ทํางานฟรีแลนซ์ จดทะเบียนบริษัทได้ไหมนะ ?

แชร์ต่อ
ทํางานฟรีแลนซ์ จดทะเบียนบริษัทได้ไหมนะ ?

หนึ่งในประเด็นที่กลุ่มคน ทํางานฟรีแลนซ์ ตั้งคำถามบ่อย ๆ ว่า ถ้าหากในอนาคตต้องการขยับขยาย ให้เส้นทางอาชีพของตัวเองมั่นคงมากขึ้น สามารถจดทะเบียนนิติบุคคลได้ไหม ? ต้องทำอย่างไร MrKumka ได้รวบรวมประเด็นที่น่าสนใจมาให้เรียบร้อยแล้ว ไปดูกันเลย

ไขข้อสงสัยทํางานฟรีแลนซ์จดทะเบียนบริษัทได้ไหม ?

ใคร ๆ ก็ต้องการความก้าวหน้า และความมั่นคงในชีวิตกันทั้งนั้น แต่การที่คุณอยู่ในสายอาชีพฟรีแลนซ์ และต้องการจดทะเบียนบริษัท และเกิดความสงสัยว่าต้องจ้างทำบัญชีฟรีแลนซ์หรือเปล่า ?

ก่อนอื่นต้องสำรวจก่อนว่างานที่ทำอยู่มีรายได้มากน้อยแค่ไหน รวมถึงมีแนวโน้มในการขยับขยายเพิ่มเติมหรือไม่ หากคุณพอใจในหน้าที่การงานตอนนี้อยู่แล้ว และยังไม่มีแนวโน้มที่จะต่อยอดเส้นทางอาชีพของตัวเอง ก็ไม่มีความจำเป็นต้องจ้างทำบัญชีฟรีแลนซ์แต่อย่างใด

แต่ในกรณีที่งานที่ทำอยู่ มีงานเข้ามาเรื่อย ๆ จนไม่สามารถจัดการได้ด้วยตัวเอง ทั้งในด้านการทำงานก็ดี หรือการจัดการบัญชีก็ดี แนะนำให้จดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล เพื่อเข้าสู่ระบบบัญชีภาษี รวมถึงใช้บริการตรวจสอบบัญชีตามที่กฎหมายกำหนด

เหตุผลที่ควรจดทะเบียนนิติบุคคล

สำหรับบางคนก็อยากให้ “ฟรีแลนซ์” เป็นฟรีแลนซ์แบบสุดโต่ง ไม่ต้องการจดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคลให้วุ่นวาย ทั้งในเรื่องภาษี หรือเรื่องกฎเกณฑ์ใด ๆ ตามกฎหมาย แต่คุณรู้ไหมว่า ? การจดทะเบียนนิติบุคคล นอกจากจะช่วยสร้างความมั่นคง และการเจริญเติบโตให้กับหน้าที่การงานได้แล้ว ยังช่วยในเรื่องของ “ภาษี” ได้มาก ๆ เลยล่ะ

ในกรณีที่คุณประเมินแล้วว่าต้องเสียภาษีมากกว่า 20% การจดทะเบียนบริษัทจะช่วยให้คุณประหยัดภาษีได้เป็นอย่างดี เนื่องจากนิติบุคคลจะคำนวณภาษีจากกำไรสุทธิ อัตราสูงสุด 20% และได้ยกเว้นภาษี 3 แสนบาทแรกด้วย

เปรียบเทียบอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา vs อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล SME
เงินได้สุทธิ/กำไรสุทธิ อัตราภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา อัตราภาษีเงินได้ นิติบุคคล (SME)
150,001 - 300,000 5% ได้รับการยกเว้น
300,001 - 500,000 10% 15%
500,001 - 750,000 15% 15%
750,001 - 1,000,000 20% 15%
1,000,001 - 2,000,000 25% 15%
2,000,001 - 3,000,000 30% 15%
3,000,001 - 5,000,000 30% 20%
5,000,001 ขึ้นไป 35% 20%

ข้อดีของการจดทะเบียนนิติบุคคล มีอะไรอีกบ้าง ?

ในกรณีที่ต้องการผลประโยชน์มากกว่าในเรื่องของภาษี และความเจริญก้าวหน้า การจดทะเบียนนิติบุคคลยังมีข้อดีอีกมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องของ “ความน่าเชื่อถือ” สำหรับฟรีแลนซ์ที่รับงานมานานหลายปี มีคอนเนคชั่นมากมาย และมีแนวโน้มว่าจะมีงานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ขาดสาย การสร้างความน่าเชื่อถือด้วยการจดทะเบียนนิติบุคคล ถือเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีมาก ๆ

นอกจากนี้ยังมีโอกาสขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าบุคคลธรรมดา แต่ต้องให้ความสำคัญในด้านเอกสารให้มาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นใบเสนอราคา ใบเสร็จรับเงิน กรณีจด VAT ก็ควรมีใบกำกับภาษีด้วย ซึ่งจะต้องมีความน่าเชื่อถือ และในขณะที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว การออกเอกสารต่าง ๆ สามารถได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

ควรจดทะเบียนบริษัทด้วยทุนเท่าไหร่ ?

ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท

หากคุณประเมินรายรับ-รายจ่าย ภาระงาน และปัจจัยอื่น ๆ เป็นอย่างดีแล้ว รวมถึงตัดสินใจแล้วว่าจะจดทะเบียนบริษัท อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญและควรรู้เอาไว้ คือ “ทุนจดทะเบียน” โดยตามหลักกฎหมายแล้วทุนในการจดทะเบียนบริษัท ขั้นต่ำอยู่ที่ 15 บาท แต่จำไว้เลยว่าตัวเลขของทุนจดทะเบียน จะเป็นตัวที่สะท้อนถึงความมั่นคง ความน่าเชื่อถือของบริษัท และยังบอกถึงความสามารถในการชำระหนี้ได้อีกด้วย แน่นอนว่าส่งผลต่อการทำธุรกรรมต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินต่าง ๆ การส่งออกสินค้าไปขายต่างประเทศ รวมถึงการประมูลงานจากองค์กรใหญ่

แล้วแบบนี้ควรจดทะเบียนด้วยทุนเท่าไหร่ ? ต้องบอกแบบนี้ว่าผู้ประกอบการรายย่อยส่วนใหญ่ นิยมจดด้วยทุนเริ่มต้น 100,000 - 1,000,000 บาท โดยอิงจากประเภทและขนาดของธุรกิจ รวมถึงจะต้องชำระค่าทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 เพื่อให้บริษัทนำเงินก้อนนี้ ไปเป็นทุนในการเริ่มต้นกิจการ ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนพนักงาน ค่าเช่าร้าน/สำนักงาน ค่าอุปกรณ์ดำเนินงานต่าง ๆ เป็นต้น

ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท

หลังจากหาข้อมูลทุกอย่างมาเป็นอย่างดีแล้ว ถึงเวลาที่ต้องจดทะเบียนบริษัทจริง ๆ จัง ๆ กันสักที ซึ่งขั้นตอนการจดทะเบียนก็ไม่ได้ยุ่งยาก หรือซับซ้อนอย่างที่คิด โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. เจ้าของกิจการจองชื่อสำหรับจดทะเบียนบริษัท ทางเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า www.dbd.go.th
  2. เมื่อได้รับการอนุมัติชื่อบริษัท ให้ยื่นจดทะเบียนหนังสือคณห์สนธิภายใน 30 วัน
  3. ดำเนินการนัดประชุมผู้ถือหุ้น จัดสรรหุ้นให้ครบจำนวน และประชุมจัดตั้งบริษัท
  4. หลังจากรวบรวมเอกสารครบถ้วน และชำระค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้ว รอรับหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทจากนายทะเบียน ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอน
*หมายเหตุ: การจดทะเบียนบริษัทจำกัด เดิมทีต้องมีเจ้าของกิจการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป แต่ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 สามารถมีเจ้าของกิจการได้ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป

เชื่อว่าเมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ สายฟรีแลนซ์หลายคนคงเห็นข้อดีของการจดทะเบียนบริษัทมากขึ้นแล้ว แต่ทั้งนี้แนะนำให้สำรวจความพร้อมของตัวเองให้ดี เพราะต่อให้การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะมีข้อดีมากกว่าการเป็นบุคคลธรรมดา แต่ก็ยังมีหลาย ๆ เรื่องที่ต้องทำความเข้าใจ และต้องแบกรับมากกว่าอยู่แล้ว แนะนำให้ศึกษารายละเอียดในส่วนนี้ให้ดีก่อน เพื่อลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นตามมา

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่