​​​คำแนะนำในการซื้อรถใหม่ กับระบบความปลอดภัยที่รถยุคนี้ควรมี

แชร์ต่อ
คำแนะนำในการซื้อรถใหม่ กับระบบความปลอดภัยที่รถยุคนี้ควรมี | มิสเตอร์ คุ้มค่า

หัวข้อที่น่าสนใจ

มือใหม่อยากซื้อรถควรเช็กก่อนตัดสินใจ กับระบบความปลอดภัยในรถยนต์ เพราะนอกจากจะช่วยลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ในระดับหนึ่งแล้ว ยังช่วยให้มือใหม่ขับรถเลี่ยงการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ซึ่งระบบความปลอดภัยที่ มิสเตอร์ คุ้มค่า นำมาบอกต่อจะมีอะไรบ้าง ? และจะซื้อรถป้ายแดงหรือมือสองดี ตามไปดูคำตอบพร้อม ๆ กันเลย

อยากซื้อรถคันแรกต้องรู้อะไรก่อน ?

หลาย ๆ คน โดยเฉพาะ “วัยทำงาน” หนึ่งในเป้าหมายของหลาย ๆ คนคือการซื้อรถ แต่การจะมีรถยนต์คันแรกครั้งแรก มันอาจไม่ใช่ง่าย ๆ หรือซื้อคันไหนก็ได้ แต่ยังมีข้อควรรู้อื่น ๆ อีกมากที่ควรทำความเข้าใจให้ดีก่อน อะไรบ้างที่คนจะซื้อรถต้องรู้ มิสเตอร์ คุ้มค่า จะพาไปดูกัน

  • 1. เงินดาวน์ 15-25%

    สำหรับคนที่ไม่มีกำลังทรัพย์พอที่จะซื้อรถแบบซื้อสดได้ “เงินดาวน์” ถือเป็นเงินก้อนแรกที่สำคัญมาก ๆ และส่วนใหญ่จะให้วางเงินดาวน์ประมาณ 15-25% “ยิ่งดาวน์เยอะเท่าไหร่ ยิ่งผ่อนน้อยลงเท่านั้น” แต่ก็ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคนด้วย

  • 2. เรื่องค่างวดและดอกเบี้ย

    ซื้อแบบผ่อนต้องคำนึงถึงยอดของค่างวดที่ต้องจ่ายสำหรับรถแต่ละเดือน “ค่างวดรถ” ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นที่ 48 เดือน หรือบางรายให้มากสุด 72-84 เดือน ซึ่งระยะเวลาที่ต่างกันก็มีข้อดีและข้อเสียที่ต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน เช่น ผ่อนนานยอดผ่อนน้อยแต่ดอกเบี้ยสูง จึงเป็นเหตุผลที่ควรวางแผนให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ

  • 3. ค่ามัดจำป้ายแดง

    รู้หรือไม่ว่าป้ายแดงต้องจ่ายเหมือนให้เช่า ดังนั้นต้องมัดค่าป้ายแดงด้วย โดยจะมีค่ามัดจำประมาณ 2,000-3,000 บาท เมื่อได้ป้ายขาวมาแล้ว และนำป้ายแดงไปคืนก็จะได้ค่ามัดจำส่วนนี้คืนกลับมาเต็มจำนวน

  • 4. ค่าภาษีและ พ.ร.บ.รถยนต์

    ค่าใช้จ่ายที่คนขับรถทุกคนต้องแบกรับ “ทุกปี” จะตัดออกก็ไม่ได้เพราะผิดกฎหมาย คือ ค่าภาษีและ พ.ร.บ.รถยนต์ ซึ่งทั้งสองมีภาระผูกพันทางกฎหมาย หากไม่จ่ายหรือไม่ต่อทุกปี (พ.ร.บ.รถยนต์) จะมีโทษปรับสูงสุด 10,000 บาท และทำให้เสียภาษีไม่ได้ และถ้าขาดต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปี จะทำให้ถูกระงับป้ายทะเบียน

  • 5. ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ

    แม้จะเป็นประกันรถยนต์ “ภาคสมัครใจ” ที่ไม่มีภาระผูกพันทางกฎหมาย แต่มี “ข้อดี” มากกว่าที่คิด เพราะจะเข้ามารับผิดชอบ “ส่วนต่าง” ที่นอกเหนือความคุ้มครองที่เจ้าของรถได้รับจาก พ.ร.บ.รถยนต์ โดยเฉพาะในเรื่องของความเสียหายต่อทรัพย์สิน ทั้งของผู้เอาประกันก็ดี หรือคู่กรณีก็ด้วย ส่วนใหญ่จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 4,000-20,000 บาท ขึ้นอยู่กับประเภทกรมธรรม์ที่เลือกซื้อ

นอกจากนี้ยังมี “ค่าใช้จ่าย” อื่น ๆ ที่คนอยากซื้อรถจำเป็นต้องรู้ ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำมัน ค่าบำรุงรักษาต่าง ๆ แน่นอนว่าหากไม่อยากการเงินติดขัดในภายหลัง ควรวางแผนให้ดีตั้งแต่แรก โดยเฉพาะในเรื่องของประกันภัยรถยนต์ ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้ดีมาก ๆ

ขึ้นชื่อว่า “อุบัติเหตุ” ย่อมเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยเฉพาะเมื่อเป็นมือใหม่ขับรถ จะดีกว่าไหม ? หากคุณมี “ประกันรถยนต์” ที่ช่วยมอบความอุ่นใจให้ตลอดการเดินทาง เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการ แถมยังเปรียบเทียบประกันภัยรถยนต์ได้จนกว่าจะพอใจในราคาสบายกระเป๋า หากสนใจ มิสเตอร์ คุ้มค่า ยินดีดูแลคุณตลอดอายุกรมธรรม์

ระบบความปลอดภัยในรถยนต์ มีอะไรบ้าง ?

ระบบความปลอดภัยในรถยนต์ มีอะไรบ้าง ? | มิสเตอร์ คุ้มค่า

รู้แล้วว่ามีรถต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง ? ไปต่อกับการเลือกรถกันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป “เทคโนโลยี” ต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ได้นำเอาระบบความปลอดภัยหรือระบบ Safety มาช่วยลดความรุนแรง และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นบนท้องถนน ซึ่งแต่ละระบบมีฟังก์ชันที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • 1. ระบบถุงลมนิรภัย

    หากอยากหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุร้ายแรงบนท้องถนน “ระบบถุงลมนิรภัย” ถือเป็นระบบความปลอดภัยที่ควรพิจารณาเป็นอันดับต้น ๆ ก่อนซื้อรถ ซึ่งปัจจุบันระบบนี้ได้ปรับเปลี่ยนใหม่ด้วยการเพิ่มถุงลมนิรภัยไว้ด้านข้าง จุดประสงค์เพื่อป้องกันอุบัติเหตุรอบคัน แถมยังช่วยลดอาการบาดเจ็บของผู้โดยสารภายในรถได้อีกด้วย

    ถุงลมนิรภัยมีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?

    หนึ่งในระบบความปลอดภัยในรถยนต์ที่ควรมี และควรรู้จัก คือ “ถุงลมนิรภัย” ซึ่งในปัจจุบันมีหลายประเภท แตกต่างกันในเรื่องของการทำงาน และคุณสมบัติที่ถูกตั้งค่ามาจากโรงงาน โดยแต่ละประเภทมีรายละเอียดดังนี้

    1. ประเภทปรับแรงอัตโนมัติ เป็นระบบความปลอดภัยที่ทำงานด้วย “แรงอัด” ต่างกัน 2 แบบ ในกรณีที่เกิดการชนอย่างรุนแรง ถุงลมจะทำงานเต็มที่ แต่ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุที่แรงปะทะค่อนข้างต่ำ ถุงลมจะทำงานด้วยแรงดันหรือแรงอัดที่ต่ำลง เพื่อลดแรงกระแทกที่ไม่จำเป็นออกไป
    2. ประเภทประกบ เป็นระบบความปลอดภัยในรถยนต์ที่ได้รับการปรับปรุงในเรื่องของขนาดและรูปทรง เพื่อให้รองรับการกระแทกของศีรษะหรือไหล่ ให้เข้ามากระทบกับถุงลมได้ดีกว่าเดิม
    3. ประเภทด้านข้างจะเน้นป้องกันจากด้านข้างเป็นหลัก โดยเฉพาะในส่วนของการป้องกันศีรษะและทรวงอก เมื่อมีแรงปะทะรุนแรงจากด้านข้างตัวรถ
  • 2. ระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัวของรถยนต์

    ระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัวของรถยนต์ หรือ ESC ทำงานร่วมกับระบบ ABS ผ่านระบบเซนเซอร์ ตรวจจับการไหล ถือเป็นระบบความปลอดภัยในรถยนต์ที่สำคัญมาก ๆ เรียกได้ว่าเป็น “ระบบพื้นฐานที่รถยนต์ทุกคันควรมี” เลยล่ะ

  • 3. ระบบช่วยเตือนมุมอับสายตา

    ระบบช่วยเตือนมุมอับสายตา เป็นระบบความปลอดภัยที่ตอบโจทย์สำหรับขับรถมือใหม่มาก ๆ โดยเซนเซอร์ของระบบนี้ทำงานร่วมกับ “เรดาร์” ของกล้องหน้าและกล้องหลังของรถยนต์ สามารถตรวจจับสิ่งกีดขวางอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อตรวจจับสิ่งกีดขวาง ตัวคลื่นจะส่งสัญญาณเตือนไปยังผู้ขับขี่ในรูปแบบ “แสงไฟกะพริบสีส้ม” บริเวณกระจกมองข้าง รวมถึงส่งเสียงเตือนด้วย

  • 4. ระบบตัดกำลังเครื่องยนต์

    ระบบตัดกำลังเครื่องยนต์เข้ามามีบทบาทสำคัญ เมื่อคุณเหยียบคันเร่งรุนแรง รวดเร็ว แต่ระบบความปลอดภัยนี้จะทำงานเมื่อรถเคลื่อนไปด้านหน้าเท่านั้น โดยระบบจะทำการตรวจจับวัตถุด้านหน้ารถยนต์ หากพบว่ามีการเหยียบคันเร่งที่เร็วและแรงผิดปกติ ระบบจะเตือนพร้อมตัดกำลังเครื่องยนต์ชั่วคราวทันที

  • 5. ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี

    เป็นระบบความปลอดภัยในรถยนต์ที่ช่วยให้มือใหม่ขับรถ “ควบคุมรถ” ได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่ขับรถบนถนนเปียก, เข้าโค้ง หรือการออกตัว ระบบนี้จะช่วยให้ความเร็วของทุกล้อสัมพันธ์กัน ทำให้เกิดอาการรถปัดหรือส่ายน้อยลง แถมยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้อีกด้วย

  • 6. กล้องมองรอบทิศทาง

    อีกหนึ่งระบบความปลอดภัยที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ขับรถมือใหม่สุด ๆ เพราะนอกจากจะช่วยให้มองเห็นทัศนวิสัยภายนอกได้รอบด้านแล้ว ยังมีส่วนช่วยในการถอยและการจอดรถด้วยเช่นกัน บอกเลยว่าช่วยเพิ่มความมั่นใจในการขับขี่ได้ดีมาก ๆ เลยทีเดียว

  • 7. ระบบเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ

    ช่วยให้มือใหม่ขับรถได้อย่างระมัดระวังมากยิ่งขึ้น แถมยังหลีกเลี่ยงการชนได้เป็นอย่างดี โดยระบบนี้จะช่วยตรวจจับคนเดินข้ามถนน รถด้านหน้า หรืออื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดอันตรายในรูปแบบต่าง ๆ ด้วยการทำงานร่วมกันของกล้องและเรดาร์แบบ “คลื่นมิลลิเมตร” นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการเบรกจนล้อล็อก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้รถยนต์เสียหลัก หรือไถลจนควบคุมทิศทางได้ยากได้เป็นอย่างดี

ซื้อรถเงินสด vs ซื้อผ่อน แบบไหนตอบโจทย์มากกว่า ?

เข้าใจเรื่องความปลอดภัย “ที่ต้องมี” ในรถยุคนี้แล้ว มาประเด็น “วัดใจ” คนอยากมีรถสุด ๆ คือ ซื้อสดหรือผ่อนแบบไหนตอบโจทย์ได้มากกว่า จริง ๆ แล้วคำถามนี้ไม่มีคำตอบที่ตายตัว เนื่องจากร้อนคน ร้อยความคิด แต่ถ้าคุณยังลังเล หาคำตอบให้ตัวเองไม่ได้ มิสเตอร์ คุ้มค่า ลิสต์ข้อแตกต่างมาให้คุณเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจซื้อรถมาให้แล้ว ไปดูกันเลย

ข้อดีของการซื้อรถเงินสด

  • ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยแพง และไม่ต้องเป็นหนี้ก้อนโตระยะยาว
  • ไม่ต้องกังวลเรื่องค่างวดและดอกเบี้ยในแต่ละเดือน
  • สามารถเลือกบริษัทประกันภัยรถยนต์ได้อย่างอิสระ
  • ได้รับส่วนลดเยอะกว่า
  • กรรมสิทธิ์รถยนต์ตกเป็นของเราทันที

ข้อดีของการซื้อรถเงินผ่อน

  • ผ่อนได้ตามกำลัง ไม่ต้องกลัวขาดส่ง
  • ไม่ต้องเสียเวลาเก็บเงินก้อน แถมยังมีเงินสำหรับหมุนค่าใช้จ่ายได้
  • นำเงินส่วนต่างไปลงทุนเพื่อให้เกิดกำไรงอกเงยก่อนได้
  • ได้รับของแถมตามโปรโมชั่นของแต่ละศูนย์บริการ
  • เป็นมนุษย์เงินเดือนก็เป็นเจ้าของรถได้ โดยไม่กระทบเงินส่วนอื่น

รถคันแรกของมือใหม่หัดขับ ซื้อมือหนึ่งหรือมือสองดีกว่า ?

อีกทางเลือกที่ประหยัดกว่าในการมีรถสักคัน มือใหม่ขับรถที่อยากมีรถคันแรกเป็นของตัวเอง หากไม่มองในเรื่องงบประมาณ แต่มองในประเด็นอื่น ๆ ร่วมด้วย รถมือหนึ่งป้ายแดงกับรถมือสองแบบไหนตอบโจทย์มากกว่า ไปดู “ข้อดี” กันเลยดีกว่า

ข้อดีของการซื้อรถใหม่ป้ายแดง

ข้อดีที่เห็นได้ชัดและหาไม่ได้จากรถมือสอง คือ “ความใหม่” ที่คุณจะได้ใช้เป็นมือแรก ดังนั้นปัญหาอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมาจึงน้อยกว่า หรือแทบไม่มีเลย นอกจากนี้ยังมีประกันการซ่อมจากศูนย์บริการของผู้ผลิตรถยนต์ด้วย ทำให้สามารถใช้รถได้อย่างอุ่นใจ สบายใจ ไร้กังวล

ข้อดีของการซื้อรถมือสอง

หากรถมือสองที่คุณสนใจอยากจะซื้อเป็นรถรุ่นใหม่ จะทำให้คุณได้รับรถที่ “ราคาถูกกว่า” มือหนึ่งป้ายแดง ยิ่งถ้าหากมีความรู้เรื่องรถพอสมควร ไม่ด่วนตัดสินใจซื้อ ก็จะทำให้ได้รถที่ใช้งานมาไม่มาก เลขไมล์น้อย ไม่ผ่านการชนมาอย่างหนัก แบบนี้เท่ากับว่าคุณได้รถมือสองสภาพใกล้เคียงกับมือหนึ่งเลย

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการซื้อรถ โดยเฉพาะกับมือใหม่ขับรถไม่ใช่เรื่องที่จะด่วนตัดสินใจได้ง่าย ๆ เพราะมีประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจอีกเพียบ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องวางแผนให้ดี ระบบความปลอดภัยที่รถยนต์ควรมี รวมถึงการเลือกซื้อรถแบบสดหรือแบบผ่อน ทั้งหมดนี้ควรผ่านการไตร่ตรองมาเป็นอย่างดี เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจตามมากวนใจในภายหลัง โดยเฉพาะ “ประกันภัยรถยนต์” ที่ควรเลือกซื้อประเภทที่ให้ความคุ้มครองตอบโจทย์ และตรงใจผู้เอาประกันมากที่สุด

คำจำกัดความ
ฟังก์ชัน การทำงาน, การทำหน้าที่, การปฏิบัติหน้าที่
คลื่นมิลลิเมตร คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Wave) ในย่าน ความถี่ EHF (Extremely High Frequency) ซึ่งมีความถี่ในช่วง 30 – 300 GHz ตามข้อกำหนด ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union)

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่