หัวข้อที่น่าสนใจ
- 5 สัญญาณเตือน ควรเปลี่ยนรถใหม่มีอะไรบ้าง ?
- 1. รถเกิดปัญหาควันขาว
- 2. ค่าใช้จ่ายในการซ่อมสูงเกินไป
- 3. รถชน เกิดอุบัติเหตุหนัก
- 4. สนิมขึ้นบริเวณตัวถัง
- 5. ไลฟ์สไตล์เปลี่ยนไป
- ควรเพิ่มมูลค่ารถเก่ายังไง ให้ขายรถได้ราคาดี ?
- 1. รถต้องใช้งานได้
- 2. มีอุปกรณ์หรืออะไหล่ให้เพิ่มเติม
- เปลี่ยนรถใหม่ทั้งที รถไฟฟ้ากับรถน้ำมัน เลือกแบบไหนดี ?
- ข้อดี และข้อจำกัดของรถน้ำมัน
- ข้อดี และข้อจำกัดของรถยนต์ไฟฟ้า
- ทำได้ไหม หากผ่อนรถยังไม่หมดแต่อยากเปลี่ยนรถใหม่ ?
- 1. ขายเงินสด
- 2. เปลี่ยนสัญญา ขายดาวน์ ยกให้ผ่อนต่อฟรี
- 3. เทิร์นกับโชว์รูม หรือเต็นท์รถ
รถยนต์ ใช้งานทุกวันย่อมเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลาและเลขไมล์ ไม่ว่าคุณจะคุ้นมือกับมันมากแค่ไหน ถึงวันหนึ่งเมื่อรถเก่าก็ควรต้องเปลี่ยน จะมี “สัญญาณ” อะไรบ้าง? ที่บอกกับคุณได้ว่าถึงเวลาควรเปลี่ยนรถใหม่ และถ้าไม่เปลี่ยน “ยื้อ” ที่จะใช้ต่อไปไม่เปลี่ยนรถสักที จะเกิดผลเสียมากกว่าผลดียังไง มิสเตอร์ คุ้มค่า จะมาเล่าเรื่องนี้ให้ฟังกัน
5 สัญญาณเตือน ควรเปลี่ยนรถใหม่มีอะไรบ้าง ?
หนึ่งในคำถามที่หลาย ๆ คนสงสัย แต่ยังหาคำตอบไม่ได้สักที คือ “ควรเปลี่ยนรถเมื่อไหร่ดี ?” อย่างที่บอกว่ารถยนต์มีการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา ดังนั้นเราไปดู “สัญญาณเตือน” ที่บอกว่าคุณควรเปลี่ยนรถได้แล้วกันเลยดีกว่า
1. รถเกิดปัญหาควันขาว
หนึ่งในสัญญาณที่กำลังบอกคุณว่า “รถไม่ไหวแล้ว อย่าฝืน” เพราะสาเหตุที่ทำให้รถเกิดควันขาวพวงพุ่งออกมาจากเครื่องยนต์ เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่มีประสิทธิภาพ ชิ้นส่วนภายในสึกหรอ ทำให้น้ำมันเครื่องหลุดเข้าไปในขั้นตอนการจุดระเบิด
ส่งผลให้อุณหภูมิไม่ถึงจุดที่ทำให้การเผาไหม้สมบูรณ์ เมื่อควันที่ปล่อยออกมาเจอกับอุณหภูมิต่ำกว่าจึงทำให้เกิดควันขาวอย่างที่เห็น นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการ “เครื่องหลวม” ด้วยเช่นกัน
2. ค่าใช้จ่ายในการซ่อมสูงเกินไป
แน่นอนว่ารถเก่าที่เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา อาจต้องมีการเสียบ้าง ซ่อมบ้างเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าหากเสียหรือซ่อมบ่อยมากเกินไป จนเกินมูลค่าการขายรถไปแล้ว การจะซ่อมเพื่อนำมาใช้งานต่ออาจไม่คุ้มค่าสักเท่าไหร่ แบบนี้การเปลี่ยนรถใหม่อาจตอบโจทย์ได้ดีกว่า
นอกจากนี้เมื่อใช้รถไปนาน ๆ ค่าซ่อมรถ ค่าเสียเวลาซ่อมรถ ค่าบำรุงรักษา รวมถึงค่าอะไหล่ต่าง ๆ จะยิ่งสูงขึ้นตามอายุของอะไหล่/ชิ้นส่วนนั้น ๆ โดยมีราคาเริ่มต้นที่หลักพันไปจนถึงหลักแสน ยิ่งเป็นรถเก่ามาก ๆ อะไหล่จะยิ่งหาเปลี่ยนได้ยากบวกกับราคาค่อนข้างสูง ในท้ายที่สุด การเปลี่ยนรถใหม่อาจเป็นคำตอบที่ดีที่สุดอยู่ดี
3. รถชน เกิดอุบัติเหตุหนัก
หากรถยนต์คู่ใจของคุณเกิดอุบัติเหตุอย่างหนัก เช่น รถชนจนยับเยิน แม้ว่าช่างจะประเมินแล้วว่าสามารถซ่อมกลับมาให้ได้งานได้ดั่งเดิม แต่ไม่มีอะไร 100% รวมถึงความคุ้มค่าในการซ่อมแซม ดูแลรักษาสูงมาก ๆ การเปลี่ยนรถใหม่อาจช่วยให้คุณประหยัด และได้รับความคุ้มค่าที่มากกว่า
4. สนิมขึ้นบริเวณตัวถัง
“สนิม” หากเกิดขึ้นบริเวณชั้นสี ยังสามารถแก้ไข บำรุงให้กลับมาสวยงามดังเดิมได้ แต่ถ้าหากมันดันไปขึ้นบริเวณตัวถัง แนะนำว่าเปลี่ยนรถใหม่จะดีกว่า เพราะจะทำให้เกิดการผุพัง กัดกร่อน ยิ่งปล่อยไว้นานยิ่งลุกลาม ส่งผลต่อการดูดซับกระจายแรงกระแทกน้อยลง และเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
5. ไลฟ์สไตล์เปลี่ยนไป
ถ้าไลฟ์สไตล์ความชื่นชอบของคุณเปลี่ยนไป หรือลักษณะการใช้ชีวิตที่ไม่เหมือนเดิม มีครอบครัว มีลูกเล็กหรือลูกเริ่มโต การเปลี่ยนรถใหม่จะช่วยตอบโจทย์ได้ดีเช่นเดียวกัน เพราะจะช่วยให้การใช้รถในชีวิตประจำวันสะดวกมากขึ้น เช่น เปลี่ยนไปใช้รถที่ใหญ่ขึ้น บรรจุคนและสัมภาระได้เยอะ หรือถ้าจะไปในเรื่องความประหยัดน้ำมัน เลือกรถไฟฟ้าก็ดีกว่า เป็นต้น
ต้องยอมรับว่า “อายุการใช้งาน” เป็นเรื่องสำคัญในการเปลี่ยนรถใหม่ เพราะถ้าหากใช้รถเก่าไปนาน ๆ ก็เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย แต่อย่าลืมว่าอุบัติเหตุไม่เลือกเวลาเกิด และไม่เลือกว่าจะเป็นรถใหม่หรือรถเก่า ดังนั้นการมีประกันภัยรถยนต์ที่คุ้มครองอย่างอุ่นใจ ก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีมาก ๆ แนะนำให้เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ เพื่อความคุ้มครองที่ตอบโจทย์ แถมราคาสบายกระเป๋า ถ้าไม่รู้ว่าจะต้องซื้อที่ไหนดี เข้ามาเปรียบเทียบประกันกับ MrKumka.com ได้เลย เพราะเรายินดีส่งมอบกรมธรรม์ที่ดีที่สุดให้คุณเสมอ
ควรเพิ่มมูลค่ารถเก่ายังไง ให้ขายรถได้ราคาดี ?
ไม่ว่าบ้านไหนก่อนใหม่จะมาเก่าก็ต้องไป เช่นกันกับรถก่อนจะซื้อคันใหม่ก็ต้องขายคันเก่า แต่ถ้ารถเก่าของคุณเป็นประเภทโทรมจากการใช้งานไม่ค่อยดูแล รุ่นเก่าไม่พอสภาพยังเก่าอีก ฟีลเก่าเก็บมานานหลายปี ทว่าอยากขายให้ได้ราคาดีสูงสุดของราคากลาง เรามี “วิธีเพิ่มมูลค่า” มาบอกต่อ ดังนี้
1. รถต้องใช้งานได้
พื้นฐานที่สำคัญมาก ๆ ในการขายรถเก่า เริ่มแรกเลยรถยังต้องใช้งานได้ค่อนข้างจะปกติ สตาร์ทติด เครื่องยนต์ทำงานได้ดี ในส่วนของ “สภาพ” ทั้งภายในและภายนอกควรมีสภาพที่ดี หากพบว่าระบบหรือชิ้นส่วนใด ๆ ชำรุด เสียหาย ควรแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนคนซื้อมาดูรถ เพื่อลดความเสี่ยงในการถูกต่อราคา ยิ่งถ้ารถมีปัญหา หนัก ๆ ชนิดสตาร์ทติดบ้างไม่ติดบ้างหนักกว่าโดนต่อราคาเยอะ ๆ คือ “ขายไม่ออก” และคุณต้องทนเก็บไว้เป็นภาระในการดูแลต่อไปชนิดที่ต้องจำยอม
2. มีอุปกรณ์หรืออะไหล่ให้เพิ่มเติม
ส่วนใหญ่คนที่ขายรถมัก “ขายรถเปล่า” ไม่มีอุปกรณ์หรืออะไหล่เพื่อนำไปใช้งานต่อ หากคุณต้องการปิดดีลให้ได้เร็ว ๆ แถมยังเพิ่มความประทับใจได้เป็นอย่างดี แนะนำให้ส่งต่ออะไหล่หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วไปพร้อมกับรถ เช่น อุปกรณ์ช่วยเหลือฉุกเฉิน ยางอะไหล่ ชุดปฐมพยาบาล ฯลฯ เพื่อให้ผู้ซื้อสัมผัสได้ถึงความคุ้มค่า และลดการต่อราคาลงได้ประมาณหนึ่ง
รถเก่า ทำประกันชั้นไหนตอบโจทย์ได้มากกว่า ?
หนึ่งในประเด็นที่หลายคนสงสัยไม่แพ้กัน โดยเฉพาะคนที่ใช้รถเก่ามานาน ว่าควรใช้ประกันชั้นไหนดี ที่สามารถตอบโจทย์ได้ดีที่สุด ซึ่งจริง ๆ แล้วสามารถทำได้หมด ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจในความคุ้มครองของประกันแต่ละชั้น และเงื่อนไขต่าง ๆ ของบริษัทประกัน
แนะนำให้สอบถามรายละเอียดและเงื่อนไขให้ดีก่อน เช่น ประกันชั้น 2 ไม่มีคู่กรณีเคลมได้ไหม ? ต้องจ่ายค่าอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ ? รวมถึงประกันรถยนต์ชั้น 1 รถเก่าทำได้ไหม มีเงื่อนไขอะไรที่ต้องเข้าใจก่อนบ้าง? เพื่อให้คุณได้รับความคุ้มครองที่ตอบโจทย์ แต่ถ้ายังเลือกไม่ได้ เราลิสต์ความคุ้มครองของประกันภัยรถยนต์แต่ละชั้นมาให้แล้ว ไปดูกันเลย
ประกันรถยนต์ชั้น 1
อย่างที่บอกไปก่อนหน้าแล้วว่า รถเก่าก็สามารถทำประกันชั้น 1 ได้ แต่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่าง ๆ ของบริษัท บางที่รับรถที่มีอายุสูงสุด 15 ปี รวมถึงมีการพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ประวัติการขับขี่ สภาพรถยนต์ รุ่นรถ รวมถึงการต่อประกันกับเจ้าเดิมเป็นเวลานานประกันรถยนต์ชั้น 2+
เป็นประกันรถยนต์ที่เหมาะกับรถเก่ามาก ๆ เช่นกัน โดยให้ความคุ้มครองใกล้เคียงกับชั้น 1 “ซ่อมเขา ซ่อมเรา” คุ้มครองกรณีน้ำท่วม ไฟไหม้รถ แถมค่าเบี้ยยังถูกกว่า แต่ถ้าหากไม่มีคู่กรณีจะไม่ได้รับความคุ้มครองเช่นเดียวกับประกันชั้น 2 ไม่มีคู่กรณีประกันรถยนต์ชั้น 3+
เหมาะสำหรับรถยนต์ที่มีอายุมากกว่า 15 ปี ให้ความคุ้มครองกรณีรถชนรถ “ซ่อมเขา ซ่อมเรา” รวมถึงคุ้มครองความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย และทรัพย์สินของคู่กรณี และบุคคลภายนอกอีกด้วย
เปลี่ยนรถใหม่ทั้งที รถไฟฟ้ากับรถน้ำมัน เลือกแบบไหนดี ?
ด้วยความกระแส “รถยนต์ไฟฟ้า” มาแรงมาก ๆ ในช่วงนี้ คนที่กำลังตัดสินใจเปลี่ยนรถใหม่คงเกิดความสับสนอยู่ไม่น้อย ว่ารถไฟฟ้ากับรถน้ำมันควรเลือกแบบไหน และแบบไหนตอบโจทย์ได้มากกว่า? แน่นอนว่าคนที่สามารถตอบคำถามเรื่องนี้ได้ดีที่สุดคือตัวคุณเอง ถ้าอย่างนั้นตามไปเปรียบเทียบข้อดีและข้อจำกัดก่อนตัดสินใจกันเลยดีกว่า
ข้อดี และข้อจำกัดของรถน้ำมัน
ข้อดี
เติมน้ำมันได้ทุกที่ ทุกเส้นทาง
เพราะมีปั๊มน้ำมันทั่วประเทศไทย ไม่ว่าจะขับในเมืองหรือขับออกต่างจังหวัดสามารถหายห่วงได้ แถมยังเติมได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องคอยนาน
ราคาถูก
เนื่องจากมีให้เลือกหลายรุ่น หลายยี่ห้อ แถมบางรุ่นยังมีราคาที่ถูกกว่ารถยนต์ไฟฟ้าค่อนข้างมาก
มีอะไหล่และชิ้นส่วนให้เปลี่ยนเยอะ
สามารถปรับแต่งหรือเพิ่มชิ้นส่วนต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะภายในก็ดี ภายนอกก็ได้ แถมยังมีราคาถูกกว่า หาซื้อได้ง่ายกว่า
ข้อจำกัด
น้ำมันแพง
ในยุคปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลยว่าราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เจ้าของรถต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
สร้างมลภาวะทางอากาศ
รถใช้น้ำมันจะสร้างมลพิษจากควันที่ออกมาจากท่อไอเสีย ส่งผลเสียโดยตรงต่อธรรมชาติ และสุขภาพของผู้คน
เสียงเครื่องยนต์ดัง
ด้วยความที่รถน้ำมันมีเสียงเครื่องยนต์ที่ดังกว่ารถ EV ทำให้สร้าง “มลภาวะทางเสียง” ได้มากกว่าหลายเท่า
ข้อดี และข้อจำกัดของรถยนต์ไฟฟ้า
ข้อดี
ถูกกว่าเติมน้ำมัน
หากเปรียบเทียบในระยะทางที่เท่ากัน รถ EV จะมีค่าใช้จ่ายในการ “เติมเชื้อเพลิง” ที่ถูกกว่ารถใช้น้ำมัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดเครื่องยนต์ อายุการใช้งาน รุ่นรถ และพฤติกรรมการขับขี่ประกอบร่วม นอกจากนี้ยังสามารถชาร์จได้ที่บ้าน โดยไม่ต้องขับรถออกไปไหนได้อีกด้วย
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เพราะเป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วย “พลังงานไฟฟ้า” ทำให้ไม่สร้างมลพิษเหมือนรถที่ใช้น้ำมัน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติอย่างมาก
ไร้เสียงรบกวน
เนื่องจากรถ EV ทำงานด้วย “มอเตอร์ไฟฟ้า” ทำให้ตัวรถมีเสียงค่อนข้างเบาและเงียบกว่ารถใช้น้ำมัน
ข้อจำกัด
จุดบริการชาร์จไฟค่อนข้างน้อย แถมชาร์จนาน
ถ้าเดินทางไกลบ่อย ๆ รถยนต์ไฟฟ้าอาจไม่ตอบโจทย์ เนื่องจากจุดบริการชาร์จไฟค่อนข้างน้อย แถมยังใช้เวลาในการชาร์จนาน
ราคาแพง
ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของราคารถ ที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ รวมถึงค่าอะไหล่ที่ค่อนข้างแพง โดยเฉพาะ “แบตเตอรี่” ในส่วนของชิ้นส่วนอื่น ๆ ก็เปลี่ยนได้ไม่มาก ขาดความหลากหลายของตัวเลือกในการดูแลรักษา
ระยะการขับสั้นกว่า
หากจะซื้อรถไฟฟ้ามาใช้จำเป็นต้องคำนวณเส้นทาง หรือระยะเวลาในการขับขี่ให้ดี ว่าพลังงานไฟฟ้าเพียงพอต่อการเดินทางหรือไม่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ “ความจุของแบตเตอรี่” ว่าสามารถเก็บพลังงานได้มากน้อยแค่ไหน
ทำได้ไหม หากผ่อนรถยังไม่หมดแต่อยากเปลี่ยนรถใหม่ ?
กรณีที่รถไม่ได้เก่ามาก แค่รู้สึกเบื่อ อยากเปลี่ยนรถใหม่แต่ยังผ่อนไม่หมด แบบนี้สามารถขายเพื่อเปลี่ยนรถได้ไหม? คำตอบคือ “สามารถขายได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย” ก่อนอื่นแนะนำว่าควรติดต่อบริษัทไฟแนนซ์ เพื่อสอบถาม “ยอดปิดบัญชีทั้งหมด”
โดยการปิดบัญชีล่วงหน้าจะทำให้คุณได้รับส่วนลดดอกเบี้ย ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการผ่อนชำระที่ผ่านมา เมื่อได้ยอดมาแล้วก็สามารถขายต่อได้อย่างเหมาะสม ไม่ขาดทุน โดยมีวิธีขายที่น่าสนใจ 3 วิธี ดังนี้
1. ขายเงินสด
การขายรถด้วยวิธีนี้ผู้ซื้อต้องมีความพร้อมในการจ่ายเงินสดทั้งก้อน โดยผู้ขายต้องติดต่อบริษัทไฟแนนซ์ เพื่อแจ้งความประสงค์ในการขายพร้อมกับปิดบัญชี จากนั้นก็ทำสัญญาซื้อขายให้เรียบร้อย พร้อมกับปฏิบัติตามคำแนะนำของไฟแนนซ์ต่อไป
2. เปลี่ยนสัญญา ขายดาวน์ ยกให้ผ่อนต่อฟรี
เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมาก ๆ หาก “ภาระหนี้ต่ำกว่าราคาตลาด” แนะนำให้ใช้วิธีขายดาวน์ เพื่อให้ได้ส่วนต่างตามราคาตลาด เช่น หากราคาตลาดของรถรุ่นนั้นอยู่ที่ 500,000 บาท แต่มีภาระหนี้เหลือรวมแล้วประมาณ 400,000 บาท ก็สามารถเรียกส่วนต่างได้ประมาณ 100,000 บาท เพื่อเป็นเงินดาวน์จากผู้ซื้อได้
แต่ในทางกลับกันหากภาระหนี้คงเหลือเท่ากับ หรือมากกว่าราคาตลาดในปัจจุบัน แนะนำให้ใช้วิธีเปลี่ยนสัญญาเพื่อให้ผู้ซื้อชำระค่างวดที่เหลือ โดยไม่ได้ส่วนต่างกลับมา อธิบายง่าย ๆ ว่า “เป็นการเปลี่ยนสัญญายกรถให้ผู้ซื้อไปดำเนินการผ่อนต่อแบบฟรี ๆ นั่นเอง” เมื่อภาระหนี้ก้อนนี้หมดไปคุณก็สามารถเปลี่ยนรถใหม่ได้แล้ว
3. เทิร์นกับโชว์รูม หรือเต็นท์รถ
ถือเป็นวิธีที่สะดวกมากที่สุด เนื่องจากคุณสามารถนำรถไปเทิร์นกับโชว์รูม หรือเต็นท์รถที่ต้องการซื้อคันใหม่ได้โดยตรง แถมยังเจรจาต่อรองว่าต้องเพิ่ม “ส่วนต่าง” เท่าไหร่เพื่อเปลี่ยนรถใหม่
กรณีที่คุณรับข้อเสนอได้ ทางโชว์รูมหรือเต็นท์รถก็จะดำเนินการปิดบัญชีรถคันเดิมให้ แต่ส่วนใหญ่ค่อนข้างจะเสียเปรียบ เนื่องจากจะถูก “กดราคา” ทำให้ราคาขายไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้สักเท่าไหร่
เข้าใจว่าการขายรถเก่าเป็นเรื่องที่หลาย ๆ คนตัดสินใจได้ยาก ด้วยเหตุผลใช้มานาน ผูกพัน หรือบางคนพยายามปลอบใจตัวเองด้วยคำว่า “มันยังดีอยู่เลย” แต่มันอาจไม่ได้ส่งผลดีเสมอไป เพราะอาจทำให้เกิดความเสี่ยงอื่น ๆ ตามมาได้ และการเปลี่ยนรถใหม่นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงต่าง ๆ ได้ดีแล้ว ยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการซ่อม และดูแลรักษาได้ดีกว่าหลายเท่าอีกด้วย
คำจำกัดความ
เครื่องหลวม | อาการของเครื่องยนต์ที่เสียกำลังในการอัดอากาศไปยังห้องเผาไหม้ เกิดจากการสึกหรอของเครื่องยนต์ที่ใช้งานมานาน เมื่อเกิดอาการเครื่องยนต์หลวม จะทำให้รถยนต์มีแรงน้อยลง เร่งไม่ค่อยขึ้น |
ตัวถัง | ชิ้นส่วนโลหะสำคัญ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อประกอบเข้าด้วยกันให้เป็นรูปโฉมของรถ |
มลภาวะทางเสียง | สภาวะแวดล้อมที่มีเสียงดังอันไม่พึงประสงค์หรือเสียงรบกวนที่ดังขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนกลายเป็นภัยอันตรายต่อทั้งร่างกาย (เสียงที่มีความดังเกินกว่า 85 เดซิเบล) |