เลือกรถยนต์ไฟฟ้า 2024 รถ EV รุ่นไหนใหม่มาแรงบ้าง พาส่องกัน

แชร์ต่อ
เลือกรถยนต์ไฟฟ้า 2024 รถ EV รุ่นไหนใหม่มาแรงบ้าง พาส่องกัน | มิสเตอร์ คุ้มค่า

ด้วยการยอมรับที่มากขึ้นใน “รถยนต์ไฟฟ้า” จึงถือเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีสำหรับคนอยากซื้อรถใหม่ หรือเปลี่ยนรถยนต์ ยุคนี้ แต่ด้วยความที่รถยนต์ไฟฟ้า 2024 ช่วงนี้ถาโถมเปิดตัวรุ่นใหม่ ๆ วางจำหน่ายหลากหลายทั้งรุ่นและแบรนด์ ทำให้หลายคนมีอาการ ‘ลังเล’ และไม่แน่ใจว่าจะเลือกรุ่นไหนถึงจะเป็นคำตอบสุดท้ายที่คุ้มค่าที่สุด มิสเตอร์ คุ้มค่า จึงได้ลิสต์รุ่นรถพร้อมราคารถยนต์ไฟฟ้า ในปีนี้มาให้ดูกัน จะมีรุ่นไหนถูกใจคุณบ้าง ตามไปทำความรู้จักกันเลย

รถยนต์ไฟฟ้า 2024 ในเมืองไทยมีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?

แต่ก่อนจะไปเลือกซื้อรถใหม่ ดูรุ่นรถ EV มาแรง มาทำความรู้จักกับ “ประเภท” ของรถยนต์ไฟฟ้ากันสักหน่อย ซึ่งหลัก ๆ แล้วมีทั้งหมด 4 ประเภท ดังนี้

  • 1. รถยนต์ไฮบริด (HEV, Hybrid electric vehicle)

    เป็นรถยนต์ที่ผสมผสานระหว่างเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ ส่งผลให้อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ‘ต่ำกว่า’ รถยนต์ที่ใช้น้ำมันแบบ 100%

    นอกจากนี้ยังช่วยลดการปล่อยมลพิษได้ดี แต่รถยนต์ระบบนี้จะไม่มีตัวเสียบชาร์จพลังงานเหมือนรถยนต์ไฟฟ้าปกติ โดยระหว่างที่รถขับเคลื่อนไป ระบบก็จะทำการสะสมพลังงานและนำไปแปลงเป็นระบบไฟฟ้า เก็บในแบตเตอรี่

  • 2. รถยนต์ไฮบริดปลั๊กอิน (PHEV, Plug-in Hybrid Electric Vehicle)

    ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากรถยนต์ไฮบริด เป็นการผสมผสานระหว่างเครื่องยนต์สันดาปที่ใช้เชื้อเพลิง และพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ รูปแบบการทำงานไม่ต่างกัน แต่จะมีการเพิ่มระบบเสียบปลั๊กชาร์จไฟ หรือ Plug in เพื่อให้สามารถเสียชาร์จไฟฟ้าได้ ซึ่งการอัดประจุไฟฟ้าจากภายนอกเข้าไปเก็บไว้ที่แบตเตอรี่ จะทำให้รถยนต์ PHEV วิ่งได้ไกลว่ารถยนต์ HEV

  • 4. รถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV, Fuel Cell Electric Vehicle) 

    ขับเคลื่อนด้วยการใช้พลังงานจาก ‘ไฮโดรเจน’ โดยจะส่งไฮโดรเจนเหลวและอากาศเข้าสู่แผงวงจร เก็บพลังงานไว้ในแบตเตอรี่ ทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมัน ไม่มีการปล่อยไอเสีย แถมยังช่วยลดมลพิษทางอากาศ

    จึงทำให้ได้รับการผลักดันให้เป็น ‘นวัตกรรมยานยนต์’ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในฐานะพลังงานสะอาดแห่งอนาคต แต่การพัฒนารถยนต์ประเภทนี้ก็มีข้อจำกัด โดยเฉพาะสถานีเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่มีจำนวนน้อยมาก ทำให้ในปัจจุบันยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก และยังไม่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย

อยากเข้าวงการรถไฟฟ้า ถามตัวเองให้ดีว่าพร้อมแค่ไหน ?

อย่างที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบัน “รถยนต์ไฟฟ้า” ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนทางกับราคารถยนต์ไฟฟ้าที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลาย ๆ คนที่ไม่เคยสนใจมาก่อน เริ่มลังเลและอยากจะมีรถยนต์ไฟฟ้าไว้ใช้งานสักคัน ซึ่งจริง ๆ แล้ว “ทุกคนสามารถมีรถไฟฟ้าได้” แต่ก่อนจะซื้อเราอยากให้ทำความเข้าใจ “ความพร้อม” ของตัวเองให้ดีก่อน ซึ่งความพร้อมที่ว่านั้นจะมีอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลย

  • 1. รถไฟฟ้าเหมาะกับสไตล์ของคุณมากแค่ไหน ?

    อันดับแรกก่อนตัดสินใจซื้อรถใหม่ โดยรถคันนั้นคือ “รถไฟฟ้า 100%” อยากให้ถามตัวเองให้ดีว่ามันเข้ากับไลฟ์สไตล์ของคุณแค่ไหน เพราะถึงแม้ว่ารถ EV จะไม่ต้องเติมน้ำมัน แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง โดยขึ้นอยู่กับการเก็บพลังงานไฟฟ้าของแบตเตอรี่

    หากคุณมีความจำเป็นหรือชีวิตประจำวันของคุณคือการขับรถระยะไกล อาจจะไม่ตอบโจทย์สักเท่าไหร่นัก เพราะตามปกติแล้วรถไฟฟ้าชาร์จเต็ม 1 ครั้ง สามารถทำระยะทางได้ประมาณ 400-500 กิโลเมตร

  • 2. มีเวลาสำหรับการชาร์จแบตเตอรี่หรือไม่ ?

    ข้อดีของรถยนต์ไฟฟ้าคือไม่ต้องเติมน้ำมัน แต่มันก็ถือว่าเป็น ‘อุปสรรค’ ได้เช่นกัน เนื่องจากใช้เวลาชาร์จเต็มประมาณ 6-8 ชั่วโมง หากสามารถเสียบชาร์จทิ้งไว้ทั้งคืนได้ ประเด็นนี้จะไม่ใช่ปัญหาสำหรับคุณเลย

    แต่ถ้าคุณจำเป็นต้องใช้งานรถอย่างต่อเนื่อง หรือต้องการใช้ในเวลาเร่งด่วนบ่อย ๆ อาจทำให้แพลนการเดินทางที่วางไว้ผิดพลาดได้ แม้จะมีสถานีชาร์จที่มีบริการแบบ DC Fast Charge ที่ใช้เวลาชาร์จเพียง 30-40 นาที แต่ก็ยังมีจำนวนจำกัดมาก ๆ และไม่ว่าจะเป็นการชาร์จแบบไหน ก็มีอัตราค่าชาร์จแบตรถไฟฟ้าที่ต้องเตรียมไว้ให้พร้อมด้วย

  • 3. พร้อมรับค่าใช้จ่าย สำหรับติดตั้งจุดชาร์จหรือยัง ?

    การชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า mg, รถไฟฟ้าเทสล่า หรือรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นไหน ๆ ก็ตาม ใช่ว่ามีปลั๊กเสียบชาร์จก็จะชาร์จตรงไหนก็ได้ เพราะระบบการรับประจุไฟฟ้าเข้าหม้อแบตเตอรี่ และพลังงานไฟฟ้าจากทางบ้านนั้น มี “ค่าความต่างศักย์” ที่ต่างกัน หากไม่มีหัวแปลงไฟ อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อรถไฟฟ้าได้

    ทั้งนี้ การติดตั้งสถานีชาร์จที่บ้าน จะต้องทำเรื่องขออนุญาตติดตั้งหม้อแปลงพิเศษ สำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าและการคิดคำนวณค่าไฟ พร้อมกับการปรับเปลี่ยนสายไฟให้มีความทนทาน เพียงพอต่อการจ่ายกระแสไฟฟ้าโดยไม่เกิดการช็อต แน่นอนว่ามีค่าใช้จ่ายตามมามากมาย คุณเตรียมพร้อมสำหรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้แล้วหรือยัง?

นอกจากนี้ “ประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า” ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ต้องใส่ใจด้วยเช่นกัน แม้ราคารถยนต์ไฟฟ้าจะถูกลงอย่างต่อเนื่อง แต่ค่าประกันกลับไม่เป็นแบบนั้น หากไม่มั่นใจว่าจะรับมือกับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไหวหรือไม่ แนะนำให้เข้ามาเปรียบเทียบประกันรถยนต์ และเช็คเบี้ยประกันกับ มิสเตอร์ คุ้มค่า ก่อนได้ เรามีแผนประกันให้เลือกหลากหลาย แถมราคายังสบายกระเป๋ามาก ๆ อีกด้วย

6 รุ่นรถยนต์ไฟฟ้า 2024 มีรุ่นไหนน่าซื้อบ้าง ?

6 รุ่นรถยนต์ไฟฟ้า 2024 มีรุ่นไหนน่าซื้อบ้าง ? | มิสเตอร์ คุ้มค่า

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ารถยนต์ไฟฟ้าในไทยมาแรงจนฉุดไม่อยู่ ซึ่งแต่ละแบรนด์ รถยนต์ไฟฟ้า 2024 ต่างก็งัดจุดเด่นของตัวเองออกมาสู้สุดใจ เพื่อช่วงชิง ‘ส่วนแบ่งการตลาด’ หากคุณเป็นหนึ่งในคนที่สนใจ ตามไปดู 6 รุ่นที่เรานำมาบอกต่อกันเลยดีกว่า

  • 1. Zeekr 009

    ราคา: 3,099,000 บาท

    Zeekr 009 เป็นรถตู้ไฟฟ้า 100% สุดหรูที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการในประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2567 สด ๆ ร้อน ๆ ถือเป็นยนตรกรรมที่ครบครันในทุกมิติของความสมบูรณ์แบบของรถโดยสาร ทั้งความหรูหรา นวัตกรรมอัจฉริยะ สมรรถนะที่เหนือชั้น และความปลอดภัยขั้นสูงสุด

    โดดเด่นด้วยระบบขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์คู่ ที่มีกำลังสูงสุด 450 kW หรือเทียบเท่า 603 แรงม้า แรงบิด 693 นิวตัวเมตร เร่งความเร็วจาก 0-100 กม./ชม. ใช้เวลาเพียง 4.5 วินาที แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน CATL ขนาด 116 kWh สามารถวิ่งได้ไกลถึง 686 กม. ตามมาตรฐาน NEDC

  • 2. Avatar 11

    ราคา: เริ่มต้น 2,099,000 บาท

    Avatar 11 รถ SUV ไฟฟ้าทรงคูเป้หลังคาลาด หนึ่งในรถยนต์ไฟฟ้าที่เน้นความ Luxury มีให้เลือกทั้งหมด 2 รุ่นย่อยให้เลือก ดังนี้

    • มอเตอร์เดี่ยว Standard :พละกำลัง 313 แรงม้า แรงบิด 370 นิวตันเมตร แบตเตอรี่ 90 kWh ชาร์จเต็มวิ่งไกลถึง 630 กม. เร่งความเร็วจาก 0-100 กม./ชม. ในเวลาเพียง 6.6 วินาที ความเร็วสูงสุด 200 กม./ชม.
    • มอเตอร์เดี่ยว Long Range :พละกำลัง 313 แรงม้า แรงบิด 370 นิวตันเมตร แบตเตอรี่ 116 kWh ชาร์จเต็มวิ่งไกลถึง 730 กม. เร่งความเร็วจาก 0-100 กม./ชม. ใช้เวลาเพียง 6.9 วินาที ความเร็วสูงสุด 200 กม./ชม.
  • 3. Changan Hyptec

    ราคา: เริ่มต้น 1,449,000 บาท

    Changan Hyptec รถ SUV ไฟฟ้าสไตล์ Luxury มาพร้อมกับเทคโนโลยีขั้นสูง ที่ผสานเข้ากับการออกแบบ และการใช้งานได้อย่างลงตัว ในประเทศไทยมีให้เลือก 2 รุ่นย่อย คือ HYPTEC HT 620 Premium และ HYPTEC HT 620 Luxury (ประตูปีกนก)

    มากับชุดมอเตอร์ไฟฟ้าแบบ 4 in 1 เป็นแบบมอเตอร์ไฟฟ้าตัวเดียวที่คู่ล้อหลังให้กำลัง 340 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 430 นิวตันเมตร เร่งความเร็วจาก 0-100 กม./ชม. ใช้เวลาเพียง 5.8 วินาที ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 183 กม./ชม.

  • 4. BYD M6

    ราคา: เริ่มต้น 829,900 บาท

    รถไฟฟ้า byd รุ่น M6 นวัตกรรมใหม่ของเทคโนโลยีแบตเตอรี่ เอกสิทธิ์เฉพาะของ BYD ให้ความปลอดภัยสูงสุด มั่นใจได้ทุกการขับขี่ มีให้เลือก 2 รุ่นย่อย ดังนี้

    • M6 Dynamic : มอเตอร์ไฟฟ้า 1 ตัว พละกำลังสูงสุด 163 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 310 นิวตันเมตร แพลตฟอร์มใหม่  e-Platform 3.0 แบตเตอรี่ LFP Blade Battery Cell to Pack (CTP) ขนาด 55.4 kWh ขับเคลื่อนล้อหน้า วิ่งระยะไกลสุด 420 กม. ตามมาตรฐาน NEDC

    • M6 Extended : มอเตอร์ไฟฟ้า 1 ตัว พละกำลังสูงสุด 204 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 310 นิวตันเมตร แพลตฟอร์มใหม่ e-Platform 3.0 แบตเตอรี่ LFP Blade Battery Cell to Pack (CTP) ขนาด 71.8 kWh ขับเคลื่อนล้อหน้า เร่งความเร็วจาก 0-100 กม./ชม. ใช้เวลาเพียง 8.6 วินาที วิ่งระยะไกลสุด 530 กม. ตามมาตรฐาน NEDC

  • 5. Xpang G6

    ราคา: เริ่มต้น 1,439,000 บาท

    Xpang G6 รถไฟฟ้า 100% Premium SUV เปิดตัวอย่างเป็นทางการในประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา มีให้เลือก 2 รุ่นย่อย ดังนี้

    • Standard RWD : มอเตอร์ไฟฟ้า 1 ตัว พละกำลังสูงสุด 258 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 440 นิวตันเมตร แบตเตอรี่ 800V Technology (LFP) ขนาด 66 kWh ขับเคลื่อนล้อหลัง เร่งความเร็วจาก 0-100 กม./ชม. ใช้เวลาเพียง 6.9 วินาที ความเร็วสูงสุด 200 กม./ชม. วิ่งระยะทางสูงสุด 505 กม. ตามมาตรฐาน NEDC

    • Long Range RWD :มอเตอร์ไฟฟ้า 1 ตัว พละกำลังสูงสุด 285 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 440 นิวตันเมตร แบตเตอรี่ 800V Technology (NMC) ขนาด 87.5 kWh ขับเคลื่อนล้อหลัง เร่งความเร็วจาก 0-100 กม./ชม. ใช้เวลาเพียง 6.7 วินาที ความเร็วสูงสุด 200 กม./ชม. วิ่งระยะทางสูงสุด 625 กม. ตามมาตรฐาน NEDC

  • 6. Omoda C5 EV

    ราคา: เริ่มต้น 899,000 บาท

    Omoda C5 EV รถครอสโอเวอร์พลังงานไฟฟ้า ขับเคลื่อนล้อหน้า (มอเตอร์เดี่ยว) ความจุแบตเตอรี่ 61 kWh พละกำลังสูงสุด 204 แรงม้า ชาร์จเต็มวิ่งได้ไกล 500 กม. ตามมาตรฐาน NEDC เร่งความเร็วจาก 0-100 กม./ชม. ใช้เวลาเพียง 7.8 วินาที มีให้เลือก 2 รุ่น ได้แก่ OMODA C5 EV รุ่น Long Range Plus และ OMODA C5 EV รุ่น Long Range Ultimate

เมื่อการมาของรถไฟฟ้าหลากรุ่นหลายแบรนด์ เข้ามาเปิดตัวถี่ ๆ กัน กับตัวรถที่การใช้งานครบครัน ฟีเจอร์แน่น ในราคาป้ายแดงที่ไม่เคยมีมาก่อนในตลาดบ้านเรา ส่งผลให้ตลาดรถเมืองไทย “ปั่นป่วน” สะเทือนทั้งแบรนด์เจ้าตลาดเดิมและตลาดรถมือสอง โดยเฉพาะฝ่ายหลัง ตลาดรถมือสองตอนนี้รถหลาย ๆ รุ่นในตลาดราคาลดลงอย่างน่าตกใจ และใครที่สนใจจะเป็นเจ้าของรถรุ่นไหนก็ตัดสินใจได้ง่ายกว่าเดิม

ซื้อรถต่อจากคนอื่น ต้องรู้อะไรบ้าง ?

สำหรับคนที่กำลังมองหา “รถใหม่”(ของเรา) ที่ไม่ใช่ป้ายแดงแต่เป็นในรูปแบบของรถมือสอง ที่อาจตอบโจทย์ได้มากกว่า ไม่ว่าจะเป็นการหาจากแหล่งซื้อรถออนไลน์ หาตามเต็นท์รถต่าง ๆ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามมานอกจากค่ารถ ยังมี “ค่าโอนรถ” ที่ต้องทำความเข้าใจให้ดีด้วย โดยหลัก ๆ จะมีค่าใช้จ่ายแยกย่อยดังนี้

  • ค่าคำขอ 5 บาท
  • ค่าธรรมเนียมโอนรถยนต์ 100 บาท
  • ค่าอากรแสตมป์ 500 บาทต่อราคาประเมินทุก 10,000 บาท
  • ค่าเปลี่ยนป้ายทะเบียน 200 บาท (กรณีผู้ซื้อต้องการเปลี่ยนป้ายใหม่)
  • ค่าเปลี่ยนเล่มทะเบียน 100 บาท (กรณีเล่มทะเบียนเก่าหรือชำรุด)

นอกจากเตรียมเงินให้พร้อมแล้ว ยังต้องเตรียมเอกสารให้ครบด้วยเช่นกัน เพื่อลดระยะเวลาในการดำเนินการ ซึ่งจะมีเอกสารอะไรบ้างตามไปดูกันเลย

  • ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน กรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
  • สัญญาซื้อขาย ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษี
  • แบบคำขอโอนและรับโอน ซึ่งกรอกรายการและลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนเรียบร้อยแล้ว
  • หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบ กรณีผู้โอน และ/หรือผู้รับโอนไม่ได้มาดำเนินการด้วยตัวเอง

ซื้อรถต่อจากคนอื่น โอนลอยได้ไหม ?

“โอนลอย” คือ การโอนกรรมสิทธิ์อีกรูปแบบหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการซื้อรถต่อจากคนอื่น ซื้อขายรถมือสอง โดยการโอนรถลักษณะนี้ เจ้าของรถหรือผู้ขายได้ทำการเซ็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการโอนให้แก่ผู้ซื้อ แล้วให้ผู้ซื้อรถไปดำเนินการเองที่สำนักงานขนส่งทางบก แต่ผู้ขายไม่ได้ไปทำเรื่องโอนกรรมสิทธิ์รถที่สำนักงานขนส่ง

แต่มีข้อควรระวังตรงที่ หากผู้ซื้อรถไม่นำเอกสารโอนลอยไปดำเนินการโอนรถที่ขนส่งให้เสร็จเรียบร้อย แต่กลับนำรถไปใช้ในทางที่ไม่ดี ทำผิดกฎจราจร หรือทำการผิดกฎหมาย จะทำให้ผู้ขายได้รับความเสียหายได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเก็บหลักฐานการซื้อขายให้ดี รวมถึงศึกษารายละเอียดการโอนลอย รวมถึงข้อกฎหมายให้ถี่ถ้วน เพื่อป้องกันความผิดที่อาจตามมาประชิดตัว

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ารถไฟฟ้าในไทยในปัจจุบัน ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หากคุณลังเล หรือยังไม่รู้ว่าจะเลือกซื้อรุ่นไหนดี ทั้ง 6 รุ่นรถยนต์ไฟฟ้า 2024 ที่เรานำมาบอกต่อก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดี นอกจากเลือกรุ่นรถที่ชอบแล้ว อย่าลืมให้ความสำคัญกับประกันภัยด้วย และถ้าหากซื้อรถต่อจากคนอื่นก็ควรระวังเรื่องการโอนลอยให้ดี เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาต่าง ๆ ได้แล้วล่ะ

คำจำกัดความ
​​NEDC ​มาตรฐานการวัดระยะทางรถยนต์ไฟฟ้าของฝั่งยุโรป
​เอกสิทธิ์ ​สิทธิพิเศษที่ให้แก่บุคคลโดยเฉพาะในอันที่จะได้รับการยกเว้นบางประการ ในการปฏิบัติหน้าที่ หรือดำเนินการ, สิทธิพิเศษที่มีแต่เฉพาะบุคคล บางคน หรือบางประเภท ซึ่งมีคุณลักษณะพิเศษบางประการ ทำให้บุคคลนั้นมีความชอบธรรมอันจะอ้างเอาประโยชน์พิเศษยิ่งกว่าบุคคอื่น
​ประชิดตัว ​เข้าถึงตัว, เข้าชิดตัว​

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่