ขับรถลุยน้ำมีสิทธิ์ติดคุก ! ยิ่งช่วงหน้าฝนแบบนี้ ฝนตกบ่อย มีน้ำท่วมขังบนถนนสูง คงหลีกเลี่ยงการขับรถลุยน้ำแทบไม่ได้ หากการขับรถของคุณสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น เนื่องจากน้ำที่เหยียบกระเด็นใส่ผู้คนและทรัพย์สินเสียหาย แบบนี้จะมีความผิดตามกฎหมายจราจรไหม ? และจะต้องขับรถยังไงให้ไม่มีความผิด ? MrKumka ลิสต์ประเด็นที่น่าสนใจมาให้พร้อมกับการดูแลรถหลังจากขับรถลุยน้ำท่วม และเรื่องของการเคลมประกัน ครบทุกมิติสำหรับคนใช้รถ ตามไปดูกันเลย
เทคนิคการขับรถลุยน้ำให้ปลอดภัยเครื่องไม่ดับ มีอะไรบ้าง ?
เข้าหน้าฝนทีไรคนรักรถต้องกุมขมับไปตาม ๆ กัน เนื่องจากฝนตกหนัก น้ำท่วม ระบายน้ำไม่ทัน จนต้องขับรถลุยน้ำแทบทุกวัน นอกจากอาจทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหายแล้ว ยังอาจทำให้อุบัติเหตุบนท้องถนนได้อีกด้วย แต่ไม่ต้องกังวลเพราะเรามีทริคขับขี่ปลอดภัยมาให้ทำความเข้าใจเพิ่มเติมแล้ว ไปดูกันเลย
สังเกตระดับความลึกของน้ำ
หากขับรถไปแล้วสังเกตเห็นว่าถนนเริ่มมีน้ำท่วมขัง ก่อนจะขับรถลุยน้ำแนะนำให้สังเกตความลึกของระดับน้ำให้ดีก่อน ซึ่งระดับที่ปลอดภัยต้องไม่เกิน 30 เซนติเมตร สังเกตได้จากระดับความสูงของน้ำกับฟุตบาทข้างถนน เพราะฟุตบาทจะมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 10-20 เซนติเมตร
กรณีที่น้ำท่วมเลยระดับความสูงของฟุตบาท แนะนำให้เลี่ยงการขับรถผ่านเส้นทางนั้นจะดีกว่า หรือถ้าหากน้ำท่วมประมาณครึ่งล้อยังสามารถขับรถลุยต่อได้ แต่ถ้าท่วมถึงระดับขอบประตู ก็ควรหลีกเลี่ยงการขับรถลุยน้ำเช่นเดียวกัน เพราะมีโอกาสที่น้ำจะเข้าห้องโดยสารและทำให้ระบบไฟช็อต รวมถึงเครื่องอาจดับได้
เลือกเลนขับเวลาเจอน้ำท่วม
กรณีที่หลีกเลี่ยงการขับรถลุยน้ำไม่ได้จริง ๆ แนะนำให้หลีกเลี่ยงเลยที่น้ำท่วมสูง ด้วยการเบี่ยงรถเข้าหาเลนที่มีระดับน้ำต่ำ เพื่อลดความเสี่ยงน้ำเข้าเครื่องยนต์ได้มากกว่า
ชะลอความเร็วก่อนถึงจุดน้ำท่วม
หากจำเป็นต้องขับรถผ่านเส้นทางที่มีน้ำท่วมขัง ให้ชะลอความเร็วลง เพราะการขับรถด้วยความเร็วสูงอาจเสียการทรงตัวได้ แนะนำให้ใช้ความเร็วต่ำที่สุดและสม่ำเสมอ เลี้ยงรอบให้นิ่งที่สุดประมาณ 1,500-2,000 รอบต่อนาที สำหรับเกียร์ธรรมดาควรใช้ประมาณเกียร์ 2 ส่วนเกียร์ออโต้ควรใช้เกียร์ L
รักษาระยะเบรกให้มากกว่าเดิม 2-3 เท่า
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการขับรถในสถานที่ที่น้ำท่วม ประสิทธิภาพของผ้าเบรกจะลดลง ทำให้เบรกไม่ค่อยอยู่ ดังนั้นเพื่อการขับขี่ปลอดภัยควรรักษาระยะห่างระหว่างรถคันอื่น ๆ ให้มากกว่าเดิมประมาณ 2-3 เท่า
ปิดแอร์เมื่อเจอน้ำท่วม
การปิดแอร์รถยนต์จะช่วยลดระดับน้ำที่กระจายเข้าห้องเครื่องได้มากกว่าครึ่ง เนื่องจากพัดลมแอร์จะพัดน้ำเข้าไปในเครื่อง ทำให้มีโอกาสเครื่องน็อกได้ นอกจากนี้ยังควรระวังขยะที่ลอยมากับน้ำไปติดมอเตอร์พัดลม ที่อาจทำให้ระบบระบายความร้อนในเครื่องยนต์พังได้เช่นกัน
จากเทคนิคการขับรถที่เรานำมาบอกต่อ จะช่วยเสริมในเรื่องของการขับขี่ปลอดภัยได้แล้ว ยังช่วยพาให้ผู้ขับขี่ห่างไกลจากความผิดตามกฎหมายจราจรอีกด้วย เพราะรู้หรือไม่ว่า! การขับรถลุยน้ำเร็วๆ จนสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นนั้น “มีโทษทางกฎหมาย” ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเสียค่าปรับและจำคุก ซึ่งจะมีรายละเอียดเป็นยังไงบ้าง ตามเราไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้นกว่าเดิมกันเลย
รู้หรือไม่ ขับรถลุยน้ำ เสี่ยงผิดกฎหมายจราจรด้วย ?
หลายคนไม่รู้ว่าขับรถลุยน้ำนั้นเสี่ยงทำผิดกฎหมาย ถ้าขับปกติคงไม่เป็นไร แต่ถ้าขับรถเหยียบน้ำจนกระเด็นใส่ผู้อื่น “ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน” นี่เป็นเรื่องได้ เพราะแสดงถึงการขับรถที่ไม่คำนึงถึงการขับขี่ปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 “ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000 ถึง 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
มากไปกว่านั้นโทษยิ่งหนันขึ้นไปอีกหากมีทรัพย์สินเสียหาย อันเนื่องมาจากขับรถลุยน้ำจนกระเด็นใส่ทรัพย์สินผู้อื่น ผู้ขับขี่จะเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามมาตรา 258 “ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
เมื่อถูกน้ำกระเด็นใส่จากการขับรถลุยน้ำด้วยความไม่ระวัง ทำยังไงได้บ้าง ?
ในกรณีที่คุณเป็น “ผู้เสียหาย” ถูกน้ำกระเด็นใส่ สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากเจ้าของรถได้ และในกรณีที่ทรัพย์สินได้รับความเสียหายจากพฤติกรรมการขับรถดังกล่าว ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 ระบุว่า “ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติกรรมและความร้ายแรงแห่งการละเมิด”
ซึ่งเมื่อต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์น้ำกระเด็นใส่ เนื่องจากผู้อื่นขับรถลุยน้ำโดยไม่ระมัดระวัง แนะนำให้ทำตามขั้นตอนดังนี้
- จดและจำทะเบียนคันก่อเหตุไว้
- ถ่ายภาพได้ ทั้งภาพนิ่งและวิดีโอ
- นำหลักฐานเข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจที่ใกล้ที่สุดทันที
นอกจากจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องกฎหมายจราจรเมื่อต้องขับรถลุยน้ำแล้ว การให้ความสำคัญในเรื่องของ “ประกันภัยรถยนต์” ก็จำเป็นมาก ๆ เช่นเดียวกัน เพราะเหตุการณ์น้ำท่วมอาจทำให้เครื่องยนต์ได้รับความเสียหาย ยิ่งถ้าหากโดนค่าปรับหรือโทษอื่น ๆ ประกันรถยนต์จะเข้ามาคุ้มครองในส่วนนี้อย่างครอบคลุม หากไม่รู้ว่าจะเลือกซื้อประกันกับที่ไหน เข้ามาเช็คเบี้ยประกันภัยรถยนต์ กับ MrKumka ก่อนได้ เพราะเรามีแผนประกันให้เลือกหลากหลาย เบี้ยประกันสบายกระเป๋า แถมยังให้ความคุ้มครองจัดเต็ม!
หลังจากขับรถลุยน้ำมา ควรดูแลรักษารถอย่างไร ?
เมื่อรถของคุณพึ่งได้ผ่านสมรภูมิลุยน้ำ เผชิญหน้ากับสถานการณ์ขับรถลุยน้ำมีน้ำท่วมขังสูง นอกจากเพิ่มความระมัดระวังขับขี่ปลอดภัย ณ สถานการณ์ตอนนั้น เรื่องการดูแลรถยนต์ภายหลังขับรถลุยน้ำก็มีความสำคัญที่เจ้าของรถทุกคนต้องดูแล จะมีวิธีดูแลยังไงบ้าง ? ตามไปดูพร้อม ๆ กัน
1. หาที่จอดเพื่อตรวจเช็คสภาพรถ
เมื่อขับรถมายังจุดที่ปลอดภัยแล้ว ให้รีบตรวจเช็คสภาพรถทันที ด้วยการจอดรถทิ้งไว้สักพักแล้วค่อยดับเครื่องยนต์เพื่อไล่ความชื้นในห้องเครื่อง และหม้อพักไอเสียให้หมดก่อน ไม่อย่างนั้นเครื่องยนต์อาจมีปัญหาได้
ในระหว่างนี้หากพบควันออกมาจากท่อไอเสีย ไม่ต้องตกใจ เนื่องจากเป็นไอจากน้ำที่ระเหยออกมา ซึ่งไอดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อตัวรถ จากนั้นให้เช็กห้องโดยสาร แผ่นยางรองพื้นหรือพรมปูพื้น หากพบว่ามีน้ำท่วมขังให้รีบเคลียร์น้ำออกและเป่าให้แห้ง พร้อมกับเปิดประตูรถทั้งหมดเพื่อไร้ความชื้นออกจากห้องโดยสาร
2. รีบล้างรถทันที
ทำความสะอาดรถด้วยการใช้น้ำผสมแชมพูฉีดล้างตัวถังภายนอก ในส่วนของของคราบน้ำที่เกาะตามสีรถ ชายบันได และใต้ท้องรถ เพื่อล้างเศษโคลนหรือคราบสกปรกออก
3. เบรครถย้ำ
กรณีที่ขับรถบริเวณที่น้ำท่วมเป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้จานเบรกเป็นสนิมและผ้าเบรกชื้นได้ หากขับไปยังจุดที่ปลอดภัยแล้วให้ขับเลียเบรกช้า ๆ ด้วยการแตะเบรกเบา ๆ ค้างประมาณ 100-200 เมตร เพื่อไล่ความชื้นออกจากผ้าเบรกและขัดสนิมออกจากจานเบรก กรณีที่เป็นเกียร์ธรรมดาควรย้ำคลัทช์เพื่อป้องกันคลัทช์ลื่นด้วย
หากน้ำท่วมรถ เคลมประกันได้ไหม ?
หนึ่งในประเด็นที่หลายคนสงสัยเป็นอันดับต้น ๆ คือ หากขับรถลุยน้ำหรือน้ำท่วมรถ สามารถเคลมประกันได้หรือไม่ ซึ่งต้องบอกก่อนว่าความเสียหายจากน้ำท่วมรถมีหลายรูปแบบ และบริษัทประกันก็ให้ความคุ้มครองแตกต่างกันออกไป โดยแบ่งออกเป็น 3 กรณีหลัก ๆ ดังนี้
1. น้ำท่วมจากภัยพิบัติธรรมชาติ
กรณีนี้เกิดจากการที่เจ้าของรถ/ผู้เอาประกันจอดรถเอาไว้ แล้วเกิดเหตุการณ์ “น้ำหลาก” เคลื่อนย้ายรถหนีไม่ทัน จนรถยนต์ถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหายบางส่วน ส่วนนี้บริษัทประกันจะรับเคลม แต่ถ้าหากรถยนต์ได้รับความเสียหายโดยสิ้นเชิง และบริษัทประเมินแล้วว่าไม่คุ้มที่จะซ่อม บริษัทฯ จะจ่ายเป็นเงินชดเชย 70-80% ของทุนประกันแทน
2. ขับรถลุยน้ำท่วม
ในกรณีที่ภาครัฐประกาศแจ้งเตือนแล้วว่าเส้นทางไหนบ้างที่น้ำท่วมขัง แล้วผู้เอาประกันยังรั้นขับเข้าไปจนทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหาย ในกรณีนี้ถือว่าไม่คำนึงถึงการขับขี่ปลอดภัย หรือเกิดจากความตั้งใจและความประมาทของผู้เอาประกันเอง แบบนี้บริษัทประกันจะไม่รับเคลม
3. รถติดขณะฝนตกหนัก และเกิดน้ำท่วม
เมื่อขับรถออกไปข้างนอกแล้วอยู่ ๆ เกิดฝนตกหนัก จนเกิดน้ำท่วมในระดับที่ทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหาย ในกรณีนี้ก็สามารถแจ้งเคลมประกันได้เช่นกัน
ทั้งหมดนี้คือข้อมูลสำคัญที่ผู้ขับขี่ควรรู้เอาไว้ เมื่อต้องขับรถลุยน้ำในช่วงหน้าฝน ที่มักเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมอยู่บ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการขับรถ เพื่อการขับขี่ปลอดภัย และความผิดตามกฎหมายจราจร เพื่อลด “ความเสี่ยง” ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมาในอนาคต
คำจำกัดความ
น้ำหลาก | น้ำที่ท่วมอย่างฉับพลัน หรือน้ำที่ไหลบ่าลงแม่น้ำลำคลองอย่างรวดเร็ว |
เสียหายสิ้นเชิง | รถยนต์ได้รับความเสียหายหนัก บริษัทกันประเมินแล้วว่าไม่สามารถซ่อมให้อยู่ในสภาพเดิมได้ (เสียหาย 70% ขึ้นไปของมูลค่ารถยนต์) |
ภัยพิบัติธรรมชาติ | เหตุการณ์ทางธรรมชาติที่สร้างความเสียหายรุนแรงแก่รถยนต์ อาทิ แผ่นดินไหว น้ำท่วม พายุไต้ฝุ่น สึนามิ ลูกเห็บ และไฟป่า กรมธรรม์ประกันรถยนต์บางประเภทอาจครอบคลุมค่าเสียหายจากเหตุการณ์เหล่านี้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์ |