สมาธิสั้น การเหม่อลอย ฟุ้งซ่าน และอะไรบ้างที่จะทำให้คุณเสียสมาธิขณะขับรถ ?

แชร์ต่อ
เช็กสิ่งเร้าที่ทำให้เกิด อาการเหม่อลอย ตอนขับรถ

“อุบัติเหตุ” สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และหนึ่งในสาเหตุสำคัญคือ อาการเหม่อลอยตอนขับรถ ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจาก “สิ่งเร้า” ต่าง ๆ มากมาย คงจะดีไม่ใช่น้อยหากคุณสามารถ “หลีกเลี่ยง” พฤติกรรมเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ MrKumka ได้รวบรวมพฤติกรรมเสี่ยงมาให้ทุกคนได้เช็กลิสต์กันหน่อย พร้อมบอกต่อ “วิธีป้องกัน” ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น จะมีอะไรบ้าง ? ตามไปดูกันเลย

เช็กให้ดี “สิ่งเร้า” ที่ทำให้เกิด อาการเหม่อลอย ตอนขับรถ

“สิ่งเร้า” ที่ทำให้คุณหรือผู้ขับขี่เสียสมาธิระหว่างขับรถ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

  1. สิ่งเร้าทางจิตใจ

    เหมารวมถึง “ทุกกิจกรรม” ที่ทำให้จิตใจของผู้ขับขี่เกิดการไขว้เขวจากถนน เช่น การหลุดเข้าไปในห้วงความคิดขณะฟังเพลง หรือแม้กระทั่งการพูดคุย

  2. สิ่งเร้าทางสายตา

    เกิดจากการ “ละสายตาจากถนน” เช่น การจ้องมองสิ่งที่เกิดขึ้นด้านนอกรถ การเล่นโทรศัพท์มือถือ หรือหารหันไปมองผู้โดยสารภายในรถ

  3. สิ่งเร้าที่เกิดขึ้นเอง

    เกิดขึ้นเมื่อ “ปล่อยมือจากพวงมาลัย” เช่น เอื้อมไปหยิบสิ่งของต่าง ๆ ปรับ GPS หรือแม้กระทั่งการแต่งหน้า เป็นต้น

แต่ “สิ่งเร้า” หลัก ๆ ที่ทำให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิมากที่สุด คือ การเล่นโทรศัพท์มือถือ แถมยัง “เสี่ยง” ต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากถึง 2 เท่า ถ้ารู้แบบนี้แล้วอย่าคิดเล่นโทรศัพท์มือถือระหว่างขับรถจะดีกว่า แถมในปัจจุบันยัง “ผิดกฎหมาย” อีกด้วย

“พฤติกรรมสุ่มเสี่ยง” อะไรบ้างที่ทำให้เสียสมาธิ ?

อะไรบ้างที่จะทำให้คุณเสียสมาธิขณะขับรถ

นอกจากสิ่งเร้าที่ทำให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิแล้ว “พฤติกรรม” ล้วนทำให้เสียสมาธิได้เช่นกัน แม้ว่าคุณจะพยายามอย่างหนักที่จะไม่จับโทรศัพท์มือถือแล้ว และพฤติกรรมบางอย่าง บางคนทำทุกวันแบบที่ไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ โดยจะมีพฤติกรรมอะไรบ้าง ? ไปดูกันเลย

  1. ความรู้สึกโกรธหรือเศร้า

    หากผู้ขับขี่ “มีอารมณ์แปรปรวน” ขณะขับรถ จะถือเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการอุบัติเหตุ สูงถึง 10 เท่า

  2. การทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่ม

    การทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มขณะขับรถ ถือเป็นการ “รวบรวมสิ่งรบกวน” หลากหลายประเภท แถมยังเป็นการ “เพิ่มความเสี่ยง” ให้มากขึ้นอย่างไม่รู้ตัว และไม่เพียงแต่อุบัติเหตุรถชนเท่านั้น แต่อาจเกิดอุบัติเหตุน้ำร้อนหกใส่ตัวอีกด้วย

  3. การเหม่อลอย

    “การเหม่อลอย” คือหนึ่งในพฤติกรรมที่ทำให้ผู้ขับขี่เสียสมาธิที่สุด พบบ่อยและอัตราการมากที่สุดอีกด้วย จากการศึกษา “กรณีเกิดอุบัติเหตุรถชน” ในสหรัฐอเมริกา พบว่า “ร้อยละ 62 ของการเกิดอุบัติเหตุ ล้วนเกิดจากการเหม่อลอยแทบทั้งสิ้น ซึ่งเป็น “ความเสี่ยง” ที่มากกว่าการเล่นโทรศัพท์มือถือ ประมาณ 5 เท่า

จะเห็นได้ว่า “พฤติกรรม” ทั้ง 3 ข้อที่เราบอกต่อไปเมื่อข้างต้น แทบจะเป็น “เรื่องปกติ” ที่หลายคนอาจไม่รู้มาก่อนว่าเป็นพฤติกรรมเสี่ยง ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ๆ โดยเฉพาะการทานอาหารบนและดื่มเครื่องดื่มบนรถ เพราะฉะนั้นพยายามลด ละ เลิกพฤติกรรมดังต่อไปนี้จะดีที่สุด เพื่อความปลอดภัยของคุณ คนที่คุณรัก และเพื่อนร่วมทาง

วิธีให้มีสมาธิตอนขับรถ ลด “ความเสี่ยง” ที่อาจเกิดขึ้น

หลังจากทำความเข้าใจ “สิ่งเร้า และพฤติกรรม” ที่ทำให้เสียสมาธิระหว่างขับรถมาแล้ว เรามาดู “วิธีป้องกัน” กันบ้างดีกว่า เพื่อจะได้ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุให้น้อยลง โดยวิธีป้องกันที่เรารวบรวมมาให้ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • อย่าใจลอย

    เมื่อต้องขับรถให้พยายาม “จดจ่อ” อยู่กับการขับขี่อยู่เสมอ อย่าให้สิ่งอื่นใดมาเบี่ยงเบนความสนใจ มองให้ทั่ว และมองให้ไกล ไม่อย่างนั้นอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ๆ

  • อย่าบ้าสมบัติ

    อย่าพยายามเอาทุกสิ่งทุกอย่างมาไว้ในห้องโดยสารมากเกินไป เพื่อป้องกันการเอื้อมไปหยิบ แถมสิ่งของเหล่านี้เมื่อกลิ้งไปมา ไม่ว่าจะบนเบาะหรือที่พื้น ทำให้ “รบกวนสมาธิ” ของผู้ขับขี่ได้ทั้งสิ้น

  • อย่าขับรถแบบลากยาว

    การขับรถแบบลากยาวจะทำให้ร่างกายเกิดอาการอ่อนเพลีย แนะนำให้จอดพักทุก ๆ 120 กิโลเมตร พักดื่มน้ำ ล้างหน้าล้างตา แล้วค่อยเดินทางต่อ และถ้าหากรู้ตัวว่าง่วง ควรจอดพักทันที อย่าพยายามฝืนขับต่อเด็ดขาด แม้ว่าจะใกล้ถึงจุดหมายปลายทางแล้ว

  • จอดรถคุยโทรศัพท์

    เพราะ “โทรศัพท์มือถือ” เป็นชนวนเหตุสำคัญ ที่รบกวนสมาธิและก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ดังนั้นหากมีสายเข้า หรือต้องการติดต่อกับใคร ควรจอดรถให้นิ่งสนิทในพื้นที่ที่ปลอดภัย คุยธุระให้เสร็จแล้วค่อยออกเดินทาง เพื่อป้องกันการเสียสมาธิ จนก่อให้เกิดอุบัติเหตุ

ทั้งหมดนี้คือ “วิธีป้องกัน” ที่ช่วยลดโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุได้เป็นอย่างดี พยายามเช็ก “พฤติกรรม” ของตัวเองดูสักนิด ว่าจริง ๆ แล้วกำลังทำพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยง หรือนำพา “สิ่งเร้า” เข้ามาไว้ในห้องโดยสารแบบไม่รู้ตัวอยู่หรือเปล่า หากเช็กแล้วว่ามีความเสี่ยง พยายามแก้ไขและอุดช่องโหว่โดยเร็วที่สุด

การใช้รถใช้ถนนมีโอกาส “เกิดอุบัติเหตุ” ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเกิดจากการที่คุณเสียสมาธิ หรือคันอื่น ๆ ไม่ระมัดระวัง ซึ่งไม่มีใครสามารถรู้ได้ล่วงหน้าว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และไม่อาจรู้ได้ว่า “ความเสียหาย” ที่เกิดขึ้น จะหนักหนาสักแค่ไหน ? คงจะดีไม่ใช่น้อยหากคุณ “ซื้อ ประกันภัยรถยนต์” ที่ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมรอบด้านเอาไว้ เพียงเท่านี้การเดินทางของคุณจะราบรื่น ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เลยสักนิด

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่