อัตราค่าชาร์จแบตรถไฟฟ้า 2567 แต่ละที่มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่บ้าง ?

แชร์ต่อ
รู้อัตราค่าชาร์จแบตรถไฟฟ้า 2567 ที่ MrKumka.com

รู้หรือไม่ว่ารถ EV กำลังจะเข้ามาแทนที่รถน้ำมันในอีกไม่ช้า เหตุผลหลักคือ “ช่วยประหยัดค่าน้ำมัน” ได้ค่อนข้างมาก เนื่องจากใช้พลังงานจากการชาร์จแบตรถไฟฟ้าที่ค่าใช้จ่ายถูกกว่าเพราะฉะนั้นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญและเข้าใจตามมาก็คือ ค่าชาร์จรถไฟฟ้า, ที่ชาร์จแบตรถไฟฟ้าใกล้ฉัน ซึ่งแต่ละแห่งมีอัตราค่าบริการเท่าไหร่บ้าง ? หรือติดตั้งเองจะประหยัดอัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้าได้มากกว่า MrKumka ลิสต์คำตอบมาให้แล้ว ไปทำความเข้าใจพร้อม ๆ กันเลยในบทความนี้จากเรา

ติดตั้งที่ชาร์จแบตรถไฟฟ้าที่บ้านสะดวกกว่าไหม ต้องใช้งบเท่าไหร่ ?

หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่ไม่อยากเสียเวลาค้นหาที่ชาร์จแบตรถไฟฟ้าใกล้ฉัน หรือไม่อยากเสียค่าชาร์จรถไฟฟ้าตามห้างบ่อย ๆ อยากติดตั้งสถานีชาร์จแบตรถไฟฟ้าเองที่บ้าน แบบนี้สะดวกสบายไหม? แล้วต้องใช้งบเท่าไหร่บ้าง ? หากถามในเรื่องของ “ความสะดวก” แน่นอนว่าต้องสะดวกกว่ามาก แม้จะชาร์จช้ากว่าแต่หมดปัญหาเรื่องการต่อคิวรอชาร์จไปได้เลย ส่วนในเรื่องบ “งบประมาณ” ต้องแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้

  • 1. ค่าเครื่องชาร์จแบตรถไฟฟ้า (EV Charger)

    สำหรับค่าเครื่องชาร์จแบตรถไฟฟ้าจะขึ้นอยู่กับ “ขนาดกำลังไฟ” ที่ต้องการ แนะนำให้ดูความสามารถในการรับไฟของ ON Board Charger ของรถยนต์แต่ละรุ่น ซึ่งโดยปกติทั่วไปจะมีขนาดตั้งแต่ 3.5 kW ถึง 22 kW ราคาของอุปกรณ์สำหรับรถไฟฟ้าชาร์จแบตจะอยู่ที่ 15,000 บาท ไปจนถึง 100,000 บาท (ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ)

  • 2. ค่าติดตั้งและค่าขอเปลี่ยนมิเตอร์

    สำหรับการติดตั้งเครื่องชาร์จแบตรถไฟฟ้า ทั้งการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีค่าใช้จ่ายแตกต่างกันดังนี้

    • การไฟฟ้านครหลวง (MEA) มีค่าตรวจสอบและขอเพิ่มมิเตอร์ ราคา 700-2,500 บาท
    • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) มีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบประมาณ 700-1,500 บาท

    กรณีที่ไม่สามารถปรับปรุงระบบไฟฟ้าเพิ่มเติมได้ จะต้องขอเพิ่มมิเตอร์ลูกที่ 2 แทน หรือถ้าอยากได้ค่าไฟอัตรา TOU จำเป็นต้องจ่ายเพิ่ม ดังนี้

    • การไฟฟ้านครหลวง (MEA) ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 6,640-7,350 บาท
    • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 3,740-5,340 บาท

แชร์ทริคใช้งานที่ชาร์จแบตรถไฟฟ้าในบ้านอย่างไรให้ปลอดภัย ?

สำหรับการติดตั้งที่ชาร์จแบตรถไฟฟ้าภายในบ้าน คุณจะต้องเข้าใจ “ระบบไฟฟ้า” ภายในบ้านให้ดีก่อน เพื่อความปลอดภัยและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมา โดยมีรายละเอียดที่ควรทำความเข้าใจดังนี้

  • 1. สายเมน และลูกเซอร์กิต (MCB)

    สายเมนปกติทั่วไปจะใช้ขนาด 16 ตร.มม. แต่ถ้าหากต้องการติดตั้งที่ชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้าในบ้าน จะต้องปรับให้มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเป็น 25 ตร.มม. รวมถึงเปลี่ยน “ลูกเซอร์กิต (MCB)” ซึ่งเป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับตู้ MDB เดิมทีรองรับได้สูงสุด 45(A) ให้เปลี่ยนเป็น 100(A) แทน เพื่อให้ขนาดมิเตอร์ สายเมน และขนาดลูกเซอร์กิตสอดคล้องกัน

  • 2. ขนาดมิเตอร์

    ปกติแล้วที่พักอาศัยทั่วไปจะใช้มิเตอร์ 15(45) 1 เฟส(1P) ซึ่งหมายถึง “มิเตอร์ขนาด 15 แอมป์ และสามารถใช้ไฟได้มากถึง 45 แอมป์” แต่ถ้าหากต้องการชาร์จแบตรถไฟฟ้าในบ้าน จะต้องเปลี่ยนขนาดมิเตอร์เป็น 30(100) เพื่อป้องกันการใช้ไฟฟ้าที่มากเกินไป

  • 3. ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB)

    แนะนำให้ตรวจสอบภายในตู้ MDB ว่ามีช่องว่างสำหรับติดตั้ง Circuit Breaker ‘อย่างน้อย’ 1 ช่องหรือไม่ เนื่องจากการชาร์จไฟของรถไฟฟ้าชาร์จแบตจะต้องมีส่วนตัว รวมถึงแยกใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ กรณีที่ตู้หลักไม่มีช่องว่างเหลือเลย แนะนำว่าต้องเพิ่มตู้ควบคุมย่อยอีก 1 จุด

  • 4. เต้ารับ (EV Socket)

    สำหรับการเสียบรถไฟฟ้าชาร์จแบตจะใช้เต้ารับชนิด 3 รู (มีสายต่อหลักดิน) และต้องทนกระแสไฟฟ้าได้ต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 16(A) ในส่วนของ “รูปทรง” อาจขึ้นอยู่กับรูปแบบปลั๊กของรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละรุ่น

  • 5. เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD)

    เครื่องตัดไฟฟ้าอัตโนมัติที่จะตัดวงจรไฟฟ้าเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลเข้าออกมีค่าไม่เท่ากัน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิด “ไฟฟ้าลัดวงจร” รวมถึงเกิดเพลิงไหม้ในอนาคตได้ ในกรณีที่สายชาร์จแบตรถไฟฟ้ามีระบบตัดไฟอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องติดตั้งเพิ่ม

หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่กังวลใจในเรื่องการชาร์จแบตรถไฟฟ้า กลัวว่าจะมีปัญหาต่าง ๆ ตามมาในอนาคต รวมถึงกรณีขับรถอยู่ดี ๆ แล้วแบตหมด เคลื่อนรถไปยังที่ชาร์จแบตรถไฟฟ้า ใกล้ฉันไม่ได้ การเลือกซื้อ “ประกันภัยรถไฟฟ้า” เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจ โดยเฉพาะเมื่อเลือกซื้อกับ MrKumka ที่ยินดีนำเสนอแผนประกันดีที่สุดให้คุณ ในราคาย่อมเยา สามารถเปรียบเทียบประกันรถยนต์ได้ก่อนใคร แถมยังมีบริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนนตลอด 24 ชั่วโมงอีกด้วย

ปัจจัยในการเลือกที่ชาร์จแบตรถไฟฟ้ามีอะไรบ้าง ?

การเลือกซื้อที่ชาร์จแบตรถไฟฟ้าด้วยการเลือกจาก “ราคา” เพียงอย่างเดียว เช่น แพง = ดีที่สุด อาจไม่ใช่คำตอบที่ดีและตอบโจทย์เสมอไป แต่ควรเลือกจากปัจจัยหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

ปัจจัยในการเลือกที่ชาร์จแบตรถไฟฟ้ามีอะไรบ้าง ? ที่ MrKumka.com
  • 1. ความสวยงามและใช้งานง่าย

    การใช้งานที่ชาร์จรถไฟฟ้าชาร์จแบตได้สะดวกประกอบร่วมกับความสวยงาม ถือเป็นเรื่องที่สำคัญในชีวิตประจำวันมาก ๆ เพราะอย่าลืมว่าใช้รถทุกวันก็ต้องชาร์จรถแทบจะทุกวัน แนะนำให้เรื่องที่ชาร์จที่มีอินเตอร์เฟซและฟังก์ชันใช้งานง่าย รวมถึงมีระบบสื่อสารที่ชัดเจน เพื่อให้คุณทราบสถานะการชาร์จ

  • 2. ความปลอดภัย

    หนึ่งในเรื่องสำคัญที่มองข้ามไม่ได้เลย คือ “ความปลอดภัย” แนะนำให้ตรวจสอบที่ชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้าให้ดี ว่ามีมาตรฐานความปลอดภัยรองรับหรือไม่ รวมถึงระบบการควบคุมความร้อน และระบบความปลอดภัยอื่น ๆ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

  • 3. การติดตั้ง

    การติดตั้งที่ชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้าจำเป็นต้องใช้งบประมาณเพิ่มเติม แนะนำให้ที่ชาร์จที่เหมาะสม รวมถึงตรวจสอบให้ดีว่าระบบไฟฟ้าเพียงพอต่อการติดตั้งหรือไม่

  • 4. ค่าใช้จ่าย

    นอกจากค่าใช้จ่ายในเรื่องของมูลค่ารถยนต์ไฟฟ้า ค่าประกัน ค่าบำรุงรักษาแล้ว ค่าที่ชาร์จแบตรถไฟฟ้าก็เป็นหนึ่งในเรื่องที่ควรคำนวณให้ถี่ถ้วน วางแผนการใช้จ่ายให้ดี ด้วยการกำหนดงบประมาณที่เหมาะสมและเลือกที่ชาร์จที่ตรงตามงบที่ตั้งไว้ นอกจากนี้อย่าลืมคิดถึงค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง และราคาค่าไฟชาร์จรถไฟฟ้าสำหรับการใช้งานในระยะยาวด้วย

อัปเดตล่าสุด สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ค่าบริการเท่าไหร่กันบ้าง ?

สำหรับคนที่เดินทางไกล ออกต่างจังหวัดมากกว่าขับในเมืองหรือแถวบ้าน จำเป็นต้องใช้บริการสถานีชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้าอยู่บ่อย ๆ การหาข้อมูลในเรื่องอัตรา ค่าบริการชาร์จรถไฟฟ้าก่อนออกเดินทาง เพื่อวางแผนและคำนวณค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ก็ถือเป็นหนึ่งในเรื่องที่น่าสนใจและควรให้ความสำคัญมาก ๆ เช่นเดียวกัน ซึ่งแต่ละแห่งจะมีค่าบริการชาร์จแบตรถไฟฟ้าเท่าไหร่บ้าง ไปดูกัน!

  • 1. สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ปตท.

    EV Station PluZ เครือข่าย PTT Station หนึ่งในผู้ให้บริการตู้ชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้าที่ปัจจุบันเปิดให้บริการมากกว่า 894 สถานีทั่วประเทศ ค่าชาร์จรถไฟฟ้า ปตท. สำหรับช่วง On Peak หรือเวลา 09.00 น. - 22.00 น. อยู่ที่ 7.7 บาท/หน่วย และสำหรับช่วง Off Peak หรือเวลา 22.00 น. - 09.00 น. อยู่ที่ 6.0 บาท/หน่วย

  • 2. ชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้า Evolt

    Evolt คือหนึ่งในที่ชาร์จแบตรถไฟฟ้า ใกล้ฉัน ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก ปัจจุบันมีจุดชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า 200 แห่งทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด เพิ่มความสะดวกสบายในการเข้าใช้บริการ เพียงดาวน์โหลดและติดตั้งแอปพลิเคชัน Evolt สำหรับค้นหาสถานีชาร์จแบต รถไฟฟ้าได้อย่างง่ายดาย โดยมีราคา ค่าชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้าทั้งช่วง On Peak และ Off Peak อยู่ที่ 8-10 บาท/หน่วย

  • 3. สถานีชาร์จแบต รถไฟฟ้าการไฟฟ้านครหลวง

    หนึ่งในที่ชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้า ใกล้ฉันที่ได้รับการค้นหามากที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งเปิดให้บริการครอบคลุมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, สมุทรปราการ โดยมีให้เลือกใช้บริการรถไฟฟ้าชาร์จแบตทั้งแบบ AC และ DC มีค่าบริการชาร์จรถไฟฟ้า อยู่ที่ 7.5 บาท/หน่วย

  • 4. สถานีรถไฟฟ้าชาร์จแบต EA Anywhere

    EA Anywhere ผู้ให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด และยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ จุดให้บริการที่ชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้า ใกล้ฉันส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร หาอยากเข้าใช้บริการสามารถค้นหาจุดชาร์จแบตรถไฟฟ้าจากแอปพลิเคชันได้ทันที โดยมีการคิดค่าชาร์จรถไฟฟ้าตามห้างและทั่วไปดังนี้

    • อัตราค่าบริการชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้าแบบ DC เริ่มต้นที่ 6.76 บาท
    • อัตราค่าบริการรถไฟฟ้าชาร์จแบตแบบ AC 1 ชั่วโมง ราคา ค่าชาร์จรถไฟฟ้าอยู่ที่ 80 บาท, 2 ชั่วโมงคิดค่าบริการชาร์จรถไฟฟ้าอยู่ที่ 150 บาท, 3 ชั่วโมงคิดค่าไฟชาร์จรถไฟฟ้าอยู่ที่ 220 บาท และ 4 ชั่วโมง ชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้า ราคา 320 บาท
  • 5. สถานีชาร์จแบต รถไฟฟ้าสำนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

    สำนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ EGAT เปิดให้บริการบริเวณสถานีบริการน้ำมัน PT และพื้นที่ของ กฝผ. โดยตู้ชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้าทั้งแบบ AC และ DC ในส่วนของอัตรา ค่าบริการชาร์จรถไฟฟ้ามีดังนี้

    สถานีชาร์จรถไฟฟ้า ค่าบริการในพื้นที่สถานีบริการน้ำมัน PT
    • ตู้ชาร์จ DC ขนาด 120kW คิดค่าชาร์จไฟรถไฟฟ้า 7.5 บาท/หน่วย
    • ตู้ชาร์จ AC ขนาด 22 kW คิดค่าบริการชาร์จรถไฟฟ้า 7.5 บาท/หน่วย
    ชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้า ราคาภายในพื้นที่ กฟผ. ทุกสาขา
    • สถานีชาร์จแบต รถไฟฟ้าแบบ DC อัตราค่าชาร์จรถไฟฟ้า 5.5 บาท/หน่วย
    • สถานีชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้าแบบ AC ค่าไฟชาร์จรถไฟฟ้า 6.5 บาท/หน่วย

ชาร์จแบตรถไฟฟ้าแบบ AC กับ DC ต่างกันยังไง ?

การชาร์จแบตรถไฟฟ้าในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบธรรมดา (AC) และแบบชาร์จเร็ว (DC) ซึ่งทั้งสองมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ดังนี้

  • AC Charger เป็นวิธีการชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้าด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ ไม่มีขั้วบวกหรือลบ โดยระบบระับไฟฟ้าจากตัว Wallbox เข้าสู่ On Board Charger ในตัวรถ แล้วแปลงระบบไฟฟ้าเป็นกระแสตรงหรือ DC เข้าสู่แบตเตอรี่รถยนต์ ส่วนใหญ่จะใช้ประมาณ 4-16 ชั่วโมง
  • DC Charger เป็นการชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้าด้วยไฟฟ้ากระแสตรง ที่สามารถนำกระไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่าน On Board Charger ซึ่งในปัจจุบันมีขนาดเครื่องชาร์จที่หลากหลาย เลือกใช้งานได้หลายรูปแบบ หากเป็นการชาร์จตามที่ชาร์จแบตรถไฟฟ้า ใกล้ฉัน บอกไว้ก่อนเลยว่าราคาค่าชาร์จรถไฟฟ้าจะสูงกว่าการชาร์จแบบ AC

สิ่งใหม่บนถนนเมืองไทย และคนไทยหลังจากใช้รถน้ำมันมาอย่างยาวนาน “รถยนต์ไฟฟ้า” อาจยังไม่คุ้นชินสำหรับหลายคนที่ใช้รถในตอนนี้จนดูเหมือนเป็นปัญหา แต่ไม่นานหลายๆ บริบทของจะถูกแก้ไขตามเวลาประกอบกับความเข้าใจของผู้คนมากขึ้น เพราะรถ EV การดูแลเอาใส่ใจก็ไม่ต่างจากรถยนต์สันดาปทั่วไป โดยเฉพาะในเรื่องของการชาร์จแบตรถไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นการเลือกที่ชาร์จแบตรถไฟฟ้า ใกล้ฉัน การคำนวณค่าชาร์จแบตรถยนต์ไฟฟ้าก่อนใช้บริการ เพื่อวางแผนการเงินในระยะยาว รวมถึงการติดตั้งที่ชาร์จแบตรถไฟฟ้า ที่ควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างถี่ถ้วน เพื่อความปลอดภัยของคุณและคนที่คุณรัก

คำจำกัดความ
ค่าไฟอัตรา TOU หรือ Time of Use Tariff คือ อัตราค่าไฟฟ้า ที่คิดตามช่วงเวลาการใช้งานของผู้ใช้ไฟฟ้า
ลูกเซอร์กิต เบรกเกอร์ขนาดเล็กที่นิยมติดตั้งเพื่อใช้งานในที่พักอาศัย และอาคารที่มีกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 100 A มีขนาดตั้งแต่ 1, 2, 3 และ 4 Polr ใช้ได้กับระบบไฟฟ้า 1 และ 3 เฟส

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่