หลายคนสงสัยว่ารถมือสองต้อง “โอนรถ” หรือไม่? แล้วถ้าต้องโอนรถ จำเป็นจะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง? ต้องบอกก่อนว่าการซื้อรถยนต์ ไม่ว่าจะมือหนึ่งหรือมือสอง ล้วนต้องโอนรถทั้งสิ้นเพราะถ้าหากซื้อหรือขายรถทั้งๆ ที่ยังไม่ได้โอนเปลี่ยนชื่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองให้ถูกต้อง อาจจะเกิดปัญหาต่างๆ ตามมาไม่หยุดหย่อน โดยเฉพาะกับเจ้าของเก่า (ผู้ขาย) และขั้นตอนการโอนรถ เอกสาร และค่าใช้จ่ายๆ จะมีอะไรบ้าง? มิสเตอร์ คุ้มค่า จะเล่าให้ฟัง
ขั้นตอนการโอนรถมือสอง ที่คุณจำเป็นจะต้องรู้
การโอนรถหลังจากตัดสินใจซื้อรถยนต์ คือขั้นตอนที่ “สำคัญ” มากๆ เลยก็ว่าได้ แต่ในส่วนของขั้นตอนการโอนไม่ได้มีความยุ่งยากหรือซับซ้อนอย่างที่คิด สามารถโอนได้ภายในเวลาไม่นาน โดยมีรายละเอียดขั้นตอนดังนี้
- 1. นำรถยนต์ตรวจสภาพที่ง่ายตรวจสภาพรถ
- 2. ยื่นเรื่อง “โอนกรรมสิทธิ์” และชำระค่าธรรมเนียมที่งานทะเบียนรถ
- 3. รับใบคู่มือจดทะเบียนรถคืน
- 4. รับใบเสร็จรับเงิน ใบคู่มือจดทะเบียนรถ เครื่องหมายการเสียภาษี และแผ่นป้ายทะเบียนรถ
โอนรถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง
อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่หลายคนไม่ควรมองข้าม ก็คือ “เอกสาร” ในการโอนรถยนต์ ที่จำเป็นจะต้องเตรียมไปให้ครบถ้วน โดยเอกสารต่างๆ ก็มีดังนี้
- 1. ใบคู่มือจดทะเบียนรถ หรือเล่มทะเบียนรถตัวจริง
- 2. สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของรถ
- 3. สัญญาซื้อขาย ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษี
- 4. แบบคำขอโอนและรับโอน ที่กรอกรายการและลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน
- 5. เอกสารเพิ่มเติม
- กรณีนิติบุคคล : ใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
- กรณีผู้โอนหรือผู้รับโอนไม่ได้มาดำเนินการ : ใช้หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบ
- กรณีรับมรดก : ใช้สำเนาใบมรณบัตรเจ้าของรถ และคำสั่งศาลหรือพินัยกรรมพร้อมสำเนา
ค่าใช้จ่ายโอนรถยนต์ มีอะไรบ้าง ?
“ค่าโอนรถ” หรือที่หลายคนคุ้นเคยในชื่อว่า “ค่าธรรมเนียม” ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าว จำเป็นจะต้องตระเตรียมเอาไว้ให้พร้อม ก่อนเดินทางไปดำเนินเรื่องที่สำนักงานขนส่ง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง โดยค่าใช้จ่ายในการโอนรถยนต์ก็มีดังนี้…
- ค่าคำขอ 5 บาท
- ค่าธรรมเนียมการโอน 100 บาท
- ค่าธรรมเนียมการตรวจสภาพรถ 50 บาท
- ค่าอากรแสตมป์ 500 บาท ต่อการประเมินราคารถ 100,000 บาท
- ค่าเปลี่ยนป้ายทะเบียน 200 บาท (กรณีผู้ซื้อต้องการเปลี่ยน)
- ค่าเปลี่ยนเล่มทะเบียน 100 บาท (กรณีเล่มทะเบียนเก่าชำรุดฉีกขาด)
ในส่วนของราคาหรือรายละเอียดเพิ่มเติม สำหรับบริการอื่น ๆ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์หลักของ “กรมการขนส่งทางบก” ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ
ความแตกต่างระหว่าง โอนรถยนต์ VS โอนรถมอเตอร์ไซค์
หลายคนสงสัยว่า ? มอเตอร์ไซค์มีการโอน ค่าโอน หรือเอกสารโอนรถที่ต้องเตรียมเหมือนกันหรือไม่ ? ขอตอบว่ามีขั้นตอนการโอนรถยนต์เหมือนกันทุกอย่าง เพียงแต่การโอนรถมอเตอร์ไซต์จะต้องทำการตรวจสภาพรถก่อน แล้วจึงค่อยดำเนินการกรอกแบบฟอร์มคำขอ ซึ่งต่างจากรถยนต์แค่ลำดับการตรวจสภาพเท่านั้น ทั้งนี้แนะนำให้เตรียมทุกอย่างให้พร้อม เพื่อที่คุณจะได้ไม่เสียเวลานาน ๆ ที่กรมขนส่งทางบกยังไงล่ะ !
โอนรถยนต์แล้ว ต้องโอน “ประกันรถ” ด้วยหรือไม่ ?
หลังจากที่ทำการโอนรถยนต์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ประเด็นต่อมาก็คือการ “โอนประกันรถยนต์” ให้เสร็จเรียบร้อย ในกรณีที่ซื้อรถมือสอง แล้วมีประกันติดมาด้วย ซึ่งสามารถดำเนินการได้ 2 วิธี ดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของเดิม พร้อมเซ็นยินยอมการโอนประกันให้เจ้าของใหม่
- เจ้าของใหม่ต้องยื่นใบซื้อขายเพิ่ม เพื่อแจ้งขอเปลี่ยนชื่อผู้เอาประกัน
- ส่งเอกสารไปยังบริษัทประกันรถยนต์ เพียงเท่านี้ก็เสร็จสิ้นขั้นตอนการโอนประกันรถยนต์แล้ว
- เจ้าของใหม่ต้องกรอกแบบฟอร์มโอนชื่อ “ผู้รับผลประโยชน์” จากเจ้าของเดิมมาเป็นของตน
- ยื่นแบบฟอร์มพร้อมหลักฐานการซื้อขายให้กับบริษัทประกันรถยนต์ เสร็จสิ้นขั้นตอนการโอนประกันรถยนต์
1. ประกันรถยนต์ไม่ระบุผู้ขับขี่
หากประกันไม่ได้ระบุชื่อคนขับ ก็สามารถต่อประกันได้ทันที โดยผู้ซื้อจะได้รับความคุ้มครองตามประกันรถยนต์ที่ติดมาตามเดิม สำหรับขั้นตอนและเอกสารก็มีดังนี้
2. ประกันรถยนต์ระบุผู้ขับขี่
หากประกันระบุชื่อคนขับเอาไว้ จำเป็นจะต้อง “ยื่นเรื่องเปลี่ยนชื่อผู้ขับขี่” กับทางบริษัทประกัน โดยการเตรียมเอกสารเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้
การโอนประกันรถถือเป็นสิ่งที่คุณไม่ควรละเลยเช่นเดียวกัน เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะเจ็บตัวซ้ำสอง จ่ายค่าโอนแล้ว แถมยังต้องจ่ายค่าประกันใหม่อีก งานนี้ทำเอาจ่ายเงินกันไม่หยุดเลยทีเดียว
จากบทความนี้เชื่อว่าหลายคนก็คงจะได้รับคำตอบแล้วว่า การโอนรถมีขั้นตอนอย่างไร ? มีค่าใช้จ่ายหรือต้องใช้เอกสารใดบ้าง ? นอกจากนี้คุณยังจะต้องให้ความสำคัญกับสภาพรถ ด้วยการตรวจสภาพรถยนต์อย่างละเอียดด้วย เพื่อป้องกันการถูกย้อมแมวขาย และสำหรับใครที่ไม่ต้องการต่อประกันเดิม กำลังมองหาประกันรถยนต์ที่เหมาะกับรถยนต์คู่ใจอยู่ แต่ไม่รู้จะไปที่ไหน ? ลองเข้ามา เปรียบเทียบประกันรถยนต์ ที่ มิสเตอร์ คุ้มค่า ดูสิ ! ที่นี่มีรูปแบบประกันรถยนต์ให้คุณเลือกมากมาย เบี้ยน้อย คุ้มครองมาก ถูกใจสุด ๆ !