หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่สนใจและต้องการ “ขอสินเชื่อ” จำเป็นจะต้องรู้จัก ดอกเบี้ยคงที่ กับ ดอกเบี้ยลอยตัว ให้ดีก่อน เนื่องจากมีรายละเอียด เงื่อนไข และข้อเสนอที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเราได้ทำการรวบรวมรายละเอียดต่าง ๆ ที่น่าสนใจ และเป็นประโยชน์ต่อการขอสินเชื่อ มีรายละเอียดเป็นอย่างไรและให้ประโยชน์ได้จริงมากน้อยแค่ไหน MrKumka จะเล่าให้ฟัง
ความแตกต่างระหว่าง ดอกเบี้ยคงที่ กับ ดอกเบี้ยลอยตัว
หากคุณกำลังมองหา “ความแตกต่าง” ของดอกเบี้ยคงที่และดอกเบี้ยลอยตัวของการขอสินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อบ้าน ฯลฯ อยู่ล่ะก็ เราได้ลิสต์รายละเอียดสำคัญ ๆ มาให้ทำความเข้าใจเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้คุณแบกรับอัตราดอกเบี้ยที่ต้องผ่อนจ่ายในแต่ละเดือนไม่มากจนเกินไป แถมยังสามารถวางแผน “ความพร้อม” ในการชำระหนี้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยมีรายละเอียดดังนี้
อัตราดอกเบี้ยลอยตัว คืออะไร ?
“อัตราดอกเบี้ยลอยตัว” คือ อัตราดอกเบี้ยที่มีการกำหนดมาแล้ว ณ ช่วงเวลาที่ทำสินเชื่อ ซึ่งมีเงื่อนไขว่าสถาบันการเงินสามารถ “ปรับเพิ่มหรือลดดอกเบี้ยได้” เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพคล่องในระบบการเงิน หรือต้นทุนของทางธนาคารนั่นเอง โดยการปรับเปลี่ยนดังกล่าว ย่อมส่งผลกระทบต่อ “ค่างวด” ของคุณ แนะนำให้คุณคำนึงถึงความเสี่ยงในข้อนี้ให้ดี รวมถึงสังเกตความสามารถในการชำระหนี้ของตัวเองด้วย
ในกรณีที่คุณต้องการ “เปรียบเทียบ” อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ไม่ยาก เพียงสังเกตจากอัตราดอกเบี้ยหรือขั้นต่ำสุด ซึ่งส่วนใหญ่ (สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย) มักอ้างอิงกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาวสำหรับลูกหนี้ชั้นดี เป็นค่าบวกหรือลบจาก MLR (ส่วนนี้จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละธนาคาร)
“ข้อดี” ของดอกเบี้ยประเภทนี้คือ หากดอกเบี้ยอยู่ในช่วงปรับลง จะทำให้คุณจ่ายดอกเบี้ยถูกลง และแน่นอนว่าอาจถูกกว่าการทำสัญญาดอกเบี้ยคงที่ซะอีก แต่ “ข้อเสีย” คือ หากอยู่ในช่วงปรับขึ้น คุณก็จะต้องจ่ายค่างวดในแต่ละเดือนสูงขึ้นตามไปด้วย
อัตราดอกเบี้ยคงที่ คืออะไร ?
ในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยคงที่แบ่งได้อีก 3 ประเภทย่อย ๆ ขึ้นอยู่กับช่วงระยะเวลาที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ โดยมีรายละเอียดแตกต่างกันดังนี้ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปทำความเข้าใจพร้อม ๆ กันเลย
อัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอดอายุสินเชื่อ
ส่วนใหญ่อัตราดอกเบี้ยประเภทนี้ มักถูกกำหนดมาแบบตายตัว และจะยึดอัตราดอกเบี้ยตามประกาศของสถาบันการเงิน ณ ช่วงเวลาที่กู้ไปจนถึงอายุสินเชื่อ จะไม่มีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์การเงินและต้นทุนของธนาคาร “ข้อดี” ของดอกเบี้ยประเภทนี้ คือ จำนวนเงินที่ชำระในแต่ละเดือนมีความคงที่ และมีระยะเวลาในการผ่อนชำระที่แน่นอน
อัตราดอกเบี้ยคงที่ในช่วงต้นเท่านั้น
อัตราดอกเบี้ยคงที่ประเภทนี้ จะกำหนดให้อัตราดอกเบี้ยคงที่เฉพาะระยะแรกของอายุสินเชื่อ เช่น 1-5 ปีแรก ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของธนาคารเป็นหลัก หลังจากที่พ้นระยะเวลาที่กำหนด อัตราดอกเบี้ยจะปรับเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว โดยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามสภาวะเศรษฐกิจ ณ ช่วงเวลานั้น รวมถึงต้นทุนของธนาคาร/สถาบันการเงินด้วย แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อ “จำนวนเงิน” ที่ต้องชำระค่างวดของคุณแน่นอน
อัตราดอกเบี้ยคงที่แบบขั้นบันไดในช่วงต้น
อัตราดอกเบี้ยคงที่ประเภทนี้จะคงที่ในช่วงแรกเท่านั้น และจะมีอัตราดอกเบี้ยคงที่เป็นช่วง ๆ เหมือนขั้นบันได เช่น อัตราดอกเบี้ยคงที่ในช่วง 1-5 ปีแรกของอายุสินเชื่อ โดยปีที่ 1-2 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 3 / ปีที่ 3-4 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 3.5 และในปีที่ 5 อัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 4 เป็นต้น
หลังจากผ่านพ้นช่วงอัตราดอกเบี้ยคงที่ไปแล้ว (ปีที่ 6 เป็นต้นไป) ก็จะปรับเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ซึ่งส่งผลกระทบต่อจำนวนเงินที่คุณต้องชำระในแต่ละเดือน เหมือนกับอัตราดอกเบี้ยคงที่ในช่วงต้นนั่นเอง
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการเลือกใช้สินเชื่อที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ มีข้อดีในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวเพิ่มขึ้น เพราะคุณไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และค่อนข้างมีความแน่นอนถึงจำนวนเงินที่ต้องชำระในแต่ละงวด ในขณะเดียวกันก็มี “ข้อเสีย” ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในกรณีที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวลดลง จำนวนดอกเบี้ยที่คุณจะต้องจ่ายในแต่ละเดือนกลับไม่ลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้คุณต้องจ่ายดอกเบี้ย “มากเกินกว่าที่ควรจะเป็น”
อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ vs อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ใช้กับ “สินเชื่อ” ประเภทไหน ?
เชื่อว่าหลายคนอาจยังคงเกิดความสงสัยว่า “สินเชื่อบ้าน vs สินเชื่อรถยนต์” สินเชื่อแบบไหนถูกหรือแพงกว่ากัน และถ้าหากเป็นไปได้ควรเลือกอัตราดอกเบี้ยแบบไหนมากกว่ากัน หากพูดกันตามหลักความจริงแล้วล่ะก็ สินเชื่อทั้ง 2 ประเภทมีการคำนวณคนละแบบ “ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้” เว้นแต่ทำการแปลงอัตราดอกเบี้ยให้เป็นแบบเดียวกันซะก่อน
แต่ถ้าหากต้องการคำตอบแบบรวบรัด กระชับ เข้าใจง่าย กรณีที่คุณต้องการ “ขอสินเชื่อรถยนต์” เพื่อให้ได้อัตราดอกเบี้ยที่ดีสำหรับคุณ การเลือกอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ จะเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีที่สุด แถมยังเป็นอัตราดอกเบี้ยที่คนส่วนใหญ่นิยมเลือกด้วย เนื่องจากเป็นการคิดอัตราดอกเบี้ยเพียงแค่ครั้งเดียว ณ วันที่ทำสัญญา พร้อมกับคำนวณไปจนถึงวันที่คุณผ่อนแล้วเสร็จ หลังจากนั้นก็ทำการ “จับหาร” ด้วยจำนวนงวดที่เราหาร หมายความว่าแม้คุณจะผ่อนเงินต้นไปบางส่วนแล้ว แต่ดอกที่คำนวณนั้น จะใช้อัตราที่คำนวณจากเงินต้นเต็มจำนวนตั้งแต่วันแรกนั่นเอง
วิธีคำนวณอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ vs อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว
แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่จะมีการคำนวณดอกเบี้ยสัดส่วนเท่าเดิมตลอด แต่ในกรณีที่คุณไม่ได้วางแผนที่จะ “โปะปิดยอด” อยู่แล้ว หรือพูดง่าย ๆ ว่าต้องการผ่อนไปเรื่อย ๆ หากเลือกผ่อนอัตราดอกเบี้ยแบบนี้ จะช่วยประหยัดดอกเบี้ยที่ต้องชำระได้มากกว่า
วิธีคำนวณอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่
สำหรับวิธีการคำนวณอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยที่ตายตัวเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว คุณจะสามารถคำนวณเพื่อหาจำนวนดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายได้ตามสูตรดังนี้
ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งหมด = เงินต้น x อัตราดอกเบี้ย x จำนวนปี
ยกตัวอย่างเช่น เงินต้น 100,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 10% ผ่อนระยะเวลา 2 ปี จะมีการคำนวณดอกเบี้ยที่ตั้งจ่ายทั้งหมดเท่ากับ 100,000 x 10% x 2 = 20,000 บาท ในกรณีที่คุณอยากทราบ “จำนวนเงินที่ต้องผ่อนชำระในแต่ละเดือน” ให้ใช้สูตรดังนี้
เงินผ่อนชำระต่อเดือน = (เงินต้น + ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งหมด) / จำนวนงวดที่ต้องผ่อน
เมื่อนำเข้าสูตรเพื่อหาค่างวดที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน ด้วยการนำผลลัพธ์การคำนวณในรอบก่อนหน้า จะได้เท่ากับ (100,000 + 20,000) / 24 = 5,000 บาทนั่นเอง เพียงเท่านี้คุณก็จะได้รู้ “อัตราดอกเบี้ย” ที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนแล้วล่ะ
สำหรับ “อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว” อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้แล้วว่า เป็นดอกเบี้ยที่ถูกกำหนดไว้แบบไม่ตายตัว สามารถปรับขึ้น-ลงได้ตามต้นทุนของธนาคาร รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ เป็นหลัก โดยจะมีการประกาศออกมาเป็นรอบ ๆ ซึ่งจะมีวิธีการคำนวณเป็นอย่างไร ไปทำความเข้าใจพร้อม ๆ กับเราได้เลย
วิธีคำนวณอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว
วิธีการคำนวณอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวที่เรากำลังจะอธิบายในหัวข้อนี้ จะพูดถึง “สินเชื่อที่อยู่อาศัย” ซึ่งอ้างอิงจาก MRR โดยไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการปรับเพิ่ม-ลดดอกเบี้ยที่แน่นอน ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงทุก ๆ 2 เดือน หรือตามภาวะทางเศรษฐกิจ สำหรับวิธีการคำนวณก็มีรายละเอียดดังนี้
ดอกเบี้ยปีที่ 1 เท่ากับ MRR -3.50% ดอกเบี้ยปีต่อไปเท่ากับ MRR -1.50%
หาก MRR ของธนาคารที่คุณขอสินเชื่อ = 6.00% จะหมายความว่าดอกเบี้ยใน 1 ปีแรกที่ต้องจ่ายจะมีค่าเท่ากับ 6.00-3.50 = 2.50% และปีอื่น ๆ เท่ากับ 6.00-1.50 = 4.50% หรืออาจเปลี่ยนแปลงไปตามเรท MRR ณ ช่วงนั้น ๆ นั่นเอง
ทั้งหมดนี้คือรายละเอียดของอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ vs อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ที่เรายินดีนำมาบอกต่อคุณแบบละเอียดยิบ ซึ่งถ้าหากคุณสามารถเลือกอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้เป็นอย่างดี จะช่วยให้คุณไม่ต้องปวดหัวกับค่างวดที่ต้องผ่อนจ่ายในแต่ละเดือนมากเกินไป และถ้าหากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กำลังมองหา “สินเชื่อรถยนต์” ที่ให้วงเงินสูง อนุมัติง่าย MrKumka คือหนึ่งในตัวเลือกที่คุณไม่ควรพลาด ไม่เชื่อก็ลองเปรียบเทียบสินเชื่อรถยนต์ออนไลน์ได้เลย !