เบื่อไหม ? เวลาที่ รถมีปัญหา จำเป็นจะต้องนำเข้าศูนย์บริการเพื่อจัดซ่อม จะใช้เวลาค่อนข้างนาน (ขึ้นอยู่กับปัญหาที่เกิดขึ้น) แต่ถ้าหากคุณไม่ต้องการปวดหัวกับปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ จำเป็นจะต้องติดตามอาการรถยนต์อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำรถยนต์เข้าไปตรวจสภาพได้ทันเวลา และเพื่อป้องกันปัญหาอื่น ๆ ตามมาในภายหลัง แต่จะมีรายละเอียดอะไรบ้าง ไปติดตามพร้อม ๆ กับเรา MrKumka ได้เลย !
5 สัญญาณเตือน ที่กำลังบอกว่า “รถมีปัญหา”
หากคุณไม่แน่ใจว่าอาการแบบไหนคือ “สัญญาณเตือน” ที่กำลังบอกว่ารถยนต์คู่ใจของคุณกำลังเกิดปัญหา MrKumka ได้ลิสต์ 5 สัญญาณเตือนมาให้คุณทำความเข้าใจเรียบร้อยแล้ว ไปดูกัน !
1. เสียงเบรกดังผิดปกติ
ในระหว่างที่คุณใช้งานเบรกรถยนต์ แล้วปรากฏว่ามีเสียงดังเกิดขึ้น ซึ่งเกิดจาก “แรงเสียดทาน” ระหว่างล้อรถยนต์และพื้นถนน อย่าได้คิดมองข้ามเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นเสียงดังที่เกิดขึ้นบริเวณด้านหน้า หรือด้านหลังก็ตาม เพราะอาจหมายความว่า “ผ้าเบรก” กำลังเกิดปัญหา เช่น ชำรุด เสื่อมสภาพ หรืออื่น ๆ แนะนำให้นำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็ก และแก้ไขให้ผ้าเบรกกลับมาทำงานได้เต็มประสิทธิภาพโดยเร็วที่สุด
2. รถยนต์มีกลิ่นเหม็นไหม้
ต้องบอกก่อนว่าในขณะที่รถยนต์มีการขับเคลื่อน ไม่ว่าจะระยะทางใกล้หรือไกลมักเกิด “แรงเสียดทาน” อยู่ตลอดเวลา เช่น แรงสั่นสะเทือนจากการทำงานของเครื่องยนต์ การเสียดทานของล้อรถกับพื้นถนน หรืออื่น ๆ หากสังเกตเห็นว่ารถยนต์มีอาการผิดปกติ โดยเฉพาะมีกลิ่นเหม็นไหม้ออกมา อาจหมายความว่าระบบไฟฟ้า หรือเครื่องยนต์เกิดการเผาผลาญที่ผิดปกติ แนะนำให้เร่งแก้ไขโดยด่วน
3. เหยียบคันเร่งแล้วเครื่องยนต์สะดุด
ไม่ว่าคุณจะเร่งคันเร่งหรือกำลังออกตัว แล้วพบว่าเครื่องยนต์เกิดอาการสะดุด อาจหมายความว่า “หัวเทียน” กำลังมีปัญหา ระบบกรองเชื้อเพลิงชำรุด หรือ “กล่องควบคุมระบบการทำงาน” ของรถยนต์มีปัญหาเกิดขึ้น ปัญหาส่วนนี้ควรได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วนเช่นเดียวกัน
4. พวงมาลัยรถยนต์สั่น
ในขณะที่คุณขับเคลื่อนรถยนต์อย่างช้า ๆ แต่ผลปรากฏว่า “พวงมาลัยสั่น” หรือมีอาการเด้งแบบผิดปกติ อาจหมายความว่า “ยางรถยนต์” มีปัญหา นอกจากนี้ยังรวมถึง “ช่วงล่าง” ของรถยนต์เกิดความผิดปกติ เช่น แก้มยางเสีย ยางบวม แนะนำให้นำรถเข้าตรวจเช็ครถ และแก้ไขจุดต่าง ๆ ให้มีสภาพพร้อมใช้งานทันที
5. สัญญาณเตือนบนหน้าปัดรถยนต์
อย่างที่ทราบกันดีว่าบนหน้าปัดรถยนต์ นอกจากจะแสดงปริมาณน้ำมันและไมล์รถยนต์แล้ว ยังมีการใส่ “สัญลักษณ์เตือน” เอาไว้มากมาย เพื่อให้คุณได้ทราบถึงความผิดปกติของตัวรถ ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายสัญญาณ ดังนี้
สัญลักษณ์รูปเครื่องยนต์
หมายความว่า “เครื่องยนต์” รถยนต์ของคุณกำลังมีความผิดปกติ หากพบว่ามีการแจ้งเตือนประมาณ 2-3 วินาที ให้นำรถยนต์จอดในพื้นที่ปลอดภัย พร้อมกับดับเครื่องยนต์และสตาร์ทเครื่องยนต์ใหม่ หากการแจ้งเตือนยังคงอยู่ แนะนำให้นำรถเข้าตรวจเช็กที่ศูนย์บริการทันที เพราะถ้าหากฝืนใช้รถต่อไปอาจทำให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหายที่รุนแรงกว่าเดิม
สัญลักษณ์แบตเตอรี่ขั้วบวก-ขั้วลบ
เป็นการแจ้งเตือนในเรื่อง “ไดร์ชาร์จทำงานผิดปกติ” เช่น ไดร์ชาร์จไม่ทำงาน ทำงานผิดปกติ ไม่ชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ หรือไม่มีการจ่ายไฟเข้าใช้งานในระบบรถยนต์ เป็นต้น หากมีการแจ้งเตือนในขณะขับรถ ให้คุณตัดการใช้กระแสไฟของอุปกรณ์ภายในห้องโดยสารให้ได้มากที่สุด เช่น เครื่องปรับอากาศ วิทยุ สายชาร์จโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ ระวังอย่าให้เครื่องยนต์ดับเด็ดขาด
สัญลักษณ์ถุงลมนิรภัย
ไฟเตือนนี้จะสว่างขึ้นหรือกะพริบขณะขับขี่รถยนต์ เพื่อบอกคุณว่า “ถุงลมนิรภัยกำลังมีปัญหา” ให้นำรถยนต์เข้าศูนย์บริการเพื่อดำเนินการแก้ไขทันที เนื่องจากอาจทำให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงในขณะที่เกิดอุบัติเหตุไม่ทำงานหรือขณะขับขี่ปกติแล้วระเบิดออกมาเองก็เป็นได้
สัญลักษณ์น้ำล้างกระจกอยู่ในระดับต่ำ
แนะนำให้รีบเติมน้ำผสมกับน้ำยาทำความสะอาดกระจกลงไปสักเล็กน้อย เพราะจะช่วยให้การทำความสะอาดกระจกมีประสิทธิภาพขึ้น
สัญลักษณ์กาน้ำมันเครื่องผิดปกติ
เนื่องจาก “น้ำมันเครื่อง” ไม่สามารถหมุนเวียนในระบบได้ เกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ซีลปิดเสื่อมสภาพเกิดการรั่ว อ่างน้ำมันเครื่องทะลุ ซีลท้ายกรองน้ำมันเครื่องเสื่อม เมื่อน้ำมันเครื่องไม่สามารถหมุนเวียนได้เต็มประสิทธิภาพหรืออยู่ในปริมาณที่ไม่ได้มาตรฐานที่ตัวเครื่องต้องการ ย่อมส่งผลให้การหมุนเวียนแรงดันในระบบลดลง และส่งผลในหลาย ๆ มิติการทำงานของเครื่องยนต์ให้ประสิทธิภาพลดลง
สัญลักษณ์ระบบพวงมาลัยไฟฟ้า
เมื่อสัญญาณเตือนระบบพวงมาลัยไฟฟ้าแจ้งเตือน จะทำให้การควบคุมพวงมาลัยยากขึ้นกว่าปกติ แนะนำให้ประคับประคองรถยนต์เข้าศูนย์บริการทันที หรือถ้าหากไม่สามารถควบคุมได้แล้ว แนะนำให้เรียกใช้บริการรถยก เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
สัญลักษณ์ระบุคำว่า ABS
หมายความว่า “ระบบเบรก ABS” มีปัญหา ระบบดังกล่าวมีหน้าที่ “ป้องกันล้อล็อกและลื่นไถลเมื่อเบรกรุนแรง” โดยปกติแล้วจะมีการแจ้งเตือนในลักษณะค้างประมาณ 2-3 วินาที ควรนำรถยนต์เข้าตรวจเช็กที่ศูนย์บริการทันที
สัญลักษณ์เครื่องหมายตกใจกลางวงกลม
เป็นการแจ้งเตือนในส่วนของ “เบรกมือ” ไม่ว่าจะเป็นการดึงเบรกมือหรือใช้เบรกมืออยู่ก็ตาม สามารถแบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ เมื่อดึงเบรกมือหรือลดเบรกมือยังไม่สุด และลดเบรกมือแต่ไฟเตือนยังไม่ดับ แนะนำให้ตรวจสอบระบบเบรกอีกครั้ง
สัญลักษณ์ควบคุมการทรงตัว
หากมีสัญญาณเตือนการควบคุมการทรงตัวขึ้นสว่างขึ้นมา หรือกะพริบระหว่างฝนตก-ถนนลื่น หมายความว่ารถยนต์กำลัง “ช่วย” คุณควบคุมการทรงตัวของรถยนต์ ช่วยให้คุณปลอดภัยขึ้นอีกหนึ่งระดับ
สัญลักษณ์รูปปรอทมีขีดระดับน้ำ
หมายถึงการแจ้งเตือนที่เกี่ยวกับ “ระบบระบายความร้อน” ของรถยนต์ เมื่อคุณใช้รอบเครื่องยนต์สูงเป็นเวลานาน สัญญาณเตือนดังกล่าวจะแจ้งเตือนทันที (แจ้งเตือนแบบกะพริบ) นอกจากนี้ยังรวมถึงกรณีที่อุณหภูมิน้ำหล่อเย็นสูงขึ้น เมื่อมีการแจ้งเตือนแบบนี้แนะนำให้ “ลดความเร็ว” เพื่อป้องกันเครื่องยนต์ร้อนเกินไป
แต่ถ้าหากแจ้งเตือนค้าง (ไม่กะพริบ) ควรจอดเพื่อตรวจสอบระบบน้ำหล่อเย็น ไม่ควรขับรถต่อโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหายที่รุนแรงกว่าเดิม
หากรถยนต์ของคุณมีสัญญาณเตือนตามที่เราบอกไปเมื่อข้างต้น ไม่ว่าจะเป็น 1 ข้อก็ควรจะให้ความสำคัญ และนำรถยนต์เข้าไปตรวจเช็กโดยเร็วที่สุด เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ทั้งต่อตัวคุณและเพื่อนร่วมทางนั่นเอง และยังเป็นการดูแลรถยนต์ให้สามารถใช้งานได้นานมากยิ่งขึ้น
รถของคุณควรตรวจสภาพบ่อยแค่ไหน ?
หากคุณไม่อยากให้รถยนต์คู่ใจมีปัญหาต่าง ๆ ตามมาจนบานปลาย แนะนำให้ตรวจสภาพรถยนต์เมื่อครบกำหนดทุกครั้ง อย่าได้คิดปล่อยปละละเลยเด็ดขาด โดยมีรายละเอียดการตรวจเช็กสภาพรถ ดังนี้
ตรวจเช็กในระยะเวลา 1-6 เดือน หรือทุก ๆ 5,000 กิโลเมตร
- น้ำมันเครื่องแบบสังเคราะห์และไส้กรอง
- ยางรถยนต์
- ระบบจานเบรกและผ้าเบรกหน้า
ตรวจเช็กในระยะเวลา 6-12 เดือน หรือทุก ๆ 10,000 กิโลเมตร
- น้ำมันเครื่องแบบกึ่งสังเคราะห์และไส้กรอง
- ระบบคลัช ระบบส่งกำลัง
- ระบบจานเบรคและผ้าเบรคหลัง
- ที่ปัดน้ำฝน
- โช๊คอัพด้านหน้าและด้านหลัง
- สลับยางและการถ่วงล้อ
- ระบบจานเบรกและผ้าเบรกหลัง
- ระบบช่วงล่าง สภาพชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ทำมาจากยางหรือยูรีเทน
ควรเช็กในระยะเวลา 12-24 เดือน หรือทุก ๆ 20,000 กิโลเมตร
- ระบบบังคันชักคันส่ง ยางกันฝุ่น และลูกหมาก
- สายพานขับและสายพานเครื่องยนต์
- ระบบบังคับเลี้ยว
- น้ำมันเกียร์ (เกียร์ MT)
ควรเช็กในระยะเวลา 24 เดือน หรือทุก ๆ 40,000 กิโลเมตร
- น้ำหล่อเย็นเครื่องยนต์
- น้ำมันพวงมาลัย
- น้ำมันเบรก
- น้ำมันเกียร์ (เกียร์ AT)
- น้ำมันคลัช
จะเห็นได้ว่ารถยนต์มีสิ่งที่ต้องตรวจเช็ครถเยอะแยะมากมาย แม้ว่าจะดูว่าวุ่นวายและทำให้เสียเวลา แต่การทำแบบนี้อย่างสม่ำเสมอจะช่วย “ยืดเวลา” ให้รถยนต์คู่ใจของคุณใช้งานได้ยาวนานมากกว่าเดิม และเมื่อเกิดปัญหาก็จะได้ตรวจเจอในตอนที่นำรถเข้าไปตรวจสภาพ ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้อย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องเสี่ยงเจอปัญหาใหญ่ที่ลุกลามตามมาในอนาคต
การดูแลรถยนต์ให้ครบทุกองศาด้วยประกันรถยนต์
สำหรับสัญญาณเตือนและการตรวจสภาพรถยนต์ ที่เรานำมาบอกต่อเมื่อข้างต้น นับว่าเป็นประโยชน์ต่อการใช้รถมากเลยใช่ไหมล่ะ ? แต่อย่าลืมว่า “อุบัติเหตุ” สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และในบางครั้งอาจมีค่าใช้จ่ายก้อนโตตามมามากมาย หากคุณไม่ต้องการแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้น “ประกันรถยนต์” นับเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ ถ้าไม่รู้ว่าจะเลือกซื้อความคุ้มครองจากที่ไหนดี MrKumka พร้อมมอบกรมธรรม์ดีที่สุดให้คุณเสมอ เปรียบเทียบประกันรถยนต์ออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง คลิกเลย