้ว่าคุณจะต้องใช้เงินหลังเกษียณกี่ปี
- บริหารรายจ่าย - เพราะเมื่อเกษียณคุณอาจมีรายรับที่ไม่แน่นอน แม้ว่าจะได้รับเงินบำนาญหรือสวัสดิการจากภาครัฐก็ตาม แนะนำให้จดบันทึกรายรับรายจ่าย เพื่อให้รู้ว่ามีรายได้เท่าไหร่ มาจากทางไหนบ้าง รวมถึงรู้พฤติกรรมการใช้เงินของตัวเอง เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง
- ลดภาระหนี้สิน - ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรทำให้เรียบร้อยก่อนเกษียณ ดังนั้นก่อนเกษียณสัก 5 ปี ต้องเริ่มสำรวจหนี้สินได้แล้ว รวมถึงวางแผนภารกิจพิชิตหนี้ ด้วยการตั้งเป้าหมายปลดหนี้ให้หมดก่อนเกษียณ
- จัดการหนี้เสร็จต้องเริ่มออม - หลายคนมองว่าใช้หนี้หมดชีวิตก็เป็นอิสระ สบาย ใช้เงินมากเท่าไหร่ก็ได้ ซึ่งเป็นความคิดที่อาจส่งผลกระทบต่อเส้นทางการเงินในวัยเกษียณได้ แนะนำให้นำเงินที่เคยจ่ายหนี้เปลี่ยนมาเป็นเงินออม ซึ่งวิธีนี้จะช่วยเพิ่มวินัยในการออมเงินมากขึ้น
- คำนวณเงินออมที่ยังขาดอยู่ - ให้ทำการเปรียบเทียบเงินออมที่มีอยู่ และเงินที่ต้องใช้ในยามเกษียณ หากพบว่าเงินที่ออมไว้ยังห่างจากเป้าหมายที่วางไว้ ควรเร่งวางแผนเพื่อให้มีเงินออมมากขึ้น
- ทบทวนเป้าหมายอยู่เสมอ - เพื่อตรวจสอบว่าคุณใช้เงินตามแบบแผนที่วางไว้หรือไม่ ต้องเพิ่มรายได้หรือลดค่าใช้จ่ายอย่างไร รวมถึงต้องบริหารเงินออม-เงินลงทุนในทิศทางไหน เพื่อประเมินและปรับเปลี่ยนแผนการออมให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
- วางแผนและสำรองค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ - ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมักเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี โดยเฉพาะปีท้าย ๆ ของการเกษียณจะยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว หากในตอนนี้อายุยังน้อย แนะนำให้วางแผนหรือสำรองค่าใช้จ่ายด้านรักษาพยาบาล เช่น ทำประกันสุขภาพ ประกันโรคร้ายแรง เป็นต้น
- ติดตามผลลัพธ์ทุก 6 เดือน - กรณีที่คุณทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายสม่ำเสมอ รู้วิธีเคลียร์หนี้อย่างถูกต้อง รวมถึงมีวินัยทางการเงินอย่างต่อเนื่อง แนะนำให้ติดตามผลลัพธ์ทุก ๆ 6 เดือน เพื่อให้คุณรู้ว่าต้องปรับแผนไปในทิศทางไหน เพื่อทำให้เงินของคุณมีเพียงพอในวัยเกษียณ
- หาแนวทางต่อยอดเงิน - นับเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้คุณเกษียณได้เร็ว และไปพร้อม ๆ กับการสร้างวินัยทางการเงิน ด้วยการเลือกลงทุนในกองทุน หุ้น ทองคำ หรือสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ แต่อย่าลืมว่าทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อน
- บริหารพอร์ตลงทุน - ต้องอธิบายก่อนว่าจุดประสงค์ของการจัดสรรเงินก้อนสุดท้าย มี 2 ประเภท คือ เพื่อให้มีเงินเกษียณเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน และเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในอนาคตที่ “คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากเงินเฟ้อ”
- ซื้อประกันสะสมทรัพย์ - เป็นหนึ่งในแนวทางการออมเงินอย่างมีวินัย เนื่องจากให้ความมั่นคง ความคุ้มครองชีวิต แถมยังให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า และนำไปลดหย่อนภาษีรายปีตามเงื่อนไข ซึ่งประกันสะสมทรัพย์ในปัจจุบันมีหลายแบบ แนะนำให้พิจารณาเลือกประกันที่เข้ากับไลฟ์สไตล์มากที่สุด
- ฝากเงินไว้กับบัญชีเงินฝากประจำ แล้วไม่ต้องถอนออก - สำหรับคนที่มั่นใจว่าตัวเองมีเงินเพียงพอที่จะแยกเก็บเท่า ๆ กันทุกเดือน แนะนำให้ลองเปิดบัญชีเงินฝากประจำ จากนั้นให้ทำการฝากต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ เนื่องจากดอกเบี้ยของบัญชีประเภทนี้ “สูงกว่า” แบบออมทรัพย์ทั่วไป
- กองทุนรวมเพื่อการออม - เป็นหนึ่งในกองทุนที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการออกระยะยาว โดยรัฐให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เหมาะสำหรับวัยทำงานที่มีรายได้ทั้งปีถึงเกณฑ์เสียภาษี และกำลังวางแผนเกษียณอายุ โดยเงินที่จ่ายค่าซื้อหน่วยลงทุนจะได้รับยกเว้น ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ - นับเป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่ส่งเสริมการออมในระยะยาวเช่นเดียวกัน ซึ่งจะต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปีหรือปีเว้นปี จนถึงอายุ 55 ปี โดยกองทุนมีนโยบายลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย เช่น หุ้น ตราสารหนี้ หรือทองคำ
- ฉลาดซื้อ - รู้จักเลือกซื้อเฉพาะสิ่งของที่จำเป็น คุ้มค่า และคุ้มประโยชน์ใช้งาน
- ฉลาดใช้ - รู้จักใช้จ่ายอย่างวิธีประหยัด รักษาสิ่งของต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม รวมถึงใช้ชีวิตอย่างเหมาะสมทั้งกายและใจ ระวังไม่ให้เจ็บไข้ได้ป่วย
- กำหนดเป้าหมายแล้วทำให้ได้ - เช่น กำหนดจำนวนเงินที่จะออกภายใน 1 ปี จากนั้นกำหนดเป้าหมายระยะสั้น อาทิ 1 เดือน, 3 เดือน, 6 เดือน และ 9 เดือน เพราะถ้าหากคุณกำหนดเวลานานเกินไป อาจทำให้ประมาทและลืมเป้าหมายได้
- ติดตามข่าวเศรษฐกิจ - รวมถึงสถานการณ์การการเมือง เพราะทุกสิ่งอย่างล้วนเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงควรติดตามข่าวสารเรื่องอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เพื่อใช้ในการตัดสินใจออกเงินให้ดียิ่งขึ้น
- คำนวณส่วนต่าง - ระหว่างความต้องการใช้เงินกับออมเงินเพื่อการเกษียณ เพื่อใช้ในการวางแผนออมเงินเพิ่มเติม เพื่อให้พอใช้ในยามเกษียณ
- เก็บแบงค์ 50 - นับเป็นวิธีออมเงินที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย มีข้อดีคือเป็นวิธีเก็บเงินที่ง่าย สามารถทำได้ทันที และยังถือเป็นจำนวนที่ไม่มากและไม่น้อยเกินไป
- เก็บเหรียญ - ไม่ว่าจะซื้อของหรืออะไรก็ตาม เมื่อได้รับเงินทอนเป็นเหรียญ แนะนำให้หยอดใส่กระปุกก่อนเข้านอน เก็บสะสมทีละเล็กทีละน้อย หรือทยอยทุบไปฝากบัญชีออมทรัพย์ทุกเดือนก็ได้
- เก็บเงินตามปฏิทิน - ใน 1 ปี มีทั้งหมด 365 วัน ให้คุณทำการออมเงินทบไปเรื่อย ๆ จากเริ่มวันละ 1 บาท จนครบ 365 วัน ด้วยการทำตารางขึ้นมาแล้วเก็บตามตัวเลขในปฏิทินได้เลย แม้ว่าจะต้องออมเยอะจนแทบจะเป็นลม แต่เมื่อนับดูดี ๆ แล้ว ใน 1 ปี คุณจะมีเงินเก็บทั้งหมด 66,795 บาท
- สร้างเงื่อนไขให้กับตัวเอง - เช่น ถ้าพูดคำหยาบ 1 คำ ต้องเก็บเงินคำละ 10 บาท หรือถ้าน้ำหนักขึ้น 1 ขีด ต้องเก็บเงินขีดละ 20 บาท เป็นต้น
- กำหนดงบที่ใช้ในแต่ละวันให้แน่นอน - หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าบ้าน ค่าสาธารณูปโภค และอื่น ๆ ให้ลองกำหนดงบให้ตัวเองดูว่าใน 1 วัน จำเป็นต้องใช้เงินเท่าไหร่ แล้วให้ใช้เงินตามงบต่อวันนั้น ๆ ส่วนที่เหลือก็นำมาหยอดกระปุกเอาไว้ ทำให้คุณมีวิธีประหยัดเงินที่ดีด้วย
- กองทุนการออมแห่งชาติ - เป็นหน่วยงานที่รัฐจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็น “กองทุนกลาง” สำหรับสนับสนุนการสะสมเงินเพื่อชีวิตวัยเกษียณของ “คนไทยที่ประกอบอาชีพอิสระ” สามารถเข้าถึงสวัสดิการแห่งรัฐได้ทั่วถึง และสร้างเงินบำนาญโดยสมัครใจ
- คิดวิธีหาเงินตอนเกษียณเผื่อไว้ด้วย - ถึงแม้ว่าคุณจะมีเงินออมเป็นล้าน แต่ถ้าต้องมีค่าใช้จ่ายทุกเดือนโดยไม่มีรายรับเข้ามา ก็อาจจะทำให้เงินออมเหล่านั้นร่อยหรอลงไปเรื่อย ๆ ดังนั้นควรหาวิธีหารายได้เข้ามาในตอนเกษียณด้วยก็ได้ เช่น การปล่อยเช่าคอนโด เช่าบ้าน หรือเปิดร้านขายของ เป็นต้น
- สร้างเงินเย็น ด้วยการลงทุนอสังหาฯ - ไม่ว่าจะเป็นคอนโด ทาวน์เฮาส์ ทาวโฮมส์แบบระยะยาว ทั้งแบบซื้อเพื่อเก็งกำไร หรือปล่อยเช่าเก็บเงินกินจาก Rental Yield (อัตราผลตอบแทนจากการปล่อยเช่าระยะยาว)
- ประกันแบบบำนาญ - ช่วยให้คุณมีรายได้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องจนเสียชีวิต ซึ่งคุณจะต้องออมเงินด้วยการชำระค่าเบี้ยประกันตามระยะเวลาที่ระบบ และจะได้รับเงินเป็นรายงวดนับตั้งแต่วันที่เกษียณไปจนถึงอายุสูงสุดที่กรมธรรม์ได้กำหนดไว้
การเตรียมตัวและเตรียมออมเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณ ของคนที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปี แม้จะไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายซะทีเดียว เพราะคุณจะต้องมีวินัยวางแผนการเงินเป็นอย่างมาก เพื่อให้การออมเงินของคุณเป็นไปตามแบบแผนที่วางไว้ หรือถ้าหากกังวลในเรื่องโรคร้ายต่าง ๆ MrKumka มีประกันมะเร็งเจอจ่ายจบและคุ้มครองค่ารักษา จากบริษัทประกันชั้นนำ เพิ่มสภาพคล่องและความอุ่นใจในการต่อสู้กับโรคร้ายได้เป็นอย่างดี เปรียบเทียบประกันมะเร็งออนไลน์ได้แล้ววันนี้ คลิกเลย