หัวข้อที่น่าสนใจ
- แบตรถไฟฟ้า EV ต่างจากแบตรถยนต์ทั่วไปยังไง ?
- หน้าที่
- ราคา
- เหตุผลที่แบตรถยนต์ไฟฟ้า มีราคาสูงกว่า ?
- 1. วัตถุดิบ
- 2. กระบวนการผลิต
- 3. เทคโนโลยี
- 4. ขนาดและความจุ
- 5. อุปสงค์และอุปทาน
- ชาร์จแบตรถไฟฟ้ายังไง ยืดอายุการใช้งานได้จริง ?
- 1. อย่าปล่อยให้แบตเตอรี่รถยนต์หมด
- 2. ไม่ควรชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน หรือที่ไหน ๆ ให้เต็ม 100%
- 3. ไม่ควรเลือกที่ชาร์จรถไฟฟ้า ระบบ DC บ่อยเกินไป
- 4. เลี่ยงการชาร์จรถไฟฟ้าบริเวณที่อุณหภูมิสูง
- รถ EV ชาร์จบ่อยไหม? แล้วชาร์จรถไฟฟ้า ราคาเท่าไหร่ ?
หัวใจสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้า EV 100% คือเรื่องแบตเตอรี่ ชิ้นส่วนที่มีราคาสูงมาก ๆ ดังนั้นหากไม่อยากปาดเหงื่อเมื่อแบตชำรุด ได้รับความเสียหายก่อนเวลาอันสมควร เริ่มได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองโดยการเรียนรู้วิธีชาร์จรถไฟฟ้าอย่างถูกต้อง เพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานกว่าเดิม มิสเตอร์ คุ้มค่า ก็ได้รวบรวมประเด็นชาร์จแบตรถไฟฟ้า และข้อควรรู้อื่น ๆ มาให้แล้ว ตามไปดูกัน
แบตรถไฟฟ้า EV ต่างจากแบตรถยนต์ทั่วไปยังไง ?
คำถามแรกที่หลายคนสงสัย จริง ๆ แล้วไม่ใช่การชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์อย่างถูกวิธี ต้องทำยังไง แต่กลับเป็น “แบตรถไฟฟ้า EV ต่างจากแบตรถยนต์ทั่วไปยังไง” บอกไว้เลยว่าต่างกันหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นขนาด ประเภท และจุดประสงค์ในการใช้งาน ไปจนถึงราคา เพื่อให้เห็นภาพชัดมากขึ้น เราลิสต์ประเด็นที่น่าสนใจมาให้แล้ว โดยมีรายละเอียดดังนี้
หน้าที่
- แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า 100% เป็นแหล่งพลังงานที่จ่ายให้กับ ‘ทุกส่วน’ ของรถ ทั้งอุปกรณ์ภายในห้องโดยสาร และเป็นแหล่งกักเก็บเชื้อเพลิงของรถด้วย
- ในส่วนของแบตเตอรี่รถยนต์ทั่วไป มีหน้าที่เก็บไฟฟ้าเพื่อจ่ายให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในรถ เป็น “แหล่งพลังงานสำรอง” เท่านั้น เช่น ไฟเลี้ยว, ไฟในห้องโดยสาร, วิทยุ หรืออื่น ๆ
ราคา
- แบตรถ EV มีราคาสูงกว่ามาก เนื่องจากมีความทนทานสูง และมีขนาดที่ใหญ่กว่า
- แบตรถยนต์ธรรมดา ราคาไม่แพง แถมมีขนาดเล็กกว่า
เหตุผลที่แบตรถยนต์ไฟฟ้า มีราคาสูงกว่า ?
ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็มีแต่คนบอกว่า “แบตรถไฟฟ้าแพงมาก” ทำให้หลายคนลังเล ไม่กล้าเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้า 100% กันเท่าที่ควร เหตุผลที่ทำให้แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ามีราคาที่แพงกว่านั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ดังนี้
1. วัตถุดิบ
แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า 100% ส่วนใหญ่ใช้ลิเธียมไอออน เป็นแร่ธาตุที่มีราคาแพงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แถมยังมีแหล่งผลิตค่อนข้างจำกัด นอกจากนี้ยังมีโลหะราคาแพงอื่น ๆ เช่น โคบอลต์, นิกเกิล หรือแมงกานีส ที่ใช้ในแบตเตอรี่ด้วย
2. กระบวนการผลิต
การผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนค่อนข้างซับซ้อน และต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รวมถึงต้องใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนมากในการผลิต
3. เทคโนโลยี
ต้องบอกก่อนว่าเทคโนโลยีแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้ายังอยู่ในช่วงพัฒนา ทำให้มีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น อายุการใช้งาน, ระยะทางการวิ่ง, ความเร็วในการชาร์จ ฯลฯ ด้วยเหตุผลนี้จึงส่งผลต่อราคาที่สูงขึ้น ไม่คงที่
4. ขนาดและความจุ
เนื่องจากแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า เป็น “หัวใจหลัก” จึงมีขนาดใหญ่ และมีความจุมากกว่าแบตเตอรี่รถยนต์ทั่วไป ส่งผลให้มีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นตามไปด้วย
5. อุปสงค์และอุปทาน
ในปัจจุบันความต้องการแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ทว่ากำลังการผลิตกลับไม่เพียงพอ (มีจำกัด) ส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนและมีราคาพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง
จะซื้อรถใหม่ทั้งที นอกจากจะต้องเรียนรู้ชาร์จรถไฟฟ้าที่ถูกต้อง ตามหาที่ชาร์จรถไฟฟ้าที่เหมาะสม และหาคำตอบว่าทำไมราคาแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าถึงแพงกว่าแล้ว อย่าลืมมองหาตัวช่วยเพิ่มความอุ่นใจให้คุณตลอดการเดินทางอย่าง “ประกันรถยนต์ไฟฟ้า” ด้วย หากไม่รู้ว่าจะเลือกซื้อแผนไหน ที่คุ้มครองตอบโจทย์ ราคาสบายกระเป๋า สามารถเข้ามาเปรียบเทียบประกันรถยนต์กับ มิสเตอร์ คุ้มค่า ก่อนใครได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ชาร์จแบตรถไฟฟ้ายังไง ยืดอายุการใช้งานได้จริง ?
หากคุณกำลังตามหาวิธีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่ถูกต้อง เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการชาร์จกับสถานีชาร์จรถไฟฟ้าหรือรถไฟฟ้า ชาร์จไฟบ้านก็ตาม เรารวบรวมทริคการชาร์จมาให้แล้ว จะต้องชาร์จแบตรถไฟฟ้าแบบไหน ถึงช่วยยืดอายุการใช้งานได้นานขึ้น ตามไปดูกันเลย
1. อย่าปล่อยให้แบตเตอรี่รถยนต์หมด
การปล่อยให้แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าหมดเกลี้ยง เหลือ 0% ไม่เป็นผลดีมาก ๆ เลยล่ะ เพราะจะทำให้แบตรถทำงานหนักจนร้อนเกินไปเมื่อทำการชาร์จแบตรถไฟฟ้าอีกครั้ง ส่งผลให้แบตเสื่อมได้ไว ทางที่ดีควรพยายามรักษาแบตเตอรี่รถให้เหลือประมาณ 20% แล้วค่อยชาร์จจะดีกว่า
2. ไม่ควรชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน หรือที่ไหน ๆ ให้เต็ม 100%
นอกจากจะไม่ควรปล่อยให้แบตรถเหลือ 0% แล้ว ยังไม่ควรชาร์จให้เต็ม 100% ด้วยเช่นกัน เพราะการทำแบบนี้จะทำให้แบตรถเสื่อมเร็วกว่าที่ควร โดยการชาร์จรถไฟฟ้าที่เหมาะสม ควรชาร์จไฟให้อยู่ระหว่าง 80-90% เพื่อให้ระบบ Regenerative braking (ระบบเบรกเพื่อชาร์จไฟ) สามารถทำงานได้ทันที แถมยังช่วยยืดอายุการใช้งานของผ้าเบรคได้อีกด้วย
3. ไม่ควรเลือกที่ชาร์จรถไฟฟ้า ระบบ DC บ่อยเกินไป
แม้ว่าระบบชาร์จเร็ว (DC) ตามสถานีชาร์จรถไฟฟ้าจะช่วยประหยัดเวลาได้มากกว่า แต่ก็ไม่ควรเลือกใช้งานบ่อยเกินไป เพราะมันจะทำให้แบตรถยนต์คันโปรดของคุณเสื่อมไวขึ้น เนื่องจากขณะที่ชาร์จด้วยระบบดังกล่าว จะเกิดอุณหภูมิสูง ทำให้แบตทำงานหนัก เมื่อเจอเข้ากับสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว แน่นอนว่าไม่เป็นผลดีต่อรถยนต์ไฟฟ้าเลยสักนิด
4. เลี่ยงการชาร์จรถไฟฟ้าบริเวณที่อุณหภูมิสูง
แม้ว่าอาการร้อนของประเทศไทย จะไม่ได้เป็นชนวนที่ทำให้แบตเตอรี่ระเบิด แต่มันสามารถทำให้อายุของแบตฯ เสื่อมได้ไวขึ้นได้ แนะนำว่าควรเลือกชาร์จไฟรถไฟฟ้าในพื้นที่ร่ม เพื่อให้การชาร์จมีประสิทธิภาพที่ดี รวมถึงเลี่ยงการจอดรถตากแดดเป็นระยะเวลานานด้วย
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า จน Overcharge ?
Overcharge หรือ “การอัดไฟมากเกินไป” เกิดจากการที่แบตเตอรี่ถูกอัดไฟเยอะ หรือมีการอัดไฟด้วยกระแสไฟสูงเกินค่าปกติของแบตรุ่นนั้น ๆ แน่นอนว่าจะทำให้เกิดผลเสียต่อแบตโดยตรง ส่วนใหญ่มักพบได้ในกรณีดังต่อไปนี้
- ระบบชาร์จไฟรถไฟฟ้าทำงานผิดปกติ ตัดค่าโวลต์สูงเกินไป (ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของรถยนต์แต่ละยี่ห้อ)
- การใช้งานรถยนต์ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด รวมถึงใช้งานอย่างต่อเนื่องในระยะเวลานาน (มากกว่า 100 กม./วัน)
- การอัดไฟสูงอย่างรวดเร็วเป็นประจำ
- ความเข้มข้นของน้ำกรด (ค่า ถ.พ.) สูงเกินไป
ซึ่งการชาร์จรถไฟฟ้าจน Overcharge จะทำให้แบตเตอรี่มีอุณหภูมิสูง และมีความร้อนมากกว่าปกติ อาจกระทบกับโครงสร้างภายในแบตเตอรี่เต็ม ๆ แถมยังทำให้อายุแบตเตอรี่สั้นลงได้อีกด้วย ถ้าอยากรู้ว่าอาการดังกล่าวเป็นยังไง สามารถสังเกตได้จากแผ่นกั้นแผ่นธาตแบตเตอรี่ ที่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลไหม้หรือสีดำ บวม และแผ่นกริดหัก
รถ EV ชาร์จบ่อยไหม? แล้วชาร์จรถไฟฟ้า ราคาเท่าไหร่ ?
หนึ่งในคำถามที่หลายคนสงสัยตามมาคือ รถ EV ชาร์จบ่อยไหม แล้วค่าชาร์จรถไฟฟ้าแต่ละครั้งแพงหรือไม่ ? คำตอบประเด็นแรก คือ รถยนต์ไฟฟ้าควรชาร์จเต็มประจุ 1 ครั้งทุกสัปดาห์ เพื่อกระตุ้นเซลล์เก็บประจุให้ทำงานครบ แถมยังช่วยลดความการเสื่อมของแบตเตอรี่ในการใช้งานระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในส่วนของค่าชาร์จรถไฟฟ้าก็ไม่แพงเลยสักนิด คิดคร่าว ๆ ประมาณ 0.7-1 บาท/กิโลเมตร เมื่อเทียบกับค่าเติมน้ำมันรถยนต์ทั่วไป อยู่ที่ 3 บาท/กิโลเมตร การใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าจึงช่วยประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้มากกว่า 3 เท่า (สำหรับการชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน)
แต่ถ้าไปชาร์จที่สถานีชาร์จรถไฟฟ้า หรือที่ชาร์จรถไฟฟ้าใกล้ฉัน ในห้างหรือตามปั๊มน้ำมันต่าง ๆ ที่มีจุดบริการ ก็อาจมีการบวกค่าบริการเพิ่มเติม (ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานที่) แต่ไม่ว่ายังไงก็มีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่ารถเครื่องยนต์สันดาปอยู่ดี
หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่อยากเปลี่ยนมาใช้รถพลังงานไฟฟ้า นอกจากจะต้องเรียนรู้การชาร์จรถไฟฟ้าที่ถูกต้อง เพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้นแล้ว ยังมีประเด็นอื่น ๆ ที่ควรทำความเข้าใจเพิ่มเติมอีกมาก ทั้งประกันรถยนต์ไฟฟ้า ระยะทางที่ค่อนข้างจำกัด รวมถึงการหาสถานีชาร์จรถไฟฟ้าในเส้นทางต่าง ๆ เพื่อวางแผนก่อนออกเดินทาง แนะนำให้ถามตัวเองให้ดี ๆ ว่ารถยนต์ไฟฟ้าตอบโจทย์คุณได้จริงหรือไม่ เพื่อป้องกันการตัดสินใจที่ผิดพลาด
คำจำกัดความ
โวลต์ | ชื่อหน่วยวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้า |
ค่า ถ.พ. | ค่าความถ่วงจำเพาะ |
เครื่องยนต์สันดาป | เครื่องยนต์ที่มีการระเบิดหรือเผาไหม้ส่วนผสมของเชื้อเพลิง |