ในวันที่รถยนต์คู่ใจกลายเป็น “เศษซาก” และคุณเองต้องการ ขายซากรถยนต์ เพื่อเปลี่ยนเศษเหล็กให้กลายเป็นเงิน ในความเป็นจริงสามารถทำได้ ไม่ว่ารถนั้นจะพังยับเยิน หรือเก่าหมดสภาพ สามารถขายซากทิ้งได้ทั้งหมด แต่ก่อนจะทิ้งต้องรู้อะไรบ้าง สงสัยใช่ไหมล่ะ ? หากคุณกำลังค้นหาคำตอบของเรื่องนี้อยู่ล่ะก็ ไม่ต้องไปหาจากที่อื่นไกล เพราะ มิสเตอร์ คุ้มค่า ได้รวบรวมคำตอบมาไขข้อสงสัยให้คุณหมดแล้ว จะมีรายละเอียดเป็นอย่างไร ? ไปติดตามพร้อม ๆ กันเลย !
5 ข้อควรรู้ ! เมื่อรถชนหนักจนต้อง ขายซากรถยนต์
ต้องบอกก่อนว่าขั้นตอนการ ซื้อ-ขายซากรถยนต์ ไม่ได้แตกต่างจากการซื้อ-ขายรถมือสองแต่อย่างใด หรือพูดง่าย ๆ ว่าต้องมีการทำ “สัญญาซื้อขาย” เช่นกัน เพื่อป้องกันการสวมรวยแอบอ้างขาย นอกจากนี้ยังมีข้อควรรู้อื่น ๆ อีกมากมาย ที่คุณควรทำความเข้าใจตัดสินใจขายซาก ดังนี้
1. ขายซากรถต้องมี “เล่มทะเบียน”
ในกรณีที่รถยนต์จอดทิ้งไว้นาน จะเลือกซ่อมก็ไม่คุ้มค่าราคาจ่าย หากคุณต้องการ ปล่อยขายซากรถ การขายแบบมีเล่มทะเบียนจะช่วยให้ได้ราคาขายที่ดีกว่า สูงกว่าแบบไม่มีเล่ม ประกอบกับจะต้องไปตรวจสอบเรื่อง “ภาษีประจำปี” ร่วมด้วย ควรทำการแจ้งยกเลิกที่กรมขนส่งทางบกในกรณีที่ยังไม่หมดอายุ ป้องกันการถูกสวมทะเบียน
ในส่วนนี้คุณจะต้องให้ความสำคัญมาก ๆ ทั้งเล่มทะเบียนและภาษีประจำปี เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับ “กฎหมาย” โดยตรง หากคุณรวบรัดตัดความเพื่อต้องการปล่อยขายให้เร็วที่สุด คุณอาจจะ “เข้าข่าย” กระทำความผิดด้านใดด้านหนึ่ง หรือเกิดความเสียหายตามมาในภายหลังก็เป็นได้
2. น้ำท่วม vs อุบัติเหตุ ส่งผลต่อการประเมินราคาซากรถ
เพราะการที่รถของคุณกลายเป็นซากรถ กรณีที่เกิดจากน้ำท่วม แน่นอนว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นย่อมน้อยกว่าการเกิดอุบัติเหตุอยู่แล้ว ส่งผลให้ราคาขาย “อาจจะ” สูงกว่า เนื่องจากคนที่รับซื้อสามารถนำไปซ่อมแซมได้ง่าย หากเทียบกับกรณีที่รถเป็นซากจากการเกิดอุบัติเหตุ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตีราคาของคนที่รับซื้อด้วย หากคุณมองว่าเป็นราคาที่สมเหตุสมผล จะตัดสินใจขายหรือไม่ขายขึ้นอยู่กับคุณแล้ว
3. “ขายรถติดไฟแนนซ์” ขายเองไม่ได้ !
สำหรับซากรถยนต์ที่ยังติดไฟแนนซ์ หรือพูดง่าย ๆ ว่ายังผ่อนไม่หมด ตามกฎหมายแล้วกรรมสิทธิ์ของรถยนต์คันนั้น ๆ จะเป็นของบริษัทไฟแนนซ์ หากจะนำไปขายโดยพลการรับรองว่ามีความผิดฐาน “ลักทรัพย์” แน่นอน และต่อให้ขายได้ แต่ตัวรถไม่สามารถโอนได้
แนะนำให้ปิดยอดให้เรียบร้อยก่อน หรือไม่อย่างนั้นลองคำนวณดูก่อนว่า เงินจากการขายซากรถจะเพียงพอต่อการปิดยอดหรือไม่ หากไม่พออาจจะยืดการขายออกไปก่อนหรืออีกทางหนึ่งคือรีบหาเงินมาเสริมเพื่อโปะยอดให้ได้โดยเร็วที่สุด
4. ประกันรถยนต์ vs ไม่มีประกัน “ไม่เหมือนกัน”
สำหรับรถยนต์ที่มีประกัน หากประเมินแล้วค่าซ่อมเกิน 70% ของมูลค่ารถ คุณจะได้รับ “ทุนประกันคืน 100%” และบริษัทประกันรถยนต์จะเป็นฝ่ายนำรถไปขายเอง แต่ถ้าหากคุณต้องการเพียงแค่ “เงินประกัน” อย่างเดียว ก็สามารถทำได้เช่นกัน
5. เอกสารที่ต้องใช้ในการขายซากรถ
อย่างที่บอกไปในช่วงแรกแล้วว่า “การขายซากรถไม่ได้ต่างจากการขายรถมือสอง” แต่อาจจะมีขั้นตอนที่ง่ายกว่า โดยเฉพาะซากรถเก่าที่ไม่ใช้งานมานาน สามารถตกลงซื้อ-ขายได้ทันที เพียงแต่จะมี “เล่มทะเบียน” มอบให้กับคนที่รับซื้อด้วย ต่อจากนี้เหลือแต่ตกลงราคาซื้อ-ขายกันแล้วว่า ตรงตามความต้องการของทั้ง 2 ฝ่ายหรือไม่
รถยนต์ที่ถูก “ขายซาก” ส่วนใหญ่ไปอยู่ที่ไหน เอาไปทำอะไร ?
หากพูดถึง “ส่วนใหญ่” ของคนที่รับซื้อซากรถ มักจะเอาซากเหล่านั้นไปทำอะไร ในกรณีที่สามารถซ่อมแซมให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิมได้ แน่นอนว่าจะต้องเป็นการ “ขายต่อ” ให้กับคนที่สนใจอย่างแน่นอน บางที่อาจจะขายเป็นเศษซากให้คนรับซื้อไปซ่อมต่อเอง หรือจะซ่อมให้เสร็จแล้วบวกราคาเข้าไป แล้วแต่ดุลยพินิจของคนที่รับซื้อซากรถนั่นเอง
หลายคนที่มองว่ารถยนต์นานไป มูลค่ายิ่งน้อยลง โดยเฉพาะในตอนที่เป็น “ซากรถ” เหมือนกับมีขยะกองโตอยู่ในบ้าน แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่เลย กองขยะที่คุณว่าสามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ ! แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพรถ ปัจจัยต่าง ๆ และสุดท้ายคือ “การตกลงซื้อขาย” ของทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ แม้จะขายไม่ได้ราคาเท่ากับการซื้อ-ขายรถมือสอง แต่ก็ดีกว่าปล่อยทิ้งไว้ให้สลายหายไปอย่างเปล่าประโยชน์ใช่ไหมล่ะ !?