อัปเดตวิธีเช็คใบสั่งจากทะเบียนรถ และจับผิดใบสั่งออนไลน์ปลอม ดูยังไง ?

แชร์ต่อ
อัปเดตวิธีเช็คใบสั่งจากทะเบียนรถ และจับผิดใบสั่งออนไลน์ปลอม

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ทำให้การเช็คใบสั่งจากทะเบียนรถทำได้ง่ายขึ้นและทุกคนสามารถทำได้ไม่ยาก เพราะเช็กผ่านช่องทางออนไลน์ได้ทันที แถมยังสามารถจ่ายใบสั่งผ่านช่องทางออนไลน์ได้อย่างสะดวกสบาย

MrKumka จะพาไปอัปเดทข้อมูลเรื่องนี้ เช็คใบสั่งออนไลน์ว่าที่ผ่านมาคุณ “เผลอ” ทำผิดกฎจราจรหรือไม่ และถ้าหากมีใบสั่งมาถึงบ้าน สงสัยว่าเป็นของใบสั่งปลอมต้องทำเช็กยังไง ไปทำความเข้าใจพร้อม ๆ กันเลย

ใบสั่งออนไลน์ยังต้องจ่ายไหม กรณีเปลี่ยนที่อยู่หรือขายรถไปแล้ว ?

จากที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลได้ออกมาแถลงถึง “แนวทางการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดกฎหมายจราจรให้เข้มงวดมากขึ้น และจัดการกับผู้ขับขี่ที่ไม่ได้ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด” โดยมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2565 เป็นต้นมา ผลปรากฏว่าในปัจจุบันมีผู้กระทำผิดกฎหมายจราจรมากขึ้น แถมยังไม่ไปจ่ายใบสั่งตามระยะเวลาที่กำหนด

มากไปกว่านั้นผู้กระทำผิดเหล่านี้ ยังคงทำผิดซ้ำ ๆ จนเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และก่อให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด หากกรณีที่ไม่รู้ว่าตัวเองโดนใบสั่ง สามารถเช็คใบสั่งจากทะเบียนรถผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย(เฉพาะใบสั่งที่ยังไม่หมดอายุความ ซึ่งปกติมีอายุความ 1 ปี) เพราะในตอนนี้กองบัญชาการตำรวจจะเน้นและเข้มงวดกับ “กรณีกระทำความผิดฝ่าฝืนกฎหมายซ้ำซาก” เป็นหลัก

ใครที่สามารถเช็คใบสั่งจากทะเบียนรถออนไลน์ได้บ้าง ?

สำหรับคนที่ไม่เคยรู้มาก่อน หรือคนที่อยากลองเช็คใบสั่งจากทะเบียนรถ สามารถเข้ามาเช็กได้ “ทุกคน” ไม่ว่าคุณจะย้ายที่อยู่อาศัย ขายรถไปแล้วแต่ยังไม่ได้โอนรถเป็นชื่อเจ้าของใหม่ หรือใด ๆ ก็ตาม สามารถเข้ามาเช็กผ่านเว็บไซต์ ptm.police.go.th ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ตลอด

และถ้าหากพบว่าคุณมีใบสั่งออนไลน์คงค้าง สามารถตรวจสอบการค้างจ่ายใบสั่ง และดำเนินการชำระได้เลยทันที ผ่านหลากหลายช่องทาง

ขั้นตอนเช็คใบสั่งจากทะเบียนรถมีอะไรบ้าง ?

สำหรับคนที่อยากเช็คใบสั่งจากทะเบียนรถแต่ไม่รู้ว่าจะต้องทำยังไง MrKumka รวบรวมขั้นตอนแต่ละข้อมาให้ทำความเข้าใจเรียบร้อยแล้ว โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. เข้าสู่เว็บไซต์ “ใบสั่งออนไลน์” โดยเข้าไปที่ e-Ticket > ใบจราจรออนไลน์สำหรับประชาชน ที่มีตราของสำนักงานตำรวจแห่งชาติปรากฏขึ้นมา
  2. ลงทะเบียนเพื่อเริ่มต้นใช้งาน ให้เตรียมหมายเลขประจำตัวประชาชน หรือหมายเลขใบขับขี่ หรือหมายเลขทะเบียนรถ เพื่อใช้ในการลงทะเบียน
  3. ลงทะเบียนเพื่อเริ่มต้นใช้งาน ให้เตรียมหมายเลขประจำตัวประชาชน หรือหมายเลขใบขับขี่ หรือหมายเลขทะเบียนรถ เพื่อใช้ในการลงทะเบียน
  4. เข้าสู่ระบบใบสั่งออนไลน์ โดยให้เข้าไปที่หน้าแรกของเว็บไซต์ พร้อมกับใส่หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนและรหัสผ่านที่ตั้งไว้
  5. ค้นหา e-Ticket จากนั้นทำการค้นหาใบสั่งออนไลน์ ด้วยการระบุวันที่กระทำผิด แล้วคลิป “ค้นหา” เพียงเท่านี้ก็สามารถรองข้อมูลการค้นหาได้ทันที ผ่านการเช็คใบสั่งจากทะเบียนรถ
*หมายเหตุ: กรณีที่ได้รับใบสั่งมากกว่า 1 คัน รายการของใบสั่งออนไลน์จะแสดงรายการทั้งหมด ภายใต้ชื่อผู้ครอบครองรถคนเดียวกัน

จ่ายใบสั่งออนไลน์ที่ไหนได้บ้าง ?

หลังจากค้นหาหรือเช็คใบสั่งจากทะเบียนรถแล้วพบว่าคุณได้รับใบสั่งออนไลน์ เนื่องจากฝ่าฝืนกฎจราจร เมื่อต้องการจ่ายใบสั่ง สามารถชำระเงินค่าปรับผ่านได้ทั้งหมด 6 ช่องทาง ดังนี้

  • ชำระที่สถานีตำรวจภายในพื้นที่บ้าน
  • ชำระผ่านตู้ ATM หรือตู้ ADM ของธนาคารกรุงไทย
  • ชำระผ่านที่ทำการไปรษณีย์ไทยทุกสาขา
  • ชำระผ่านสาขาต่าง ๆ ของธนาคารกรุงไทย
  • ชำระผ่านจุดรับชำระเงิน เช่น CenPay หรือตู้บุญเติม
  • ชำระค่าปรับผ่านทางช่องทางออนไลน์ ด้วยแอปพลิเคชันโมบายแบงค์กิ้ง Krungthai NEXT ของธนาคารกรุงไทย

นอกจากจะต้องหมั่นตรวจเช็คใบสั่งออนไลน์ เพื่อป้องกันค่าปรับคงค้างหรือถูกออกหมายจับอยู่เสมอ เผื่อว่าเผลอทำผิดจะได้จ่ายใบสั่งภายในระยะเวลาที่กำหนดได้ทัน ในเรื่องของ “ประกันภัยรถยนต์” ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ควรให้ความสำคัญไม่แพ้กัน หมั่นตรวจเช็กให้ดีว่าใกล้หมดอายุแล้วหรือยัง หรือถ้าหากต้องการเปลี่ยนประกันใหม่ แต่ไม่รู้จะเลือกที่ไหนดี MrKumka เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ ราคาเบี้ยสบายกระเป๋า แถมเช็กความคุ้มครองที่คุ้มค่าได้ก่อนใคร แค่คลิกเช็คราคาประกันรถยนต์ที่เว็บไซต์ MrKumka.com

ถ้าไม่จ่ายใบสั่งจะเกิดอะไรขึ้น ?

กรณีที่เช็คใบสั่งจากทะเบียนรถผ่านช่องทางออนไลน์แล้วพบว่ามียอดค่าปรับคงค้าง แต่ไม่จ่ายตามระยะเวลาที่กำหนด นอกจากจะถูก “ตัดคะแนนใบขับขี่” แล้ว จะมีการส่งข้อมูลรถคันที่ทำผิดไปยังกรมการขนส่งทางบก เพื่องดออกเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปี พร้อมกับพนักงานสอบสวนจะออกหมายเรียกผู้ต้องหาเพื่อให้มาดำเนินการจ่ายใบสั่งให้เรียบร้อย

ในกรณีที่ออกหมายเรียกครบ 2 ครั้ง แต่ยังไม่มาพบตามหมายเรียก พนักงานสอบสวนจะยื่นคำร้องขออนุมัติศาลในเขตพื้นที่ เพื่อออกหมายถึง จากนั้นจะถูกแจ้งข้อหาตามใบสั่งและความผิดตามมาตรา 155 มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

ระบบเช็คใบสั่งจากทะเบียนรถทำอะไรได้อีก ?

หลายคนอาจมองว่าเว็บไซต์ ptm.police.go.th เป็นเพียงแค่ช่องทางสำหรับเช็คใบสั่งจากทะเบียนรถผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงยังสามารถทำรายการอื่น ๆ ได้อีกหลากหลายฟีเจอร์เกี่ยวกับเรื่องของ “ใบสั่ง”

  • ตรวจสอบใบสั่งออนไลน์ได้
  • ดูใบสั่งย้อนหลังสำหรับใบสั่งที่ยังไม่หมดอายุความ (ระยะเวลา 1 ปี)
  • จ่ายใบสั่งทางออนไลน์ได้ทันที
  • สามารถโต้แย้งใบสั่ง หากไม่ได้กระทำผิดได้
  • แสดงประวัติการได้รับใบสั่งจราจรย้อนหลัง
  • ตรวจสอบการค้างชำระค่าปรับ

กรณีต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในการใช้งานแต่ละฟีเจอร์ของทางเว็บไซต์ สามารถสอบถามได้ที่ “ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02)” หมายเลขโทรศัพท์ 1197 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ใบสั่งออนไลน์ของจริง vs ใบสั่งปลอม เช็กยังไงไม่ให้พลาดท่า ?

ยุคนี้พวก “มิจฉาชีพ” เยอะยิ่งกว่าอะไรดี อีกทั้งยังมาในหลากหลายรูปแบบไม่เว้นกระทั่งใบสั่งจราจร การเช็คใบสั่งออนไลน์จึงต้องเช็กอย่างถี่ถ้วน โดยใบสั่งออนไลน์จะมีหน้าตาคล้ายใบเสร็จตามห้างสรรพสินค้า หากเป็นกรณีที่จอดรถไว้แล้วมีใบสั่งมาแปะอยู่ที่รถ ให้ฉุกคิดไว้ก่อนเลยว่าอาจเป็น “กลลวงของมิจฉาชีพ” แต่ถ้าไม่อยากปวดหัวเรามีวิธีตรวจสอบมาให้เช็กคร่าว ๆ ดังนี้

สำหรับ “ใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์” หรือใบสั่งออนไลน์จะมี QR Code ด้านล่างขวา ระบุข้อความ “ข้อมูลเพิ่มเติม” เพื่อให้สามารถสแกนตรวจสอบใบสั่งหรือเช็คใบสั่งจากทะเบียนรถผ่านเว็บไซต์เท่านั้น ต้องลงทะเบียนก่อนใช้งาน แต่หากไม่แน่ใจแนะนำให้เข้าเช็กผ่านหน้าเว็บไซต์ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องสแกน QR Code

โอนเงินจ่ายใบสั่ง ชื่อผู้รับโอนจ่ายต้องเป็นชื่อใคร ?

ขั้นตอนเช็คใบสั่งจากทะเบียนรถมีอะไรบ้าง

อีกหนึ่งจุดสังเกตที่ควรดูให้ดี กรณีที่คุณมีค่าปรับคงค้างและต้องการจ่ายใบสั่งผ่านช่องทางออนไลน์ ถ้าหากสแกนชำระเงินผ่าน QR Code ด้านซ้ายของใบสั่งออนไลน์ ขึ้นขึ้นชื่อผู้รับโอน คือ “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ-ค่าปรับจราจร” เท่านั้น และยอดจะตรงกับใบสั่ง (ไม่สามารถแก้ไขยอดได้) หากมีอะไรที่ผิดแปลกไปจากนี้ ไม่จำเป็นต้องสแกนใด ๆ ทั้งสิ้น หรือถ้าจะให้ชัวร์ให้ทำตามที่บอกไปคือ เข้าเช็กด้วยตัวเองผ่านหน้าเว็บไซต์โดยไม่ต้องสแกน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการเช็คใบสั่งจากทะเบียนรถถือเป็นอีกหนึ่งเรื่อง ที่ควรให้ความสำคัญมาก ๆ แนะนำให้เข้าเว็บเพื่อเช็คใบสั่งออนไลน์อยู่เสมอ หากพบว่าโดนใบสั่งควรจ่ายใบสั่งทันที เพื่อป้องกันปัญหาอื่น ๆ ที่อาจตามมาในอนาคต ยิ่งในปัจจุบันสามารถจ่ายค่าปรับได้อย่างสะดวก รวดเร็ว แบบไม่ต้องเดินทาง เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้คุณรอดพ้นจาก “หมายเรียกหรือหมายจับ” แบบไม่ทันตั้งตัวได้แล้วล่ะ

คำจำกัดความ
โอนรถ หรือโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ คือ การเปลี่ยนชื่อเจ้าของรถยนต์จากเจ้าของคนเดิมให้กลายเป็นเจ้าของคนใหม่
Validation Code รหัสยืนยันตัวตน เช่น รหัส OTP ที่ส่งมาหมายเลขโทรศัพท์ ในรูปแบบการส่งข้อความ SMS แต่สำหรับการยืนยันตัวตนใน e-Ticket ตามบริบทในบทความนี้ จะส่งให้ทางอีเมล ในรูปแบบตัวเลข 6 หลัก
ตัดคะแนนใบขับขี่ โดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีใบขับขี่จะมีคะแนนความประพฤติบันทึกไว้คนละ 12 คะแนน ซึ่งหากทำผิดกฎจราจรในข้อหาที่ถูกกำหนดเอาไว้ก็จะโดนตัดแต้มใบขับขี่ทันที โดยการตัดแต้มใบขับขี่นั้น มีด้วยกัน 2 แบบ คือ ตัดคะแนนใบขับขี่ทันทีที่ทำผิด และตัดคะแนนใบขับขี่ก็ต่อเมื่อไม่ชำระค่าปรับตามใบสั่ง

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่