หัวข้อที่น่าสนใจ
- ไม่อยากเสี่ยง เช็กด่วน โรคร้ายที่ไม่ควรขับรถ มีอะไรบ้าง ?
- ตามข้อกำหนดของกรมขนส่ง 5 โรคร้ายแรง มีอะไรบ้าง ?
- 9 โรคเพิ่มเติมที่กระทรวงสาธารณสุขเพิ่มเข้ามา มีโรคอะไรบ้าง ?
- สอบใบขับขี่ครั้งแรกต้องเตรียมตัวยังไง ?
- 1. เตรียมความพร้อมก่อนทำใบขับขี่รถยนต์
- 2. สอบข้อเขียนด้วยคอมพิวเตอร์
- 3. การสอบปฏิบัติ
- ใบอนุญาตขับขี่แต่ละประเภท ต่างกันยังไง ?
- ขั้นตอนการทำใบขับขี่มีอะไรบ้าง ?
- 1. จองคิวต่อใบขับขี่ออนไลน
- 2. เตรียมเอกสารที่จำเป็นต้องใช้
- 3. ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
- 4. เข้ารับการอบรม
- 6. สอบปฏิบัติ หรือทดสอบขับรถ
- 7. ถ่ายรูปทำใบขับขี่ และชำระเงิน
ไม่พร้อมอย่าขับ ! บางคนรู้หรือไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคที่ไม่สามารถขับรถได้แต่กลับมาอยู่หลังพวงมาลัย มีใบขับขี่แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะใช้รถบนท้องถนนได้ ใบขับขี่หนึ่งในเอกสารสำคัญสำหรับผู้ใช้รถทุกคน เนื่องจากเป็นหลักฐานที่ยืนยันว่าสามารถใช้งานรถอะไรได้บ้าง ? (ตามที่กฎหมายกำหนด) แต่ก็มีคนบางกลุ่มที่ ‘ห้าม’ ทำใบขับขี่รถยนต์และห้ามขับรถ ซึ่งก็คือคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ โดยเฉพาะโรคร้ายแรง ซึ่งมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุทางถนนมากกว่า และ มิสเตอร์ คุ้มค่า ก็ได้ลิสต์รายละเอียดสำคัญมาให้แล้ว โรคร้ายแรง มีอะไรบ้าง ? ไปดูกันเลย
ไม่อยากเสี่ยง เช็กด่วน โรคร้ายที่ไม่ควรขับรถ มีอะไรบ้าง ?
เดิมทีกรมการขนส่งทางบกกำหนดโรคร้ายแรง ที่ห้ามขับรถ ห้ามทำใบขับขี่รถยนต์ไว้ 5 โรค แต่ในปัจจุบันทางกระทรวงสาธารณสุขได้เพิ่มมาอีก 9 โรค ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เราจึงได้รวบรวมข้อมูลมาให้ทำความเข้าใจ ไม่อยากปวดหัวภายหลัง เช็กด่วน !
ตามข้อกำหนดของกรมขนส่ง 5 โรคร้ายแรง มีอะไรบ้าง ?
-
โรคเท้าช้าง
เป็นโรคที่เกิดจาก “หนอนพยาธิตัวกลมฟิลาเรีย” ซึ่งมียุงเป็นพาหะนำโรค มีลักษณะคล้ายกับเส้นด้าย มักอาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลืองของมนุษย์ อาการที่สังเกตเห็นได้ชัด คือ ขา แขน รวมถึงอวัยวะเพศบวมผิดปกติ จากภาวะอุดตันของท่อน้ำเหลือง -
โรคเรื้อน
เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากเชื้อ Mycobacterium leprae (M.leprae) อาศัยอยู่ในเส้นประสาทและผิวหนังของมนุษย์ เมื่อร่างกายพยายามกำจัดเชื้อดังกล่าว เป็นผลให้เส้นประสาทถูกทำลาย จนมีอาการผิวหนังตามไปด้วย ร้ายแรงที่สุด คือ อาจทำให้เกิดความพิการของมือ เท้า และตา หากไม่รีบทำการรักษาอย่างทันท่วงที -
โรควัณโรค
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แถมยังเป็นโรคติดต่อทางการหายใจ เชื้อสามารถแพร่ไปยังบุคคลอื่นทางละอองเสมหะขนาดเล็ก และพวกมันยังสามารถมีชีวิตในอากาศได้หลายชั่วโมงอีกด้วย -
โรคพิษสุราเรื้อรัง
คือ กลุ่มคนที่ดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จนไม่สามารถเลิกดื่มได้ แน่นอนว่านอกจากจะเป็นผลเสียต่อร่างกายแล้ว ยังส่งผลต่อการทำงาน ครอบครัว และสังคมรอบข้างด้วยเช่นกัน -
โรคติดยาเสพติดให้โทษ
คือ ผู้ที่ติดยาเสพติดหรือติดสารเสพติดให้โทษ มีอาการต้องการยา รวมถึงสารต่าง ๆ อย่างรุนแรง เมื่อหยุดใช้สารเสพติดจะทำให้เกิดอาการขาดยา ส่งผลเสียทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ทำให้กรมขนส่งไม่อนุญาตให้สอบใบขับขี่ หรือทำใบขับขี่รถยนต์ได้ เนื่องจากมาตรการขับขี่ปลอดภัย
9 โรคเพิ่มเติมที่กระทรวงสาธารณสุขเพิ่มเข้ามา มีโรคอะไรบ้าง ?
-
โรคพาร์กินสัน
ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมักมีอาการเกร็ง มือสั่น เท้าสั่น และเคลื่อนไหวได้ช้า ส่งผลให้การตัดสินใจช้ากว่าปกติ แถมยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เนื่องจากสมรรถภาพในการขับขี่ไม่ดีเท่าที่ควร -
โรคเกี่ยวกับสายตา
ไม่ว่าจะเป็นต้อหิน ต้อกระจก รวมถึงจอประสาทตาเสื่อม ส่งผลต่อทัศนวิสัยในการมองเห็น มุมมองสายตาแคบลง และมองไฟจราจรพร่ามัว -
โรคความดันโลหิตสูง
เกิดจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้การทำงานของสมองหยุดชะงัก หากเกิดความเครียดขณะขับรถยิ่งทำให้ความดันเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงเกิดอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด แขนขาอ่อนแรง จนถึงขั้นเส้นเลือดในสมองแตกได้ -
โรคลมชัก
เกิดจากคลื่นไฟฟ้าในสมองทำงานผิดปกติ มักเกิดอาการชัก เกร็ง และกระตุกโดไม่รู้สึกตัว หากอาการกำเริบจะทำให้ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย รวมถึงควบคุมการขับขี่ได้ -
โรคหัวใจ
ผู้ป่วยโรคนี้หากเกิดความเครียด หรือกดดันจากการขับรถเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก หรือบางคนอาจรุนแรงจนถึงขั้นหัวใจวายเฉียบพลันได้ -
โรคเบาหวาน (ระยะควบคุมไม่ได้)
หากผู้ป่วยมีปริมาณน้ำตาลในเลือดต่ำ จะเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด สายตาพร่ามัว ใจสั่น จนถึงขั้นหมดสติได้ -
โรคทางสมองและระบบประสาท
จะมีเพียงอาการหลงลืม ตัดสินใจช้า จดจำเส้นทางไม่ได้ ขาดสมาธิในการขับขี่ ซึ่งเสี่ยงต่อการขับรถหลงทางมากกว่าปกติ -
โรคหลอดเลือดสมอง
คือ ผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง รวมถึงสมองสั่งการได้ช้าลง ส่งผลต่อการตัดสินใจและตอบสนองในการขับขี่ -
โรคข้อเสื่อม ข้ออักเสบ
เนื่องจาก “ข้อเสื่อมสภาพ” ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างเต็มที่ หากเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนขึ้น อาจทำให้ได้รับบาดเจ็บรุนแรงได้
ทำใบขับขี่รถยนต์ ทำไมต้องมีใบรับรองแพทย์ ?
เหตุผลที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้นำใบรับรองแพทย์ หรือใบตรวจสุขภาพมาเป็น “หลักฐาน” ประกอบการทำใบขับขี่ และต่ออายุใบขับขี่รถยนต์ เป็นเพราะว่าผู้ขับขี่บางคนอาจมีสมรรถภาพร่างกายเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นไปตาม ‘อายุ’ ของผู้ขับขี่เอง รวมถึงการมีโรคประจำตัวเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องออกข้อกำหนดให้ต้องมีใบรับรองแพทย์ ตามข้อกำหนดที่ว่า “ผู้ใช้ยานยนต์ใด ๆ ที่ต้องการสอบใบอนุญาตขับขี่ หรือต้องการต่อใบอายุใบขับขี่รถยนต์ ให้ใบขับขี่อยู่ในสถานะที่ใช้งานได้ ต้องมีเอกสารรับรองแพทย์มาเป็นหลักฐานประกอบ” โดยประกอบด้วยเอกสาร 2 ส่วน ดังนี้- เอกสารส่วนที่ผู้ทำใบขับขี่รับรองสุขภาพของตัวเอง
- เอกสารส่วนของแพทย์ หรือเอกสารตามโปรแกรมตรวจสุขภาพที่แพทย์รับรอง และแสดงให้เห็นว่าผู้ขอตรวจไม่มีโรคประจำตัว หรือไม่เป็นโรคร้ายแรงตามที่ขนส่งกำหนด ซึ่งเป็นอันตรายต่อการขับรถ
เนื่องจากอุบัติเหตุทางถนนสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา นอกจากตรวจสุขภาพประจําปีเพื่อให้ความสำคัญกับสุขภาพร่างกาย และความปลอดภัยของคนรอบข้างแล้ว การทำประกันรถก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรให้ความสำคัญเช่นเดียว มิสเตอร์ คุ้มค่า เป็นหนึ่งใน “ตัวเลือก” ที่พร้อมเคียงข้างคุณทุกภัย ไม่ว่าจะเดินทางไปที่ไหน เรามีศูนย์หรืออู่ในเครือให้เข้ารับบริการทั่วประเทศ แถมยังมีบริษัทประกันภัยชั้นนำให้เลือกมากมาย เบี้ยสบายกระเป๋า เปรียบเทียบประกันรถยนต์ได้ก่อนใคร ตลอด 24 ชั่วโมง
สอบใบขับขี่ครั้งแรกต้องเตรียมตัวยังไง ?
ขอย้ำอีกครั้งว่าใบขับขี่เป็น “เครื่องยืนยัน” ว่าคุณมีศักยภาพพร้อมต่อการขับรถบนท้องถนนตามกฎหมายจราจร หากขับรถโดยไม่มีใบอนุญาต ต้องระวางโทษไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้นหากไม่อยากต้องโทษ ไปดูกันเลยว่าสอบใบขับขี่รถยนต์ครั้งแรกต้องเตรียมตัวยังไง
1. เตรียมความพร้อมก่อนทำใบขับขี่รถยนต์
สำหรับการสอบใบขับขี่ครั้งแรก ต้องทำความเข้าใจก่อนว่ามีการทดสอบทั้งหมด 3 แบบ คือ การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย, ข้อเขียน และการสอบใบขับขี่ภาคปฏิบัติ แนะนำให้อ่านตัวอย่างข้อสอบ ฝึกฝนการขับขี่ ให้สามารถทำท่าทางการสอบได้อย่างคล่องแคล่ว
2. สอบข้อเขียนด้วยคอมพิวเตอร์
เป็นการสอบผ่านระบบ Electronic Examination (E-exam) มีทั้งหมด 50 ข้อ และผู้สอบจะต้องทำให้ถูก ‘อย่างน้อย’ 90% หรือ 45 ข้อ หากไม่ผ่านจะต้องมาสอบใหม่ในวันถัดไป หรือไม่เกิน 90 วันหลังอบรม
โดยเนื้อหาที่ใช้สอบจะครอบคลุมการใช้รถทุกอย่างตามข้อกำหนดของ พ.ร.บ. จราจรทางบก เช่น เครื่องหมายพื้นทาง, ป้ายเตือน, เทคนิคการขับขี่ปลอดภัย , การบำรุงรักษารถ ฯลฯ3. การสอบปฏิบัติ
การสอบปฏิบัติจะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 ค่า ดังนี้
- การขับรถเดินหน้า-ถอยหลังในทางตรง
- การขับรถ-หยุดรถเทียบทางเท้า ต้องจอดเทียบห่างจากขอบทาง ประมาณ 25 เซนติเมตร โดยห้ามให้ล้อเบียดขอบฟุตบาท ห้ามเหยียบเส้นด้านข้าง รวมถึงห้ามเกินเส้นหยุดรถด้านหน้า และห่างได้ไม่เกิน 1 เมตร
- การขับรถถอยเข้าซอง คล้ายกับการจอดเทียบทางเท้า แตกช่องที่ต้องเข้าจอดจะเป็นช่องสี่เหลี่ยม มีเสาล้อมรอบ รวมถึงมีช่องว่างกว้างกว่ารถยนต์เล็กน้อย สามารถเปลี่ยนเกียร์ได้ไม่เกิน 7 ครั้ง ห้ามชน ห้ามเบียดเสา ที่สำคัญเมื่อจอดแล้วกระจกมองข้างต้องไม่ล้ำออกนอกเส้นที่กำหนด
ใบอนุญาตขับขี่แต่ละประเภท ต่างกันยังไง ?
หากเป็นการแบ่งตาม “ประเภท” ของใบขับขี่ จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท และมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ดังนี้-
ประเภทส่วนบุคคล (บ.)
คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภทส่วนบุคคล ใช้สำหรับรถในการขนส่งส่วนบุคคล จำพวกรถทะเบียนขาว ตัวเลข และตัวอักษรสีดำ -
ประเภททุกประเภท (ท.)
คือ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภททุกประเภท จำพวกรถที่มีแผ่นป้ายทะเบียนสีเหลือง ซึ่งสามารถใช้ ‘ทดแทน’ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภทส่วนบุคคล และใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ได้
ขั้นตอนการทำใบขับขี่มีอะไรบ้าง ?
สำหรับขั้นตอนการทำใบขับขี่ไม่ยาก และไม่วุ่นวายอย่างที่คิด หลัก ๆ แล้วมีทั้งหมด 7 ขั้นตอน ดังนี้
-
1. จองคิวต่อใบขับขี่ออนไลน
สำหรับผู้ที่ต้องการทำใบขับขี่ใหม่ ต้องจองคิวผ่านทางแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue หรือเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบกล่วงหน้า โดยต้องบันทึกหน้าจอการจองคิวไว้เป็นหลักฐาน สำหรับใช้แสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานขนส่ง -
2. เตรียมเอกสารที่จำเป็นต้องใช้
เอกสารในการทำใบขับขี่ใหม่ หลัก ๆ มี 2 อย่าง คือ บัตรประจำตัวประชาชน (ตัวจริง) และใบรับรองแพทย์อายุไม่เกิน 1 เดือน จะจากแพทย์ที่คลินิกหรือโรงพยาบาลก็ได้ -
3. ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
หลัก ๆ จะมีการทดสอบ 4 อย่าง คือ ทดสอบการมองเห็นสี (เขียว เหลือง แดง), ทดสอบสายตาทางลึก, ทดสอบสายตาทางกว้าง และทดสอบปฏิกิริยา โดยการเหยียบเบรกหลังเห็นไฟสัญญาณ -
4. เข้ารับการอบรม
สำหรับคนที่ไม่เคยมีใบขับขี่รถยนต์มาก่อน (ทำใบขับขี่ครั้งแรก) จะไม่สามารถเข้ารับการอบรมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ ต้องเข้ารับการอบรมที่สำนักงานเท่านั้น โดยใช้เวลาทั้งหมด 5 ชั่วโมง แบ่งออกเป็นช่วงเช้าและช่วงบ่าย -
5. สอบข้อเขียน
เป็นการสอบข้อเขียนผ่านระบบ E-exam จำนวน 50 ข้อ ผู้สอบจะต้องทำให้ได้อย่างน้อย 45 ข้อ ถึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนด -
6. สอบปฏิบัติ หรือทดสอบขับรถ
ส่วนใหญ่จะเป็นการสอบในวันถัดไป โดยผู้สอบสามารถนัดหมายล่วงหน้าก่อนสอบได้ ซึ่งการทดสอบจะมีทั้งหมด 3 ท่าตามที่บอกไปก่อนหน้า คือ การจอดเทียบทางเท้า, การขับรถเดินหน้า-ถอยหลัง และการถอยเข้าซอง -
7. ถ่ายรูปทำใบขับขี่ และชำระเงิน
ในขั้นตอนนี้จะมีค่าบริการทำใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว 200 บาท และค่าคำขอ 5 บาท
ขอย้ำอีกครั้งว่าอุบัติเหตุรถยนต์ สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาหลัก ๆ เป็นเพราะความประมาท และรองลงมาคือความไม่พร้อมด้านร่างกาย การรักษาสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ หากคุณละเลยการดูแลสุขภาพให้พร้อม หรือเป็นโรคร้ายแรงจะไม่สามารถทำใบขับขี่รถยนต์ได้ ไม่ว่าจะกรณีใด ๆ ก็ตาม
คำจำกัดความ
กรมการขนส่งทางบก | กรมที่ทำหน้าที่ควบคุมและจัดระเบียบการขนส่งทางถนนภายในประเทศและระหว่างประเทศ จดทะเบียนและเก็บภาษีรถ และออกใบอนุญาตขับรถ |
โรคร้ายแรง | โรคที่ต้องใช้เทคโนโลยี หรือเทคนิคการแพทย์แบบเฉพาะทางในการรักษา เพราะเป็นโรคที่รักษาหายได้ยากกว่าโรคทั่วไป ส่งผลให้ต้องรักษาตัวต่อเนื่องเป็นเวลานาน |