ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “การจอดรถ” ของคนในปัจจุบัน เน้นสะดวกแต่ไม่เน้นความถูกต้อง โดยเฉพาะการจอดรถขวางหน้าบ้านคนอื่น อย่างกรณี “ป้าทุบรถ” ที่เกิดการฟ้องร้องกันในปี พ.ศ.2561 ทำให้หลาย ๆ คนเกิดความสงสัยตามมา ว่าจริง ๆ แล้วจอดรถหน้าบ้านคนอื่น ผิดไหม แล้วถ้าจอดรถหน้าบ้านตัวเองทำได้หรือเปล่า ? มิสเตอร์ คุ้มค่า รวบรวมทุก ๆ คำตอบมาให้เรียบร้อยแล้ว ตามไปดูกันเลย!
จอดรถหน้าบ้านคนอื่น ผิดไหม ?
สำหรับคำถามที่ว่าจอดรถหน้าบ้านคนอื่น ผิดไหม ? ตอบตรงนี้เลยว่า “ผิดกฎหมาย” (เหมารวมถึงการจอดรถขวางทางเข้า-ออก) ซึ่งถือเป็นความผิดฐานก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้เสียหาย เจ้าของบ้านสามารถแจ้งความเอาผิดตามข้อกฎหมายอาญา มาตรา 397 ได้ โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากนี้คนที่จอดรถหน้าบ้านคนอื่น ยังมีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 52 ซึ่งระบุไว้ว่า “ผู้ขับขี่รถยนต์ไม่มีสิทธิ์จอดรถขวางทางเข้า-ออกบ้านผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เอกชนหรือถนนสาธารณะ รวมถึงห้ามมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถ” อีกด้วย
จอดรถขวางหน้าบ้าน จอดรถผิดที่ ระวังโดนยกรถไม่รู้ตัว ?
ระวังหน่อย! จอดรถผิดที่ จอดในที่ห้ามจอด ไม่ว่าจะจอดรถหน้าบ้านคนอื่นหรือจอดรถหน้าบ้านตัวเอง แต่ทำให้คนอื่นได้รับความเดือดร้อน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 กำหนดให้ผู้ที่จอดรถในที่ห้ามจอดจะถูกยกรถและเสียค่าปรับเพิ่มเป็นเท่าตัว โดยมีบริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการแทนเจ้าหน้าที่ โดยมีอัตราค่าบริการยกรถ ดังนี้
- รถยนต์ส่วนบุคคล รถกระบะ รถเก๋ง อัตรา 1,000 บาท
- รถ 6 ล้อ อัตรา 2,500 บาท
- รถสิบล้อ อัตรา 3,000 บาท
หากการยกรถนั้น ๆ จำเป็นต้องมี “อุปกรณ์เพิ่มเติมพิเศษ” จะมีอัตราค่าบริการเพิ่มอีก 500 บาท นอกจากนี้ยังมีการเก็บรักษาที่คิดเป็นรายวัน ดังนี้
- รถเก๋ง คันละ 500 บาท/วัน
- รถบรรทุกตั้งแต่ 4-6 ล้อ คันละ 750 บาท/วัน
- รถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป คันละ 1,000 บาท/วัน
นอกจากนี้ยังมี “ค่าปรับ” อีกไม่เกิน 1,000 บาท หมายความว่าหากเป็นรถเก๋งปกติจะจ่าย 1,200 บาท แต่กฎใหม่จะต้องจ่ายขั้นต่ำ 2,000 บาท โดยบวกกับค่าปรับอีก 500 บาทนั่นเอง
รถโดนทุบเพราะจอดขวางหน้าบ้าน เคลมประกันได้ไหม ?
หนึ่งในประเด็นที่ “เจ้าของรถ” สงสัยไม่แพ้ประเด็นอื่น ๆ คือ หากจอดรถขวางหน้าบ้านคนอื่นแล้วโดนเจ้าของทุบรถ หรือทำให้รถเป็นรอย แบบนี้สามารถเคลมประกันได้หรือไม่ ? สำหรับคนที่ทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 เอาไว้ สามารถเคลมได้ แต่อาจต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก เนื่องจากเป็นการเคลมประกันแบบไม่มีคู่กรณี
ดังนั้นไม่ว่าคุณจะตั้งใจหรือเผลอไปจอดรถขวางหน้าบ้านใครก็ตาม การมีประกันรถยนต์ที่ครอบคลุม ก็ช่วยให้อุ่นใจได้มากกว่าเมื่อโดนทุบรถ จากการจอดรถหน้าบ้านคนอื่น ถ้าไม่รู้ว่าจะเลือกซื้อประกันแบบไหนดี สามารถเข้ามาเปรียบเทียบประกันรถยนต์ก่อนใคร ได้ที่เว็บไซต์ของ มิสเตอร์ คุ้มค่า ตลอด 24 ชั่วโมง เรายินดีมอบความคุ้มค่าที่ดีที่สุด และราคาสบายกระเป๋าให้คุณ
แล้วถ้าจอดรถหน้าบ้านตัวเอง ผิดไหม ?
ถือเป็นข้อถกเถียงกันมานานสำหรับเคสการจอดรถขวางหน้าบ้าน แม้จะเป็นเจ้าของบ้านที่กันที่จอดรถหน้าบ้านตัวเองเอาไว้ ก็จะมีเสียงจากสังคมถามตามมา ว่า “ไม่มีที่จอดแล้วจะซื้อรถทำไม ?” จนถึงมีข้อเรียกร้องให้ออกกฎหมายการจอดรถหน้าบ้าน ไม่มีที่จอด = ห้ามซื้อรถ จนเป็นประเด็นไวรัลในสื่อออนไลน์อยู่บ่อยครั้ง ถ้าอย่างนั้นตามไปดูกันว่าจริง ๆ แล้วการจอดรถหน้าบ้านตัวเองสามารถทำได้ไหม ผิดหรือเปล่า ?
ด้านกฎหมาย
การจอดรถหน้าบ้านตัวเองในแง่ของกฎหมาย ถือว่า “ผิด” เพราะไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านจัดสรร หรือหมู่บ้านเปิดที่อยู่ในซอยทั่วไป ทุกคนมีสิทธิใช้สอยแค่พื้นที่ “ภายในรั้วบ้าน” เท่านั้น โดยนอกเขตรั้วบ้านจะถือเป็นพื้นที่สาธารณะ ที่มีกฎหมายคุ้มครองอยู่ ซึ่งก็คือ “กฎหมายห้ามหยุดรถตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 55” ที่ห้ามมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถหรือจอดรถ
โดยข้อกฎหมาย พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 55 ได้กำหนดพื้นที่ห้ามหยุดหรือห้ามจอดรถไว้ดังนี้
- ในทางร่วมทางแยก
- ในเขตปลอดภัย
- บนทางเท้า
- ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดของทางด้านซ้ายของทางเดินรถ ในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง
- บนสะพานหรืออุโมงค์
- ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ
- ในลักษณะกีดขวางการจราจร
- ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ
นอกจากนี้หากจอดรถหน้าบ้านตัวเอง กลับสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น โดยเฉพาะคนที่ใช้ถนนร่วมกัน แบบนี้จะถือว่ามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 397 ด้วยเช่นกัน
ด้านกฎของหมู่บ้าน
หากหมู่บ้านที่คุณอาศัยอยู่มีกฎว่าห้ามจอดรถยนต์ไว้หน้าบ้าน แต่คุณก็เลือกที่จะจอดรถหน้าบ้านตัวเองเพราะสะดวกกว่า แบบนี้ก็จะถือว่าผิดกฎของหมู่บ้าน อาจมีบทลงโทษหรือค่าปรับ รวมถึงระงับการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ส่วนกลาง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละหมู่บ้านเป็นหลัก
แต่ในกรณีที่ลูกบ้านส่วนมาก ออกเสียงว่า “ต้องการจอดรถหน้าบ้านตัวเอง” ด้วยเหตุผลต่าง ๆ โดยเสียงทั้งหมดมีมากกว่าคนที่ไม่ยินยอม ทางนิติบุคคลก็จะยึดตามเสียงข้างมาก และใช้กฎระเบียบเดิมที่ให้จอดรถหน้าบ้านตัวเองได้ จึงเป็นเหตุผลที่บางคนที่ไม่ยินยอมหันไปพึ่งกฎหมายการจอดรถกันนั่นเอง
วางสิ่งของกั๊กพื้นที่หน้าบ้าน แบบนี้ผิดหรือเปล่า ?
อีกหนึ่งประเด็นที่สำหรับ “กลุ่มคนรักษ์โลก” เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกิดอยากจะมีพื้นสีเขียวให้หน้าบ้านตัวเอง มีการปลูกต้นไม้หรือวางกระถาง วางสิ่งของเกลื่อนหน้าบ้านไปหมด แบบนี้ผิดกฎหมายไหม ?
หากเป็น “หมู่บ้านจัดสรร” จะมีกฎหมาย ข้อกำหนดที่ครอบคลุม เรียกว่า “ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเพื่ออยู่อาศัย และพาณิชยกรรมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2550” เนื่องจากเมื่อก่อนหมู่บ้านจัดสรรเริ่มมีที่กรุงเทพฯ เป็นที่แรก สรุปว่าพื้นที่ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของบ้าน คือ “ตั้งแต่ในส่วนรั้วบ้านเข้ามา”
หมายความว่าตั้งแต่บริเวณทางเท้าถือเป็น “พื้นที่ส่วนรวม” เพื่อให้สาธารณชนได้ใช้ประโยชน์ บางครั้งนิติบุคคลในหมู่บ้าน อาจอนุญาตให้วางกระถางต้นไม้หน้าบ้านได้ แต่ถ้าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้น ผู้ที่ตัดสินเรื่องนี้คือ “ศาล” รวมถึงต้องใช้กฎหมายเป็นตัวตัดสิน จะมาถือคำประกาศของนิติบุคคลว่าถูกต้องไม่ได้
แก้ปัญหาจอดรถขวางหน้าบ้านยังไงดี ?
กรณีที่เกิดข้อพิพาทเรื่องจอดรถขวางหน้าบ้าน ไม่ว่าจะคุณจะเป็นเจ้าของบ้านหรือเจ้าของรถก็ตาม มิสเตอร์ คุ้มค่า ลิสต์วิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้ามาให้แล้วทั้งในกรณีเจ้าของบ้านและเจ้าของรถ ไปดูกัน
กรณีเจ้าของบ้าน
- ติดต่อเจ้าของรถพร้อมกับบอกกล่าวให้รับทราบ กรณีจอดรถขวางหน้าบ้าน
- ติดป้ายประกาศห้ามจอดรถขวางหน้าบ้าน พร้อมระบุข้อความแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้น
- กรณีมีธุระเร่งด่วน ให้ทำการเคลื่อน/เลื่อนรถออกจากบริเวณบ้าน (หากทำได้)
- เขียนโน้ตกระดาษแจ้งให้ทราบด้วยข้อความสุภาพ
กรณีเจ้าของรถ
- หากมีความจำเป็นต้องจอดรถหน้าบ้านคนอื่น ควรทิ้งเบอร์ติดต่อไว้ที่หน้ารถ
- เมื่อรู้ว่าตัวเองจอดรถหน้าบ้านคนอื่น จอดซ้อนคัน หรือจอดขวางทางเข้า-ออก ต้องมั่นใจว่ารถของคุณสามารถเคลื่อนย้ายได้ (ไม่ใส่เบรกมือ)
- เข้าเกียร์ว่างหรือเกียร์ N เพื่อให้ผู้อื่นสามารถเคลื่อนย้ายรถได้สะดวก
- หากไม่จำเป็นหรือไม่มีธุระเร่งด่วนอะไร ควรจอดบริเวณลาดจอดรถที่จัดเตรียมไว้ให้
น่าจะได้คำตอบชัดเจนกันแล้วในเรื่องที่ว่า จอดรถขวางหน้าบ้านผิดกฎหมาย และไม่ว่าคุณจะจอดรถขวางหน้าบ้านตัวเองหรือจอดรถหน้าบ้านคนอื่นก็ตาม หากเจ้าของบ้านเรียกเจ้าหน้าที่มายกรถ เจ้าของรถมีหน้าที่ต้องชำระค่าเสียหาย(ค่าบริการและค่าปรับ) เองทั้งหมดซึ่งเป็นไปตามกฎหมายการจอดรถหน้าบ้านนั่นเอง ไม่เพียงแค่เสียเวลาต้องไปจ่ายค่าปรับ แต่รถอาจเสียหายในขั้นตอนการยกรถด้วบยอีกต่างหาก เพราะฉะนั้นถ้าคุณเป็นคนใช้รถ จอดรถตรงไหนพิจารณาให้ดีว่าไม่ทำให้ใครเดือดร้อน อย่าเอาแต่ตัวเองสะดวกแต่พาคนอื่นลำบาก กรณีที่มีธุระเร่งด่วนแนะนำให้ทำตามวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เรานำมาบอกต่อ แต่ถ้าไม่จำเป็นอย่าจอดขวางจะดีที่สุด
คำจำกัดความ
ทางเดินรถ | พื้นที่ที่ทําไว้สําหรับการเดินรถไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้หรือเหนือพื้นดิน |
ช่องเดินรถ | ทางเดินรถที่จัดแบ่งเป็นช่องสำหรับการเดินรถ โดยทำเครื่องหมายเป็นเส้นหรือแนวแบ่งเป็นช่องไว้ |
ข้อพิพาท | ข้อขัดแย้งระหว่างคู่กรณี |
เกลื่อน | กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป |