สำหรับผู้ที่ชอบ แต่งรถ แต่ไม่อยากเปลี่ยนสีรถเดิม ทางเลือกอย่างการ Wrap สีรถ ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ ไม่ต้องพ่นสีใหม่ให้ยุ่งยากวุ่นวายและ “เสียรถ” นับเป็นเทรนด์การแต่งรถยนต์คู่ใจที่ได้รับความนิยมมากในยุคนี้เลยก็ว่าได้
แต่คุณรู้ไหมว่า ? การ Wrap หรือการทำสีรถยนต์ประเภทนี้ ไม่ได้มีแค่ข้อดีเพียงอย่างเดียว ! เพราะเหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ และการทำสีก็เช่นกัน ซึ่งข้อเสียของการ Wrap สีรถยนต์ในปัจจุบันจะมีอะไรบ้าง ? มิสเตอร์ คุ้มค่า จะพาคุณไปดูกัน
ส่องข้อดีและข้อสังเกตการ แต่งรถ ด้วยการ Wrap
Wrap สีรถยนต์ คือการนำ “สติกเกอร์” ขนาดใหญ่ มาติดรถยนต์ทั้งคัน เพื่อจุดประสงค์ในการเปลี่ยนสีรถยนต์เป็นการ “ชั่วคราว” โดยการ Wrap สีรถยนต์ก็จะมีข้อดีและข้อเสียดังนี้…
ข้อดีของการ Wrap สีรถยนต์
- ช่วยรักษาสีรถยนต์ด้วยการติดสติกเกอร์แบบฟิล์ม หุ้มทับไปบนสีรถเดิม แถมยังสามารถป้องกันได้ทั้งรังสียูวี รอยขีดข่วน ขี้นก คราบน้ำมัน และสะเก็ดหินได้เป็นอย่างดี
- ระยะเวลาในการ Wrap สีรถยนต์ ค่อนข้าง “น้อยกว่า” การทำสีรถใหม่ โดยใช้เวลาประมาณ 4-5 วัน
- มีลวดลายและเฉดสีให้เลือกหลากหลาย มากกว่า 100 แบบ
ข้อเสียของการ Wrap สีรถยนต์
- หากสติกเกอร์ที่นำมา Wrap ไม่มีคุณภาพ อาจทำให้เกิด “คราบกาว” ติดบนสีเดิม ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญส่งผลให้สีจริงซีดลงได้ เนื่องจากกาวของสติกเกอร์ลอกติดแลคเกอร์เคลือบสีรถออกไปด้วย
- มีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างสั้น ประมาณ 2-3 ปี
- ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง โดยราคาเริ่มต้นตั้งแต่หลักพันขึ้นไป ขึ้นอยู่กับคุณภาพและความสวยงามของสติกเกอร์เป็นสำคัญ
หากคุณสนใจและต้องการ Wrap สีรถยนต์แก้เบื่อ แนะนำให้ศึกษาข้อมูลให้ดี และเลือกร้านที่มีคุณภาพ มีความเป็นมืออาชีพ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงแจ้งการเปลี่ยนสีกับกรมขนส่งทางบกภายใน 7 วันด้วย
รู้ยัง !? แม้จะแค่ Wrap สีแต่ต้องแจ้งขนส่งด้วยนะ !
การเปลี่ยนสีรถยนต์แต่ละครั้ง จำเป็นจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียน เรื่องการเปลี่ยนสีรถให้เรียบร้อยตามที่กฎหมายกำหนด หากคุณละเลยจะถือว่า “มีความผิด” ตามมาตรา 60 ระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
เอกสารที่ต้องใช้สำหรับแจ้งเปลี่ยนสีรถ
- 1. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
- 2. ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน
- 3. หลักฐานการเปลี่ยนสีรถ เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าจ้างทำสี หรืออื่น ๆ (ถ้ามี)
ขั้นตอนการดำเนินการแจ้งการเปลี่ยนสีรถ
- 1. ยื่นคำขอพร้อมหลักฐาน เพื่อขอนำรถเข้ารับการตรวจสอบ
- 2. ยื่นตรวจสอบคำขอพร้อมหลักฐาน และผลผ่านการตรวจสอบรถ
- 3. ชำระค่าธรรมเนียม
- 4. รอรับเอกสารคืน
ค่าใช้จ่ายในการแจ้งเปลี่ยนสีรถยนต์
- 1. ค่าธรรมเนียมการแจ้งเปลี่ยนสีรถ 50 บาท
- 2. ค่าดำเนินการตรวจสภาพรถ โดยกรมการขนส่งทางบก 50 บาท
- 3. ค่าคำขอ 5 บาท
- 1. ยื่นคำขอพร้อมหลักฐาน เพื่อขอนำรถเข้ารับการตรวจสอบ
- 2. ยื่นตรวจสอบคำขอพร้อมหลักฐาน และผลผ่านการตรวจสอบรถ
- 3. ชำระค่าธรรมเนียม
- 4. รอรับเอกสารคืน
ค่าใช้จ่ายในการแจ้งเปลี่ยนสีรถยนต์
- 1. ค่าธรรมเนียมการแจ้งเปลี่ยนสีรถ 50 บาท
- 2. ค่าดำเนินการตรวจสภาพรถ โดยกรมการขนส่งทางบก 50 บาท
- 3. ค่าคำขอ 5 บาท
*หมายเหตุ : สามารถดำเนินการแจ้งเปลี่ยนสีรถได้ที่สำนักงานขนส่ง “ทุกแห่ง” ทั่วประเทศ หรือบริการ Drive Thru Service ภายในอาคารตรวจสภาพรถ ที่กรมการขนส่งทางบก จตุจักร ก็ได้เช่นกัน
Wrap สีรถยนต์ บริษัทประกันภัยคุ้มครองหรือไม่ ?
หากคุณทำการ “แต่งรถเพิ่มเติม” หลังจากทำประกัน รวมถึงส่วนที่เพิ่มเติมมานั้น ไม่ได้ระบุความคุ้มครองในกรมธรรม์ ก็ควรจะรีบแจ้งไปยังบริษัทประกันให้เร็วที่สุด เพื่อให้ทางบริษัทส่งเจ้าหน้าที่มา “ประเมินราคา” และเพิ่มความคุ้มครองที่เหมาะสม แต่คุณก็จะต้องยอมรับในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
ซึ่งถ้าหากคุณละเลยและคิดว่าการแจ้งบริษัทประกัน “ไม่ใช่เรื่องสำคัญ” บอกเลยว่างานนี้มีหนาว ! เพราะประกันจะ “ไม่ให้ความคุ้มครอง” รถยนต์คู่ใจของคุณอย่างแน่นอน เนื่องจากอยู่นอกเหนือจากกรมธรรม์ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าประกันไม่รับรู้นั่นเอง
ประกันภัยรถยนต์คุ้มครองรถยนต์ที่แต่งเพิ่มเติมอย่างไร ?
สำหรับรถยนต์ที่แต่งเพิ่มเติม ก็จะได้รับความคุ้มครองตามที่ระบุในกรมธรรม์ตามปกติ โดยจะให้ความคุ้มครองเฉพาะชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ตกแต่ง ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์เท่านั้น เนื่องจากในช่วงเวลาที่ตัดสินใจทำประกัน จะมีการตรวจสภาพรถยนต์บันทึกไว้เป็นหลักฐาน และสำหรับข้อดีและข้อเสียของการมีประกันภัยรถยนต์คุ้มครองรถแต่ง ก็มีรายละเอียดดังนี้
ข้อดีของประกันภัยรถยนต์ คุ้มครองรถแต่ง
- หากเกิดอุบัติเหตุ ก็จะได้รับการดูแลค่าเสียหายต่อทรัพย์สินของคู่กรณี (หากมี) และค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกัน (กรณีแจ้งรายละเอียดการแต่งครบถ้วน)
- ไม่ต้องเสียเงินค่าซ่อมรถ และค่ารักษาพยาบาลเอง ช่วยให้ประหยัดเงินในส่วนนี้ไปได้ (กรณีแจ้งรายละเอียดการแต่งครบถ้วน)
- ทำประกันรถยนต์ชั้นไหน ก็ได้รับความคุ้มครองในส่วนนี้ไปด้วย (กรณีแจ้งรายละเอียดการแต่งครบถ้วน)
ข้อเสียของประกันภัยรถยนต์ คุ้มครองรถแต่ง
- หากมีการแต่งรถเพิ่มเติมหลังจากทำประกัน โดยไม่แจ้งรายละเอียดการแต่งให้ครบถ้วน (ประกันไม่รับรู้) ส่วนที่ไม่ได้ระบุในกรมธรรม์จะไม่ได้รับความคุ้มครอง
- กรณีที่แจ้งรายละเอียดการแต่งครบถ้วน หลังจากที่ทำประกันไปแล้ว และต้องการเพิ่มความคุ้มครองที่ครอบคลุมกว่าเดิม อาจจะต้องเสียเบี้ยประกันเพิ่ม
การแต่งรถด้วยการ Wrap สีรถยนต์ หรือการแต่งรถรูปแบบอื่น ๆ ถือเป็นความชอบส่วนบุคคล ที่สามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการได้ตลอดเวลา แต่อย่าลืมทำตามขั้นตอนต่าง ๆ ให้ถูกต้องด้วย โดยเฉพาะการแจ้งบริษัทประกันภัยรถยนต์ ไม่อย่างนั้นคุณอาจจะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ! แต่ถ้าหากยังไม่มีประกันรถยนต์ และไม่รู้ว่าจะต้อง ทำประกันกับที่ไหนดี ? MrKumka ช่วยคุณได้ ! เพราะเรามีบริษัทประกันชั้นนำ มากกว่า 30 บริษัท ช่วยให้คุณได้รับกรมธรรม์ที่ถูกใจ สบายหายห่วงแน่นอน เปรียบเทียบประกันรถยนต์ออนไลน์ได้แล้ววันนี้ ที่ MrKumka.com