ไฟผ่าหมากหรือไฟฉุกเฉินรถยนต์ เป็นปุ่มที่มีอยู่ในรถทุกคัน ซึ่งไฟฉุกเฉินจะถูกกดใช้ในเหตุการณ์ต่าง ๆ แต่ก็ควรใช้อย่างเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อตัวผู้ขับขี่เองและเพื่อนร่วม โดยเฉพาะช่วงฝนตกที่ไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉินโดยเด็ดขาด เพราะเป็นอันตรายต่อเพื่อนร่วมทางอย่างมาก แต่จะอันตรายยังไง มิสเตอร์ คุ้มค่า รวบรวมคำตอบมาให้แล้ว ตามไปดูกันเลย
ทำไมถึงไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉินรถยนต์ช่วงฝนตก ?
หลายคนอาจคิดไม่ถึงว่าการเปิดไฟฉุกเฉิน LED ส่งผลร้ายต่อเพื่อนร่วมทางยังไงบ้าง มิสเตอร์ คุ้มค่า ได้รวบรวมรายละเอียดมาให้แล้ว ดังนี้
- ทำให้รถที่ขับตามมาดวงตาพร่ามัว หากต้องเจอแสงสว่างจากไฟฉุกเฉินเป็นเวลานาน
- สร้างความสับสนให้กับเพื่อนร่วมทาง เพราะไม่รู้ว่าคุณต้องการเลี้ยว เปลี่ยนเลย รถเสีย หรือเกิดเหตุฉุกเฉินใด ๆ
- หากมีรถหลายคันเปิดไฟฉุกเฉินพร้อมกัน จะทำให้กะระยะได้ยาก ทัศนวิสัยในการมองเห็นลดลง
จะเห็นได้ว่าการเปิดไฟฉุกเฉินในช่วงที่ฝนตก มีผลเสียที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย แล้วแบบนี้ควรใช้ไฟฉุกเฉินรถยนต์ตอนไหน มิสเตอร์ คุ้มค่า ก็รวบรวมคำตอบประเด็นนี้มาให้ด้วยเช่นกัน ตามไปดูในหัวข้อถัดไปกันเลยดีกว่า
ขับรถหน้าฝนยังไงให้ปลอดภัย ?
เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน นอกจากจะปฏิบัติตามกฎหมายจราจรทางบกอย่างเคร่งครัด และเปิดไฟฉุกเฉินรถยนต์อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์แล้ว ในหน้าฝนก็ควรรู้วิธีการขับขี่ที่ปลอดภัย ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นด้วย ซึ่งจะมีอะไรบ้าง ตามไปดูกันเลย
ตรวจสอบยางรถยนต์
ก่อนออกเดินทางทุกครั้ง ไม่ว่าจะระยะทางสั้น ๆ หรือระยะทางไกล การตรวจสอบยางรถยนต์ถือว่าสำคัญมาก ๆ โดยเฉพาะเมื่อต้องขับขี่ช่วงหน้าฝน ยางที่มีดอกยางที่ดีจะช่วยให้การยึดเกาะถนนดีขึ้น และลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุ นอกจากนี้ยังควรตรวจสอบความดันลมยางให้เหมาะสม และดอกยางไม่สึกเกินไปด้วย
เปิดไฟหน้าและไฟท้าย
ในช่วงที่ฝนตกการเปิดไฟหน้าและไฟท้าย จะช่วยให้รถคันอื่นมองเห็นเราได้ง่ายขึ้น แถมยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้มากกว่า ดังนั้นควรเปิดไฟอยู่เสมอแม้จะเป็นช่วงเวลากลางวันก็ตาม
ลดความเร็ว
การลดความเร็วเมื่อต้องขับขี่ในช่วงที่ฝนตก เป็นสิ่งที่ควรทำเสมอ เพราะการขับรถด้ยความเร็วในขณะที่ถนนลื่น เปียก ประกอบทัศนวิสัยไม่ดี อาจทำให้รถเสียการควบคุมและเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ควรปรับความเร็วให้เหมาะสมกับสภาพถนนและทัศนวิสัย
รักษาระยะห่างจากรถคันหน้า
หากต้องขับขี่ในช่วงฝนตก ถนนเปียก สิ่งที่ลดความเสี่ยงได้ดีมาก ๆ คือการรักษาระยะห่างจากรถคันหน้าอย่างน้อย 4-6 วินาที เพื่อให้มีเวลามากพอในการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน
ใช้ที่ปัดน้ำฝนและน้ำยาเคลือบกระจก
ที่ปัดน้ำฝนเป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่สำคัญมาก ๆ ในช่วงหน้าฝน ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่ายังสามารถทำงานได้ดี และไม่มีรอยขีดข่วนที่กระจก นอกจากนี้การใช้สารเคลือบกระจก ก็ช่วยให้น้ำฝนไหลลงจากกระจกเร็วขึ้น ทำให้มองเห็นได้ชัดเจนมากกว่า
หลีกเลี่ยงการเบรกกะทันหัน
การเบรกรถอย่างกะทันหันในช่วงที่ฝนตก ถนนลื่น ถือว่าอันตรายมาก เพราะอาจทำให้รถเสียการควบคุมได้ ดังนั้นควรใช้เบรกอย่างนุ่มนวลและช้า ๆ เพื่อลดความเสี่ยงของการลื่นไถล
ไฟฉุกเฉินใช้ตอนไหนดีที่สุด ?
การใช้ไฟฉุกเฉินรถยนต์อย่างถูกต้องตามกฎหมายจราจรทางบก คือ เปิดใช้เมื่อมีเหตุฉุกเฉินจำเป็นต้องจอดรถ ดังนี้
- รถจอดเสียอยู่กับที่ โดยต้องจอดรถในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจร และต้องเปิดไฟฉุกเฉิน ตามกฎหมายจราจรที่ควรรู้ ว่าด้วย พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 56
- รถที่ต้องจอดกะทันหันเนื่องจากเจอสิ่งกีดขวาง เจออุบัติเหตุด้านหน้า สถานการณ์นี้สามารถใช้สัญญาณไฟฉุกเฉินเพื่อเตือนรถคันหลังได้
แม้จะระมัดระวังในการขับรถ ปฏิบัติตามการขับขี่ตามกฎจราจร หรือการการขับขี่ตามกฎจราจรเปิดไฟฉุกเฉินเป็นอย่างดีแล้ว ขึ้นชื่อว่า “อุบัติเหตุ” สามารถเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ คงจะดีไม่ใช่น้อยหากมีประกันภัยรถยนต์ที่คุ้มครองตอบโจทย์ คอยอยู่เคียงข้างคุณตลอด 24 ชั่วโมง เปรียบเทียบประกันรถยนต์กับ มิสเตอร์ คุ้มค่า เพื่อหาแผนประกันที่ใช่ ราคาที่ชอบได้แล้ววันนี้
สถานการณ์ไหนที่ไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉินอีกบ้าง ?
นอกจากจะไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉินในช่วงที่ฝนตกลงมาแล้ว ยังมีสถานการณ์อื่น ๆ ที่ไม่ควรเปิดใช้งานด้วยเช่นกัน แถมยังเป็นสถานการณ์ที่หลายคนเผลอเปิดไฟฉุกเฉินรถยนต์อยู่บ่อยครั้ง เนื่องจาก ‘คิดไปเอง’ ว่ามันต้องเปิด หรือเปิดตามคันอื่น ๆ ดังนี้
เปิดไฟฉุกเฉินขณะขับรถ
การเปิดไฟฉุกเฉินขณะขับรถ ถือเป็นพฤติกรรมที่ไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้รถที่ตามมาไม่สามารถรู้ได้เลยว่า รถยนต์ของคุณจะเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา
ใช้งานไฟฉุกเฉินขณะข้ามแยก
พฤติกรรมการใช้งานไฟฉุกเฉินรถยนต์แบบนี้ อาจทำให้รถคันด้านหลังเข้าใจผิดคิดว่าคุณจะเลี้ยว และอาจเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนได้ง่าย หากต้องการที่จะข้ามแยก ง่าย ๆ เลยคือชะลอความเร็วลง แล้วสังเกตรถทางด้านซ้าย-ขวาก่อนจะขับข้ามทางต่อไป
ขณะจอดรถซื้อของริมถนน หรือทำธุระ
หลายคนมักเข้าใจผิด คิดว่าการเปิดไฟฉุกเฉินเมื่อจอดรถซื้อของริมทาง หรือแวะทำธุระบริเวณดังกล่าว เป็นการขออนุญาตไปในตัว หรือเป็นการบอกกล่าวแล้วว่ามีรถจอดอยู่ตรงนี้ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่สมควรมาก ๆ เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดตามมา
หากต้องการจอดค้างไว้ แม้จะเป็นแค่ช่วงเวลาสั้น ๆ หรือกินเวลายาวนานเป็นชั่วโมง สิ่งสำคัญที่สุด คือ นำรถไปจอดในสถานที่ที่จัดเตรียมไว้เพื่อจอดเท่านั้น เพื่อไม่ให้กีดขวางการจราจร
สรุปได้ว่าการเปิดไฟฉุกเฉินพร่ำเพรื่อไม่ใช่สิ่งที่ควรกระทำ และสิ่งสำคัญไม่ว่าจะเปิดหรือไม่เปิดไฟฉุกเฉินในสถานการณ์ใด ๆ ก็ตาม ต้องมีความปลอดภัยต่อทุกคนเพิ่มขึ้น ไม่ใช่ลดลง อะไรที่เคยเชื่อมาผิด ๆ หรือทำจนคุ้นชิน อย่างเช่นการเปิดไฟฉุกเฉินขณะข้ามแยก ก็ควรปรับเปลี่ยนให้ถูกต้องจะดีที่สุด
ไม่เปิดไฟฉุกเฉินในสถานการณ์ที่ควรเปิด แบบนี้ผิดกฎหมายไหม ?
บอกไว้ก่อนเลยว่าไฟฉุกเฉินรถยนต์หากเปิดผิดสถานการณ์ หรือไม่เปิดใช้งานในสถานการณ์ที่ควรจะเปิด อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนได้ แถมยังผิดกฎหมายจราจรเบื้องต้นอีกด้วย อ้างอิงจากกฎหมายจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 11 และมาตรา 56 โดยระบุเนื้อความดังนี้
- กฎหมายจราจรเบื้องต้น มาตรา 11 : ระบุว่า ถ้าจอดรถอยู่ที่ที่แสงสว่างไม่เพียงพอจะมองเห็นคนหรือรถ ผู้ขับขี่้ต้องทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนคันอื่น ๆ เห็น ด้วยการเปิดไฟฉุกเฉินในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร หากฝ่าฝืนมีโทษปรับ 500 บาท
- การขับขี่ตามกฎจราจร มาตรา 59 : ระบุว่า ถ้ารถเสียกลางทางต้องนำรถออกจากเส้นทางจราจร แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ ให้จอดรถไว้ข้างทางพร้อมกับเปิดไฟฉุกเฉิน เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนรับรู้ด้วยว่าคุณต้องการขอความช่วยเหลือ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับ 1,000 บาท
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการทำความเข้าใจไฟฉุกเฉินรถยนต์ ทั้งประเด็นการเปิดไฟฉุกเฉินที่เหมาะสม และสถานการณ์ที่ควรเลี่ยง เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เพราะส่งผลต่อความปลอดภัยในการขับขี่โดยตรง แถมถ้าเปิดผิด ๆ หรือไม่เปิดในสถานการณ์ที่ควรจะเปิด ก็มีความผิดตามกฎหมายจราจรทางบกด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นทำความเข้าใจเอาไว้ถือเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ เลยล่ะ
คำจำกัดความ
พร่ามัว | เลือน, พร่าเลือน, ขุ่นมัว, มัว, ไม่ชัด |
ฝ่าฝืน | ไม่ปฏิบัติตาม, ขัดขืน, ละเมิด, ล่วง |
โทษปรับ | โทษทางอาญาฐานหนึ่ง ซึ่งมีข้อดีในแง่ต้นทุนการบริหารจัดการที่ต่ำกว่าโทษจำคุก คุมประพฤติ และกักบริเวณ |