หัวข้อที่น่าสนใจ
- ตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีคืออะไร ? และตรวจที่ไหนได้บ้าง ?
- ตรวจสภาพรถที่ไหนดี ?
- ข้อยกเว้นสำหรับรถประเภทอื่น ๆ
- ขาดต่อภาษีรถยนต์ แจ้งเคลมประกันได้ไหม ?
- อายุรถเท่าไหร่ ถึงต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีรถยนต์ ?
- การนับอายุรถเพื่อตรวจสภาพก่อนต่อภาษีประจำปี
- ตรวจสภาพรถ ต้องตรวจส่วนไหนบ้าง ?
- จะทำยังไงหากตรวจ ตรอ. ไม่ผ่าน ?
- ค่าใช้จ่ายในการตรวจสภาพรถอยู่ที่เท่าไหร่ ?
เชื่อว่าคนมีรถหลายคนคงเคยได้ยินคำว่าตรวจสภาพรถผ่านหูมาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นรถใหม่ป้ายแดงหรือรถมือสอง นอกจากจะต้องตรวจเช็กสภาพอย่างสม่ำเสมอ ยังต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีประจำปีและต่อพ.ร.บ. รถยนต์อีกด้วย ซึ่งขั้นตอนนี้สามารถทำได้ที่ไหน? และมีค่าใช้จ่ายเป็นยังไง? มิสเตอร์ คุ้มค่า ลิสต์มาให้ครบจบภายในเว็บเดียว ถ้าพร้อมแล้วไปทำความเข้าใจพร้อม ๆ กันได้เลย
ตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีคืออะไร ? และตรวจที่ไหนได้บ้าง ?
ใช้รถต้อรู้.. กับเรื่องที่ทิ้งไม่ได้เลยคือการตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีและ พ.ร.บ. รถยนต์ อ้างอิงจากพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ซึ่งระบุไว้ว่า “รถที่จะนำมาใช้ในการขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก หรือนำมาจดทะเบียน จะต้องมีสภาพมั่นคง แข็งแรง รถอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ รวมถึงอุปกรณ์หรือเครื่องยนต์ก็ต้องถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ขับรถ ตัวผู้โดยสาร รวมถึงผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น ๆ”
นอกจากนี้การตรวจสภาพรถประจำปียังมีความสำคัญอีกหนึ่งอย่าง คือ การนำใบตรวจสภาพรถไปยื่นสำนักงานขนส่งใกล้บ้านเพื่อต่อภาษีรถยนต์และ ต่อพ.ร.บ. รถยนต์ ได้ด้วยนั่นเอง ไปดูกันว่าต่อภาษีรถยนต์ที่ไหนได้บ้างรวมไปถึงข้อควรรู้ก่อนสำหรับประเภทต่างๆ ในการตรวจสภาพรถ
ตรวจสภาพรถที่ไหนดี ?
สำหรับสถานที่ในการตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีและต่อพ.ร.บ. รถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นรถที่ใหม่ที่ใช้งานมานาน หรือรถมือสองที่เพิ่งซื้อต่อมา (อายุรถถึงเกณฑ์ต้องตรวจ) สามารถนำรถไปตรวจสภาพตามสถานที่ดังต่อไปนี้ได้เลย
- รถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกทุกประเภท เจ้าของรถจะนำรถไปตรวจสภาพที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก หรือหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกก็ได้
- รถที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ประเภทรถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ ต้องตรวจสภาพกับสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น
ข้อยกเว้นสำหรับรถประเภทอื่น ๆ
- รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม จะตรวจสภาพรถที่ ตรอ หรือหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกก็ได้
- รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม จะตรวจสภาพรถที่ ตรอ หรือหน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกก็ได้
- รถที่มีการดัดแปลงสภาพ รถที่เปลี่ยนสี เปลี่ยนเครื่องยนต์ รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวถังหรือเลขเครื่องยนต์ รวมถึงรถที่ขาดต่ออายุทะเบียนเกิน 1 ปี ฯลฯ ให้นำรถไปตรวจสภาพที่หน่วยงามขอกรมการขนส่งทางบก
ไม่ตรวจสภาพรถ จนภาษีรถยนต์ขาดมีโทษอะไรบ้าง ?
สำหรับคนที่หลง ๆ ลืม ๆ จนไม่ได้ไปตรวจสภาพรถส่งผลให้ภาษีรถยนต์ขาด ไม่ว่าจะเป็นรถใหม่ที่อายุรถเพิ่งถึงเกณฑ์หรือรถมือสองก็ตาม จะต้องเสียค่าปรับโดยคิดเป็นร้อยละ 1 ต่อเดือน จากค่าภาษีรายปีที่ต้องจ่าย
เช่น ค่าภาษีปีละ 1,500 บาท จะโดนค่าปรับล่าช้าเดือนละ 15 บาท หากขาดต่อภาษีรถยนต์ 3 ปี หรือขาดต่อเกินกว่า 3 ปี จะถูกยึดทะเบียนรถ และต้องติดต่อกับกรมการขนส่งทางบกเพื่อยื่นเรื่องขอทำป้ายทะเบียนใหม่
ขาดต่อภาษีรถยนต์ แจ้งเคลมประกันได้ไหม ?
หนึ่งในประเด็นที่หลายคนเป็นกังวลมากที่สุด คือ ทะเบียนรถขาดต่อภาษีประจำปี หากเกิดอุบัติเหตุสามารถแจ้งเคลมประกันได้หรือไม่ ? คำตอบคือ “รถคันที่ขาดต่อภาษีประจำปี ยังคงแจ้งเคลมได้ เนื่องจากยังได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ 100%” เพราะทางบริษัทประกันจะยึดถือความถูกต้องระหว่างตัวรถคันที่เอาประกัน กับรายละเอียดตามเอกสาร เช่น เลขเครื่อง เลขทะเบียน เลขตัวถัง ฯลฯ หากรายละเอียดต่าง ๆ ถูกต้องครบถ้วน จะถือว่ารถยนต์คันนั้น ๆ ยังคงได้รับความคุ้มครองตามปกติ หมายความว่าการที่ภาษีรถยนต์ขาดยังไม่มีผลใด ๆ ต่อการเคลมประกัน
นอกจากการให้ความสำคัญในเรื่องการตรวจสภาพรถ เพื่อต่อภาษีประจำปีและต่อพ.ร.บ. รถยนต์ ไม่ว่ารถของคุณเป็นมือใหม่หรือรถมือสอง การให้ความสำคัญกับ “ประกันภัยรถยนต์” ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน มิสเตอร์ คุ้มค่า เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ เช็คราคาประกันรถยนต์ได้ก่อนใคร ได้รับความคุ้มครองที่ตรงตามความต้องการ และตอบโจทย์การขับขี่ได้ดีที่สุด
อายุรถเท่าไหร่ ถึงต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีรถยนต์ ?
สำหรับอายุรถตามข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางบก ได้กำหนด “ประเภทรถ” ที่ต้องเข้ารับการตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีประจำปี ไว้ทั้งหมด 4 ประเภท ดังนี้
- รถยนต์ ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป
- รถยนต์บรรทุก ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป
- รถจักรยานยนต์ ที่มีอายุใช้งานครบ 5 ปีขึ้นไป
- รถยนต์ที่ติดตั้งก๊าซ NGV และก๊าซ LPG ต้องนำรถเข้ามาตรวจสภาพถังก๊าซและอุปกรณ์ ก่อนต่อภาษีทุกปี
การนับอายุรถเพื่อตรวจสภาพก่อนต่อภาษีประจำปี
เชื่อว่าหลายคนอาจสับสนในเรื่องของการนับอายุรถ ว่าจะต้องเริ่มนับยังไงถึงเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งตามกรมการขนส่งทางบกกำหนดว่าให้นับอายุรถโดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่มีการจดทะเบียนครั้งแรก ไปจนถึงวันครบกำหนดเสียภาษีประจำปี ดังนี้
- รถที่จดทะเบียนปี พ.ศ.2564 ต้องตรวจสภาพรถครั้งแรกปี พ.ศ.2561 (รถยนต์ ที่มีอายุครบ 7 ปี)
- รถจักรยานยนต์จดทะเบียนปี พ.ศ.2557 ต้องตรวจสภาพรถครั้งแรก ปี พ.ศ.2562 (รถจักรยานยนต์ ที่มีอายุครบ 5 ปี)
ตรวจสภาพรถ ต้องตรวจส่วนไหนบ้าง ?
การตรวจสภาพรถเมื่ออายุรถถึงเกณฑ์ที่กำหนดต่อภาษีประจำปีและต่อพ.ร.บ. รถยนต์ จะต้องนำคู่มือจดทะเบียนรถให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบด้วย โดยเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสภาพรถดังนี้
- อุปกรณ์ต่างๆ ของรถยนต์ ได้แก่ ตัวถังสี พวงมาลัย ที่ปัดน้ำฝน อุปกรณ์ความปลอดภัยเบื้องต้น
- ตรวจสอบวัดโคมไฟหน้า ว่าการเบี่ยงเบนของลำแสงปกติดีหรือไม่ รวมทั้งตรวจวัดค่าความเข้มของแสง
- ตรวจวัดเสียงรถ โดยจะต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล
- ความถูกต้องข้อมูลของรถยนต์ ได้แก่ แผ่นป้ายทะเบียนรถ ลักษณะรถ หมายเลขตัวถัง เลขเครื่องยนต์
- ตรวจสอบระบบบังคับเลี้ยว ได้แก่ ระบบเบรก ระบบเชื้อเพลิง ระบบรองรับน้ำหนัก
- ตรวจสอบการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) ของรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
- ตรวจวัดควันดำ โดยรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลจะต้องปล่อยควันไม่เกินร้อยละ 50 และระบบวัดความทึบแสงต้องไม่เกิน 45%
จะทำยังไงหากตรวจ ตรอ. ไม่ผ่าน ?
ในกรณีที่ตรวจสภาพรถครั้งแรกแล้วไม่ผ่าน ไม่ต้องกังวล เนื่องจากทาง ตรอ. จะแจ้งข้อบกพร่องต่าง ๆ ให้กลับไปแก้ไข จากนั้นให้นำรถกลับมาตรวจสภาพใหม่อีกครั้ง โดยสาเหตุส่วนใหญ่ที่พบบ่อย ๆ คือ รถควันดำหรือมีสภาพไม่พร้อมใช้งาน เช่น ระบบเบรคทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ สุ่มเสี่ยงจะเกิดอุบัติเหตุเมื่อนำไปวิ่งบนถนนสาธารณะ
หลังจากที่ได้รู้ขอบกพร่องต่าง ๆ ควรนำรถกลับไปแก้ไข จากนั้นก็นำกลับไปตรวจสภาพที่ ตรอ.เดิม “ภายใน 15 วัน” โดยเสียค่าบริการแค่ครึ่งเดียว แต่ถ้าหากเกินกว่า 15 วัน หรือนำรถไปตรวจสภาพกับ ตรอ. ที่อื่น จะต้องเสียค่าบริการเต็มจำนวน
ค่าใช้จ่ายในการตรวจสภาพรถอยู่ที่เท่าไหร่ ?
ค่าใช้จ่ายในการตรวจสภาพรถของแต่ละประเภท มีดังนี้
- รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 150 บาท
- รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 250 บาท
- รถจักรยานยนต์ คันละ 60 บาท
ต้องบอกก่อนว่าค่าใช้จ่ายข้างต้นเป็นเพียงแค่ค่าใช้จ่ายในการตรวจสภาพรถเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการต่อพ.ร.บ. รถยนต์หรือการต่อภาษีประจำปี
เชื่อว่าหลายคนคงตระหนักและให้ความสำคัญในเรื่องของการตรวจสภาพรถ เมื่ออายุรถถึงเกณฑ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ก่อนต่อภาษีรถยนต์ประจำปีและต่อพ.ร.บ. รถยนต์ เพราะถ้าหากละเลยปล่อยให้ภาษีหรือพ.ร.บ. รถยนต์ขาด มีโทษปรับตามกฎหมาย ยิ่งปล่อยไว้นานยิ่งเสี่ยงต่อการโดนยึดทะเบียนรถ หากไม่อยากปวดหัวกับปัญหาที่อาจตามมา อย่าได้คิดปล่อยปละละเลยเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นรถใหม่หรือรถมือสองก็ตาม และเพื่อเพิ่มความอุ่นใจในการเดินทาง การมีกรมธรรม์ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจไว้ดูแลรถที่คุณรัก นับเป็นตัวเลือกที่ดีอย่างยิ่ง มิสเตอร์ คุ้มค่า พร้อมดูแลและช่วยหากรมธรรม์ที่คุ้มค่าที่สุดสำหรับคุณ สามารถเปรียบเทียบประกันรถยนต์ ออนไลน์ได้เลย
คำจำกัดความ
ตรอ. | สถานตรวจสภาพรถเอกชน ที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก ให้เป็นสถานที่ตรวจสภาพรถ ว่ามีความพร้อมในการใช้งานตรงตามข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางบกหรือไม่ |
ภาษีรถยนต์ | ค่าใช้จ่ายที่เจ้าของรถทุกคนต้องดำเนินการชำระทุกปี เพื่อนำเงินไปดูแลรักษาระบบคมนาคมและภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง |
พ.ร.บ. รถยนต์ | ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 โดยกฎหมายฉบับนี้กำหนดให้เจ้าของรถ ที่มีชื่อในเล่มทะเบียนรถยนต์หรือผู้ครอบครองรถในกรณีเป็นผู้เช่าซื้อรถ และต้องต่ออายุในทุก ๆ ปี |