หัวข้อที่น่าสนใจ
- การหลับในคืออะไร ? ทำไมถึงเสี่ยงต่อการใช้รถใช้ถนน ?
- ต้นเหตุของการหลับใน คืออะไร ?
- สัญญาณอันตรายของภาวะหลับในมีอะไรบ้าง ?
- 1. สัญญาณทางความคิด
- 2. สัญญาณทางร่างกาย
- 3. สัญญาณจากพฤติกรรมการขับรถ
- ไม่อยากเสี่ยงหลับใน ทำแบบนี้ตอนใช้รถดีกว่าไหม ?
- 1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- 2. กระตุ้นสมองด้วยการทานอาหารให้เหมาะสม
- 3. งดดื่มกาแฟ หรือเครื่องที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนผสม
- นอนในรถอันตราย ใคร ๆ ก็บอกว่าตายได้ มันยังไงกันนะ ?
การหลับในคืออะไร ? ทำไมถึงเสี่ยงต่อการใช้รถใช้ถนน ?
ว่าด้วยพฤติกรรมการ “หลับใน” ที่หลายคนเคยได้ยินแต่ยังไม่เข้าใจความหมายที่แท้จริง ต้องบอกว่าอาการนี้เป็น การหลับระยะสั้น (Microsleep) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์การสับสนระหว่างการหลับและการตื่น พูดง่าย ๆ ว่าเป็นการหลับที่เข้ามาแทรกการตื่นโดยเฉียบพลัน ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยรู้ตัว เนื่องจากเกิดขึ้นแค่ช่วงเวลาสั้น ๆ ประมาณ 1-2 วินาที แต่แค่นั้นก็ทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน จนเกิดความสูญเสียได้เลยล่ะ
ต้นเหตุของการหลับใน คืออะไร ?
ต้องบอกก่อนว่าหลับใน เกิดจากสาเหตุหลายสาเหตุมาก ๆ ซึ่งแต่ละคนจะมีภาวะดังกล่าวจากสาเหตุที่ต่างกันออกไป ดังนี้- นอนหลับไม่เพียงพอ สำหรับคนที่นอนหลับไม่เพียงพอ หรือนอนน้อยกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลับในได้ง่ายมาก เนื่องจากสมองส่วนธาลามัสอาจหยุดทำงานในช่วงเวลาสั้น ๆ ทำให้รู้สึกง่วงนอนกะทันหัน ไม่ตอบสนองต่อการรับรู้ ณ ช่วงเวลานั้น ๆ จนเกิดอาการหลับในในที่สุด
- เวลาเข้านอนไม่คงที่ (เปลี่ยนไปมา) การเปลี่ยนเวลาเข้านอนไปมาบ่อย ๆ เช่น วันหยุดสุดสัปดาห์เข้านอนหลังเที่ยงคืน-ตื่นสาย แต่วันธรรมดาเข้านอนก่อนเที่ยงคืน-ตื่นเช้าตรู่ จะทำให้สมองเกิดอาการงงและเสื่อม แถมยังทำให้เวลานอนไม่ง่วง นอนหลับน้อยลง หรือเรียกง่าย ๆ ว่าหลับไม่เต็มอิ่มนั่นเอง
- เข้านอนไม่เป็นเวลา การนอนดึกตื่นสาย แม้จะนอนครบ 8 ชั่วโมงหรือมากกว่าก็ตาม ย่อมส่งผลต่อร่างกาย เนื่องจากฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลง ร่างกายอ่อนเพลีย ง่วงนอนตลอดเวลา
- กรรมพันธุ์ หากเป็นภาวะหลับในที่เกิดจากสาเหตุนี้ จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยคือ คือ กลุ่มนอนยาว (Long Sleepers) ซึ่งต้องนอนนานกว่า 10 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น และกลุ่มนอนสั้น (Short Sleepers) ที่นอนหลับแค่ 4-5 ชั่วโมงร่างกายก็รู้สึกสดชื่น แต่พบได้น้อยมาก ๆ
หลับในแล้วรถเกิดอุบัติเหตุ เคลมประกันได้ไหม ?
หนึ่งในประเด็นที่หลายคนสงสัยกันมากที่สุด คือ หากเกิดอาการหลับในซึ่งเป็นภัยต่อการใช้รถใช้ถนนทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น แบบนี้สามารถเคลมประกันได้หรือไม่ ? คำตอบคือ “เคลมประกันได้” แต่ก็ขึ้นอยู่กับข้อยกเว้นในกรมธรรม์ของแต่ละบริษัทด้วย นอกจากนี้การเคลมประกันจากการหลับใน ต้องดูด้วยว่าเป็นกรณีไหน มีหรือไม่มีคู่กรณี เนื่องจากให้ความคุ้มครองต่างกัน ดังนี้-
ชนแบบมีคู่กรณี
แน่นอนว่าการเกิดอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากอาการวูบ หลับใน ผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิด 100% ดังนั้นบริษัทประกันจะเข้ามาดูแลในส่วนของรถ บุคคล รวมถึงทรัพย์สินภายนอกของคู่กรณี เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมรถ สำหรับคนที่ทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ไว้ จะต้อง “จ่ายค่าเสียหายส่วนแรก” ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ เนื่องจากเป็นฝ่ายผิด -
ชนแบบไม่มีคู่กรณี
ส่วนนี้จะมี “เงื่อนไขยิบย่อย” ของแต่ละบริษัท ที่ผู้เอาประกันจะต้องไปอ่านและทำความเข้าใจความคุ้มครองให้ดี แม้จะสามารถเคลมได้ก็จริง แต่ก็อาจต้องเสียในส่วนของค่าเสียหายส่วนแรกเช่นกัน
หากไม่อยากปวดหัวกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการหลับใน การทำประกันรถยนต์ที่ครอบคลุมถือว่าตอบโจทย์มาก เพราะเมื่อเกิดภาวะหลับในก็ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่ตามมา โดยเฉพาะเมื่อซื้อประกันรถยนต์กับ MrKumka.com ที่สามารถเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ ชั้น 1 ได้ก่อนทำประกัน รวมถึงปรับแผนความคุ้มครองได้อย่างอิสระ เพื่อให้คุณได้รับความคุ้มครองที่คุ้มค่า ตรงใจมากที่สุด
สัญญาณอันตรายของภาวะหลับในมีอะไรบ้าง ?
จริง ๆ แล้วอาการหลับในหรือภาวะหลับใน ที่ทำให้คุณเสียสมาธิขณะขับรถสังเกตไม่ยาก โดยแบ่งออกเป็น 3 สัญญาณดังนี้
-
1. สัญญาณทางความคิด
เช่น ไม่สามารถจดจำเหตุการณ์ก่อนหน้าไม่ได้ แม้จะผ่านไปไม่กี่นาทีก็ตาม ไม่สามารถจดจ่อกับการขับรถ หรือสิ่งที่ทำได้เท่าที่ควร นอกจากนี้ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ก็ลดลง ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ค่อนข้างช้ากว่าปกติ
-
2. สัญญาณทางร่างกาย
เมื่อร่างกายเริ่มเข้าสู่ภาวะหลับใน ร่างกายจะเริ่มรู้สึกหาวบ่อย กะพริบตาช้า หรือบางคนก็กะพริบตาถี่ ๆ เพื่อให้ร่างกายตื่นตัว รวมถึงเริ่มมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ไม่ชัดเจน ร่างกายกระตุก ตาหนัก หรือบางคนก็ลืมตาไม่ขึ้น เป็นต้น
-
3. สัญญาณจากพฤติกรรมการขับรถ
หากรู้ตัวว่าเลี้ยวรถผิดทาง ขับเลยทางออก จดจำทางที่เพิ่งผ่านมาไม่ได้ หรือไม่สามารถจดจ่อกับการใช้รถใช้ถนนได้ ควรรีบตั้งสติและหยุดรถในที่ปลอดภัยทันที เพราะไม่อย่างนั้นอาจทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันตามมาได้
ไม่อยากเสี่ยงหลับใน ทำแบบนี้ตอนใช้รถดีกว่าไหม ?
อย่างที่บอกไปก่อนหน้าแล้วว่า อาการหลับใน เกิดจากร่างกายอ่อนเพลีย นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอทำให้รู้สึกง่วงนอนตลอดเวลา ซึ่งจริง ๆ แล้วมันมี “ทางแก้” หรือทางป้องกันที่เห็นผลชัดเจน แต่จะมีอะไรบ้าง ? ตามไปดูกันเลย
-
1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
ควรนอนหลับ ‘อย่างน้อย’ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน แต่ถ้ายังคงรู้สึกนอนไม่เพียงพอ ร่างกายอ่อนเพลียแม้จะนอนมาเยอะ เนื่องจากขับรถระยะทางไกลมาเป็นเวลานาน แนะนำให้แวะเข้าปั๊มนอน ประมาณ 15-20 นาทีก่อนออกเดินทางต่อ หรือถ้าหากมีเวลามากพอ อาจหาห้องพักชั่วคราวราคาถูกใกล้ฉันเพื่อพักผ่อนก่อนออกเดินทางต่อได้เช่นกัน
-
2. กระตุ้นสมองด้วยการทานอาหารให้เหมาะสม
หากต้องออกเดินทางตอนเช้า แนะนำให้ทานอาหารเช้าเสมอ เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง แต่ถ้าหากเป็นการเดินทางในช่วงกลางวัน (เที่ยงหรือบ่าย) ควรทานในปริมาณที่พอดี ไม่มากจนเกินไป และสามารถทานผลไม้รสเปรี้ยว เพื่อช่วยกระตุ้นประสาทให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่าได้เช่นกัน
-
3. งดดื่มกาแฟ หรือเครื่องที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนผสม
หากต้องเดินทางในวันถัดไป ช่วงเวลาหลัง 16.00 น. ไม่ควรดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนผสมอื่น ๆ เช่น โกโก้ ชาเขียว เพราะจะทำให้นอนไม่หลับ หลับไม่ลึก เมื่อตื่นนอนในตอนเช้าร่างกายจะรู้สึกไม่สดชื่น
นอนในรถอันตราย ใคร ๆ ก็บอกว่าตายได้ มันยังไงกันนะ ?
อย่างที่เราแนะนำไปก่อนหน้าว่า หากรู้สึกง่วงนอนหรือร่างกายอ่อนเพลีย แนะนำให้แวะปั๊มนอน ก่อนออกเดินทางต่อเพื่อความปลอดภัย แต่หลายครั้งก็มีข่าวออกมาให้ได้ยินบ่อย ๆ ว่ามีคนเสียชีวิตเพียงเพราะนอนในรถ แล้วแบบนี้ควรทำยังไงกันแน่ จะหารีสอร์ทใกล้ฉันราคาถูก ชั่วคราวก็หาไม่ได้ง่าย ๆ ถ้าอย่างนั้นเราไปทำความเข้าใจกันเลยดีกว่า
ทำไมนอนในรถแล้วทำให้ตายไม่รู้ตัว ?
จริง ๆ แล้วการที่นอนในรถ ส่วนใหญ่เป็นเพราะ “เปิดแอร์” ไปด้วย สตาร์ทเครื่องไปด้วย แบบนี้เองที่ทำให้ตายแบบไม่ทันได้รู้ตัว เนื่องจากการเปิดแอร์พร้อมติดเครื่องยนต์ ปิดกระจกทั้งหมด เพื่อนอนในรถก่อนเดินทางต่อ ทำให้ระบบแอร์ที่ปกติจะดูดอากาศจากภายนอกเข้ามาหมุนเวียนภายในรถ กลับดูดเอาควันจากท่อไอเสียเข้ามาแทน แน่นอนว่าในไอเสียรถยนต์มีทั้งแก๊สคาร์บอนมอนอกไซต์ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ล้วนเป็นอันตรายต่อร่างกายอย่างมาก อาการเบื้องต้นจะเกิดการระคายเคือง ปวดศีรษะ สั่นกระตุก เซื่องซึม หัวใจเต้นผิดปกติ และหมดสติไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตในที่สุด แต่ถ้าจะปิดแอร์เปิดกระจกนอน ในช่วงเวลาเที่ยงหรือบ่ายคงไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีสักเท่าไหร่ การมองหาโรงแรมใกล้ฉันราคาถูกชั่วคราวจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด แต่จะดีกว่านั้นหากพักผ่อนให้เต็มที่ก่อนออกเดินทางจริง ๆ แล้ว “หลับใน” ควบคุมได้ยากพอ ๆ กับอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่มันสามารถป้องกันได้ โดยเริ่มจากตัวเอง ด้วยการนอนหลับให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายไม่รู้สึกง่วงนอนตลอดเวลา จนเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลับใน เพียงเท่านี้ก็ช่วยพาให้คุณห่างไกลจากอุบัติเหตุได้แล้วล่ะ
คำจำกัดความ
คร่าชีวิต | ทำให้ตาย, ทำให้เสียชีวิต, พรากเอาชีวิตไป |
สมองส่วนธาลามัส | ทําหน้าที่เป็นสถานีถ่าย ถ่ายทอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปยัง สมองที่เกี่ยวกับกระแสประสาทนั้น ๆ |
กระปรี้กระเปร่า | คึกคัก, คล่องแคล่ว, ไม่เนิบนาบ, ว่องไว, กระฉับกระเฉง |