ค่าเสื่อมราคารถยนต์คืออะไร ? มีวิธีคำนวณอย่างไร ?

แชร์ต่อ
ทำความเข้าใจเรื่องค่าเสื่อมราคารถยนต์คืออะไร | MrKumka.com

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “ค่าเสื่อม” มาบ้าง และพอจะรู้คร่าว ๆ ว่าคืออะไร มีความสำคัญยังไง เฉกเช่นเดียวกับ “ค่าเสื่อมราคารถยนต์“ ที่มีความสำคัญต่อการซื้อรถ ใช้รถ และแต่งรถ ซึ่ง MrKumka ได้รวบรวมประเด็นที่น่าสนใจมาให้แล้ว จะมีรายละเอียดน่าสนใจยังไง และเป็นประโยชน์มากน้อยแค่ไหน ไปทำความเข้าใจพร้อม ๆ กับเรากันเลยดีกว่า !

ทำความเข้าใจเรื่องค่าเสื่อมราคารถยนต์คืออะไร ?

“ค่าเสื่อม” คือ “ความแตกต่าง” ของมูลค่ารถยนต์ที่คุณซื้อรถและขายรถ ซึ่งรถยนต์แต่ละแบรนด์ แต่ละรุ่น จะมี “มูลค่าที่ลดลง” แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ยังรวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลา การสึกหรอจากการใช้งาน จำไว้เลยว่ายิ่งคุณใช้รถมากเท่าไหร่ มูลค่าก็ยิ่งลดลงเร็วขึ้นเท่านั้น

โดยทั่วไปค่าเสื่อมจะอยู่ระหว่าง 15-35% สำหรับปีแรก และอาจมีมูลค่าสูงถึง 50% ขึ้นไปในช่วง 3 ปีหลัง ดังนั้นการเลือกซื้อรถยนต์ที่สามารถคงมูลค่าไว้ได้นาน จะช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายในอนาคตได้มากขึ้น

วิธี ‘คำนวณ’ ค่าเสื่อมราคารถยนต์

วิธีคำนวณค่าเสื่อมราคาแบบ ‘เส้นตรง’

เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากคำนวณง่าย แถมยังทำให้ค่าเสื่อมราคาในแต่ละปี “เท่ากันเป็นเส้นตรง” ยกเว้นปีแรกและปีสุดท้ายที่จะไม่เต็มปี โดยมี “สูตรคำนวณ” ดังนี้

สูตร: ค่าเสื่อมราคา = (ราคาต้นทุน - มูลค่าคงเหลือ) / อายุการใช้งาน

วิธีคำนวณค่าเสื่อมราคาแบบลดลงทวีคูณ

วิธีนี้ในปีแรก ๆ จะมีค่าเสื่อมราคาค่อนข้างมาก แล้วค่อย ๆ ลดน้อยลงไปตามจำนวนปีที่มากขึ้น และวิธีนี้จะไม่มีการนำ “ราคาซาก” มาทำการคำนวณ โดยมีสูตรดังนี้

สูตร: ค่าเสื่อมราคา = มูลค่าทางบัญชี* x อัตราค่าเสื่อมราคา** x 2

Note:

*มูลค่าทางบัญชี = ราคาทุน - ค่าเสื่อมราคาสะสม

** อัตราค่าเสื่อมราคา = 100/อายุการใช้งานสินทรัพย์

วิธีคำนวณค่าเสื่อมราคาแบบผลรวมจำนวนปี

มีวิธีการคำนวณคล้ายกับ “การคำนวณค่าเสื่อมราคาแบบลดลงทวีคูณ” คือ ปีแรกจะคิดค่าเสื่อมราคามาก และทยอยลดลงในปีท้าย ๆ โดยมีสูตรคำนวณดังนี้

สูตร: ค่าเสื่อมราคา = (ราคาต้นทุน - มูลค่าคงเหลือ) x จำนวนปีที่เหลือ / ผลรวมจำนวนปี

วิธีคำนวณค่าเสื่อมราคาตามผลผลิต

เป็นการคำนวณที่ขึ้นอยู่กับ “ผลผลิตในแต่ละปี” ปีไหนมีผลผลิตมาก ค่าเสื่อมรถยนต์จะมากตามไปด้วย ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะกับ “รถยนต์ที่เสื่อมค่าตามการใช้งาน” โดยมีสูตรการคำนวณดังนี้

สูตร: ค่าเสื่อมราคา = (ราคาต้นทุน - มูลค่าคงเหลือ) / ปริมาณผลผลิตทั้งหมด x จำนวนที่ผลิตได้ในแต่ละปี

“ค่าเสื่อมราคา” หรือความเสียหายของรถยนต์ ส่งผลต่อเรื่องประกันรถยนต์ด้วยไหม ?

วิธีคำนวณค่าเสื่อมราคารถยนต์ กับ MrKumka.com

ต้องอธิบายก่อนว่าปกติแล้ว “ทุนประกันรถยนต์” จะลดลงปีละ 20% อยู่แล้ว โดยบริษัทประกันจะทำการ “คิดคำนวณค่าเสื่อมราคาจากการใช้งาน” หมายความว่า “ความเสียหายของรถยนต์ หรือค่าเสื่อมราคารถยนต์ มีผลต่อทุนประกัน” ที่มีแต่ละลดลงเรื่อย ๆ ไม่มีทางเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน แล้วอยากรู้ไหมว่า ? ความเสียหายอะไรบ้างที่ส่งผลต่อทุนประกัน ถ้าอย่างนั้นเราไปดูกันเลยดีกว่า

  • กระจกข้างรถแตก/หัก

    ซึ่งเป็นความเสียหายที่มักเกิดขึ้นบ่อย ๆ ตอนที่รถติดไฟแดง เนื่องจากรถมอเตอร์ไซค์ที่มุดแทรกเข้ามาไม่ระวัง เป็นเหตุให้กระจกด้านช้างแตก หัก หรือหลุด

  • ปัญหาของเครื่องยนต์

    เช่น หม้อน้ำรถยนต์รั่ว เนื่องจากเศษหินบนพื้นถนนกระเด็นไปโดน หรืออายุของรถที่ทำให้หม้อน้ำรถยนต์รั่ว จึงเป็นเหตุผลที่คุณควรเปลี่ยน “หม้อน้ำรถยนต์” อย่างสม่ำเสมอ

  • รอยบุบ รอยขีดข่วน และรอยครูด

    ส่วนใหญ่จะเป็นความเสียหายที่เล็กน้อยมาก แต่เป็นร่องรอยความเสียหายที่เกิดขึ้นบ่อย ไม่ว่าจะเป็นขับรถชนกรวยกั้นทาง ถังขยะ ฟุตบาท

  • ยางเสื่อมสภาพ

    ยางรถยนต์” เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ในการขับเคลื่อนรถยนต์ แน่นอนว่าหากไม่มีการบำรุงเลย ย่อมมีการเสื่อมสภาพอย่างแน่นอน แถมยังทำให้รถยนต์เกิดความเสียหายได้อีกด้วย

ซึ่งความเสียหายทั้งหมดนี้ ไม่ว่าจะอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม ล้วนส่งผลต่อ “ทุนประกันรถยนต์” แทบทั้งสิ้น แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ หรือการคำนวณของบริษัทประกันโดยตรง

“ค่าเสื่อมราคารถยนต์” มีข้อมูลที่น่าสนใจ และ ‘จำเป็น’ ต้องทำความเข้าใจแบบเจาะลึก เพื่อผลประโยชน์ของตัวคุณเอง โดยเฉพาะคนที่ต้องการซื้อรถและขายรถ ควรทำความเข้าใจเอาไว้ให้ดี เพื่อป้องกันการโดนเอารัดเอาเปรียบนั่นเอง นอกจากนี้ก่อนต่อประกันรถยนต์ทุก ๆ ครั้ง ควรศึกษาและทำความเข้าใจเงื่อนไข และรายละเอียดความคุ้มครองเพิ่มเติมด้วย เพื่อให้รถยนต์ของคุณได้รับความคุ้มครองอย่างครอบคลุมมากที่สุด

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่