เวลาขับรถเคยสังเกตไหมว่า “มาตรวัด” หน้าปัดรถยนต์ บอกอะไรบ้าง ? ซึ่งต้องบอกก่อนว่ามาตรวัดที่เราเห็นมีอยู่ด้วยกัน 2 ส่วน คือ มาตรวัดความเร็วและมาตรวัดระยะทาง โดยทั้งสองคืออะไร ต่างกันยังไง และมีประโยชน์ยังไง เพื่อไม่ให้คุณเสียเวลาตามหาข้อมูลมากจนเกินไป MrKumka รวบรวมประเด็นที่น่าสนใจมาให้แล้ว ไปดูพร้อม ๆ กันเลย
ไขข้อสงสัย “มาตรวัด” บนหน้าปัดรถยนต์ บอกอะไรบ้าง ?
อย่างที่บอกไปในช่วงเกริ่นนำแล้วว่า มาตรวัดบนหน้าปัดรถยนต์มีทั้งหมด 2 ส่วน คือ มาตรวัดความเร็วและมาตรวัดระยะทาง โดยทั้งสองมีรายละเอียดที่แตกต่างกันดังนี้
มาตรวัดความเร็ว คืออะไร ?
มาตรวัดความเร็วของรถ เป็นอุปกรณ์สำหรับวัดความเร็วจริงของยานพาหนะ ซึ่งรถยนต์จะใช้มาตรวัดแบบกลไกและแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยแสดงผลออกมาในรูปแบบไมล์หรือกิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้คนขับเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ แบบเรียลไทม์ ไม่ว่าจะเป็นความเร็วในการเคลื่อนที่, การสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงที่ความเร็วเฉพาะ ตามปกติแล้วบนมาตรวัดความเร็ว เครื่องหมายความเร็วสูงสุดจะสูงกว่าที่ระบุเอาไว้ในคุณลักษณะของรถเล็กน้อย
นอกจากนี้ยังมี “มาตรวัดรอบของเครื่องยนต์” ด้วย ตามปกติจะเป็นตัวเลขแล้วคูณด้วย 1,000 (มีเขียนกำกับไว้) ส่วนใหญ่จะออกมาเป็นจำนวนรอบ/นาที แสดงผลได้ทั้งแบบเข็มและแบบดิจิทัล เพื่อแสดงให้เห็นว่ารอบที่ใช้งานอยู่ ณ ขณะนั้นอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อคอยเตือนตัวเองไม่ให้ใช้รอบสูงเกินกว่าที่ตัวรถจะรับไหว (สังเกตได้จากเส้นสีแดงบนมาตรวัด) รวมถึงยังสามารถบอกถึงความผิดปกติของเกียร์ หรือระบบขับเคลื่อนได้อีกด้วย
มาตรวัดระยะทาง คืออะไร ?
นอกจากมาตรวัดบนหน้าปัดรถ จะแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ มาตรวัดความเร็วและมาตรวัดระยะทางแล้ว มาตรวัดระยะทาง ยังแบ่งแยกย่อยได้อีก 2 แบบด้วยเช่นกัน โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
มาตรวัดระยะทางแบบ ODO
มาตรวัดระยะทาง หรือ ODO มีชื่อเต็ม ๆ ว่า ODO Meter ที่หลายคนคุ้นเคยกันดีในชื่อเรียกว่า “เลขไมล์” ทำหน้าที่ในการบันทึกระยะทางขับขี่ของรถคันนั้น ๆ ทั้งหมด เริ่มตั้งแต่วันที่ถูกผลิตขึ้นมาจวบจนปัจจุบัน โดยจะไม่สามารถรีเซ็ทตัวเลขได้ด้วยตัวเอง แต่สามารถได้ด้วยผู้ชำนาญการ ตามปกติแล้วชื่อเรียกจะมีหลายแบบ ได้แก่ KM หรือ Mile
นอกจากจะมีหน้าที่ในการบันทึกระยะทางในการขับขี่แล้ว ยังบอกได้ถึง “การใช้งาน” ของรถคันนั้น ๆ ว่าใช้งานมามากน้อยแค่ไหน แน่นอนว่ามีประโยชน์ต่อการซื้อขายรถค่อนข้างมาก ยิ่งรถคันไหนมีเลข ODO น้อย มักจะขายได้ราคาดีกว่า เหตุผลก็ตรงตัวเลยก็คือ “รถถูกใช้งานน้อย” นั่นเอง แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความแบบนั้นเสมอไป เพราะในบางครั้งการใช้รถในเมือง ที่ไม่ได้วิ่งทางไกล เช่น ขับไปทำงานทุกวัน หรือไปห้างบ่อย ๆ แต่ระยะทางไม่ไกลมากนัก แบบนี้จะเรียกว่าเลขไมล์น้อย แต่อายุการใช้งานมาก ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งช่องโหว่ของการเช็กรถก่อนซื้อขาย จากการวัดค่า ODO นั่นเอง
มาตรวัดระยะทางแบบ TRIP
มาตรวัดความเร็ว หรือ TRIP มีชื่อเต็ม ๆ ว่า TRIP Meter เป็นมาตรวัดระยะทางการขับขี่คล้ายกับแบบ ODO แต่สามารถกดรีเซ็ทค่าให้เป็น 0 ได้ด้วยตัวเอง โดยตัวมิเตอร์จะทำหน้าที่ในการวัดระยะทางขับขี่ตั้งแต่จุดที่รีเซ็ท ไปจนถึงจุดหมายปลายทางที่ไป เหมาะกับการใช้ในการคำนวณระยะทางการขับขี่ต่อครั้ง หรือเอาไปวัดระยะทางใช้งานในแต่ละวัน ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของแต่ละคนเป็นสำคัญ
ส่วนใหญ่ TRIP Meter จะมีทริปเดียวหรือ 2 ทริป ซึ่งแต่ละแบบจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับค่ายที่ผลิตรถ เช่น Trip A, Trip B และ Trip 1, Trip 2 แต่จริง ๆ แล้วก็คือตัวเดียวกัน มีหน้าที่และหลักการทำงานเหมือนกัน
มาตรวัดความเร็ว VS มาตรวัดระยะทาง ต่างกันยังไง ?
ต้องบอกแบบนี้นี้มาตรวัดความเร็ว และมาตรวัดระยะทาง มีหน้าที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นประโยชน์หรือใด ๆ ก็ตาม ล้วนแตกต่างด้วยเช่นกัน โดยประโยชน์ของมาตรวัดความเร็วจะช่วยบอกว่าความเร็วรถ ณ ขณะนั้นอยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อให้คุณรู้ว่าในขณะนี้การขับขี่ของคุณเร็วเกินไปหรือเปล่า ส่วนมาตรวัดระยะทาง นอกจากจะช่วยวัดระยะทางได้แล้ว ยังช่วยเตือนให้คุณนำรถเข้าเช็คที่ศูนย์ได้อีกด้วย จึงเป็นเหตุผลที่หลาย ๆ คนควรทำความเข้าใจมาตรวัดบนหน้าปัดรถยนต์ให้ดี เพราะทั้งหมดที่แสดงให้คุณเห็น ล้วนมีประโยชน์ต่อการใช้รถแบบสุด ๆ ยังไงล่ะ
ในความเป็นจริงแล้ว “มาตรวัด” บนหน้าปัดรถยนต์ ทั้งแบบวัดความเร็ว vs ระยะทาง เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่เรายินดีนำข้อมูลมาบอกต่อเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วบนหน้าปัดรถยังมีอย่างอื่นที่ควรทำความเข้าใจอีกมาก โดยเฉพาะ “สัญญาณไฟ” ที่มีอยู่ด้วยกันหลายระดับ แถมยังบ่งบอก ‘ปัญหา’ ที่เกิดกับตัวรถได้อีกด้วย หากคิดจะใช้รถให้มีอายุการใช้งานยาวนาน ไม่พัง ไม่เสียเร็ว ควรให้ความสนใจในส่วนนี้ให้มาก ๆ ด้วยเช่นกัน ไม่อย่างนั้นอาจต้องมานั่งปวดหัวภายหลังได้