5 ข้อผิดพลาดในการ ขอสินเชื่อรถยนต์ ? ที่หลายคนมักละเลย

แชร์ต่อ
ข้อผิดพลาดทั่วไปในการขอสินเชื่อรถยนต์

แม้ว่าการ ขอสินเชื่อรถยนต์ เป็นหนึ่งใน “ทางเลือก” ที่ช่วยให้คุณเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินได้มากขึ้น แถมในเรื่อง “อัตราดอกเบี้ย” ยังต่ำกว่าการกู้เงินประเภทอื่น ๆ หลายเท่า แต่ถ้าหากคุณไม่ศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ให้ดี อาจจะทำให้พลาดท่าได้ง่าย ๆ ดังนั้นเราจึงได้หยิบยก 5 ข้อผิดพลาด มาให้คุณได้ระมัดระวังในการขอสินเชื่อมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น ไปติดตามพร้อม ๆ กันเลย !

ข้อผิดพลาดทั่วไป ในการขอสินเชื่อรถยนต์

ใครบ้างที่สามารถสินเชื่อรถยนต์ได้

สำหรับคนที่กำลังสงสัยในเรื่องของ “ข้อผิดพลาด” ในการขอสินเชื่อรถยนต์ เราได้ลิสต์มาให้คุณทำความเข้าใจหลัก ๆ 5 ข้อ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • 1. ไม่เช็กเครดิตตัวเองก่อนขอสินเชื่อ

    จริงอยู่ที่ว่าบริษัทไฟแนนซ์หลายแห่งไม่นิยมเช็กเครดิตบูโร แต่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และปัจจัยต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน ทางที่ดีก่อนตัดสินใจขอสินเชื่อรถยนต์ คุณควร “เช็กวงเงิน” ให้ดีก่อน ถ้าหากวงเงินสูง ทางบริษัทจะทำการเช็กเครดิตทันที นอกจากนี้ยังอาจเหมารวมในเรื่องของภาระหนี้ด้วย เพราะทางบริษัทฯ มองว่ามีความเสี่ยงต่อการผิดนัดชำระหนี้สูง

    บางคนสงสัยว่า “เมื่อสถาบันการเงินตรวจพบว่าเครดิตของคุณไม่ดี จะเกิดอะไรขึ้น” สิ่งแรกที่คุณจะต้องเผชิญหน้าคือไม่สามารถขอรีไฟแนนซ์ได้ รวมถึงบริษัทฯ ไม่อนุมัติสินเชื่อ หรือถ้าหากอนุมัติ คุณจะพบกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าเดิม จนทำให้จำเป็นต้องขยายเวลาผ่อนจากเดิมยาวไปเป็นหลักปี แน่นอนว่าภาระค่าใช้จ่ายจะยิ่งเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

  • 2. เลือกรีไฟแนนซ์แบบ “โอนเล่ม”

    ต้องขออธิบายให้เข้าใจตรงกันอีกครั้งว่า กรณีรถยนต์ที่ยังผ่อนไม่หมด เมื่อกู้ผ่านแล้วไฟแนนซ์ที่ใหม่จะทำการนำเงินไปปิดภาระหนี้ให้กับไฟแนนซ์เจ้าเก่า รวมถึงยังต้องทำการโอนเล่มมายังเจ้าใหม่ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมประมาณ 4,000 บาทขึ้นไป (ต่อครั้ง) และถ้าหากผ่อนหมดแล้ว เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถยังจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ “โอนเล่มกลับ”ด้วย หมายความว่าการโอนเล่มไป-กลับ จะมีค่าใช้จ่ายราว ๆ 10,000 บาทขึ้นไป

    เมื่อเทียบกับวงเงินที่ขอสินเชื่อไป เงิน 10,000 กว่าบาทอาจจะเป็นเงินจำนวนเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ถ้าหากลองคำนวณดี ๆ เช่น ขอสินเชื่อ 200,000 บาท ค่าโอนเล่มไปกลับ 10,000 บาท จะนับเป็น 5% ของวงเงินสินเชื่อ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงมาก ๆ เลยใช่ไหมล่ะ !?

  • 3. ยืดระยะเวลาผ่อนจ่ายอย่างไม่มีเหตุจำเป็น

    บางคนเมื่อเห็นว่าสถาบันการเงินหรือบริษัทไฟแนนซ์ เสนอการผ่อนจ่ายรายเดือนหลักพันและตาราง ผ่อนชำระขยายเวลาออกไปเป็น 72 เดือน บางคนอาจพากันพุ่งเข้าใส่ในทันที ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งข้อผิดพลาดที่หลายคนคาดไม่ถึง เนื่องจากการยืดระยะเวลาการผ่อนค่างวดออกไป จะทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงมากขึ้น บางกรณีอาจเพิ่มสูงเป็นเท่าตัวเลยทีเดียว

  • 4. จ่ายดอกเบี้ยเยอะ แล้วมารีไฟแนนซ์อีกรอบ

    การรีไฟแนนซ์หรือการสินเชื่อรถยนต์ ควรดู “จังหวะ” ให้ดีด้วย โดยจะต้องดูว่าคุณได้ทำการผ่อนจ่ายค่าดอกเบี้ยไปแล้วเท่าไหร่ โดยเฉพาะกรณีที่รถยนต์ที่ผ่อนมาโดยตลอด มีอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก เพราะการผ่อนในรูปแบบนี้ “ดอกเบี้ยช่วงแรกจะสูงมาก และเหลือเงินต้นค่อนข้างเยอะ” แลกมาด้วยดอกเบี้ยที่เหลือเพียงน้อยนิดในช่วงเดือนหลัง ๆ

    หมายความว่าคุณได้ทำการจ่ายค่าดอกเบี้ยไปเกือบหมดแล้ว เหลือเพียงแต่เงินต้นที่ยังผ่อนจ่ายไม่หมดเท่านั้น การที่คุณตัดสินใจนำรถไปรีไฟแนนซ์ใหม่อีกครั้ง คุณจะต้องกลับมาเริ่มต้นผ่อนดอกเบี้ยใหม่ทั้งหมด เว้นแต่จะเป็นการรีไฟแนนซ์แบบใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่ หากรู้ตัวว่าดอกเบี้ยของคุณเป็นแบบลดต้นลดดอก ควรรีไฟแนนซ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อไม่เสียประโยชน์มากจนเกินไปนัก

  • 5. ไม่ศึกษาค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

    การขอสินเชื่อรถยนต์หรือการรีไฟแนนซ์รถยนต์ ใช่ว่าคุณจะเป็นผู้รับเป็นอย่างเดียวเสมอไป แต่การดำเนินการในส่วนนี้ มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ค่าประเมินรถยนต์ ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน ค่าปรับหากจ่ายล่าช้า รวมถึงอัตราดอกเบี้ยสำหรับการผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็น “ตัวแปรสำคัญ” ที่จะชี้ชัดได้ว่าการรีไฟแนนซ์ในครั้งนี้ ให้ความคุ้มค่ากับคุณมากเพียงใด

ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็น “ข้อผิดพลาด” ที่เจ้าของรถหลายคนมักมองข้ามไปเฉย ๆ หรือไม่ได้มองข้าม แต่ศึกษารายละเอียดไม่ชัดเจน จนทำให้พลาดรายละเอียดสำคัญ ที่ส่งผลกระทบในระยะยาวไปอย่างน่าเสียดาย ซึ่งถ้าหากคุณเป็นอีกหนึ่งคน ที่ไม่อยากพบเจอกับปัญหาน่าปวดหัว แนะนำให้ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ให้ดีซะก่อน อย่ารีบร้อนขอสินเชื่อรถยนต์มากจนเกินไปนัก

สินเชื่อรถยนต์” คุ้มค่ากับคุณแค่ไหน ?

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการผ่อนจ่ายค่างวดรถยนต์ มีระยะเวลาในการผ่อนจ่ายนานหลายปี บางคนอาจใช้เวลา 5-6 ปี หรือบางคนเล่นกินเวลานานกว่า 10 ปี ซึ่งส่งผลให้ภาระในการขอสินเชื่อ และค่าจ่ายรายเดือนเบาบางลง แต่ถ้าหากมองในมุมมองของ “อัตราดอกเบี้ย” ที่ต้องแบกรับนั้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสูงขึ้นกว่าเดิมมาก

ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ราคาอยู่ที่ 600,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 10.4% ค่างวดในแต่ละเดือนเท่ากับ 11,250 บาท เป็นระยะเวลา 2 ปี เมื่อธนาคารประเมินราคารถออกมาแล้ว อยู่ที่ 437,010 บาท เมื่อสิ้นสุดระยะเวลา 2 ปี คุณจะต้องจ่ายคืนให้ธนาคาร 540,000 บาท แต่ถ้าหากทำการรีไฟแนนซ์หรือขอสินเชื่อรถยนต์ ราคาต่อเดือนที่ต้องจ่าย ‘อาจจะ’ อยู่ที่ 9,720 บาทต่อเดือน ซึ่งช่วยให้คุณประหยัดเงินได้มากกว่าหลักพันต่อเดือน และยอดที่ต้องจ่ายธนาคารจะอยู่ที่ 466,560 บาท หรือประหยัดเงินเกือบหลักแสนเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าการรีไฟแนนซ์ช่วยให้ “มูลค่าการผ่อนรถยนต์” ถูกลงกว่าเดิม ในกรณีที่ต้องการประหยัดเงินในส่วนให้มากที่สุด แนะนำให้หาข้อมูลของแต่ละบริษัทมาเปรียบเทียบกันเยอะ ๆ

เมื่อไหร่ที่ควรรีไฟแนนซ์รถยนต์ ?

นับเป็นอีกหนึ่งข้อสงสัยของใครหลาย ๆ คน ว่าเมื่อไหร่ถึงควรจะรีไฟแนนซ์รถยนต์เสียที ซึ่งต้องบอกตรงนี้เลยว่าไม่มีระยะเวลาตายตัว เนื่องจากต้องดูปัจจัยต่าง ๆ ควบคู่กันไป หรือหากจะคิดตาม “สูตรต่างประเทศ” ก็นับเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ โดยมีหลักการคำนวณคือ “หากดอกเบี้ยธนาคารอื่นถูกกว่า 1% จะช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายต่อเดือนประมาณ 200 บาท ในระยะเวลา 2 ปี เท่ากับ 2 ปี x 12 x 200 = 2,800 บาท” หรือถ้าคุณผ่อนรถไม่ไหวต้องการที่จะรีไฟแนนซ์ เพื่อที่จะได้อัตราการผ่อนและอัตราดอกเบี้ยต่ำลง

หมายความว่าหากคุณต้องการรีไฟแนนซ์รถยนต์ ควรหาอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงกว่าเดิมค่อนข้างมาก เพื่อให้ภาระค่าใช้จ่ายเบาบางลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น ลดลงกว่าเดิมสัก 3-5% ยิ่งถ้าหาได้ถูกลงกว่า 5% จะช่วยให้คุณประหยัดค่างวดได้ประมาณ 14,000 บาท ต่อ 2 ปีเลยล่ะ

ใครบ้างที่สามารถสินเชื่อรถยนต์ได้ ?

หลังจากทำความเข้าใจรายละเอียดต่าง ๆ ของการขอสินเชื่อรถยนต์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราไปดู “คุณสมบัติ” ของผู้ที่สามารถขอสินเชื่อรถยนต์ได้กันบ้างดีกว่า เพื่อให้คุณไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง หรือเตรียมเอกสารไปอย่างเปล่าประโยชน์ โดยคุณสมบัติที่เหมาะสมมีดังนี้

  • ผู้ขอสินเชื่อจะต้องมีอายุ 20-65 ปี ณ วันที่ยื่นขอสินเชื่อ
  • มีสัญชาติไทย และมีภูมิลำเนาในประเทศไทย
  • ต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ หรือผู้ครอบครองในรถยนต์ที่นำมาเป็นหลักประกัน
  • ในกรณีที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว จะต้องมีเอกสารแสดงรายได้ที่ชัดเจน เช่น ผู้มีรายได้ประจำจะต้องมีอายุงาน 4 เดือนขึ้นไป หรือเจ้าของธุรกิจ/นิติบุคคล จะต้องดำเนินธุรกิจมาแล้ว 1 ปีขึ้นไป

หากพบว่าตัวคุณเองมีคุณสมบัติเบื้องต้นครบถ้วน สามารถเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอสินเชื่อได้ทันที โดยเอกสารที่ต้องเตรียม (กรณีบุคคลธรรมดา) มีดังนี้

  1. เอกสารยืนยันตัวตนและที่อยู่
  2. สำเนาบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน และสำเนาหน้าแรกสมุดบัญชีเงินฝากที่ต้องโอนเงินเข้า
  3. เอกสารแสดงที่มาของรายได้ สลิปเงินเดือน หรือหนังสือรับรองเงินเดือน
  4. เล่มทะเบียนฉบับจริง (กรณีรถปลอดภาระ)
  5. สำเนาเล่มทะเบียนรถยนต์
  6. สำเนากรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์

" การรีไฟแนนซ์หรือการขอสินเชื่อรถยนต์ "
ไม่ใช่เรื่องที่แย่หรือก่อให้เกิดความยุ่งยากเสมอไป หากมองให้ดี ๆ อาจเป็นเรื่องที่น่าจะจำเป็นซะด้วยซ้ำ เพราะช่วยให้คุณประหยัดการจ่ายอัตราดอกเบี้ยได้มากกว่าเดิม หรืออาจทำให้คุณผ่อนค่างวดหมดเร็วกว่าเดิมเป็นหลักปีก็เป็นได้ หากคุณกำลังมองหาตัวเลือกดี ๆ MrKumka พร้อมตอบสนองความต้องการในส่วนนี้อย่างเต็มที่ เพียงเข้ามา “เปรียบเทียบสินเชื่อรถยนต์ออนไลน์” กับเรา คลิกเลย !

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่