รู้จักป้ายห้ามจอด ป้ายจราจร แต่ละป้าย มีความหมายว่าอย่างไรบ้าง ?

แชร์ต่อ
​​ป้ายห้ามจอดแต่ละแบบ มีความหมายว่าอย่างไร ? | มิสเตอร์ คุ้มค่า ​

ว่าด้วยเรื่องป้ายจราจรที่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลากหลายแบบ แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าป้ายห้ามจอดเป็นหนึ่งในป้ายที่ถูกมองข้ามมากที่สุด เพราะมักคิดว่า “จอดไม่กี่นาทีเอง ไม่เป็นไรหรอก” แต่ไม่ว่าจะคิดยังไง การจอดในที่ห้ามจอดก็ถือเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายอยู่ดี มิสเตอร์ คุ้มค่า ได้รวบรวมประเด็นที่น่าสนใจเรื่องป้ายจราจรห้ามจอดมาให้ดูกัน เรื่องอะไรที่ผู้ใช้รถควรรู้และปฎิบัติ ตามไปดูกันเลย

ป้ายห้ามจอดแต่ละแบบ มีความหมายว่าอย่างไร ?

​​ป้ายห้ามจอดแต่ละแบบ มีความหมายว่าอย่างไร ?​ | มิสเตอร์ คุ้มค่า

เชื่อว่าหลายคนเมื่อเจอกับป้ายห้ามจอดตามท้องถนน แล้วสับสนอยู่หน่อย ๆ เพราะมีมากมายหลายแบบจำไม่ถ้วน ทั้งป้ายห้ามจอดตลอดแนว ป้ายห้ามจอดรถบริเวณนี้ ป้ายห้ามจอด วันคู่ และอื่น ๆ อีกเพียบ เราได้รวบรวมความหมายของแต่ละป้ายจราจรห้ามจอดมาให้แล้ว โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • 1. ป้ายห้ามจอดตลอดเวลา เว้นวันอาทิตย์

    ทริคง่าย ๆ ในการอ่านป้ายจราจรห้ามจอด คือ “อ่านจากบนลงล่าง” และพยายามตีความอย่างตรงไปตรงมา ป้ายนี้มีความหมายตรงตัว แปลว่าห้ามจอดตลอดแนวทุกวัน เว้นวันอาทิตย์ที่จอดได้ทั้งวัน

  • 2. ป้ายห้ามจอด เวลา 05.00-20.00 เว้นวันหยุดราชการ

    ป้ายนี้จะคล้ายกับป้ายแรก แต่แทนที่จะเป็นตลอดเวลา กลับระบุเวลาที่แน่นอนไว้แทน ส่วนใหญ่เป็นช่วงเวลาที่รถเยอะ คนใช้ถนนแน่นเป็นพิเศษ จึงไม่ควรจอดรถทิ้งไว้นั่นเอง ป้ายห้ามจอดนี้มีความหมายว่า “ห้ามจอดตลอดแนว เวลา 05.00-20.00 น. ของทุกวัน เว้นวันหยุดราชการที่สามารถจอดได้ทั้งวัน”

  • 3. ป้ายห้ามจอดวันคี่ เวลา 06.00-20.00 น.

    สำหรับ “วัน” ในป้ายห้ามจอดประเภทนี้ เป็นการนับวันตามปฏิทิน โดยวันที่หมายถึงวันที่ 1, 3, 7, 9 ความพิเศษของป้ายนี้คือเลขเวลาอยู่เหนือคำว่าวันคี่ เวลาอ่านจะต้องอ่านจากเวลาลงมาก่อน หมายถึง “ห้ามจอดตลอดแนว เวลา 18.00-20.00 น. ของทุกวัน และห้ามจอดตลอดแนว ทุกวันคี่ ทุกช่วงเวลา”

  • 4. ป้ายจราจรห้ามจอดวันคี่ตลอดเวลา วันคู่ 06.00-09.00 น. และ 16.00-22.00 น.

    หากตัวเลขดันย้ายลงมาอยู่ด้านล่าง แปลว่าเป็นช่วงเวลาของวันคู่ หมายความว่า “ห้ามจอดตลอดแนวทุกวันคี่ วันคู่ห้ามจอดเฉพาะเวลา 06.00-09.00 น. และ 16.00-22.00 น.”

  • 5. ป้ายห้ามจอด วันคู่ตลอดเวลา เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 05.00-20.00 น. 6 ล้อขึ้นไปตลอดเวลา

    ความยากของป้ายนี้อยู่ที่ตัวอักษรที่ค่อนข้างยาว จนทำให้หลายคนงงไปตาม ๆ กัน อย่างที่บอกไปก่อนหน้าว่าให้อ่านจากบนลงล่าง ซึ่งจะแปลได้ว่า “ห้ามจอดตลอดแนวทุกวันคู่ วันเสาร์-วันอาทิตย์ห้ามจอดเวลา 05.00-20.00 น. ไม่ว่าจะเป็นวันคู่หรือวันคี่ สำหรับรถ 6 ล้อขึ้นไป ห้ามจอดตลอดแนวทุกวัน”

  • 6. ป้ายห้ามจอด วันคู่ ฝั่งตรงข้ามวันคี่ เวลา 06.00-18.00 น.

    ถือเป็นป้ายจราจรห้ามจอดที่ซับซ้อนมากที่สุด เพราะเป็นการติดป้ายบอกกฎหมายจราจรแบบแบ่งฝั่งถนน หลายคนมักสับสนกับเวลาที่ปรากฏบนป้าย ให้จำไว้ว่าหากในป้ายไม่มีคำว่าตลอดเวลา ให้ยึดตามเวลาที่เขียน ดังนี้ “ฝั่งนี้วันคู่ห้ามจอดเวลา 06.00-16.00 น. อีกฝั่งวันคี่ห้ามจอดเวลา 06.00-16.00 น.”

บริเวณไหนบ้างที่ห้ามจอดรถโดยเด็ดขาด ?

หากไม่อยากเผลอทำผิดกฎหมายจราจรว่าด้วยเรื่องป้ายห้ามจอด ไม่ว่าจะเป็นห้ามจอดตลอดแนว ป้ายห้ามจอด วันคู่ หรือป้ายใด ๆ มาทำความเข้าใจ “บริเวณที่ห้ามจอด” แล้วจำให้ขึ้นใจกันเลยดีกว่า

  • บนทางเท้า หรือฟุตบาทสำหรับคนทั่วไปไว้เดิน
  • บนสะพานหรืออุโมงค์
  • ในทางร่วมทางแยก หรือในระยะ 10 เมตร จากทางร่วมทางแยก
  • ห้ามจอดในทางข้ามหรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม
  • ห้ามจอดรถในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอดรถ
  • ห้ามจอดรถ ในระยะ 3 เมตร จากท่อน้ำดับเพลิง
  • ห้ามจอดรถในระยะ 10 เมตร จากที่ดินตั้งสัญญาณจราจร
  • ห้ามจอดในระยะ 15 เมตรจากทางรถไฟผ่าน
  • ห้ามจอดซ้อนกันกับรถอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว
  • ห้ามจอดรถตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถหรือในระยะ 5 เมตร จากปากทางเดินรถ
  • ห้ามจอดรถในระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทางหรือในระยะ 10 เมตร นับจากปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้งสองข้าง
  • ห้ามจอดรถในที่คับขัน ทางที่มีการจราจรพลุกพล่าน
  • ห้ามจอดรถในระยะ 15 เมตร ก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทาง ให้จอดเลยเครื่องหมายไปอีก 3 เมตร
  • ห้ามจอดรถในระยะ 3 เมตรจากตู้ไปรษณีย์
  • ห้ามจอดรถในลักษณะกีดขวางการจราจร

จอดรถผิดที่ผิดทาง ต้องเจอกับอะไร ?

หากคุณจอดรถในจุดที่มีสัญลักษณ์ห้ามจอด ไม่ว่าจะด้วยความเผลอหรือตั้งใจฝ่าฝืนกฎจราจร สิ่งที่ต้องเจอต่อจากนี้คือ “โดนล็อคล้อ” และจะมีโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท และโดนตัดคะแนนความประพฤติทันที 1 คะแนน

โดนล็อคล้อต้องทำยังไงต่อ ?

เมื่อกลับมาที่รถแล้วพบว่าโดนล็อคล้อเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ทำมีอยู่ด้วยกัน 2 อย่าง ดังนี้

  1. ตรวจสอบใบค่าปรับให้ละเอียด พร้อมกับดูข้อหา อัตราโทษปรับ และสถานีตำรวจในพื้นที่ที่กระทำความผิด รายละเอียดเหล่านี้จะอยู่ที่ใบสั่งทั้งหมด
  2. นำใบสั่งที่ได้ ไปจ่ายค่าปรับที่สถานีตำรวจตามที่ระบุไว้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่มานำเครื่องล็อกล้อรถออก

โดนล็อคล้อ อย่าทำแบบนี้เด็ดขาด

นอกจากจะทำความเข้าใจเรื่องที่ต้องทำหลังจากโดนล็อคล้อแล้ว ยังมี “ข้อห้าม” ที่ไม่ควรทำเด็ดขาด มีอะไรบ้าง และเหตุผลเพราะอะไร ตามไปดูกันเลย

ถอดล้อรถออกแล้วใช้ล้อใหม่

รวมถึงทำลายเครื่องล็อคล้อจนเกิดความเสียหาย เพราะถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ในข้อหา “เคลื่อนย้ายรถที่เจ้าพนักงานจราจรได้ใช้เครื่องมือบังคับมิให้เคลื่อนย้ายโดยไม่ได้รับอนุญาต” ตาม พ.ร.บ.การจราจรทางบก มาตรา 59 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

จอดทิ้งไว้โดยไม่จ่ายค่าปรับ

หากจอดรถทิ้งไว้เพราะไม่อยากจ่ายค่าปรับ เจ้าหน้าที่จะไม่มาปลดล็อคล้อให้ แต่จะนำรถมาลากรถยนต์คันดังกล่าวไปไว้ที่สถานีตำรวจ ซ้ำร้ายยังโดนโทษปรับแพงขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย

การจอดรถในที่ห้ามจอด นอกจากจะเสี่ยงโดนค่าปรับแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เพราะจุดต่าง ๆ ที่มีการติดป้ายจราจรห้ามจอด ได้ผ่านการคิดมาดีแล้วว่าทำไมถึงไม่ควรจอดรถบริเวณนี้ เป็นไปตามความปลอดภัยจราจร หากไม่อยากแบกรับความเสี่ยงเพียงลำพัง แนะนำให้ซื้อรถยนต์ติดเอาไว้เผื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น สามารถเข้ามาเช็คเบี้ยประกันภัยรถยนต์กับ มิสเตอร์ คุ้มค่า ก่อนได้เลย

จอดในที่ห้ามจอดแล้วโดนชน ใครผิด ?

กรณีที่เห็นป้ายห้ามจอดรถทุกชนิด ป้ายห้ามจอดรถจักรยานยนต์ ป้ายห้ามจอดรถยนต์ แต่ยังฝ่าฝืนจนทำให้เกิดเหตุรถชนตามมา แบบนี้รถยนต์คันที่ขับมาชนจะเป็นฝ่ายผิด เพราะขับรถด้วยความประมาท และยังต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับรถคันที่จอดอยู่ด้วย

แต่ถึงแม้ว่ารถยนต์ที่จอดในที่ห้ามจอด จะไม่มีความผิดต่อคู่กรณีกรณีขับรถมาชนรถของตัวเอง แต่จะมีความตามกฎหมายจราจรว่าด้วยเรื่อง “จอดรถในที่ห้ามจอด” ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และโดนตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถ 1 คะแนน

จอดรถในที่ห้ามจอดแล้วโดนชน เคลมประกันได้ไหม ?

ในกรณีที่จอดรถในที่ห้ามจอดแล้วเกิดอุบัติเหตุ ถ้าเจอตัวคู่กรณี และคุณทำประกันรถยนต์ชั้น 1, 2+ และ 3+ เอาไว้ ถือเป็นความโชคดี เพราะอย่างที่บอกว่า “รถคันที่มาชนเป็นฝ่ายผิด” แม้ว่ารถคันที่เอาประกันจะจอดผิดที่ผิดทาง แต่ใช่ว่าเป็นข้อหักล้างที่ทางคู่กรณีจะปฏิเสธความรับผิดชอบ โดยทางบริษัทฯ จะทำหน้าที่เรียกเก็บค่าชดใช้มาให้ และรับเคลมในทุกกรณี

แต่ในทางกลับกันหากคุณทำประกันชั้น 2 หรือประกันชั้น 3 เอาไว้ แบบนี้จะไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ จากบริษัทประกัน เนื่องจากทั้ง 2 แผนจะคุ้มครองเฉพาะคู่กรณีที่ผู้เอาประกันไปทำผิดต่อเขาเท่านั้น หมายความว่าค่าเสียหายจาก ๆ ที่ต้องซ่อมแซมรถ ผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบเอง

เห็นแล้วใช่ไหม ว่าป้ายห้ามจอดที่เห็นอยู่เต็มถนนทุกวันนี้ มีความสำคัญและส่งผลต่อความปลอดภัยจราจรอย่างไรบ้าง แม้ว่าการจอดรถในจุดที่มีเครื่องหมายห้ามจอดแล้วเกิดอุบัติเหตุ รถคันที่จอดผิดที่ผิดทางจะไม่มีความผิดต่อคู่กรณีก็จริง แต่ในเรื่องของป้ายจราจรห้ามจอดยังถือว่ารถคันดังกล่าวทำผิดกฎหมายจราจร ต้องระวางโทษปรับและถูกหักคะแนนความประพฤติอยู่ดี ถ้าไม่อยากเสียเงิน เสียเวลา หาที่จอดที่ใหม่ที่ถูกต้องจะดีกว่า

คำจำกัดความ
​​ป้ายห้ามจอด ​เป็นป้ายห้ามผู้ขับขี่ไม่ให้จอดรถยกเว้นการหยุดรับส่งเพียงชั่วคราวเท่านั้น
​ดุลยพินิจ ​การวินิจฉัยตามเหตุผล, การวินิจฉัยที่เห็นสมควร
​หักล้าง ​ลบล้าง​

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่