แชร์ทริคการดูแลรักษารถยนต์หลังต้องขับรถลุยน้ำท่วม ที่ไม่ว่าใครก็ทำได้

แชร์ต่อ
การดูแลรักษารถยนต์หลังต้องขับลุยน้ำท่วม | MrKumka.com

ฤดูฝนที่ต้องเจอกับพายุฝน ผู้ใช้รถโดยเฉพาะมือใหม่รู้หรือยังว่าน้ำสูงแค่ไหนควรเลี่ยงแล้วไปจอดข้างทาง ? หรือเมื่อขับรถลุยน้ำขังมาอย่างหนัก การดูแลรักษารถยนต์ที่เหมาะสมต้องทำอะไรบ้าง ? ใช่ที่ว่าบางคนบอก “ฝนตกก็ดี เพราะไม่ต้องล้างรถ” แต่จริง ๆ แล้วกลับไม่ใช่ข้อดีเลยสักนิดสำหรับสีรถคุณ หากคุณกำลังหาวิธีดูแลรถยนต์ที่เหมาะสม และช่วยยืดอายุรถยนต์ให้ยาวนานกว่าเดิม MrKumka ลิสต์ประเด็นที่น่าสนใจมาให้แล้ว เรื่องน่ารู้ในการใช้รถหน้าฝนคืออะไร ? ไปดูกัน

การดูแลรักษารถยนต์ที่ถูกต้อง หลังจากขับรถลุยน้ำมีอะไรบ้าง ?

บางคนยังไม่รู้การใช้รถช่วงน้ำฝน ที่ถนนเต็มไปด้วย “น้ำขังสูง” ไม่มีใครอยากขับรถไปเจอ และอาจยังไม่รู้จักการดูแลรถยนต์หลังจากลุยน้ำท่วมมาก่อน ไม่รู้ว่าจะต้องเตรียมรับมือยังไง ? ไม่ต้องกังวล เพราะเราลิสต์มาให้เรียบร้อยแล้ว ไปดูพร้อม ๆ กันเลย

  • 1. หาที่จอดรถเพื่อตรวจเช็กสภาพ

    หลังจากขับรถลุยน้ำมาสักพัก และขับรถมายังจุดที่พื้นถนนปกติแล้ว ให้รีบหาที่จอดเพื่อตรวจเช็กสภาพรถทันที แต่อย่าเพิ่งดับเครื่องยนต์เด็ดขาด แนะนำให้จอดทิ้งไว้สักพักแล้วค่อยดับเครื่อง เพื่อเป็นการไล่ความชื้นในห้องเครื่องและหม้อพักไอเสียให้หมดก่อน เพราะจะช่วยป้องกันเครื่องยนต์มีปัญหาตามมาภายหลังได้

    จากนั้นให้เช็กห้องโดยสาร แผ่นยางรองพื้นหรือพรมปูพื้น หากพบว่ามีน้ำขังให้รีบเคลียร์น้ำออกและเป่าให้แห้ง พร้อมกับเปิดประตูรถทั้ง 4 ด้าน เพื่อไร้ความชื้นออกจากห้องโดยสาร

  • 2. เบรกรถย้ำๆ

    กรณีที่อยู่ในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมนาน ๆ อาจส่งผลกระทบกับจานเบรกและผ้าเบรกได้ แนะนำว่าเมื่อขับรถไปยังจุดที่ระดับน้ำลดลง ให้พยายาม “ขับเลียเบรก” ช้า ๆ โดยแตกเบรกเบา ๆ ค้างไว้ประมาณ 100-200 เมตร เพื่อไล่ความชื้นผ้าเบรกและขัดสนิมออกจากตัวเบรก หากรถที่คุณขับเป็นเกียร์ธรรมดา ให้ย้ำคลัทช์เพื่อป้องกันคลัทช์ลื่น

  • 3. เช็กระบบต่าง ๆ ภายในรถ

    ระบบต่าง ๆ ภายในรถยนต์เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม และควรมองหาวิธีดูแลรถยนต์ที่เหมาะสม เพื่อป้องกันปัญหาอื่น ๆ ที่ตามมาในอนาคต ซึ่งระบบต่าง ๆ ที่ควรเช็กมีดังนี้

    1. น้ำมันเครื่องยนต์

      หลังจากดับเครื่องยนต์เรียบร้อยแล้ว ให้เปิดฝากระโปรงรถเพื่อตรวจเช็กน้ำมันเครื่องยนต์ ด้วยการดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออกมาดู “เนื้อ” ของตัวน้ำมัน หากมีสีออกน้ำตาลหรือแยกชั้นแสดงว่ามีน้ำเข้าเข้าเครื่องแน่นอน ให้รีบเข้าศูนย์หรือมองหาอู่ซ่อมรถเพื่อเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง และเปลี่ยนไส้กรองใหม่ทันที

    2. ไฟส่องสว่าง

      หากระบบไฟส่องสว่างของรถยนต์ไม่ติด หรือติด ๆ ดับ ๆ เบื้องต้นให้ซื้อสเปรย์ฉีดไล่ความชื้นรถฉีดตามขั้วต่าง ๆ ตามสายไฟ หรือเปลี่ยนตามคำแนะนำของฝากล่องฟิวส์รถ นอกจากนี้ยังควรเช็ก ECU ว่าเปียกหรือไม่ หากพบว่าเปียกให้หาผ้ามาเช็ดให้แห้ง แต่ถ้ายังไม่มั่นใจแนะนำให้ถอดขั้วแบตเตอรี่ออก เพื่อให้ช่างที่ร้านซ่อมรถจัดการต่อ

    3. ระบบปรับอากาศ

      เมื่อต้องขับรถบริเวณที่น้ำท่วมหรือขับรถลุยน้ำเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดความชื้นและส่งกลิ่นเหม็นอับภายในห้องโดยสารได้ แนะนำให้กำจัดกลิ่นในระบบแอร์ด้วยการปิดสวิตซ์และเบรกเกอร์แอร์ จากนั้นเปิดฝาครอบแอร์และถอดผงกรองฝุ่นด้านหน้าเครื่องไปทำความสะอาด พร้อมกับผึ่งแดดให้แห้ง

ทั้งหมดนี้คือการดูแลรถยนต์เบื้องต้น ที่คุณสามารถทำได้เองง่าย ๆ โดยไม่ต้องพึ่งอู่ซ่อมรถหรือศูนย์บริการแม้แต่น้อย เว้นแต่ว่าไม่มั่นใจจริง ๆ ก็สามารถมองหาร้านซ่อมรถใกล้ฉันเพื่อตรวจเช็กสภาพรถอีกครั้ง เพื่อป้องกันค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถที่บานปลายมากกว่าเดิม

ขับรถลุยน้ำ น้ำท่วมรถ แบบนี้ประกันจ่ายไหม ?

สำหรับกรณีขับรถลุยน้ำและกรณีน้ำท่วมรถ ที่หลายคนสงสัยว่าประกันจ่ายไหม ? ต้องแยกออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

  1. กรณีที่สามารถเคลมได้

    เฉพาะ “เหตุสุดวิสัย” ที่ไม่ได้เกิดจากความประมาทของผู้ขับขี่เอง เช่น ขับรถท่ามกลางฝนตกหนัก แล้วอยู่ ๆ น้ำท่วมสูง หรือจอดรถทิ้งไว้แล้วน้ำท่วมจนรถได้รับความเสียหาย แบบนี้ยังคงได้รับความคุ้มครองตามเดิม โดยบริษัทประกันจะชดเชยค่าซ่อมตามวงเงินประกันและเงื่อนไขในสัญญา

  2. กรณีที่ไม่สามารถเคลมได้

    ในกรณีที่เกิดจาก “ความประมาท” ของผู้ขับขี่เอง เช่น ขับรถลุยน้ำทั้ง ๆ ที่เห็นว่าถนนข้างหน้ามีน้ำท่วมสูง หรือขับรถไปในพื้นที่ที่มีการประกาศแจ้งเตือน จะไม่สามารถเคลมประกันได้

ต้องบอกก่อนว่าความเสียหายของรถยนต์ อันเนื่องมาจากเหตุการณ์น้ำท่วม น้ำหลาก ภัยพิบัติธรรมชาติ ฯลฯ ประกันภัยรถยนต์จะให้ความคุ้มครองแตกต่างกันออกไป หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่ต้องการมอบการดูแลรักษารถยนต์ที่ครอบคลุม ด้วยการซื้อ “ประกันภัยรถยนต์” ที่อุ่นใจ MrKumka พร้อมนำเสนอแผนประกันที่ตอบโจทย์ เลือกได้ว่าจะซ่อมศูนย์หรืออู่ซ่อมรถ ที่สำคัญเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ ชั้น 1 ได้ก่อนใคร ไว้ใจให้เราดูแลคุณตลอดการเดินทาง

น้ำท่วมระดับไหน ไม่ควรเสี่ยงขับลุย ?

สำหรับคนที่ต้องขับรถไปทำงานตามเส้นทางเดิม ๆ แต่ปรากฏว่าวันดีคืนดีเกิดเจอน้ำท่วม จำเป็นต้องขับรถลุยน้ำอย่างเลี่ยงไม่ได้ MrKumka มีข้อมูลดี ๆ มาบอกต่อ เพื่อให้รถยนต์ของคุณไม่พัง ปลอดภัย และลดความเสี่ยงได้อย่างอยู่หมัด ซึ่ง “ระดับน้ำ” ระดับไหนที่ควรหรือไม่ควรเสี่ยงขับรถลุย ไปหาคำตอบกันเลย!

ระดับน้ำ 5-10 เซนติเมตร

สามารถขับผ่านได้ทุกคัน แต่ควรขับรถลุยน้ำอย่างมีสติ ระมัดระวัง และไม่ควรใช้ความเร็วสูง เนื่องจากอาจทำให้สูญเสียการควบคุมได้ง่าย ๆ

ระดับน้ำ 10-20 เซนติเมตร

รถทุกประเภทยังคงขับผ่านไปได้ แต่รถขนาดเล็กอาจได้ยินเสียงน้ำใต้ท้องถนน แนะนำให้เพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะมีโอกาสที่น้ำจะเข้าไปในตัวรถ

ระดับน้ำ 20-40 เซนติเมตร

รถอีโคคาร์สามารถขับลุยได้แต่ต้องระวังให้ดี เพราะรถยนต์ส่วนใหญ่ถูกออกแบบให้มีความสูงจากระดับพื้น ประมาณ 15-17 เซนติเมตร หากขับรถลุยน้ำที่ระดับความสูงประมาณนี้ อาจทำให้เกิดปัญหาท่อไอเสียจม ส่วนรถกระบะยังคงผ่านไปได้

ระดับน้ำ 40-60 เซนติเมตร

รถเก๋ง รถขนาดเล็กควรเลี่ยง อย่าพยายามฝืนขับรถต่อหรือขับรถลุยน้ำเด็ดขาด สำหรับรถกระบะยังคงฝ่าไปได้ แต่แนะนำให้ปิดแอร์ขณะขับ เพื่อป้องกันพัดลมแอร์หน้ารถดูดละอองน้ำเข้าไปในเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เครื่องยนต์ดับ

ระดับน้ำ 60-80 เซนติเมตร

รถทุกประเภทไม่ควรขับรถลุยน้ำระดับนี้ เพราะน้ำอาจไหลเข้าเครื่องยนต์ ทำให้เครื่องยนต์ดับ หยุดชะงัก และทำให้ระบบต่าง ๆ ได้รับความเสียหาย

ระดับน้ำสูงเกิน 80 เซนติเมตร

แนะนำให้เลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่นจะดีที่สุด หรือถ้ากลับตัวก็ไม่ได้ ขับต่อไปก็มีแต่จะเสี่ยงรถพัง แนะนำให้จอดข้างทางที่จะทำให้ระดับรถสูงขึ้นไว้ก่อน ทิ้งรถไว้หรือรอจนระดับน้ำลงก็ขับรถไปต่อดีที่สุด

รถดับ รถเสียกลางน้ำท่วม ทำยังไงดี ?

รถดับ รถเสียกลางน้ำท่วม ทำยังไงดี | MrKumka.com

อย่าว่าแต่รถ EV เพราะรถสันดาปเจอน้ำท่วมสูงๆ เข้าไปก็พังเ้หมือนกันทั้งนั้น สำหรับใครที่ “ฝืนขับรถลุยน้ำ” แล้วปรากฏว่ารถดับกลางน้ำท่วม แนะนำให้ตั้งสติให้ดีและทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • 1. ห้ามสตาร์ทรถเด็ดขาด

    เพื่อป้องกันน้ำเข้าเครื่องยนต์ ที่อาจทำให้ได้รับความเสียหายหนักกว่าเดิม หรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจร แนะนำให้ตั้งสติพร้อมบิดกุญแจดับเครื่องยนต์ทันที

  • 2. เปิดสัญญาณไฟฉุกเฉิน

    เพื่อเตือนให้รถคันอื่น ๆ หลีกเลี่ยงหรือรับรู้ว่ารถของคุณเกิดปัญหา เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อน

  • 3. ออกจากรถเพื่อขอความช่วยเหลือ

    แนะนำให้ติดต่อบริษัทประกัน ศูนย์บริการ อู่ซ่อมรถ หรือรถยก-รถลาก ที่ช่วยนำรถออกจากบริเวณน้ำท่วมได้ หรือจะขอความช่วยเหลือจากผู้คนรอบข้างเพื่อเข็นรถหนีน้ำไปที่แห้งก่อน

  • 4. เปิดฝากระโปรงหน้ารถ เพื่อตรวจสอบเบื้องต้น

    เมื่อย้ายรถหนีบริเวณน้ำท่วมได้แล้ว แนะนำให้ถอดขั้วแบตเตอรี่ออกเพื่อตัดระบบจ่ายไฟ พร้อมกับเปิดดูไส้กรองอากาศว่ามีน้ำเข้าหรือไม่ หากไส้กรองแห้ง สาเหตุที่รถดับอาจเกิดจากระบบไฟฟ้าช็อตหรือเปียกน้ำ กรณีที่ไม่มั่นใจหรือไม่รู้จักชิ้นส่วนต่าง ๆ แนะนำให้มองหาร้านซ่อมรถ หรือติดต่อศูนย์บริการ/อู่ซ่อมรถจะดีที่สุด

  • 5. รีบนำรถเข้าศูนย์บริการ/อู่ซ่อมรถ

    เมื่อเผชิญหน้ากับเหตุการณ์รถดับท่ามกลางน้ำท่วมขัง ไม่ควรปล่อยรถทิ้งไว้ แต่ควรให้ช่างตรวจสอบหาสาเหตุโดยเร็วที่สุด หากมีอุปกรณ์ส่วนใดชำรุด ได้รับความเสียหาย จะได้ทำการแก้ไขทันที

รถยนต์ไฟฟ้า EV ขับลุยน้ำได้ไหม ถ้าเจอน้ำท่วมควรทำยังไง ?

เทรนด์รถไฟฟ้าในบ้านเราใช้งานกันอย่างแพร่หลาย สาวกรถยนต์ EV หรือคนที่กำลังสนใจ อาจตั้งคำถามว่า “รถยนต์ไฟฟ้า EV ขับรถลุยน้ำได้ไหม? คำตอบคือ “ควรหลีกเลี่ยงการขับรถลุยน้ำ” โดยเฉพาะน้ำท่วมสูง เพราะอาจทำให้ระบบไฟฟ้าและแบตเตอรี่ได้รับความเสียหายจากความชื้นได้ แถมยังไม่ปลอดภัยต่อผู้ขับขี่หรือผู้โดยสาร

แม้ผู้ผลิตจะเคลมว่าสามารถขับรถลุยน้ำได้ก็จริง แต่ถึงอย่างไรไม่เสี่ยงย่อมดีกว่า เหตุผลก็คืออะไหล่ของรถประเภทนี้ไม่ได้ถูกออกแบบให้ทนน้ำและความชื้นในปริมาณมาก หากขับรถลุยน้ำอาจทำให้รถยนต์ใช้งานไม่ได้ กรณีที่น้ำท่วมประมาณ 30 เซนติเมตร สามารถขับรถลุยได้ แต่ควรขับอย่างช้า ๆ

ทริคขับรถยนต์ไฟฟ้า EV ลุยน้ำท่วมขัง

สำหรับทริคขับรถยนต์ไฟฟ้า EV ลุยน้ำท่วมขัง ป้องกันเครื่องยนต์ไม่ให้ได้รับความเสียหายมากเกินไป วิธีดูแลรถยนต์ของรถประเภทนี้ไม่ได้แตกต่างจากรถยนต์สันดาปทั่วไปเลย หลักการง่าย ๆ คือให้ลดความเร็ว, รักษาระยะห่างกับรถคันหน้า, ไม่ควรขับรถลุยน้ำที่มีระดับสูงเกินไป, ปิดแอร์ และเมื่อถึงที่หมายก็ไม่ควรขับรถในทันที แนะนำให้ปฏิบัติตามนี้อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเครื่องยนต์ในอนาคต

สำหรับวิธีการดูแลรักษารถยนต์ในช่วงหน้าฝน หรือหลังจากขับรถลุยน้ำเบื้องต้น ไม่มีขั้นตอนไหนยุ่งยากหรือซับซ้อนแม้แต่น้อย สามารถตรวจเช็กความเสียหายของเครื่องยนต์หรือชิ้นส่วนต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง แต่ถ้าหากไม่รู้จักชิ้นส่วนไหน ๆ หรือไม่มั่นใจ แนะนำให้ติดต่อศูนย์บริการหรืออู่ซ่อมรถให้จัดการต่อจะดีที่สุด ทั้งนี้อย่าลืมเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองอย่างครอบคลุม ช่วยให้ทุก ๆ การเดินทางของคุณราบรื่นและอุ่นใจมากที่สุด

คำจำกัดความ
เหตุสุดวิสัย ภาวะที่พ้นความสามารถที่ใครจะป้องกันได้
สัญญาณไฟฉุกเฉิน ระบบไฟในรถยนต์ที่วิธีการใช้งานนั้นง่ายเพียงนิดเดียว นั่นคือการกดปุ่มสัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยม จากนั้นที่ไฟเลี้ยวทั้งด้านหน้าและด้านหลังสี่ด้านก็จะกะพริบพร้อม ๆ กัน การใช้ไฟฉุกเฉินที่ถูกต้อง ไฟฉุกเฉินมีไว้สำหรับ “รถที่จอดเสีย” ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่