หัวข้อที่น่าสนใจ
- น้ำมันหล่อลื่นรถยนต์คืออะไร ?
- 1. น้ำมันเครื่องธรรมดา
- 2. น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์
- 3. น้ำมันหล่อลื่นสังเคราะห์
- น้ำมันหล่อลื่นรถยนต์ที่ดี ควรมีคุณสมบัติยังไง ?
- 1. ระดับค่าความเป็นด่างเหมาะสม
- 2. ระดับความหนืด ความเข้มข้นตอบโจทย์การใช้งาน
- 3. มีการเพิ่มสารป้องกันต่าง ๆ
- 4. การระเหยและจุดไหลเทต่ำ
- ความต่างระหว่างน้ำมันหล่อลื่น เครื่องยนต์ดีเซล vs เบนซิน ที่ควรรู้
- น้ำมันเครื่องเบนซิน
- น้ำมันเครื่องดีเซล
- เลือกซื้อน้ำมันหล่อลื่นรถยนต์เจ้าไหนดี ?
- น้ำมันหล่อลื่น shell
- น้ำมันหล่อลื่น บางจาก
- น้ำมันหล่อลื่น ปตท
น้อยคนนักที่จะให้ความสำคัญในเรื่องน้ำมันหล่อลื่นรถยนต์ ลืมเช็คหรือจะเป็นการลืมเปลี่ยนถ่าย ทำให้เกิดปัญหาตามมาในการใช้งานรถประจำวันอย่างไม่จำเป็น เพราะน้ำมันหล่อลื่นมีความสำคัญกับรถยนต์พอสมควร ตั้งแต่ช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานได้เต็มร้อยจรดถึงป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งาน
และเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเครื่องยนต์ของรถคุณ มิสเตอร์ คุ้มค่าลิสต์รายละเอียดเกี่ยวกับน้ำมันหล่อลื่นสังเคราะห์ และอื่น ๆ มาให้เรียบร้อยแล้ว ตามไปดูพร้อม ๆ กันเลย
น้ำมันหล่อลื่นรถยนต์คืออะไร ?
ทำความเข้าใจก่อนว่าน้ำมันหล่อลื่นรถยนต์ หรือ “น้ำมันเครื่องยนต์” เรียกติดปากว่า “น้ำมันเครื่อง” หน้าที่หลักคือการเข้าไป “สอดแทรก” ระหว่างโลหะภายในเครื่องยนต์ที่กำลังเสียดสีกันขณะทำงาน จุดประสงค์เพื่อช่วยลดความเสียหายและหล่อลื่นในการทำงานของเครื่องยนต์ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ช่วยทำความสะอาดบางชิ้นส่วนภายในและช่วยระบายความร้อนให้เครื่องยนต์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
แน่นอนว่าน้ำมันเครื่องไม่ได้เหมือนกันทุกชนิด ใช่ว่าจะเติมเหมือนกันได้ เพื่อการใช้งานที่ถูกต้องและเหมาะสม เรามาดูกันดีกว่าว่าชนิดน้ำมันหล่อลื่นแต่ละอย่าง มี “เกรดน้ำมันหล่อลื่น” แตกต่างกันยังไงบ้าง ?
1. น้ำมันเครื่องธรรมดา
น้ำมันเครื่องธรรมดา (Synthetic) เป็นน้ำมันหล่อลื่นรถยนต์ที่มีอายุใช้งานสั้นที่สุด แถมราคายังถูกว่าชนิดอื่น ๆ เนื่องจากผลิตจากน้ำมันปิโตรเลียมที่เหลือจากการกลั่น ตามปกติสามารถใช้งานได้ประมาณ 3,000-5,000 กิโลเมตร
2. น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์
น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi Synthetic) มีอายุใช้งานนานกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา โดยเป็นการผสมผสานระหว่างน้ำมันหล่อลื่นสังเคราะห์แท้กับน้ำมันจากธรรมชาติ ไม่มีการระบุอัตราส่วนที่แน่นอน เพราะขึ้นอยู่กับยี่ห้อของน้ำมันเครื่องอีกที
ส่วนใหญ่สามารถใช้ได้ประมาณ 5,000-10,000 กิโลเมตร ในด้านราคาอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเทียบกับประเภทอื่น ถือเป็นเกรดน้ำมันหล่อลื่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ไม่ว่าจะผู้ใช้รถที่ต้องการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องหรืออุตสาหกรรมรถยนต์ต่าง ๆ ก็ตาม
3. น้ำมันหล่อลื่นสังเคราะห์
สำหรับน้ำมันหล่อลื่นสังเคราะห์ (Fully Synthetic) ถือเป็นน้ำมันเครื่องที่มีอายุการใช้งานยาวนาน และราคาสูงที่สุดเมื่อเทียบกับชนิดน้ำมันหล่อลื่นอื่น ๆ สามารถใช้งานได้ถึง 15,000-20,000 กิโลเมตร
ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่สังเคราะห์มาจากน้ำมันปิโตรเลียม ถือเป็นเกรดน้ำมันหล่อลื่นที่พิเศษที่สุด แถมยังมีขั้นตอนที่พิถีพิถัน ผ่านการวิจัยมาแทบทั้งหมด หลาย ๆ คนจึงมั่นใจในประสิทธิภาพมากกว่าชนิดอื่น ๆ
การเลือกใช้น้ำมันหล่อลื่นรถยนต์อย่างเหมาะสม ตอบโจทย์ โดยเฉพาะในเรื่องของชนิดน้ำมันหล่อลื่น นอกจากจะช่วยลดความเสียหายได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ จากความเสียหายที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย แต่จะดีกว่านั้นหากคุณเดินทางได้อย่างอุ่นใจ แค่มี “ประกันภัยรถยนต์” ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุม ไม่รู้จะซื้อกับที่ไหน แผนประกันแบบใด เข้ามาเปรียบเทียบประกันรถยนต์ก่อนใคร ได้ที่ MrKumka.com
สเปรย์ น้ำมันหล่อลื่นคืออะไร ? ใช้ฉีดตรงไหนได้บ้าง ?
สเปรย์น้ำมันอเนกประสงค์ หรือสเปรย์ น้ำมันหล่อลื่นแน่นอนว่ามีส่วนช่วยในการหล่อลื่น แถมยังช่วยป้องกันสนิม คลายความฝืดเคือง แถมยังลดการเสียดสี สึกหรอได้เป็นอย่างดี นอกจากจะใช้กับงานช่างได้แล้ว ยังสามารถใช้กับงานภายในบ้านได้อีกด้วย โดยเป็นการใช้ฉีดตรงไหนได้บ้าง ตามไปดูกันเลย
ใช้งานภายในบ้าน
ฉีดสารพันสิ่งของน้อยใหญ่ในบ้านได้แทบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพัดลม, รางเลื่อนประตู, กลอนประตู, บานพับ, ประตูเหล็ก, รั้วเหล็ก, แม่กุญแจ, ลิ้นชัก, ก็อกน้ำ, ล้อ, จักรเย็นผ้า
ใช้กับงานช่าง
ใบปัดน้ำฝน, ขั้วหัวเทียน, ขั้วแบตเตอรี่, อุปกรณ์ทำสวน, โซ่จักรยาน, ใบเลื่อย, สว่าน, ขวาน, ที่พักเท้ามอเตอร์ไซค์, ชิ้นส่วนเครื่องจักร นอกจากนี้ยังนิยมใช้ในอู่ซ่อมรถ และโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปอีกด้วย
น้ำมันหล่อลื่นรถยนต์ที่ดี ควรมีคุณสมบัติยังไง ?
หากต้องการเลือกซื้อน้ำมันหล่อลื่นรถยนต์แบบไร้กังวล ยืดอายุเครื่องยนต์ให้ยาวนานกว่าเดิม เรามาดู “คุณสมบัติที่ดี” ก่อนเลือกซื้อกันดีกว่า
1. ระดับค่าความเป็นด่างเหมาะสม
ในขณะที่รถยนต์เกิดการเผาไหม้ “กำมะถัน” ในน้ำมันเชื้อเพลิง มักจะก่อให้เกิดเป็นกรดกำมะถัน อันเป็นต้นเหตุสำคัญในการกัดกร่อนชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ ดังนั้นการใช้น้ำมันหล่อลื่น เครื่องยนต์ที่มีคุณภาพดี มีค่าความเป็นด่างเหมาะสม จะช่วยปรับสภาพน้ำมันเครื่องให้เป็นกลาง แถมยังช่วยลดการสึกหรอและการกัดกร่อนของกรดได้เป็นอย่างดี
2. ระดับความหนืด ความเข้มข้นตอบโจทย์การใช้งาน
เมื่อเทน้ำมันเครื่องลงไป “ชั้นฟิล์ม” บาง ๆ ของตัวน้ำมัน จะเคลือบผิวโลหะของชิ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเสียดสีที่รุนแรง เป็นสาเหตุก่อให้เกิดความเสียหายได้ง่าย โดย “ความหนา” ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับความหนืดโดยตรง ยิ่งหนืดเท่าไหร่ ชั้นฟิล์มจะยิ่งหนาเท่านั้น
หลายคนมักเข้าใจว่า “หนืดมากเท่าไหร่ยิ่งดี” แต่ในความเป็นจริง ชั้นฟิล์มที่ดีไม่ควรหนาหรือบางจนเกินไป เพื่อให้การหล่อลื่นเครื่องยนต์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ สตาร์ทเครื่องยนต์ง่าย
3. มีการเพิ่มสารป้องกันต่าง ๆ
หลาย ๆ คนไม่ได้ต้องการให้น้ำมันหล่อลื่น เครื่องยนต์ ช่วยให้เครื่องยนต์ทำงานได้ดีขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่กลับต้องการ “คุณสมบัติเพิ่มเติม” จากผู้ผลิตด้วย ดังนั้นจึงได้มีการเพิ่มสารป้องกันหรือดูแลเครื่องยนต์เข้าไป ดังนี้
สารป้องกันการเกิดฟอง
เพราะเมื่อเครื่องยนต์ทำงานด้วยรอบเร็วสูง มักเกิดฟองของน้ำมันภายในเพลาข้อเหวี่ยง ทำให้คุณภาพการหล่อลื่นน้อยลง
สารป้องกันการเกิดสนิม
เพื่อช่วยเคลือบชิ้นส่วนต่าง ๆ ป้องกันไม่ให้เกิดสนิท
สารป้องกันการสึกหรอ
เพื่อให้ฟิล์มของน้ำมันสามารถทนต่อแรงเฉือนได้ดี ลดการสึกหรอของเครื่องยนต์และชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้น
สารลดความฝืด
เพื่อลดระดับความฝืดบริเวณเครื่องยนต์จุดที่ลดการทำงานลง แถมยังช่วยประหยัดน้ำมันได้มากขึ้นอีกด้วย
สารป้องกันการทำปฏิกิริยาออกซิเจน
เพื่อไม่ให้เกิดคราบยางเหนียว จนระดับความหนืดสูงเกินไป
4. การระเหยและจุดไหลเทต่ำ
คุณสมบัติของน้ำมันหล่อลื่นที่ดี ควรมี “จุดวาบไฟสูง” นำมาซึ่งการระเหยต่ำ ทนต่อระดับอุณหภูมิได้อย่างไม่มีปัญหา แถมยังไม่เข้าสู่ขั้นตอนการเผาไหม้ที่เร็วเกินไป ช่วยให้ประหยัดการใช้งานน้ำมันเครื่องได้ดี แถมยังมีจุดไหลเทต่ำ ช่วยให้น้ำมันถูกนำไปใช้งานกับบริเวณที่อุณหภูมิต่ำในเครื่องยนต์ได้อีกด้วย
ความต่างระหว่างน้ำมันหล่อลื่น เครื่องยนต์ดีเซล vs เบนซิน ที่ควรรู้
เชื่อว่าหลายคนคงสงสัยอยู่ไม่น้อยว่าน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ดีเซล และน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์เบนซินต่างกันอย่างไร ? มิสเตอร์ คุ้มค่า รวบรวมคำตอบที่น่าสนใจมาให้แล้ว ไปดูกันเลย
น้ำมันเครื่องเบนซิน
ถูกออกแบบให้มีสารเติมแต่งในปริมาณที่สูงกว่าน้ำมันเครื่องเบนซิน เนื่องจากมีการเผาไหม้และสกปรกง่ายกว่า
น้ำมันเครื่องดีเซล
เป็นน้ำมันเครื่องที่ไม่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ เพียงแต่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง และไส้กรองบ่อยกว่าเครื่องยนต์เบนซิน
แน่นอนว่าเครื่องยนต์แต่ละรุ่นมีความต้องการแตกต่างกัน แนะนำให้ตรวจสอบน้ำมันหล่อลื่นรถยนต์อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงปฏิบัติตามคู่มือประจำรถอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจตามมา ในกรณีที่พบคราบน้ำมันรั่วซึม ควรเช็คสภาพโดยด่วน
เลือกซื้อน้ำมันหล่อลื่นรถยนต์เจ้าไหนดี ?
สำหรับน้ำมันหล่อลื่นรถยนต์ปัจจุบันมีให้เลือกทั้งน้ำมันหล่อลื่น shell, น้ำมันหล่อลื่น บางจาก, น้ำมันหล่อลื่น ปตท ส่วนเรื่องราคาต้องบอกไว้เลยว่า “ต่างกัน” แน่นอน แต่จะเลือกซื้อกับเจ้าไหนดี ? ไปทำความรู้จักให้มากขึ้นกันเลยดีกว่า
น้ำมันหล่อลื่น shell
เป็นผู้จำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นรถยนต์อันดับ 1 ของโลก ติดต่อกัน 11 ปีซ้อน แถมยังเป็นผู้นำตลาดน้ำมันหล่อลื่นกว่า 100 ประเทศทั่วโลก เนื่องจากได้รับการพัฒนาด้วยเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก คิดค้นขึ้นมาเพื่อสมรรถนะที่ดี ยอดเยี่ยมแก่ยานยนต์ของคุณ
น้ำมันหล่อลื่น บางจาก
ที่สุดของการปกป้องและบำรุงรักษาเครื่องยนต์ เลือกน้ำมันที่เหมาะกับรถได้อย่างอิสระ ตอบโจทย์การใช้งานของรถทุกประเภท แถมยังผ่านการทดสอบมาตรฐานต่าง ๆ มานับไม่ถ้วน
น้ำมันหล่อลื่น ปตท
มั่นใจในประสิทธิภาพได้มากกว่า เพราะล่าสุดน้ำมันหล่อลื่น ปตท คว้ารางวัล Marketeer No.1 Brand Thailand 2024 จากนิตยสารมาเก็ตเธียร์และมาร์เก็ตเธียร์ออนไลน์ ตอกย้ำความสำเร็จ “แบรนด์ยอดนิยมต่อเนื่องเป็นปีที่ 13 ในหมวดผลิตภัณฑ์หล่อลื่นรถยนต์”
ขอย้ำอีกครั้งว่าน้ำมันหล่อลื่นรถยนต์ เป็นหนึ่งในเรื่องที่คนมีรถทุกคนควรให้ความสำคัญ นอกจากจะคอยเช็คและเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ดีเซลหรือน้ำมันหล่อลื่น เครื่องยนต์เบนซิน ตามระยะที่กำหนดแล้ว การให้ความใส่ใจเรื่องชนิดน้ำมันหล่อลื่นและเกรดน้ำมันหล่อลื่น ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพียงเท่านี้ก็ช่วยยืดอายุการใช้งานรถยนต์ให้ยาวนานขึ้นแล้วล่ะ
คำจำกัดความ
สอดแทรก | เข้าไปยุ่งทั้งที่ไม่ใช่หน้าที่ |
เพลาข้อเหวี่ยง | ทำหน้าที่เปลี่ยนการส่งกำลังจากการขึ้นลงของลูกสูบ มาเป็นการเคลื่อนที่ในทิศทางหมุนเป็นวงกลม |
แรงเฉือน | แรงที่พยายามจะเฉือนส่วนของโครงสร้างในลักษณะที่จะทาให้ ขาดออกจากกัน |