หัวข้อที่น่าสนใจ
- ระบบเสริมของเบรครถยนต์มีอะไรบ้าง ?
- 1. ระบบควบคุมเสถียรภาพแบบไดนามิก (DSC)
- 2. ระบบ Dry Brake
- 3. ระบบควบคุมการยึดเกาะแบบไดนามิก DTC
- 4. ระบบควบคุมการเบรคขณะเข้าโค้ง (CBC)
- ระบบเบรคหลักที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีอะไรบ้าง ?
- 1. ดิสก์เบรค
- 2. ดรัมเบรค
- รู้จักกันหน่อย ระบบเบรค ABS คืออะไร ?
- ระบบเบรค ABS ทำงานยังไง ?
- ข้อดีของระบบเบรค ABS
- ข้อเสียของเบรค ABS
ก่อนตัดสินใจซื้อรถมาขับสิ่งที่ควรนำมาพิจารณาร่วมด้วย คือ “ ระบบเบรค ABS “ ที่ช่วยให้คุณปลอดภัยและอุ่นใจได้มากกว่า แต่ระบบเบรคดังกล่าวคืออะไร ต่างจากเบรครถยนต์ทั่วไปยังไง และจะเกิดอะไรขึ้นหากเบรค ABS ทำงาน มิสเตอร์ คุ้มค่า ลิสต์ประเด็นที่น่าสนใจมาให้แล้ว ตามไปหาคำตอบก่อนเลือกซื้อรถใหม่กันเลยดีกว่า
ระบบเสริมของเบรครถยนต์มีอะไรบ้าง ?
อย่างที่ทราบกันดีว่า “เบรครถยนต์” หน้าที่หลักมีหน้าที่คือชะลมความเร็วรถจนหยุดนิ่ง มากกว่าระบบหลักยังมีระบบเสริมเพิ่มประสิทธิภาพในการหยุดรถในทุกสภาพการขับขี่การใช้งาน โดยเบรคจะช่วยควบคุมการทรงตัวของรถประกอบกันหลายส่วน ดังนี้
1. ระบบควบคุมเสถียรภาพแบบไดนามิก (DSC)
ระบบเสริมที่ช่วยเพิ่มแรงดันเบรคเมื่อระบบเบรคเฟดหรือจม จากการที่ก๊าซเข้าไปแทรกระหว่างตัวจานและผ้าเบรค เมื่อเบรคร้อนเกินไปทำให้การสัมผัสของจานผ้าเบรคไม่ดีและรถยนต์ เบรคไม่อยู่ รถยนต์ เบรคติด รวมถึงการเพิ่มแรงดันเบรครถยนต์ เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ที่ต้องหยุดรถกันทันหัน
2. ระบบ Dry Brake
เป็นระบบเสริมที่จะเปิดอัตโนมัติทันทีที่คนขับเปิดสวิตช์ปัดน้ำฝน เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการหยุดรถบนพื้นถนนที่เปียกลื่น
3. ระบบควบคุมการยึดเกาะแบบไดนามิก DTC
ถือเป็นระบบ DSC อีกรูปแบบ ที่ใช้สำหรับการขับออกตัวบนทางลื่น และช่วยเพิ่มแรงยึดเกาะให้กับรถ ในรถรุ่นใหม่ ๆ จะถูกผนวกรวมถึงเข้ากับระบบ DSC แบบใหม่แล้ว
4. ระบบควบคุมการเบรคขณะเข้าโค้ง (CBC)
ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถใช้ความเร็วสูงขึ้น และยังควบคุมรถที่มีอาการลื่นไถลในขณะเข้าโค้งได้ดี และทำให้ล้อหมุนฟรีขณะขับเคลื่อนน้อยลง
ระบบเบรคหลักที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีอะไรบ้าง ?
รู้ระบบเสริมแล้ว ไปเข้าใจระบบหลัก พื้นฐานของตัวเบรคกันหน่อยที่ทำงานร่วมกับระบบเสริมเพื่อให้การเบรคมีประสิทธิภาพสูงสุด ความปลอดภัยมากที่สุดทุกการแตะเบรค ในปัจจุบันมีใช้งานหลัก ๆ อยู่ 2 ระบบ คือ ดิสก์เบรคและดรัมเบรค โดยมีรายละเอียดการทำงานดังนี้
1. ดิสก์เบรค
ประกอบไปด้วยแผ่นจานดิสก์, ก้ามปูเบรค, ผ้าเบรค และลูกปั้มเบรครถยนต์ เมื่อเหยียบเบรคระบบจะดันผ้าเบรคไปสัมผัสกับจานเบรค ทำให้เกิดความฝืนจนหยุดรถ รถยนต์บางรุ่นมีเบรคติดอยู่แค่ 2 ล้อหน้า (เบรคหน้ารถยนต์) แต่บางรุ่นใช้ดิสก์เบรคทั้ง 4 ล้อ (ทั้งเบรคหน้าและเบรคหลังรถยนต์)
ข้อดีของดิสก์เบรค
- ถ่ายเทความร้อนและไล่น้ำออกจากระบบเบรคได้ดี
- ช่วยลดอาการเบรคหายหรือเบรคเฟด
- บำรุงรักษาง่าย
- เบรคเร็ว และตอบสนองต่อการเหยียบเบรคได้ทันที
ข้อเสียของดิสก์เบรค
- ราคาสูง
- ผ้าเบรคหมดไว้ต้องเปลี่ยนบ่อย
- แม้จะเบรคได้เร็วกว่า แต่ถ้ามีแรงเบรคน้อย เพราะไม่มีระบบช่วยเสริมแรงอย่าง Multiplying Action หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Servo action ทำให้ต้องใช้แรงเบรคมากขึ้น
2. ดรัมเบรค
ในส่วนดรัมเบรครถยนต์ประกอบไปด้วยตัวดรัมที่เป็นโลหะรูปวงกลมติดกับดุมล้อ หมุนไปพร้อมกับล้อ และมีฝักเบรคที่ประกอบด้วยผ้าเบรค กลไกปรับเบรคแต่งเบรค สปริงดึงกลับ ลูกสูบน้ำมันเบรครถ โดยสายน้ำมันเบรคจะเชื่อมต่อกับตัวลูกสูบในการดันผ้าเบรค ให้ไปเสียดทานกับตัวดรัมเพื่อให้เกิดความฝืดในการชะลอความเร็ว
ส่วนใหญ่จะใช้ในรถบรรทุกหรือรถที่ขึ้นลงเขาบ่อย เพื่อให้มีแรงเบรคที่มากกว่าสำหรับหยุดรถโดยสู้กับแรงโน้มถ่วง รวมถึงรถยนต์ส่วนบุคคลโดยทั่วไปที่จะใช้เฉพาะล้อหลัง หรือที่เรียกกันว่าดรัมเบรคหลังรถยนต์นั่นเอง
ข้อดีของดรัมเบรครถยนต์
- หยุดรถได้เร็ว เพราะก้ามเบรคและดรัมเบรครถยนต์ถูกยึดติดกับดุมล้อ
- เหมาะกับรถที่มีน้ำหนักมาก
ข้อเสียของดรัมเบรครถยนต์
- มีความสามารถในการถ่ายเทความร้อน และระบายน้ำได้ไม่ดีเท่าดิสก์เบรค
ระบบเบรครถยนต์ที่รถยนต์รุ่นใหม่ควรมี มีอะไรบ้าง ?
หากคุณกำลังมองหารถยนต์สักคัน ที่ช่วยให้การขับขี่ปลอดภัยตลอดการเดินทาง เรามาดูเบรครถยนต์ที่รถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ควรมี เพื่อประกอบการตัดสินใจกันเลยดีกว่า
ระบบป้องกันล้อล็อก ABS
มาเริ่มกันที่ระบบเบรค abs ระบบเพื่อการเบรคที่ปลอดภัย สร้างขึ้นเพื่อป้องกันการเบรคจน “ล้อล็อค” จะทำให้รถเสียหลักหรือไถลจนคุมทิศทางไม่ได้ รถยนต์ที่ใช้เบรค abs จึงสามารถควบคุมทิศทางของรถขณะเบรคฉุกเฉิน เรียกได้ว่าเป็นตัวช่วยเพื่อความปลอดภัยที่ดีมาก ๆ เลยล่ะ
ระบบกระจายแรงเบรค EBD
ต่อด้วยระบบกระจายแรงเบรค EBD ระบบที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเบรคอย่างเต็มที่ ด้วยการส่งระดับความแรงเบรคไปยังแต่ละล้ออย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ ช่วยให้เกิดสมดุลในการเบรคทั้งล้อคู่หน้าและล้อคู่หลัง ล้อฝั่งซ้ายและล้อฝั่งขวา
ระบบเสริมแรงเบรค BA
และระบบเบรครถยนต์อย่างสุดท้ายที่รถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ควรมี คือ ระบบเสริมแรงเบรค BA เป็นระบบเบรคฉุกเฉินที่จะทำงานต่อเมื่อเกิดการเบรคกะทันหัน ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีที่ควบคุมด้วยเซ็นเซอร์ควบคุมแรงดันน้ำมันเบรคให้สูงขึ้น และเพิ่มการส่งแรงเบรคที่ล้อให้มากขึ้นด้วย
ไม่ว่าจะเป็นระบบเบรค abs, EBD หรือ BA ทั้งหมดล้วนมีความสำคัญต่อความปลอดภัยโดยตรง และเป็นระบบที่ต้องทำงานร่วมกัน ไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยสูงสุดในการป้องกันอุบัติเหตุ จำเป็นต้องมีการติดตั้งทั้ง 3 ระบบนี้ในรถยนต์
แม้ว่ารถยนต์ของคุณจะมีระบบเบรครถยนต์ที่ดีแค่ไหน หรือผ้าเบรครถยนต์ ราคาแพง (เชื่อว่าของแพง = ดี) แค่ไหนก็ตาม แต่อุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นนอกจากจะให้ความสำคัญกับระบบเบรค ABS หรืออื่น ๆ แล้ว ควรให้ความสำคัญกับประกันภัยรถยนต์ด้วย เข้ามาเปรียบเทียบประกันรถยนต์กับ มิสเตอร์ คุ้มค่า ได้ก่อนใคร ตลอด 24 ชั่วโมง
รู้จักกันหน่อย ระบบเบรค ABS คืออะไร ?
Anti-Lock Brake System หรือเรียกกันสั้น ๆ ว่า ABS เป็นระบบเสริมของเบรคที่ทำหน้าที่ป้องกันล้อล็อคหรือล้อตายขณะเบรครถยนต์ ช่วยให้ผู้ขับขี่ยังสามารถบังคับพวงมาลัย หรือพอจะควบคุมทิศทางของรถในระหว่างที่เกิดการเบรคอย่างรุนแรงได้ จึงได้ขึ้นชื่อว่าเป็นเบรครถยนต์ที่ช่วยชีวิตคนมานักต่อนัก ในการป้องกันไม่ให้ล้อตายตอนผู้ขับเหยียบเบรคกะทันหัน
เพราะถ้าเกิดเหตุการณ์เบรคจนล้อตาย รถยนต์อาจเกิดการลื่นไถล เสียการควบคุม และไม่สามารถบังคับทิศทางเพื่อหลบสิ่งกีดขวางในช่วงระยะสั้น ๆ ที่ผู้ขับขี่เหยียบเบรคลึกได้ เนื่องจากล้อไม่หมุน ไม่ทำงาน หากต้องตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ ให้ควบคุมสติพร้อมกับเหยียบเบรคค้างไว้ ไม่ถอนหรือย่ำเบรคซ้ำ
ระบบเบรค ABS ทำงานยังไง ?
การทำงานของเบรค ABS คือระบบที่ผสมผสานการทำงานของระบบกลไก และอิเล็กทรอนิกส์เข้าด้วยกัน ประกอบไปด้วยวงแหวนฟันเฟือง ที่ติดตั้งอยู่กับเพลาหมุน มีเซ็นเซอร์ทำหน้าที่ตรวจจับความเร็วการหมุนของฟันเฟือง เพื่อรายงานความเร็วไปยังวงจร ABS
โดยการทำงานของระบบเบรค ABS จะทำให้ปั๊มเบรคทำงานแบบจับ-ปล่อยที่ประมาณ 16-50 ครั้งต่อวินาที ล้อรถจังไม่ล็อคหรือตาย ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถควบคุมทิศทางของรถได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ต้องเบรคกะทันหันนั่นเอง
ข้อดีของระบบเบรค ABS
- เมื่อเกิดการเบรคกะทันหัน จะช่วยให้ผู้ขับขี่ควบคุมทิศทางของรถได้ รวมถึงสามารถควบคุมพวงมาลัยหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ได้ด้วยเช่นกัน
- ช่วยป้องกันล้อล็อคหรือล้อตายเวลาที่เบรคฉุกเฉิน
- ช่วยยืดอายุการใช้งานของดอกยาง ไม่ให้ยางล้อสึกไว
ข้อเสียของเบรค ABS
- หากไม่คุ้นชินอาจเกิดความตกใจได้ เนื่องจากเบรครถดังพอสมควร
- เมื่อเบรค ABS ทำงาน อาจมีการสะเทือนเข้ามาถึงภายในระ จนทำให้รบกวนการขับขี่
- ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงมากกว่าเบรครถยนต์ธรรมดา
- ทำให้ระยะเบรคยาวขึ้น ต้องเผื่อระยะห่างระหว่างรถคันหน้าให้ดี
ขอย้ำทิ้งท้ายอีกครั้งว่าระบบเบรครถยนต์ ไม่ว่าจะดิสก์เบรค ดรัมเบรค หรือฟังก์ชันเสริมอื่น ๆ อย่างระบบเบรค ABS ล้วนมีความสำคัญมาก ๆ เพราะเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยบนท้องถนนโดยตรง แนะนำให้เช็คให้ดีก่อนว่ารถที่อยากจะจับจองเป็นเจ้าของ มีระบบเหล่านี้ด้วยหรือไม่ เพื่อให้การเดินทางของคุณอุ่นใจ ไร้กังวล และเสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันน้อยที่สุด และอย่าลืมเลือกซื้อประกันรถยนต์ติดเอาไว้ด้วย
คำจำกัดความ
เบรคเฟด | อาการที่เบรคไม่ตอบสนองเหมือนแต่ก่อนจนรู้สึกได้ |
ไถล | ลื่นเฉไปโดยไม่ทันตั้งหลัก |
เซ็นเซอร์ | ชุดอุปกรณ์ วงจร หรือ ระบบ ที่ทําหน้าที่ตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ หรือลักษณะของสิ่งต่างๆ โดยรอบวัตถุเป้าหมาย |