หัวข้อที่น่าสนใจ
- ใบรับรองแพทย์ คืออะไร ?
- ในใบรับรองแพทย์ จะต้องรับรองโรคใดบ้าง ?
- ทำใบขับขี่รถยนต์ ต้องใช้ใบรับรองแพทย์แบบไหน ?
- 1. ส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าตรวจเอง
- 2. ส่วนที่เกี่ยวข้องกับแพทย์ผู้ตรวจ
- ทำไมถึงต้องใช้ ใบรับรองแพทย์ ใบขับขี่
- ขอใบรับรองแพทย์ ใบขับขี่ได้ที่ไหน ราคาเท่าไหร่ ?
- ไม่มีใบขับขี่ เบิก พ.ร.บ. รถ ได้ไหม ?
- ใบขับขี่หายต้องทําอย่างไร ?
- ทำใบขับขี่ มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ?
- ขั้นตอนการทำใบขับขี่ใหม่ ที่กรมการขนส่งทางบก
สำหรับคนที่กำลังจะไปทําใบขับขี่หรือต่อใบขับขี่รถยนต์ รู้ไว้เลยว่ากรมขนส่งทางบกได้ ปรับเกณฑ์ในส่วนของการใช้เอกสาร “ ใบรับรองแพทย์ ใบขับขี่ “ จากเดิมที่ต้องใช้ทำใบขับขี่ใหม่ และต่อใบขับขี่จาก 2 ปี เป็น 5 ปี เท่านั้น ตอนนี้จาก 5 ปี เป็น 5 ปี ก็ต้องใช้เอกสารนี้ด้วยเช่นกัน ทำไมถึงต้องใช้ ขอได้จากที่ไหน ราคาเท่าไหร่ มิสเตอร์ คุ้มค่า ลิสต์คำตอบที่เป็นประโยชน์มาให้แล้ว ตามไปทำความเข้าใจพร้อม ๆ กันได้เลย
ใบรับรองแพทย์ คืออะไร ?
เรื่องสุขภาพสำคัญในทุกการทำกิจกรรม รวมไปถึงการขับรถก็ต้องสุขภาพแข็งแรงพอที่จะขับขี่ได้ด้วย คำถามคืออะไรที่จะวัดความแข็งแรงของคน ๆ หนึ่ง แน่นอนก็คือ “ใบรับรองแพทย์” ที่หลายคนเรียกกันสั้น ๆ จนคุ้นปาก จริง ๆ แล้วมันคือใบรับรองแพทย์เพื่อสุขภาพ (Medical Certificate For Certifying The Health) เป็นเอกสารแบบฟอร์มที่ถูกออกโดยแพทย์ผู้ใดผู้หนึ่ง เพื่อรับรองเกี่ยวกับภาวะสุขภาพ โรคประจำตัว ความสมบูรณ์ของร่างกายผู้เข้าตรวจ
และสำหรับ “ประเภท” ของใบรับรองแพทย์ ในปัจจุบันยังไม่มีการแบ่งประเภทอย่างชัดเจน เพราะฉะนั้นการจำแนกว่าใบรับรองแพทย์มีกี่แบบ จะขึ้นอยู่กับสถานพยาบาล ดุลยพินิจของแพทย์ เหตุผลที่ผู้เข้าตรวจต้องการ หรือหน่วยงานที่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์หลายประเภท ในการทำธุรกรรมสำคัญ
ในใบรับรองแพทย์ จะต้องรับรองโรคใดบ้าง ?
จริง ๆ แล้วใบรับรองแพทย์มีชื่อเดิมว่า “ใบรับรองแพทย์ 5 โรค” เพราะนอกจากข้อมูลอื่น ๆ ที่ต้องกรอกลงไปในแบบฟอร์มแล้ว แพทย์จะต้องรับรองว่าผู้เข้าตรวจป่วยเป็นโรคใดใน 5 โรคที่ระบุไว้หรือไม่ ซึ่งได้แก่
- วัณโรคในระยะแพร่เชื้อ
- โรคเท้าช้าง
- โรคที่เกิดจากสารเสพติด
- โรคพิษสุราเรื้อรัง
- โรคอื่น ๆ ที่เรื้อรังหรือร้ายแรง แสดงอาการเด่นชัดหรือรุนแรง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่
แต่ปัจจุบันได้มีการ ‘ลด’ โรคทั้ง 5 ให้เหลือเพียง 3 โรค ได้แก่
- โรคเรื้อรังในระยะติดต่อ หรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
- วัณโรคในระยะอันตราย
- โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
ทำใบขับขี่รถยนต์ ต้องใช้ใบรับรองแพทย์แบบไหน ?
อย่างที่บอกไปก่อนหน้าแล้วว่า ปัจจุบันยังไม่มีการแบ่งประเภทของใบรับรองแพทย์อย่างชัดเจน แต่คร่าว ๆ ก็พอจะจำแนกได้คร่าว ๆ 3 แบบ คือ ใบรับรองแพทย์ทั่วไป, ใบรับรองแพทย์เพื่อสุขภาพ และใบรับรองแพทย์เพื่อดำเนินคดี หากถามว่าใบรับรองแพทย์ ใบขับขี่ ต้องใช้แบบไหน คำตอบคือ “ใบรับรองแพทย์เพื่อสุขภาพ” เท่านั้น
โดยรายละเอียดของใบรับรองแพทย์เพื่อสุขภาพ แบ่งได้หลัก ๆ 2 ส่วน ได้แก่
1. ส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าตรวจเอง
- ชื่อ-นามสกุล
- ที่อยู่
- เลขบัตรประจำตัวประชาชน
- ประวัติสุขภาพคร่าว ๆ เช่น โรคประจำตัว, ประวัติการผ่าตัด, อุบัติเหตุ, การเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล
2. ส่วนที่เกี่ยวข้องกับแพทย์ผู้ตรวจ
- สถานที่ตรวจ
- วันที่ตรวจ
- ชื่อแพทย์
- ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม
- น้ำหนักกับส่วนสูงผู้เข้าตรวจ
- 3 โรค (โรคเรื้อรังในระยะติดต่อ, วันโรคในระยะอันตราย, โรคเท้าช้าง) ที่แพทย์ต้องเป็นผู้รับรองว่าไม่ได้ปรากฏอาการใด ๆ
ทำไมถึงต้องใช้ ใบรับรองแพทย์ ใบขับขี่
สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าทำไมกรมการขนส่งทางบก ต่อใบขับขี่ ต้องกำหนดให้ใช้ใบรับรองแพทย์ คำตอบคือเพื่อใช้ใบรับรองแพทย์รับรองว่าผู้ขับขี่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่ป่วยด้วยโรคร้ายแรง หรือสมรรถภาพร่างกายไม่พร้อมสำหรับการขับขี่ เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ด้วยกันเอง ตลอดจนผู้ร่วมใช้ถนนคนอื่น ๆ ด้วย
นอกจากนี้ในส่วนของการ “อบรมออนไลน์” เพื่อต่ออายุใบขับขี่รถยนต์ สามารถทำได้ปกติ แต่หลังอบรมเสร็จ (ในขั้นตอนการยื่นเอกสาร) จำเป็นต้องเตรียมใบรับรองแพทย์ ใบขับขี่ไปด้วยเช่นกัน แล้วจึงดำเนินการเข้าอบรมและจองคิวทำใบขับขี่
ขอใบรับรองแพทย์ ใบขับขี่ได้ที่ไหน ราคาเท่าไหร่ ?
สำหรับใบรับรองแพทย์ ใบขับขี่ (ใบรับรองแพทย์เพื่อสุขภาพ) จะต้องเป็นใบรับรองแพทย์ตามแบบที่แพทยสภารับรอง ซึ่งเป็นแบบฟอร์มเดียวกับของกรมการขนส่งทางบก โดยสามารถยื่นขอได้ที่โรงพยาบาล สถานพยาบาลที่รับออกไปใบรับรองแพทย์ นอกจากนี้ยังสามารถขอได้จาก “คลินิกแพทย์” ได้ทุกแห่ง โดยให้แจ้งว่าขอใบรับรองแพทย์สำหรับทําใบขับขี่หรือต่อใบขับขี่
ตามปกติแล้วใบรับรองแพทย์สำหรับทำใบขับขี่ จะต้องมีอายุไม่เกิน 30 วัน หรือ 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ไปขอใบรับรองแพทย์จึงถึงวันที่มายื่นขอทำ/ต่อใบขับขี่รถยนต์ ในส่วนของ “ราคา” ขึ้นอยู่กับสถานพยาบาลแต่ละแห่ง ที่พบเจอบ่อย ๆ คือ 100 บาท
ไม่มีใบขับขี่ เบิก พ.ร.บ. รถ ได้ไหม ?
สำหรับ พ.ร.บ. รถยนต์ หรือ “ประกันภัยภาคบังคับ” ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ฉะนั้นแค่มี พ.ร.บ. ก็สามารถเบิกได้ทันที แม้ว่าจะมีหรือไม่มีใบขับขี่ก็ตาม ซึ่งตรงนี้จะแตกต่างประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ หากไม่มีใบขับขี่จะไม่สามารถเบิกความคุ้มครองใด ๆ ได้ แถมยังถือว่าผิดกฎหมาย อาจต้องเสียค่าปรับในภายหลัง
สำหรับคนที่กำลังมองหา “ประกันภัยรถยนต์” ที่ให้ความคุ้มครองนอกเหนือจาก พ.ร.บ. รถ มิสเตอร์ คุ้มค่า ยินดีนำเสนอแผนประกันที่ตอบโจทย์ ราคาสบายกระเป๋าให้คุณตลอด 24 ชั่วโมง เข้ามาเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ได้ก่อนใคร เพื่อให้รถยนต์คันโปรดของคุณได้รับความคุ้มครองอย่างครอบคลุมที่สุด
ใบขับขี่หายต้องทําอย่างไร ?
ในกรณีที่คุณทำใบขับขี่หาย ในปัจจุบันไม่ต้องแจ้งความอีกแล้ว (ทำบัตรประชาชนหายก็ด้วยเช่นกัน) ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณี แตกต่างกันไปตามประเภทของใบขับขี่ที่ครอบครอง ดังนี้
- ใบขับขี่ส่วนบุคคล ไม่จำเป็นต้องแจ้งความ สามารถจองคิวทำใบขับขี่ใหม่ได้ ผ่านช่องทางออนไลน์ทั้งแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์
- ใบขับขี่รถสาธารณะ จำเป็นต้องมีใบแจ้งความ เพื่อยื่นประกอบการทำใบขับขี่ใหม่
นอกจากนี้ยังมีเอกสารอื่น ๆ ที่ต้องเตรียมไปให้พร้อม เพื่อดำเนินการขอทำใบขับขี่ใหม่ ดังนี้
- บัตรประชาชนตัวจริง หรือเอกสารยืนยันตัวตนที่ราชการออกให้
- กรณีชาวต่างชาติจะใช้พาสปอร์ตแทน
ทำใบขับขี่ มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ?
ในส่วนของ “ค่าใช้จ่าย” เมื่อทำใบขับขี่ หลายคนคงสงสัยอยู่ไม่น้อยว่าต้องเตรียมเงินไปเท่าไหร่ คำตอบคือ ประมาณ 105-205 บาท หากเป็นรถยนต์จะอยู่ที่ 200 บาท กรณีเป็นรถมอเตอร์ไซค์จะอยู่ที่ 100 บาท ซึ่งไม่ว่าจะทำใบขับขี่แบบไหน จะมี “ค่าคำขอ” เพิ่มอีก 5 บาท
ขั้นตอนการทำใบขับขี่ใหม่ ที่กรมการขนส่งทางบก
สำหรับขั้นตอนการทำใบขับขี่ที่กรมการขนส่งทางบก ไม่มีขั้นตอนไหนที่ยุ่งยากหรือซับซ้อนเลยสักนิด หลัก ๆ แล้วมีอยู่ด้วยกัน 4 ขั้นตอน ดังนี้
- ยื่นเอกสาร/บัตรประชาชน และหลักฐานการจองคิวผ่านแอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ให้กับเจ้าหน้าที่
- เขียนใบคำร้องขอทำใบขับขี่ใหม่
- ตรวจสภาพร่างกาย เช่น ตรวจตาบอดสี วัดสายตาทางกว้าง ทางลึก และตรวจการตอบสนอง
- ชำระค่าธรรมเนียมใยการทำใบขับขี่ใหม่ และรอบรับใบขับขี่ได้เลย
สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนทำใบขับขี่รถยนต์
การต่อหรือทําใบขับขี่นอกจากจะต้องเตรียมใบรับรองแพทย์ ใบขับขี่แล้ว ยังมีสิ่งที่ต้องเตรียมไปด้วยอีกเพียบ ซึ่งจะมีอะไรบ้าง? ตามไปดูกันเลย
การจองคิวทำใบขับขี่
โดยสามารถจองคิวได้ผ่านทางแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue หรือถ้าสะดวก Walk-in ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่จะมีการจำกัดจำนวนเพียง 150 คิวต่อวันเท่านั้น และจะต้องไปจองคิวตั้งแต่ 08.00 น.
การอบรมใบขับขี่ออนไลน์ผ่านระบบ
โดยสามารถจองคิวได้ผ่านทางแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue หรือถ้าสะดวก Walk-in ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่จะมีการจำกัดจำนวนเพียง 150 คิวต่อวันเท่านั้น และจะต้องไปจองคิวตั้งแต่ 08.00 น.
การอบรมใบขับขี่ออนไลน์ผ่านระบบ e-Learning
ต้องบอกก่อนว่าการทำใบขับขี่ทุกประเภท (ยกเว้นใบขับขี่สากล) จะต้องผ่านการอบรมเรื่องกฎจราจรก่อนที่จะมาดำเนินการ โดยผู้ที่ทำใบขับขี่รถยนต์ใบแรก ต้องอบรมให้ครบ 3 ชั่วโมง และผู้ที่ต่ออายุใบขับขี่ 5 ปี ต้องอบรม 1 ชั่วโมง (สำหรับผู้ที่ต่อจาก 2 ปี เป็น 5 ปี ไม่ต้องอบรม)
เอกสารที่ต้องเตรียม
- บัตรประชาชนตัวจริง
- สำเนาบัตรประชาชน 1 ชุด (สำหรับผู้ที่ทำใบขับขี่ใบแรก)
- ใบขับขี่เก่า (สำหรับผู้ที่ต่ออายุ)
- ใบรับรองแพทย์ฉบับจริง
ขอย้ำอีกครั้งว่า “ ใบขับขี่รถยนต์ “ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับคนขับรถ เพราะถ้าหากไม่มี ไม่ทำใบขับขี่ หรือไม่ต่ออายุ ก็อาจถูกปรับเนื่องจากผิดกฎหมาย แถมยังอาจทำให้มีปัญหาเมื่อต้องการเคลมประกันในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุด้วย เพราะฉะนั้นอย่าลืมดำเนินการให้เรียบร้อย และเพื่อไม่ให้เสียเวลาจนเกินไป แนะนำให้เตรียมเอกสารไปให้ครบ
คำจำกัดความ
ภาวะสุขภาพ | ระดับความเป็นปกติสุขของบุคคลทั้งองค์รวม คือ กายภาพ จิตสังคม อารมณ์ วิญญาณหรือสภาพแวดล้อม |
สมรรถภาพร่างกาย | ความสมบูรณ์ของบุคคลในการควบคุมสั่งการให้ร่างกายสามารถปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ด้วยความกระฉับกระเฉงและตื่นตัว |
แพทยสภา | เป็นสภาวิชาชีพที่ผดุงไว้ซึ่งความเป็นธรรม มุ่งเน้นการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพ และมาตรฐานด้านสุขภาพของประชาชน |