อยากรักษ์โลกด้วยการหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า 100% นอกจากรู้เรื่องรถเป็นอย่างดีแล้ว เรื่องหัวชาร์จรถไฟฟ้าและสถานีชาร์จรถไฟฟ้า ก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน ในปัจจุบันประเทศไทยมีหัวชาร์จกี่แบบ แต่ละแบบต่างกันยังไง เลือกแบบไหนเหมาะกับรถ EV ของคุณมากที่สุด มิสเตอร์ คุ้มค่า รวบรวมทุกคำตอบมาให้แล้ว ไปทำความเข้าใจก่อนใช้กันเลยดีกว่า
ปัจจุบันการชาร์จแบตเตอรี่รถไฟฟ้ามีกี่ระบบ ?
ประเด็นแรกที่ต้องรู้ก่อน คือ ระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งหมด 3 ระบบ ดังนี้
1. ระบบไฟฟ้ากระแสสลับ
AC Charger คือ การชาร์จไฟฟ้ากระแสสลับ หรือการใช้กระแสไฟบ้าน โดยการชาร์จ รถ ev ด้วยระบบนี้ไฟฟ้าจะวิ่งผ่าน On Board Charger เพื่อเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าตรงไปยังแบตเตอรี่ของรถ เหมาะสำหรับการใช้กระแสไฟบ้านโดยตรง แถมยังสามารถชาร์จไฟ รถข้ามคืนได้
2. ระบบไฟฟ้ากระแสตรง
DC Charger เป็นการชาร์จไฟรถไฟฟ้าโดยใช้กระแสไฟฟ้าตรงเข้าไปยังที่ชาร์จ แบบไม่ผ่าน On Board Charger ใช้เวลาชาร์จน้อยกว่า AC Charger ซึ่งใช้เวลาเพียงแค่ 40-60 นาทีเท่านั้น
3. ระบบ Normal Charging
ระบบชาร์จรถไฟฟ้า Normal Charging เป็นการชาร์จชาร์จจากเต้ารับภายในบ้านโดยตรง สามารถชาร์จได้ตั้งแต่ 0-80% ใช้เวลาประมาณ 12-16 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับขนาดความจุของแบตเตอรี่)
หัวชาร์จรถไฟฟ้า มีอะไรบ้าง ?
หลังจากที่ได้ทำความเข้าใจระบบของที่ชาร์จรถ ev ไปแล้ว เรามาทำความเข้าใจหัวชาร์จรถไฟฟ้าของแต่ละระบบกันต่อเลยดีกว่า
1. หัวชาร์จแบบธรรมดา
เป็นที่ชาร์จรถไฟฟ้าแบบ AC (กระแสสลับ) ถูกออกแบบมาเพื่อต่อกับเต้ารับกระแสไฟฟ้าภายในบ้าน โดยมิเตอร์ไฟฟ้าต้องเป็น 15A ใช้เวลาชาร์จประมาณ 12-16 ชั่วโมง โดยมีหัวชาร์จอยู่ด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้
- หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Type 1 : นิยมใช้มากที่สุดในกลุ่มทวีปอเมริกาเหนือ ญี่ปุ่น เป็นหัวต่อแบบ 5 Pin ใช้กระแสไฟฟ้า AC แบบ Single Phase รองรับกระแสไฟฟ้า 32A/250V
- หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Type 2 : ได้รับความนิยมค่อนข้างมากในทวีปยุโรปและเอเชีย เป็นหัวต่อแบบ 7 Pin ใช้กระแสไฟฟ้า AC แบบ Single Phase เช่นเดียวกัน และรองรับกระแสไฟฟ้า 70A/250V และ 3 Phasw 63A/480V
2. หัวชาร์จแบบเร็ว
หรือหัวชาร์จ Double Speed Charge เป็นการเชื่อมการชาร์จรถไฟฟ้าจากเครื่อง Wall Box ส่วนใหญ่นิยมติดตั้งไว้ที่บ้านเป็นหลัก แถมยังให้ความปลอดภัยมากกว่าแบบ AC ที่สำคัญใช้เวลาชาร์จน้อยกว่า เพียง 4-7 ชั่วโมงเท่านั้น (ขึ้นอยู่กับขนาดความจุของแบตเตอรี่) มีหัวชาร์จให้เลือก 2 แบบเช่นกัน ได้แก่
- Type 1 : นิยมใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าแถบอเมริกาเหนือ ญี่ปุ่น ใช้กระแสไฟ AC แบบ Single Phase รองรับกระแสไฟฟ้า 16A, 40A และ 48V/240V
- Type 2 : เป็นที่นิยมในทวีปยุโรปและประเทศอื่น ๆ ในทวีปเอเชีย ใช้กระแสไฟฟ้า AC แบบ 3 Phase รองรับกระแสไฟฟ้า 16A และ 32A/250 V
3. หัวชาร์จแบบด่วน
หัวชาร์จแบบสุดท้ายเป็นการชาร์จโดยใช้กระแสตรง (DC) เหมาะสำหรับคนที่ต้องการชาร์จในระยะเวลาที่ค่อนข้างจำกัด หรือเร่งรีบ โดยใช้เวลาในการชาร์จเพียงแค่ 40-60 นาทีเท่านั้น และมีหัวชาร์จทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่
- CHAdeMO : รองรับกระแสไฟฟ้า 200A/600V ชาร์จแล้วขับต่อได้ทันที ญี่ปุ่นใช้กันเยอะ
- GB/T : เป็นหัวชาร์จของจีนมีทั้งแบบ AC ที่รองรับกระแสไฟฟ้า 10A, 16A และ 32A/250-440V แบบ DC รองรับกระแสไฟฟ้า 80A, 125A, 200A และ 250A/750-1,000V
- CSS : เป็น AC Charging เพิ่มหัวต่ออีก 2 Pin สามารถรองรับการชาร์จแบบ DC ได้ด้วย มี 2 แบบ คือ CSS Type 1 กระแสไฟฟ้า 200A/600V และ CSS Type 2 รองรับกระแสไฟฟ้า 200A/1000V
หัวชาร์จรถไฟฟ้าแบบไหน ได้รับความนิยมในไทยมากที่สุด ?
เชื่อว่าหลายคนคงเกิดความสงสัยอยู่ไม่น้อย ว่าในปัจจุบันมีหัวชาร์จให้เลือกใช้งานหลากหลาย แล้วแบบไหนได้รับความนิยมในประเทศไทยมากที่สุด ซึ่งจริง ๆ แล้วมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ หัวชาร์จแบบ Type 2 และหัวชาร์จแบบ CCS Type 2 โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. หัวชาร์จแบบ Type 2
เป็นหัวชาร์จมาตรฐานแบบ AC ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบ้านเรา แถมยังเป็นที่นิยมในแถบยุโรปด้วย สำหรับรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ๆ ที่เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ก็เป็นหัวชาร์จแบบ Type 2 เกือบทั้งหมด หมายความว่าหากจะเลือกซื้อตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ามาติดตั้งที่บ้าน ก็ควรเลือกให้ตรงกับการใช้งานของรถยนต์ไฟฟ้าด้วย
2. หัวชาร์จแบบ CCS Type 2
เป็นหัวชาร์จมาตรฐานแบบ DC ที่สามารถชาร์จ รถ ev ได้อย่างรวดเร็ว รองรับการจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงได้สูงถึง 360 kW ขึ้นอยู่กับสเปคการจ่ายไฟของตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า และรถยนต์ไฟฟ้าที่รองรับ
ด้วยความที่รถยนต์ไฟฟ้า EV มี “แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า EV” เป็นหัวใจสำคัญ ทำให้กลายเป็นอะไหล่ที่มีราคาสูงมาก ๆ นอกจากจะเลือกหัวชาร์จรถไฟฟ้าที่ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดจากการชาร์จไฟรถไฟฟ้าแล้ว ยังควรเลือกซื้อประกันรถยนต์ไฟฟ้าติดเอาไว้ด้วย เพื่อให้รถยนต์คู่ใจของคุณได้รับความคุ้มครอง ไม่ว่าจะเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ไม่คาดฝันใด ๆ ก็ตาม เข้ามาเช็คราคาประกันรถยนต์กับ มิสเตอร์ คุ้มค่า เพื่อเลือกแผนความคุ้มครองที่ใช่ได้เลย
ปัจจัยใดบ้าง ที่มีผลต่อการชาร์จแบตเตอรี่รถไฟฟ้า
ทั้ง 2 ประเด็น (ระบบการชาร์จและหัวชาร์จรถไฟฟ้า) จะเห็นได้ว่าระยะเวลาในการชาร์จของแต่ละแบบ ล้วนขึ้นอยู่กับ “ขนาดความจุของแบตเตอรี่” แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อระยะเวลาชาร์จไฟรถไฟฟ้าด้วยเช่นกัน มีปัจจัยอะไรบ้าง ตามไปดูกัน
1. ความจุของแบตเตอรี่
มาเริ่มกันที่ปัจจัยแรกที่จะไม่พูดถึงคงไม่ได้ ซึ่งก็คือความจุของแบตเตอรี่ เพราะมันคือตัวบ่งบอกปริมาณแบตที่สามารถชาร์จได้ รวมถึงระยะเวลาในการใช้งานรถในแต่ละครั้งด้วย
2. ปริมาณแบตเตอรี่คงเหลือ
ในกรณีที่แบตเตอรี่รถยนต์เหลือน้อย ก็เป็นหนึ่งในเหตุผลที่จะใช้เวลาในการชาร์จมากกว่ารถที่ปริมาณแบตเตอรี่เหลือเยอะ
3. หัวชาร์จรถไฟฟ้า
หลังจากที่ได้ทำความเข้าใจประเด็นหัวชาร์จรถไฟฟ้าไปแล้ว ก็คงทราบกันดีว่าหัวชาร์จไฟฟ้ากระแสตรงจะใช้เวลาในการชาร์จน้อยกว่ากระแสไฟฟ้าสลับ
4. On Board Charger
อีกหนึ่งประเด็นที่ไม่พูดถึงไม่ได้เช่นกัน คือ On Board Charger ที่มีหน้าที่จำกัดปริมาณการไหลของไฟฟ้า พร้อมกับแปลงไฟฟ้าให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง จึงเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะเวลาในการชาร์จ รถ ev ด้วยเช่นกัน
5. แหล่งจ่ายไฟ หรือตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
สำหรับตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า สามารถแบ่งแยกย่อยได้ 4 รูปแบบ เรียงลำดับจากระยะเวลาที่มากไปน้อย ดังนี้
- จากปลั๊กไฟบ้านสู่รถยนต์
- จากปลั๊กไฟบ้านสู่รถยนต์ผ่านตัวป้องกัน
- จากตู้ชาร์จ EV Wall Charger สู่รถยนต์ไฟฟ้า
- จากสถานีชาร์จสาธารณะสู่รถยนต์ไฟฟ้า
ชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน vs ปั้มชาร์จรถไฟฟ้า แบบไหนตอบโจทย์กว่า ?
หนึ่งในประเด็นที่หลายคนสงสัยกันมากที่สุด คือ ระหว่างชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน vs ปั้มชาร์จรถไฟฟ้า เลือกแบบไหนดีกว่า ? ซึ่งคนที่จะตอบคำถามนี้ได้ก็คือตัวคุณเอง ด้วยการพิจารณาจากปัจจัยทั้ง 3 ส่วน ดังนี้
ที่ตั้งและพื้นที่บ้าน
บ้านไหนที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก ประกอบกับมีสถานีชาร์จอยู่ใกล้ ๆ การเลือกใช้บริการที่ชาร์จ ev สาธารณะก็ดูจะตอบโจทย์ได้มากกว่า
งบประมาณในการชาร์จ
กรณีที่ต้องการความคุ้มค่ามากที่สุด การติดตั้งสถานีชาร์จที่บ้านจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ดีมาก ๆ เนื่องจากค่าไฟที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน มักถูกกว่าการใช้บริการที่ชาร์จรถ ev ตามปั๊ม ห้างสรรพสินค้า หรือของหน่วยงานต่าง ๆ อยู่แล้ว
ความถี่ในการใช้งานรถไฟฟ้า
หากคุณเดินทางไกลบ่อย ๆ หรือใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าเป็นประจำ ควรเลือกใช้บริการตู้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจะดีกว่า เนื่องจากสามารถใช้เวลาในการชาร์จค่อนข้างสั้น ไม่ต้องคอยนาน
นอกจากจะเลือกที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่ตอบโจทย์ตามปัจจัยต่าง ๆ ทั้ง 3 ข้อข้างต้นแล้ว อย่าลืมให้ความสำคัญกับวิธีชาร์จรถไฟฟ้าที่ถูกต้องด้วย เพื่อป้องกันปัญหาและความเสียหายอื่น ๆ ที่อาจตามมาในอนาคต
ขอย้ำอีกครั้งว่าการเลือกซื้อรถไฟฟ้าสักคัน แค่ทำความเข้าใจสเปคของรถแต่รุ่นอาจไม่เพียงพอ แต่ควรทำความเข้าใจหัวชาร์จรถไฟฟ้า ระบบการชาร์จ รวมไปถึงวิธีชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้าที่ถูกต้องด้วย เพื่อให้การใช้รถของคุณราบรื่น ไร้ที่ติ ที่สำคัญอย่าลืมให้ความสำคัญกับประกันรถยนต์ไฟฟ้าด้วย เพราะมันจะช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงิน ที่เกิดขึ้นหลังจากประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ดีมาก ๆ
คำจำกัดความ
เต้ารับ | อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างหนึ่ง มีรู 2-3 รู สำหรับรับเต้าเสียบ หรือปลั๊กตัวผู้ ซึ่งมีขาเสียบ 2-3 ขาเท่ากัน เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าได้ครบวงจร, ปลั๊กตัวเมีย |
EV Wall Charger | สถานีชาร์จรถไฟฟ้า |
ความจุของแบตเตอรี่ | ปริมาณไฟฟ้าที่แบตเตอรี่สามารถจัดเก็บได้ |