การ ซื้อรถคันแรก แน่นอนว่าจำเป็นจะต้องพิจารณา “รายได้” ของตัวเองให้ถี่ถ้วน เพราะถ้าหากรถมีมูลค่าสูงกว่ากำลังซื้อ อาจจะก่อให้เกิดหนี้เสีย หรือมีประวัติการชำระเงินที่ไม่ดีในอนาคตได้ ซึ่งเงินเดือนและกำลังจ่ายของแต่ละคนไม่เท่ากัน แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าควร ซื้อรถยนต์ ราคาเท่าไหร่ ? รวมถึง “ค่าใช้จ่ายแฝง” อื่น ๆ โดยเฉพาะ ค่าเบี้ยประกันรถยนต์ สิ่งสำคัญที่ต้องมีคู่ในทุกครั้งที่ใช้รถใช้ถนน
หากคุณกำลังคิดไม่ตกกับคำถามเหล่านี้ MrKumka รวบรวมการประเมินค่าใช้จ่ายเบื้องต้นมาบอกคุณแล้ว ! รับรองว่าช่วยให้คุณผ่อนไหว สบายกระเป๋าแน่นอน แต่จะมีรายละเอียดเป็นอย่างไร ? ไปติดตามพร้อม ๆ กันเลย !
เหตุผลที่ควรประเมินค่าใช้จ่าย ก่อนตัดสินใจ ซื้อรถคันแรก
“รถ เท่ากับ ลด” ถือเป็นคำพูดที่ไม่เกินจริงแต่อย่างใด เพราะวินาทีที่คุณตัดสินใจ ซื้อรถยนต์ จากโชว์รูม มูลค่าของรถยนต์คันนั้น ๆ จะหายไปส่วนหนึ่งทันที และถ้าหากเป็นการตัดสินใจซื้อด้วย “เงินผ่อน” ยิ่งจำเป็นจะต้องดูรายรับกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอในแต่ละเดือน เพราะหากพูดกันตามตรงหรืออ้างอิงตามหลักความเป็นจริง สถาบันการเงินต่าง ๆ จะพิจารณาการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ในกรณีที่ผู้ยื่นกู้มีรายได้ “สูงกว่า” ค่างวดราว 1-2 เท่า
แต่อย่าลืมว่าการซื้อรถแต่ละคัน ไม่ใช่เพียงแค่การขอยื่นกู้เงินออกรถ แล้วจบ ! แต่กลับมีค่าใช้จ่ายแฝงตามมามากมาย อาทิ ค่าน้ำมัน ค่าจอดรถ ค่าเช็คระยะที่ศูนย์บริการ รวมถึงค่าประกันรถยนต์ ที่ล้วนแล้วแต่ต้องใช้เงินแทบทั้งสิ้น จึงเป็นเหตุผลที่คุณพิจารณาให้ถี่ถ้วน เพื่อประวัติการชำระเงินที่ดีของตัวคุณเอง
ซื้อรถยนต์ครั้งหนึ่ง ค่าใช้จ่ายแฝงตามติดตลอดไป
หากคุณยังมองภาพไม่ออกว่ารถยนต์ 1 คัน จะมีค่าใช้จ่ายอื่นใดตามมาบ้าง ? MrKumka จึงได้รวบรวม “ค่าใช้จ่ายแฝง” ที่เจ้าของรถ “จำเป็น” จะต้องจ่ายทุกปี มาให้คุณใช้ประกอบการตัดสินใจก่อนซื้อรถยนต์ รวมถึงบอกแนวทางที่ช่วยให้คุณผ่อนไหว สบาย ๆ ดังนี้…
1. ค่าผ่อนงวดรถ
ถือเป็น “ค่าใช้จ่ายประจำ” ที่จะต้องจ่ายเป็นเงินก้อนในแต่ละเดือน ซึ่งจำนวนเงินผ่อนจะติดแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ หรือพูดง่าย ๆ คือเงินต้นรวมกับดอกเบี้ย และหารออกด้วยจำนวนเดือนที่จะผ่อน เช่น คุณต้องการซื้อรถยนต์ ราคา 600,000 บาท วางเงินดาวน์ 300,000 บาท ผ่อนชำระค่างวด 60 เดือน อัตราดอกเบี้ย 5% เท่ากับจะต้องจ่ายค่างวด เดือนละ 6,250 บาท เป็นต้น
การตัดสินใจซื้อรถจำเป็นจะต้องศึกษาข้อมูลดอกเบี้ยโดยละเอียด อย่าตกเป็นทาสการตลาด จำพวก “ดาวน์น้อยผ่อนนาน” แม้จะจ่ายน้อยในตอนแรกแต่ถ้าหากคำนวณดี ๆ จะพบว่าคนที่เจ็บตัวไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นตัวคุณเองล้วน ๆ ! ตัดสินใจให้ดีและเตรียมงบให้พร้อม เพื่อรักษาประวัติที่ดีเอาไว้เสมอ
2. ค่าประกันรถยนต์
ถือเป็นอีกหนึ่ง “ค่าใช้จ่ายจำเป็น” ที่จะต้องจ่ายในทุก ๆ เดือน เพื่อเป็นการถ่ายโอนความเสี่ยง ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เนื่องจากบริษัทประกันภัยจะรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลายประเภท ราคาแตกต่างกันออกไป โดยเริ่มต้นตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่น ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เป็นสำคัญ
แน่นอนว่า ประกันรถยนต์ชั้น 1 ย่อมให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมกว่า แต่แลกมาด้วยค่าเบี้ยที่สูงกว่าเช่นเดียวกัน หากคุณไม่มีกำลังซื้อที่มากพอ หรือมองว่าประกันชั้น 1 เกินความจำเป็น แต่ยังคงต้องการความอุ่นใจ การเลือกทำประกันชั้น 2+ หรือ 3+ นับเป็นตัวเลือกที่ดีเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะ ประกันรถยนต์ออนไลน์ ที่เลือกซื้อง่ายคุ้มครองทันที “คุ้มสุดต้องที่คุ้มค่า” เช็คเบี้ยประกันออนไลน์ก่อน ซื้อที่บ้านง่าย ๆ เพียงแค่คลิก MrKumka.com
3. ค่าประกัน พ.ร.บ.
ประกัน พ.ร.บ. คือประกันภัยภาคบังคับที่รถทุกคันจะต้องมี แถมยังจำเป็นจะต้องจ่ายในทุก ๆ ปี แต่จะเป็นการให้ความคุ้มค่าเฉพาะคนเท่านั้น ไม่รวมความเสียหายที่เกิดขึ้นกับรถ ซึ่งอัตราเบี้ยประกันจะเป็นแบบคงที่ (ไม่รวมภาษีอากร) แบ่งได้ดังนี้
- รถเก๋ง 600 บาท
- รถกระบะ 900 บาท
- รถตู้ (ไม่เกิน 15 ที่นั่ง) 1,100 บาท (ราคากลางจาก คปภ.)
หากคุณรู้สึกว่าไม่อยากหรือไม่ยอมต่อ พ.ร.บ. แน่นอนว่าคุณจะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้ แถมยังมีโทษตามกฎหมาย คือ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งนับว่าเป็นราคาปรับที่แพงกว่าค่า พ.ร.บ. เป็นเท่าตัวเลยล่ะ
4. ค่าต่อภาษีรถยนต์ประจำปี
ต้องบอกก่อนว่าค่าภาษีของรถแต่ละคันจะไม่เท่ากัน โดยจะขึ้นอยู่กับขนาดรถ ประเภทรถ ความจุเครื่องยนต์ และอายุการใช้งาน หากคุณนึกภาพไม่ออก เราขอทำการยกตัวอย่างการคำนวณภาษี รถยนต์ Honda Jazz เครื่องยนต์ 1,500 ซีซี ให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น ดังนี้
- 600 ซีซี แรก คิด ซีซี ละ 0.5 บาท ดังนั้น 600x0.5=300 บาท
- ตั้งแต่ 601-1,500 ซีซี คิด ซีซี ละ 1.5 บาท เฉลี่ย (1,500-600)x1.50= 1,650 บาท
ซึ่งในส่วนนี้หากเป็นปีที่ 1-5 อัตราภาษีจะเป็นแบบคงที่ แต่ถ้าหากอายุการใช้งานเกินกว่า 6 ปี จะลดภาษีลง ตั้งแต่ 10% ไปจนถึง 50% (ในปีที่ 10) และจะคงที่ที่ 50% ไปเรื่อย ๆ
*หมายเหตุ : รถที่มีอายุการใช้งาน มากกว่า 7 ปี จำเป็นจะต้องมีใบรับรองการตรวจสภาพ ตรอ. จึงจะสามารถต่อภาษีได้
จะเห็นได้ว่ามีรถสักคันนั้นมีค่าใช้จ่ายแฝงไม่น้อยเลยที่จำเป็นจะต้องจ่ายอย่างเลี่ยงไม่ได้ และถ้าหากคุณมองว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เยอะแล้ว ยังไม่หมด ! เพราะยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่มากกว่านั้น อาทิ ค่าบำรุงรักษา ค่าน้ำมันเชื้อ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็นจะต้องเตรียมให้พร้อมอยู่เสมอสำหรับรถหนึ่งคัน
อย่างไรก็ตามทุกค่าใช้จ่ายที่ว่ามา เจ้าของรถสามารถเลือกทางออกประหยัดลงได้เช่นกัน อาทิ ต้องการลดค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอย่างการ ซื้อประกันรถยนต์ แต่ยังคงไว้ซึ่งความอุ่นใจสูงสุด คุ้มค่าแน่นอนแค่เช็คเบี้ยประกันออนไลน์ กับ MrKumka.com เพื่อให้ได้กรมธรรม์ที่ถูกใจ ราคาไม่แรง ได้ที่บ้านก่อนใคร คลิกเลย !