ถังดับเพลิงติดรถยนต์จำเป็นแค่ไหน สำหรับการใช้รถของคุณ

แชร์ต่อ
ถังดับเพลิงติดรถยนต์จำเป็นแค่ไหน สำหรับการใช้รถของคุณ | มิสเตอร์ คุ้มค่า

“อุบัติเหตุ” เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่คาดเดาได้ยากว่าจะเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไหร่ โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่มีต้นเหตุมาจากไฟ ดังนั้นการเตรียมถังดับเพลิงติดรถยนต์เอาไว้ จะช่วยให้คุณอุ่นใจมากกว่า มีใช้ดีกว่าตอนจะใช้แล้วไม่มีแน่นอน คำถามก็คือ “มันจำเป็นแค่ไหน” รถสักคันมีโอกาสจะต้องใช้ถังดับเพลิงในรถยนต์แค่ไหนกัน ไฟไหม้ที่จะเกิดในรถมีกี่แบบ ? ควรติดตั้งถังดับเพลิงในรถยังไงให้ถูกต้อง เหมาะสม และปลอดภัย มิสเตอร์ คุ้มค่า รวบรวมคำตอบและประเด็นอื่นที่เกี่ยวกับ ไฟไหม้รถ มาให้แล้ว ตามไปดูกันเลย

ถังดับเพลิง คืออะไร ?

ไปรู้จักกับถังดับเพลิงในลึกลงไปกันหน่อย “ถังดับเพลิง (Fire Extinguisher)” คือ อุปกรณ์ดับเพลิงแบบเคลื่อนที่ ประกอบด้วยถังแรงดันที่บรรจุน้ำหรือสารเคมีดับไฟอื่น ๆ ซึ่งมาพร้อมกับมือจับ ไก เปิดปิด สลักนิรภัย และสายฉีด ออกแบบสำหรับดับเพลิงไหม้ที่ยังไม่ลุกลาม โดยมี “สิ่งที่ต้องคำนึงถีง” ในการเลือกถังดับเพลิง ดังนี้

  • 1. น้ำหนักและขนาด

    ก่อนเลือกซื้อควรพิจารณาขนาดและน้ำหนักให้ดี โดยเฉพาะการติดตั้งถังดับเพลิงในรถ ถังดับเพลิงควรมีขนาดเล็ก หรือขนาดพกพา ซึ่งมีตั้งแต่ 2 ปอนด์ไปจนถึง 5 ปอนด์

  • 2. ประเภทไฟที่ดับได้

    หลัก ๆ และ “ประเภทไฟ” มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ ประเภท A, B และ C แนะนำว่าควรเลือกถังดับเพลิงในรถที่มีคุณสมบัติที่สามารถดับเพลิงได้อย่างครอบคลุม

  • 3. ราคา

    สำหรับถังดับเพลิงในรถยนต์ ราคาในปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลาย โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้

    • คุณสมบัติของถังดับเพลิงแต่ละประเภท
    • มาตรฐานการติดตั้งถังดับเพลิงในรถที่ได้รับการรับรอง
    • ชนิดของสารเคมีที่อยู่ภายในถังดับเพลิง เช่น หากเป็นถังดับเพลิงในรถ Co2 อาจมีราคาอยู่ในช่วง 2,000-6,000 บาท
    • ขนาดถังดับเพลิง
    • Fire Rating ความสามารถในการดับเพลิงของถังแต่ละประเภท แต่ละขนาด

ถังดับเพลิงแต่ละสีต่างกันยังไง ?

ก่อนทำการติดตั้งถังดับเพลิงติดรถยนต์อยากให้ทำความเข้าใจ “สี” ของถังดับเพลิงให้ดีก่อน เพราะถังดับเพลิงในรถแต่ละสี มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  1. ถังดับเพลิงสีแดง

    คือ ถังดับเพลิงผงเคมีแห้ง (Dry Chemical) และถังดับเพลิงคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) ที่หลายคนคุ้นเคยกันดี และพบได้ทั่วไปตามบ้านพัก อาคาร และโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งมีคุณสมบัติต่างกัน ดังนี้

    • ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง: เหมาะสำหรับติดตั้งทั่วไป ทั้งภายในและภายนอกอาคาร
    • ถังดับเพลิงชนิดคาร์บอนไดออกไซด์: เหมาะสำหรับติดตั้งภายในอาคารสำนักงาน โรงงาน บ้านพัก และห้องเก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 
  2. ถังดับเพลิงสีเขียว

    คือ ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย (Clean Agent) เหมาะสำหรับติดตั้งภายในห้องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอาคาร เมื่อฉีดออกมาสารเคมีจะระเหยไปในอากาศ ไม่ทิ้งคราบตกค้าง นอกจากจะช่วยประหยัดเวลาทำความสะอาดได้ดี ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและผู้ใช้งานด้วย

  3. ถังดับเพลิงสีน้ำเงินหรือสีฟ้า

    ทั้งสองสี คือ ถังดับเพลิงสูตรน้ำ หรือถังดับเพลิงชนิดละอองแรงดันต่ำ เหมาะสำหรับติดตั้งภายในบ้านพัก อาคารสำนักงาน เป็นต้น นอกจากนี้ถังดับเพลิงสีฟ้าของบางแบรนด์ อาจเป็นถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย ที่มีส่วนประกอบของ HCFC-123 ด้วย

  4. ถังดับเพลิงสีเงินหรือสีขาว

    ถังดับเพลิงสีเงิน คือ ถังดับเพลิงชนิดโฟม ด้วยความที่ภายในถังบรรจุน้ำที่เป็นส่วนประกอบหลัง AR-AFFF ตัวถังจึงเป็นสแเตนเลส เหมาะสำหรับติดตั้งภายในโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิง/สารระเหยติดไฟ และปั๊มน้ำมัน แต่ไม่สามารถใช้กับเพลิงไหม้ประเภท C ได้ เนื่องจาก “โฟมเป็นสื่อกลางในการนำไฟฟ้า”

    ส่วนถังดับเพลิงสีขาว คือ ถังดับเพลิงที่บรรจุสารดับเพลิง Potassium Acetate เหมาะสำหรับติดตั้งในโณงอาหาร ร้านอาหาร หรือห้องครัว เป็นต้น

  5. ถังดับเพลิงสีเหลือง

    คือ ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย มีส่วนผสมของสารฮาโลตรอน (Halotron) มีประสิทธิภาพในการดับไฟสูง แต่ปัจจุบันถูกระงับการจำหน่ายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะสารชนิดนี้ส่งผลเสียต่อชั้นบรรยากาศ และเปลี่ยนมาใช้ถังดับเพลิงสีเขียวแทน

นอกจากจะเลือกใช้งานถังดับเพลิงติดรถยนต์ ให้เหมาะสมกับประเภทเพลิงไหม้แล้ว การเลือกซื้อประกันรถที่ตอบโจทย์ ให้ความคุ้มครองครอบคลุมกรณีไฟไหม้รถ ก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ไม่ควรมองข้าม หากกำลังมองหาประกันรถยนต์ที่ช่วยให้อุ่นใจตลอดทริป เข้ามาเช็คประกันรถยนต์กับ มิสเตอร์ คุ้มค่า ก่อนใครได้เลย เรายินดีนำเสนอแผนประกันภัยรถยนต์ที่ดีที่สุด ให้คุณเช็คราคาประกันรถยนต์เพื่อเปรียบเทียบความคุ้มครองได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประเภทเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นได้ในรถ มีอะไรบ้าง ?

ประเภทเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นได้ในรถ มีอะไรบ้าง ? | มิสเตอร์ คุ้มค่า

อย่างที่บอกไปในหัวข้อก่อนหน้าว่าประเภทไฟ หรือประเภทเชื้อเพลิงหลัก ๆ มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ ประเภท A, B และ C แต่ในความเป็นจริงมันมีมากกว่านั้น แต่จะมีรายละเอียดเป็นยังไง ตามไปดูพร้อม ๆ กันเลย

  • 1. เพลิงไหม้ประเภท A

    เพลิงไหม้ประเภท A หรือ Ordinary Combustibles สาเหตุเกิดจาก “เชื้อเพลิงธรรมดาที่ติดไฟง่ายหรือของแข็ง” เช่น กระดาษ, ไม้, ยาง, พลาสติก ส่วนประกอบของรถยนต์ที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ประเภทนี้ได้ คือ เบาะรถยนต์

  • 2. เพลิงไหม้ประเภท B

    เพลิงไหม้ประเภท B หรือ Flammable Liquids มีสาเหตุมจากเชื้อเพลิงที่เกิดจาก “ของเหลวติดไฟ” เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง, ก๊าซที่สามารถติดไฟได้ ส่วนประกอบของรถยนต์ที่ติดไฟประเภทนี้ได้ เช่น น้ำมันเครื่อง, แก๊สรถยนต์

  • 3. เพลิงไหม้ประเภท C

    เพลิงไหม้ประเภท C หรือ Electrical Equipment มีสาเหตุมาจากเชื้อเพลิงที่เกิดจาก “อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟไหลอยู่ตลอด” ส่วนประกอบของรถยนต์ที่ติดไฟประเภทนี้ได้ คือ การทำงานที่ผิดพลาดของแบตเตอรี่

  • 4. เพลิงไหม้ประเภท D

    เพลิงไหม้ประเภท D หรือ Combustible Metals มีสาเหตุมาจาก “โลหะ” ที่สามารถติดไฟได้ ส่วนใหญ่พบตามห้องปฏิบัติการ โรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้โลหะ และห้องทดลอง

  • 5. เพลิงไหม้ประเภท K

    เพลิงไหม้ประเภท K หรือ Combustible Cooking มีสาเหตุมาจาก “น้ำมันที่ใช้ในครัว ไขมันสัตว์ ของเหลวที่ใช้ประกอบอาหาร” ตามปกติพบได้ตามห้องครัว ห้องอาหารตามโรงแรม หรือร้านอาหาร เป็นต้น

ทำไมถึงควรมีถังดับเพลิงติดรถยนต์ ?

ไม่ว่าคุณจะขับรถชำนาญและระมัดระวังมากแค่ไหน แต่เหตุการณ์ไฟไหม้รถก็สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น อุบัติเหตุ ภัยธรรมชาติ หรือความประมาท และแน่นอนว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น แล้วคุณไม่มีถังดับเพลิงในรถติดไว้เลย มันจะนำพามาซึ่งความสูญเสีย ทั้งด้านร่างกาย ทรัพย์สิน และชีวิต

การ “ซื้อเผื่อ (ได้ใช้)” ทำให้หลายคนมองว่าถังดับเพลิงในรถยนต์ ราคาสูงเกินจำเป็น แต่ขอย้ำอีกสักครั้งว่าถังดับเพลิงติดรถยนต์จำเป็นมากที่สุดแล้ว เพราะช่วยบรรเทาความเสียหายทั้งต่อตัวรถยนต์ ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สิน อย่าได้คิดเสี่ยงเพราะคิดว่า “เหตุการณ์นี้ไม่มีทางเกิดขึ้นกับคุณ” โดยเด็ดขาด

ไฟไหม้รถยนต์เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง ?

ขึ้นชื่อว่า “อุบัติเหตุ” แน่นอนว่าไม่มีใครสามารถคาดการณ์ได้ แถมยังสามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจุบัน โดยเฉพาะไฟไหม้รถ มิสเตอร์ คุ้มค่า ได้ลิสต์ปัจจัยที่ ‘อาจ’ ทำให้เกิดเหตุไม่คาดฝันมาให้ดังนี้

  • 1. ของเหลวภายในรถรั่ว

    ของเหลวภายในรถยนต์ เช่น น้ำมันเกียร์, น้ำมันเครื่อง, น้ำมันเบรค และอื่น ๆ ส่วนใหญ่มีจุดเผาไม้ค่อนข้างต่ำ เมื่อเกิดการรั่วไหลออกมาอาจไปกระทบกับเครื่องยนต์ส่วนอื่น ๆ ที่กำลังทำงานอยู่ ซึ่งทำให้ไฟไหม้รถได้ง่าย ๆ แนะนำให้เช็คสภาพรถก่อนออกเดินทางทุก ๆ ครั้งจะดีที่สุด

  • 2. เครื่องยนต์ทำงานหนักจนโอเวอร์ฮีท

    ต้องบอกก่อนว่าตามปกติแล้ว “เครื่องยนต์” ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี ไม่มีทางที่จะเกิดอาการโอเวอร์ฮีทได้ง่าย ๆ เว้นแต่จะมีชิ้นส่วนต่าง ๆ เกิดการทำงานผิดพลาด เช่น ระบายความร้อนไม่ทัน หรือน้ำหล่อเย็นหมด ที่ทำให้เครื่องยนต์โอเวอร์ฮีทจนติดไฟได้

  • 3. ของในรถเกิดลุกไหม้

    หลายครั้งที่ผู้ขับขี่และผู้โดยสารมักทิ้งสิ่งของต่าง ๆ ไว้ในรถ โดยเฉพาะขวดน้ำหอมที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ผสมอยู่มาก และมีจุดเผาไม้ค่อนข้างต่ำ เมื่อเกิดความร้อนสะสมก็ทำให้ไฟไหม้รถได้เช่นกัน

เห็นแล้วใช่ไหมว่า? ปัจจัยที่ทำให้ไฟไหม้รถมีอยู่ด้วยกันหลายปัจจัยมาก ๆ ต่อให้ระวังจุดนี้ดีแค่ไหน จุดอื่น ๆ ก็อาจทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นได้ ดังนั้นการพกถังดับเพลิงติดรถยนต์เอาไว้ พร้อมกับซื้อประกันรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุม อุ่นใจ ก็ช่วยให้คุณคลายความกังวลได้ในระดับหนึ่งแล้วล่ะ

คำจำกัดความ
​​ระเหย ​อาการที่สสารเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นไอ
​อาจ ​สามารถ, มีคุณสมบัติที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไดไ้
​โอเวอร์ฮีท ​เครื่องยนต์ที่ร้อนเกินระดับการใช้งานปกติ โดยคูลแลนด์หรือน้ำที่เป็นของเหลวในระบบหล่อเย็น มีอุณหภูมิสูงขึ้นจนผิดปกติ​

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่