แจกพิกัดห้องน้ำบนทางด่วน ปวดหนักปวดเบาก็เอาอยู่ทุกเส้นทาง

แชร์ต่อ
แจกพิกัดห้องน้ำบนทางด่วน ปวดหนักปวดเบาก็เอาอยู่ทุกเส้นทาง | มิสเตอร์ คุ้มค่า

หัวข้อที่น่าสนใจ

คงไม่ดีแน่หากคุณต้องเจอกับสถานการณ์ “ปวดหนัก” โดยเฉพาะบนทางด่วนที่หาจุดจอดจุดแวะได้ยาก จะเบี่ยงลงไปหาปั้มน้ำมันด้านล่างก็ดันเจอกับเหตุการณ์รถติดบนทางด่วนจนขยับไปไหนไม่ได้ มิสเตอร์ คุ้มค่า จึงได้รวบรวมพิกัดห้องน้ำบนทางด่วนที่ “ทางการพิเศษแห่งประเทศไทย” เปิดให้บริการมาให้เรียบร้อยแล้ว มีที่ไหนบ้าง ? เสียค่าบริการไหม ? ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

กฎระเบียบบนทางด่วน ที่ต้องรู้ มีอะไรบ้าง ?

ไม่ว่าสถานการณ์ตรงหน้า (ปวดหนัก) จะทำคุณขนลุกขนพองมากแค่ไหน แต่สิ่งที่ไม่ควรเพิกเฉยก็คือการปฏิบัติตามกฎหมายจราจรใหม่ และกฎระเบียบบนทางด่วนอย่างเคร่งครัด เพราะไม่อย่างนั้นอาจฝ่าฝืนกฎหมาย มีความผิดถูกจับ ถูกปรับไม่รู้ตัว ซึ่งมีกฎระเบียบอะไรที่ต้องรู้บ้าง ? ตามไปดูก่อนเช็คพิกัดห้องน้ำบนทางด่วนกันเลย

  • ควรขับในเลนที่ถูกต้อง และควรแซงรถคันด้านหน้าอย่างปลอดภัย มีวินัยในเลนอย่างเคร่งครัด
  • ต้องขับขี่ด้วยความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด
  • ห้ามจอดรถหรือหยุดรถบนทางด่วนแบบกะทันหัน กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินให้ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ ด้วยการเปิดไฟฉุกเฉินเพื่อแจ้งเตือนรถคันอื่น ๆ จากนั้นให้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ผ่านเบอร์ฉุกเฉิน 1543
  • ห้ามแซงในพื้นที่ที่กำหนด

นอกจากนี้อย่าลืมให้ความสำคัญกับ “มารยาทการขับขี่บนท้องถนน” ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการให้ทาง การเปิดไฟเลี้ยว หรือใด ๆ ก็ตาม เพราะนอกจากจะช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนน แล้ว ยังช่วยลด “ความเสี่ยง” ที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่พึงพอใจของผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น ๆ ได้ด้วยเช่นกัน

ขับรถบนทางด่วนยังไงให้ปลอดภัย เลี่ยงเหตุฉุกเฉินอย่างอยู่หมัด ?

ขับรถบนทางด่วนยังไงให้ปลอดภัย เลี่ยงเหตุฉุกเฉินอย่างอยู่หมัด ? | มิสเตอร์ คุ้มค่า

นอกจากกฎระเบียบและ “มารยาทในการขับขี่” แล้ว ยังควรทำความเข้าใจเทคนิคการขับรถบนทางด่วนประกอบด้วย เพราะจะช่วยป้องกันการเกิดเหตุฉุกเฉินหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ไม่มีใครอยากให้เกิดได้ ซึ่งจะมีเทคนิคอะไรบ้าง ? ตามไปดูพร้อม ๆ กันเลย

  • 1. สังเกตป้ายกำหนดความเร็ว

    ปกติแล้วตัวเลขจำกัดความเร็วบนทางด่วน มักสูงกว่าความเร็วที่ใช้กับถนนหลักในเมืองหรือเส้นชนบท แนะนำให้สังเกตป้ายกำหนดความเร็วให้ดี เพราะนอกจากจะเป็นการขับขี่อย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ยังช่วยให้การจราจรคล่องตัว และช่วยเรื่องความปลอดภัยอีกด้วย

  • 2. ระมัดระวังให้มากขึ้น

    ขณะขับรถบนทางด่วนควรเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้น และต้องมองไปข้างหน้าให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้คุณรับรู้ตลอดเวลาว่าทางข้างหน้าเป็นยังไง

  • 3. จอดอย่างปลอดภัย

    การจราจรบนทางด่วนหรือทางยกระดับมีความคล่องค่อนข้างสูง และรถทุกคันใช้ความเร็วมากกว่าปกติ ดังนั้นหากต้องการจอดรถ อย่าได้คิดจอดกะทันหันเด็ดขาด เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย แนะนำให้มองหาไหล่ทางที่ใกล้ที่สุด และจอดให้ชิดไหล่ทางด้านนอกเข้าไว้

    หากเป็นกรณีรถเสียบนทางด่วน ให้ขับเบี่ยงออกไปจอดข้างทางตรงที่รถผ่านไปมาน้อย ๆ พร้อมกับเปิดไฟฉุกเฉิน และวางป้ายสามเหลี่ยมฉุกเฉินห่างจากรถประมาณ 50 เมตร เพื่อเตือนให้รถคันอื่น ๆ ที่สัญจรไปมาเห็นว่ารถของคุณจอดอยู่

  • 4. เว้นระยะห่างให้เหมาะสม

    ด้วยความที่รถทุกคันใช้ความเร็วสูงกว่าปกติ จึงจำเป็นต้องเว้นระยะห่างจากคันข้างหน้าอย่างเหมาะสม เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินต้องเบรคหรือหยุดรถกะทันหัน

  • 5. เปลี่ยนเลนด้วยความระมัดระวัง

    ก่อนเปลี่ยนเลยหรือแซงทุก ๆ ครั้ง ต้องมั่นใจก่อนว่าไม่ได้แซงบริเวณที่ห้ามแซง รวมถึงควรมองกระจกหลัง เปิดสัญญาณไฟ แล้วถึงค่อยเปลี่ยนเลน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเหตุฉุกเฉินที่นำมาซึ่ง “อุบัติเหตุบนทางด่วน” ส่วนใหญ่มักรุนแรงมากกว่าทางปกติทั่วไป แถมยังมีความเสี่ยงต่อการเกิด “อุบัติเหตุซ้ำซ้อน” หากคุณไม่อยากแบกรับค่าใช้จ่ายก้อนโต ประกันภัยรถยนต์ช่วยคุณได้ แต่ถ้าหากไม่รู้จะเลือกแผนความคุ้มครองแบบไหนที่ตอบโจทย์ คุ้มค่ากับค่าเบี้ยที่จ่ายไป เข้ามาเปรียบเทียบประกันรถยนต์กับ มิสเตอร์ คุ้มค่า ก่อนได้ เรายินดีนำเสนอแผนประกันที่เหมาะสม ช่วยให้คุณเดินทางได้อย่างอุ่นใจตลอดกรมธรรม์

ทำไมถึงควรมีป้ายสามเหลี่ยมฉุกเฉินติดรถเอาไว้ ?

หลายคนมองว่า​ “ป้ายสามเหลี่ยมฉุกเฉิน” เป็นอุปกรณ์ที่สิ้นเปลือง เพราะเวลาเกิดเหตุฉุกเฉินบนถนนทั่ว ๆ ไปหรือแม้แต่บนทางด่วน แค่เปิดไฟฉุกเฉินก็เพียงพอแล้ว แต่ในความเป็นจริงป้ายดังกล่าวมี “ประโยชน์” มากกว่าที่คิด แต่จะมีประโยชน์ยังไงตามไปดูกันเลย

  • หมดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุที่เป็นอันตรายแก่ชีวิต 100%
  • ช่วยแก้ไขปัญหารถเสียจอดบริเวณไหล่ทาง แล้วรถวิ่งมาชนท้ายได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยให้มองเห็น “เครื่องหมายเตือน” ในตอนกลางคืนได้ดี ลดการเกิดอุบัติเหตุได้มากขึ้น

และในทางกฎหมายก็ได้กำหนด “มาตรฐาน” ป้ายสามเหลี่ยมฉุกเฉินด้วยเช่นกัน หากจะหาซื้อก็ควรเป็นป้ายตามมาตรฐานที่กำหนด ดังนี้

  • เครื่องหมายป้ายสามเหลี่ยมด้านเท่า ขนาดความยาวไม่น้อยกว่าด้านละ 50 เซนติเมตร ประกอบด้วยแถบสะท้อนแสงพื้นสีขาว
  • ขอบสีแดงสะท้อนแสง กว้าง 5 เซนติเมตร
  • รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีดำ กว้าง 8 เซนติเมตร ยาว 25 เซนติเมตร หัวท้ายมน อยู่บนพื้นสีขาวในแนวดิ่ง
  • ขาตั้งหรือฐานตั้ง

จะเป็นยังไง หากขับรถบนทางด่วนเกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ?

ต้องบอกก่อนว่า “กฎกระทรวง” ได้กำหนดความเร็วในทางพิเศษ (ทางด่วน) โดยกำหนดความเร็วของรถยนต์ 4 ล้อ, รถโรงเรียน-รถรับส่งนักเรียน และรถบรรทุกเอาไว้ดังนี้

  • รถยนต์ 4 ล้อ กำหนดให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถโรงเรียน-รถรับส่งนักเรียน กำหนดให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • รถบรรทุกมากกว่า 2.2 ตัน กำหนดให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ไม่ว่าคุณจะขับรถประเภทไหนบนทางด่วน แต่ถ้าหากขับเร็วเกินกว่าที่กำหนดจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง ซึ่งระบุไว้ว่า…

“ผู้ขับขี่ต้องขับรถด้วยอัตราความเร็วตามที่กำหนดในกฎกระทรวง หรือตามเครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้ในทาง เครื่องหมายจราจรที่ติดตั้งไว้ตามวรรคหนึ่ง จะกำหนดอัตราความเร็วขั้นสูงหรือขั้นต่ำก็ได้ แต่ต้องไม่เกินอัตราความเร็วที่กำหนดในกฎกระทรวง ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ตามมาตรา 152”

แจกพิกัดห้องน้ำบนทางด่วน ปวดหนัก ปวดเบา แวะที่ไหนได้ ?

เวลาขึ้นทางด่วนแล้วอยากเข้าห้องน้ำ ไม่ต้องอดทนกับอาการมวนท้องอีกต่อไป เพราะปัจจุบันมีห้องน้ำบนทางด่วนเปิดให้บริการฟรี ไม่คิดค่าใช้จ่าย ทั้งหมด 7 สายทาง รวมกว่า 31 แห่ง ดังนี้

1. ทางพิเศษเฉลิมมหานคร

  • ด่านดินแดง
  • ด่านบางนา
  • ด่านดาวคะนอง
  • ด่านพระรามที่สี่ 2
  • ด่านเลียบแม่น้ำ
  • ด่านอาจณรงค์
  • ด่านอาจณรงค์ 3
  • ด่านสุขุมวิท 62
  • ด่านสุขสวัสดิ์
  • ด่านท่าเรือ 1

2. ทางพิเศษศรีรัช

  • ด่านประชาชื่น ขาเข้า
  • ด่านศรีนครินทร์
  • ด่านพระราม 3

3. ทางพิเศษอุดรรัถยา

  • ด่านบางปะอิน ขาเข้า
  • ด่านบางปะอิน ขาออก

4. ทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ

  • ด่านบางกรวย
  • ด่านตลิ่งชัน
  • ด่านบรมราชชนนี

5. ทางพิเศษฉลองรัช

  • ด่านจตุโชติ
  • ด่านพระราม 9-2

6. ทางพิเศษบูรพาวิถี

  • ด่านบางนา กม.6 ขาออก
  • ด่านบางนา กม.6 ขาเข้า
  • ด่านวงแหวนรอบนอก (บางแก้ว)
  • ด่านบางสมัคร
  • ด่านชลบุรี

7. ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์)

  • ด่านบางขุนเทียน 2
  • ด่านบางครุ 1
  • ด่านบางแก้ว 1
  • ด่านบางแก้ว 2
  • ด่านบางแก้ว 3

ชี้เป้าจุดพักรถมอเตอร์เวย์ มีตรงไหนบ้าง ?

“จุดพักรถมอเตอร์เวย์” เป็นหนึ่งในสุดยอดคำค้นหา สำหรับคนเดินทางไกลที่ต้องการแวะเข้าห้องน้ำ ทานข้าว หรือยืดเส้นยืดสาย จะมีที่ไหนบ้าง ? ตามไปดูกันเลยดีกว่า

มอเตอร์เวย์ขาออก มุ่งหน้ามาบตาพุด

  • จุดพักรถทับช้าง 1 กม.49+250
  • จุดพักรถลาดกระบัง 1 กม.21+600
  • สถานที่บริการทางหลวง บางปะกง 1 กม.49+300
  • จุดพักรถหนองรี 1 กม.71+700
  • จุดบริการห้องน้ำ กม.99+200

มอเตอร์เวย์ขาเข้า มุ่งหน้ากรุงเทพฯ

  • จุดพักรถทับช้าง 2 กม.48+300
  • จุดพักรถลาดกระบัง 2 กม.21+800
  • สถานที่บริการทางหลวง บางปะกง 2 กม.49+300
  • จุดพักรถหนองรี 2 กม.73+300
  • จุดบริการห้องน้ำ กม.6+100

หลังจากทราบแล้วว่ามีห้องน้ำบนทางด่วนเปิดให้บริการจุดไหนบ้าง หลายคนก็คงอุ่นใจอยู่ไม่น้อย แต่ไม่ว่ายังไงก็ตาม หาต้องการเบี่ยงรถเพื่อจอดบนทางด่วน ควรปฏิบัติตามกฎหมายจราจรใหม่อย่างเคร่งครัด เว้นระยะห่างอย่างเหมาะสม และอย่าลืมให้สัญญาณกับรถคันอื่น ๆ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นตามมา

คำจำกัดความ
​​ขนลุกขนพอง ​ขนตั้งชันด้วยความหวาดกลัว หรือขยะแขยง
​เคร่งครัด ​เข้มงวด, กวนขัน, ถือปฏิบัติตามโดยไม่ขาดตกบกพร่อง, เข้มงวด, เอาจริงเอาจัง, ถูกต้องครบถ้วน
​กะทันหัน ​ทันทีทันใด, กระชั้นชิด
​มวนท้อง ​อาการปวดท้องที่รู้สึกปั่นป่วน ไม่สบายท้อง แน่นท้อง พะอืดพะอม อึดอัดท้อง​

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่