“การแต่งงาน” ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เป็นพิธีกรรมที่ต้องมีการพูดคุยและวางแผนแต่งงาน โดยเฉพาะเรื่อง งบแต่งงาน ด้วย “งบ” ที่กำหนดเอาไว้ ยังต้องได้ภาพงานแต่งออกมาที่ตรงใจมากที่สุดด้วย
เพื่อไม่ให้เลยเถิดเป็น “ปัญหาหลังแต่ง” ว่าด้วยเรื่องงบงานแต่งที่ต้องวางแผนเพื่อไม่ให้ตามมาเป็นปัญหากับชีวิตคู่แต่งงานภายหลัง MrKumka ได้รวบรวมวิธีการควบคุมงบประมาณคร่าว ๆ มาให้ ข้อมูลจะตอบโจทย์คู่บ่าวสาวแค่ไหน ? ตามไปดูกันเลย
7 เคล็ดลับวาง งบแต่งงาน ไม่ให้บานปลาย
จัดงานแต่งงานทั้งที พิธีการที่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นบ่อย ๆ สำหรับหลาย ๆ คน ควรเป็นงานที่สวยงามและน่าประทับใจมากที่สุด บางครั้งอาจแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง จนถึงขั้นบานปลายได้เลย แต่ไม่ต้องกังวล เพราะเรามีเคล็ดลับวางแผนงบแต่งงานง่าย ๆ ที่ช่วยให้คุณ “ประหยัด” ได้เป็นกอง จะมีเคล็ดลับอะไรบ้าง ไปดูกัน !
กำหนดงบประมาณเบื้องต้น
ขั้นตอนแรกที่ควรทำมากที่สุดคือ “กำหนดงบประมาณเบื้องต้น” ในส่วนต่าง ๆ และห้ามเปลี่ยนทีหลังเด็ดขาด อย่าได้คิดว่า “เพิ่มอีกหน่อยคงไม่เป็นไร” จนเผลอลืมงบที่ตั้งเอาไว้แล้ว จนส่งผลให้งบบานปลายแบบไม่รู้ตัว
ให้ความสำคัญกับ “สิ่งสำคัญ” ก่อน
“สิ่งสำคัญ” ในงานแต่งของหลาย ๆ คนอาจไม่เหมือนกัน บางคนให้ความสำคัญกับชุดแต่งงาน บางคนให้ความสำคัญกับดอกไม้หรืออาหาร ควรลิสต์สิ่งที่สำคัญที่สุดออกมาก่อน แล้วดูว่าสามารถปรับลดตรงไหนได้บ้าง การปรับลดในส่วนนี้จะต้องไม่ “ฝืน” หรือสร้างความผิดใจระหว่างคู่บ่าวสาวด้วยล่ะ อย่ามองข้ามในส่วนนี้ และแน่นอน อีกสิ่งที่สำคัญคือการออมเงินให้เพียงพอ
จัดงานในช่วง low season
หากคุณเป็นคู่รักที่ไม่ได้ยึดติดในเรื่อง “ฤกษ์แต่งงาน” การจัดงานแต่งในช่วง low season ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ และช่วยให้คุณควบคุมงบแต่งงานได้เป็นอย่างดี ไม่ต้องวุ่นวายกันการจองสถานที่ และหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่อาจตามมา ถ้าจะให้ดีแนะนำให้เลือกจัดงานในวันธรรมดาหรือวันอาทิตย์
จัดแจงงบแต่ละส่วนอย่างละเอียด
หลังจากวางแผนคร่าว ๆ แล้วว่าจะจัดแบบไหน ขนาดเท่าไหร่ และช่วงใด ลำดับต่อมาคือการ “จัดแจงงบแต่ละส่วนอย่างละเอียด” เช่น เชฟ นักออกแบบ นักจัดดอกไม้ ฯลฯ แต่ละตำแหน่งควรกำหนดงบประมาณในแต่ละส่วนตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเงินในบัญชีของคุณ
กำหนดจำนวนแขกอย่างชัดเจน
การกำหนดจำนวนแขกอย่างชัดเจน จะช่วยให้คุณวางแผนงบแต่งงานได้ง่ายขึ้น เพราะจำนวนแขกที่มาร่วมงาน ส่งผลต่อ “ค่าใช้จ่าย” ที่เกิดขึ้นยังไงล่ะ ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ค่าของชำร่วย และที่นั่ง เป็นต้น
จ้าง Wedding Planner
“การว่าจ้าง” คำคำนี้ไม่ว่าคิดจะมุมไหนล้วนต้องมีค่าใช้จ่ายตามมาทั้งนั้น โดยเฉพาะการว่าจ้าง Wedding Planner ที่อาจดูเหมือนว่าต้องมีค่าใช้จ่ายสูงมาก แต่อย่าลืมว่านักวางแผนงานแต่งมี “ความเชี่ยวชาญ” ในการจัดทำงบประมาณมาก พวกเขารู้วิธีลดค่าใช้จ่ายและควบคุมให้อยู่ในงบที่คุณต้องการได้ นอกจากนี้พวกเขายังมีคอนเนคชั่นกับธุรกิจอื่น ๆ อีกมากมาย สามารถหาผู้ให้บริการที่ให้ “ราคาที่เป็นมิตร” ได้อย่างแน่นอน
ตรวจสอบสัญญาอีกครั้ง
กรณีที่จ้าง Organizer หรือใด ๆ ก็ตาม ก่อนที่จะจรดปลายปากกาเซ็นสัญญา แนะนำว่าควรอ่านให้ละเอียดถี่ถ้วนพร้อมกับตรวจสอบให้แน่ใจว่าค่าใช้จ่ายทั้งหมดรวมอยู่ในสัญญาแล้ว ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมตามมา
ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าธรรมเนียม ฯลฯ หากไม่มั่นใจในรายละเอียดส่วนไหน ควรถามเพื่อความชัวร์จะดีที่สุด
ทั้งหมดนี้คือเคล็ดลับในการควบคุมงบงานแต่ง ที่ช่วยให้งบของคุณไม่บานปลายได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ “ใจ” ของคู่บ่าวสาวด้วยว่า จะสามารถหักห้ามใจเรื่อง “เพิ่มอีกนิด แต่งอีกหน่อย” ได้หรือเปล่า หากสามารถหักห้ามใจได้แล้วล่ะก็ ไม่ต้องมานั่งกังวลเรื่องงบบานปลายเลยล่ะ
ข้อดี-ข้อสังเกต เมื่อจัดงานแต่งเอง vs จ้าง Organizer
หากต้องการให้งานแต่งออกมาสวยสมใจ การจ้าง Organizer ดูจะเป็นตัวเลือกที่ดีมาก ๆ แต่ก่อนอื่นเรามาดูข้อดีและข้อสังเกตของการจัดงานเอง vs จ้าง Organizer กันก่อนดีกว่า เพื่อให้การตัดสินใจของคุณราบรื่นมากที่สุด
ข้อดี-ข้อสังเกต ของการจัดงานแต่งเอง
ข้อดี
- งานแต่งงานออกมาอย่างที่ตั้งใจไว้
- ไม่ต้องคุยหรือดีลกับนักวางแผน และไม่ต้องกังวลว่าจะโดนเทงาน หรือแคนเซิลงานกลางทาง
ข้อสังเกต
- ควบคุมงบแต่งงานได้ค่อนข้างยาก
- ต้องคุยกับหลายฝ่าย เช่น เจ้าของสถานที่ ช่างภาพ ร้านอาหาร เป็นต้น
ข้อดี-ข้อสังเกต ต้องรู้ก่อนจ้าง Organizer งานแต่ง
ข้อดี
- การควบคุมงบประมาณ สามารถทำได้ เช่น 50,000 บาท หรือ 150,000 บาท
- ทาง Organizer งานแต่งจะเตรียมงานให้ทั้งหมด เช่น สถานที่ อุปกรณ์ตกแต่งภายในงาน ดอกไม้ ของชำร่วย อาหาร วงดนตรี ฯลฯ
ข้อสังเกต
- ต้องดีลกับ Organizer ด้วยตัวเอง
- เสี่ยงต่อการโดนเทงาน ทำให้งานออกมาไม่สมบูรณ์แบบตามที่ตกลงไว้
ข้อดีและข้อสังเกตของการจัดงานแต่งเอง vs จ้าง Organizer ที่เรานำมาบอกต่อเมื่อข้างต้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและการตัดสินใจของคู่บ่าวสาวเป็นสำคัญ ดังนั้นลองชั่งน้ำหนักให้ดี หากไม่อยากเหนื่อยเกินไป และมีงบประมาณมากพอ การจ้าง Organizer อาจจะเป็นตัวเลือกที่ช่วย “ทุ่นแรง” ที่ดีมาก ๆ แนะนำว่าให้คุณกันให้เคลียร์ก่อนวางแผนขั้นถัดไป
การแต่งงานไม่ใช่แค่การเตรียมสินสอดทองหมั้นเพียงอย่างเท่านั้น แต่ยังต้องมีการวางแผนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มากมาย เช่น ค่าสถานที่ ค่าอาหาร ค่าของชำร่วย ค่าชุดเจ้าบ่าว-เจ้าสาว และอีกมากมาย หากไม่อยากให้งบบานปลาย ควรพูดคุยถึง “ความต้องการ” ของทั้งคู่ให้ดีตั้งแต่ต้น เพื่อป้องกันปัญหาหลังแต่งที่อาจตามมาสร้างความเคืองใจได้