ลืมเตรียมเงินค่าทางด่วน สแกนจ่ายได้ไหม หรือต้องถอยลูกเดียว ?

แชร์ต่อ
ลืมเตรียมเงินค่าทางด่วน สแกนจ่ายได้ไหม หรือต้องถอยลูกเดียว ? | มิสเตอร์ คุ้มค่า

เหตุฉุกเฉินต้องขึ้นทางด่วนแต่ลืมพกเงินสดไว้จ่ายค่าทางด่วน หรือเตรียมเงินไว้แล้วแต่ไม่พอ แบบนี้จะเอาตัวรอดยังไง หรือมีวิธีจ่ายค่าทางด่วนอื่น ๆ อีกไหม ? หรือการถอยลงทางด่วนคือคำตอบสุดท้ายสำหรับปัญหานี้ หากคุณยังไม่รู้คำตอบ มิสเตอร์ คุ้มค่า ได้ลิสต์ประเด็นที่น่าสนใจมาให้แล้ว ตามไปดูพร้อม ๆ กันได้เลยในบทความนี้

ทางด่วนในประเทศไทยมีกี่แบบ อะไรบ้าง ?

ทางด่วนในประเทศไทยมีกี่แบบ อะไรบ้าง ? | มิสเตอร์ คุ้มค่า

คงมีหลายคนที่สงสัยอยู่ไม่น้อย ว่าทางด่วนในประเทศไทยมีกี่ประเภท เพราะเคยได้ยินมาทั้งทางด่วนศรีรัช, มอเตอร์เวย์, โทลล์เวย์ จริง ๆ แล้วคือทางด่วนทั้งหมด แต่มีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • 1. ทางพิเศษ (Expressway)

    ทางพิเศษ (Expressway) อยู่ภายใต้การดูแลของ “การทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือ กทพ.” ซึ่งในปัจจุบันมีทั้งหมด 8 สาย ได้แก่

    • ทางด่วนเฉลิมมหานคร หรือทางด่วนขั้นที่ 1 (ดินแดง-ท่าเรือ, บางนา-ท่าเรือ และดาวคะนอง-ท่าเรือ)
    • ทางด่วนศรีรัช หรือทางด่วนขั้นที่ 2 (บางโคล่-แจ้งวัฒนะ และพญาไท-ศรีนครินทร์)
    • ทางด่วนฉลองรัช (จตุโชติ-รามอินทรา-อาจณรงค์)
    • ทางด่วนบูรพาวิถี (บางนา-ชลบุรี)
    • ทางด่วนอุดรรัถยา (แจ้งวัฒนะ-บางปะอิน)
    • ทางพิเศษสาย S1 (อาจณรงค์-บางนา)
    • ทางด่วนกาญจนาภิเษก วงแหวนรอบนอกด้านใต้ (บางพลี-พระราม 2)
    • ทางพิเศษสายศรีรัช–วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ (ทางด่วนสายศรีรัช-วงแหวน และทางด่วนหมอชิต-วงแหวน)
  • 2. โทลล์เวย์ (Tollway)

    อยู่ภายใต้การดูแลของ “บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)” ด้วยความที่เป็นหน่วยงานเอกชน จึงทำให้มีราคาสูงกว่าทางด่วนพิเศษ โดยโทลล์เวย์มีระยะทางทั้งหมด 28 กิโลเมตร มีเส้นทางเดียว แต่มี 2 ช่วง คือ ดินแดง-ดอนเมือง และอนุสรณ์สถาน-รังสิต

  • 3. ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway)

    อยู่ภายใต้การดูแลของ “กรมทางหลวง หรือ ทล.” เป็นทางด่วนระหว่างเมืองหรือจังหวัดติดต่อกัน ได้รับความนิยมมาก ๆ ในช่วงเทศกาลหยุดยาว ปัจจุบันมีทั้งหมด 2 สาย ดังนี้

    • ทางด่วนพิเศษหมายเลข 7 (มอเตอร์เวย์-กรุงเทพ-ชลบุรี-พัทยา)
    • ทางด่วนพิเศษหมายเลข 9 ถนนกาญจนาภิเษก (วงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก)
  • นอกจากนี้ยังมี “ทางหลวงแผ่นดิน (Hightway)” ที่หลายคนมักคิดว่าคือทางด่วน แต่ในความเป็นจริงแล้วมันคือ “เส้นทางที่เชื่อมต่อแต่ละภูมิภาคเข้าด้วยกัน” โดยแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ทางหลวงพิเศษ, ทางหลวงแผ่นดิน, ทางหลวงชนบท, ทางหลวงท้องถิ่น และทางหลวงสัมปทาน รวมแล้วมีทั้งหมด 4 สาย ดังนี้

    1. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน กรุงเทพฯ-แม่สาย (เขตแดน)
    2. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ถนนมิตรภาพ สระบุรี-หนองคาย (เขตแดน)
    3. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 ถนนสุขุมวิท กรุงเทพฯ-ตราด
    4. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม

ขับรถบนทางด่วนยังไงให้ปลอดภัย ห่างไกลจากอุบัติเหตุ ?

ด้วยความที่บนทางด่วนมีสภาพการจราจรที่คล่องตัว ทำให้รถแทบทุกคันใช้ความเร็วค่อนข้างสูง หากไม่อยากพบเจอกับอุบัติเหตุบนท้องถนน มิสเตอร์ คุ้มค่า ลิสต์วิธีขับรถบนทางด่วนให้ปลอดภัยมาให้แล้ว ไปดูกันเลย

  • 1. ความเร็วในการขับขี่

    แต่ละด่านจะมีข้อกำหนดในเรื่อง “ความเร็ว” แตกต่างกันออกไป แนะนำให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ดังนี้

    • ทางด่วนขั้นที่ 1 และ 2 กฎหมายระบุไว้ที่ 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่อนุโลมให้ถึง 110 กิโลเมตร/ชั่วโมง
    • ทางยกระดับ บูรพาวิถี วงแหวนกาญจนาภิเษก กฎหมายระบุไว้ที่ 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่อนุโลมให้ถึง 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง
    • ทางหลวงพิเศษ (มอเตอร์เวย์ ไปชลบุรี) กฎหมายอนุญาตให้ถึง 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง

    กรณีใช้ความเร็วเกิดที่กฎหมายกำหนด จะมี “กล้องจับความเร็ว” อยู่ตามจุดต่าง ๆ ซึ่งอัตราโทษของการขับรถเร็วเกินกำหนด มีค่าปรับอยู่ที่ 1,000 บาท

  • 2. การรักษาระยะห่างจากรถคันด้านหน้า

    ยิ่งการจราจรคล่องตัวมากเท่าไหร่ ควรเว้นระยะห่างจากรถคันด้านหน้ามากเท่านั้น เพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ ล้วนเกิดจากการขับขี่ชิดกับคันหน้ามากเกินไป ยิ่งในวันที่ฝนตก ถนนเปียก ควรเว้นระยะห่างมากกว่าเดิม 2 เท่า เนื่องจากรถยนต์ต้องการ “ระยะเบรก” บนถนนมากกว่าปกติ

  • 3. ไม่ควรขับบนไหล่ทาง

    ไหล่ทางมีไว้เพื่อ “หยุดรถชั่วคราว” เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือรถเสีย นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่สำหรับรถพยาบาล รถตำรวจ รถฉุกเฉิน ดังนั้นการขับรถบนไหล่ทางจะเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ ไม่ควรขับเด็ดขาดแม้ว่าวันนั้น ๆ สภาพการจราจรจะติดขัดมากเท่าไหร่ก็ตาม

ทั้งหมดนี้เป็นวิธีการขับขี่ที่ปลอดภัยบนทางด่วนเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ขึ้นชื่อว่าอุบัติเหตุ ย่อมมีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะบนทางด่วนศรีรัช ทางด่วนอื่น ๆ หรือแม้แต่สภาพการจราจรที่ดูเหมือนจะไม่มีอะไร แต่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ทั้งนั้น คงจะดีไม่ใช่น้อยหากคุณมี “ประกันภัยรถยนต์” ที่คุ้มครองอย่างครอบคลุม แวะเข้ามาเปรียบเทียบประกันรถยนต์กับ มิสเตอร์ คุ้มค่า ได้แล้ววันนี้ เรายินดีนำเสนอแผนประกันที่ใช่ ราคาที่ชอบให้คุณก่อนใคร

Easy Pass ต่างจาก m flow ทางด่วนยังไง ?

อยากให้ทำความเข้าใจก่อนว่าทางด่วน m flow จริง ๆ แล้วคือ “ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัจฉริยะบนมอเตอร์เวย์” เป็นด่านจ่ายค่าทางด่วน m flowแบบไม่มีไม้กั้น ไม่ต้องต่อแถวชำระค่าทางด่วน เนื่องจากใช้ระบบ AI ในการตรวจจับป้ายทะเบียนอัตโนมัติ ด้วยเทคโนโลยี Video tolling เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติด ขัดบนมอเตอร์เวย์

นอกจากนี้ทางด่วน m flow ยังรองรับรถยนต์ทุกประเภท รถทุกคันสามารถผ่านทางไปก่อน แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นค่าทางด่วนฟรีอย่างที่เข้าใจ แต่เป็นการ “จ่ายค่าทางด่วนย้อนหลัง” สามารถเลือกชำระผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก แถมยังเลือกได้อีกว่าต้องการชำระเป็นรายครั้ง หรือชำระตามรอบบิล ปัจจุบันมีทั้งหมด 9 จุด ได้แก่

บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9
  • – ด่านธัญบุรี 1 (กม.25+800)
  • – ด่านธัญบุรี 2 (กม.26+900)
  • – จุดพักรถทับช้าง 1 (กม.49+200)
  • – ด่านทับช้าง 2 (กม.49+035)
บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7
  • สถานที่บริการทางหลวงบางปะกง 1 (Service Area) (กม.49+300)
  • สถานที่บริการทางหลวงบางปะกง 2 (Service Area) (กม.49+300)
  • อาคารศูนย์ควบคุมจราจรกลางพัทยา (CCB พัทยา) (กม.2+700 ตอนทางต่างระดับมาบประชัน-พัทยา)
  • อาคารชัยสวัสดิ์ กิตติพรไพบูลย์ (CCB ลาดกระบัง) ไม่มีติดตั้ง RFID

เปิดให้บริการวันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08.30 น. - 18.30 น. / วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30 น. - 17.30 น.

ซึ่งแตกต่างจาก Easy Pass อย่างสิ้นเชิง เนื่องจาก Easy Pass มีระบบไม้กั้นที่ช่องทางเก็บค่าทางด่วน ทำให้ต้องชะลอความเร็วหรือจอด และถอยหลังหากไม่กั้นไม่เปิด รับรองรับเฉพาะรถยนต์ 4 ล้อ ปัจจุบันจ่ายค่าทางด่วนได้รูปแบบเดียว ด้วยการเติมเงินก่อนล่วงหน้า

ไม่มีเงินสดจ่ายค่าทางด่วน ทำยังไงได้บ้าง ?

ในกรณีที่คุณขับรถขึ้นทางด่วนไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทางด่วนศรีรัช, m flow ทางด่วน, มอเตอร์เวย์ หรือใด ๆ ก็ตามแล้วปรากฏว่าไม่ได้เตรียมเงินสด หรือเตรียมแล้วแต่ไม่พอจ่ายค่าทางด่วน การถอยลงทางด่วนไม่ใช่คำตอบที่ดี แถมยังทำให้เกิดอันตรายได้อีกด้วย เพียงทำตามวิธีที่ มิสเตอร์ คุ้มค่า นำมาบอกต่อ สามารถผ่านไปได้สบาย ๆ แต่จะต้องทำยังไง ตามไปดูกันเลย

  • 1. แจ้งเจ้าหน้าที่ที่ด่านเก็บเงิน

    เมื่อคุณไม่ได้เตรียมเงินสดสำหรับจ่ายค่าทางด่วน เพียงแจ้งเจ้าหน้าที่ที่ด่านเก็บเงิน ทางเจ้าหน้าที่จะทำการบันทึกข้อมูลรถ เช่น ทะเบียนรถ สี ยี่ห้อ รุ่น และเวลาขึ้นทางด่วน เพื่อให้คุณชำระค่าทางด่วนย้อนหลังที่ด่านเดิม ภายใน 7 วัน (นับจากวันที่ไม่ได้ชำระ) โดยไม่มีค่าปรับหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติม

  • 2. ชำระผ่านแอปพลิเคชัน

    สำหรับคนที่ใช้ทางด่วน m flow, Easy Pass หรือ Tollway Plus สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน และกรอกข้อมูลทะเบียนรถของคุณ จากนั้นแจ้งเจ้าหน้าที่ที่ด่านเก็บเงินว่า “ต้องการจ่ายค่าทางด่วนออนไลน์หรือจ่ายผ่านแอป” โดยสามารถชำระย้อนหลังได้ 7 วัน (หลังจากใช้บริการ) เช่นเดียวกัน

  • 3. ชำระที่จุดบริการ

    ทางด่วนบางด่านจะมีจุดบริการสำหรับชำระค่าผ่านทางย้อนหลัง คุณสามารถขับรถไปจุดบริการ และแจ้งเจ้าหน้าที่ได้ว่าชำระค่าผ่านทางย้อนหลัง

คนที่กำลังสงสัยว่าสแกนจ่ายได้ไหม ? ปัจจุบันยังไม่สามารถทำได้ เว้นแต่ต้องการจ่ายผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต แต่จะเปิดให้จ่ายค่าทางด่วนผ่านช่องทางดังกล่าว เพียงแค่ 5 ด่าน คือ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1), ทางด่วนศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2), ทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ, ทางพิเศษอุดรรัถยา (บางปะอิน-ปากเกร็ด), ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (วงแหวนใต้)

จะเกิดอะไรขึ้น หากเกิน 7 วันแล้วยังไม่จ่ายค่าทางด่วน

ในกรณีที่คุณลืม หรือจงใจไม่จ่ายค่าทางด่วนภายใน 7 วันตามที่กำหนด จะมีจดหมายแจ้งเตือนให้ชำระส่งไปที่บ้าน โดยจะต้องนำจดหมายดังกล่าวไปชำระค่าผ่านทางภายใน 30 วัน หรือตามที่ระบุเอาไว้ในจดหมาย แต่ถ้าหากยังไม่จ่ายค่าทางด่วน จะมีแบ่งออกเป็น 3 กรณี ดังนี้

  1. หากค้างจ่ายค่าทางด่วนในความดูแลของ “การทางพิเศษแห่งประเทศไทย​ (EXAT)” จะมีโทษปรับ 2,000 บาท ตาม พรบ.กรมทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ.2550 มาตรา 63 ฐานหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าผ่านทาง
  2. หากค้างจ่ายค่าทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหรือค้างจ่าย m pass ทางด่วน (มอเตอร์เวย์) ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกรมทางหลวง จะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10 เท่าของค่าผ่านทาง ตาม พรบ.กำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนต์บนทางหลวง และสะพาน 2497 มาตรา 7
  3. หากค้างชำระทางด่วนสัมปทาน ดอนเมืองโทลล์เวย์ จะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10 เท่าของค่าทางด่วน ตาม พรบ.ทางหลวงสัมปทาน 2542 มาตรา 33

แม้ว่าทางด่วนศรีรัช, m flow ทางด่วน, มอเตอร์เวย์ หรือทางด่วนไหน ๆ จะอนุโลมให้คุณ “จ่ายค่าทางด่วนย้อนหลัง” ได้ ใช่ว่าจะปล่อยปละละเลย คิดเองว่าเป็นค่าทางด่วนฟรีเด็ดขาด เพราะไม่อย่างนั้นจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย กรณีที่ไม่มีหรือลืมจริง ๆ ไม่ต้องถอยรถลงทางด่วน เพียงแค่แจ้งข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ที่ด่านเก็บเงิน และจ่ายภายในระยะเวลาที่กำหนด จะไม่ต้องพบเจอกับความเสี่ยงใด ๆ แล้ว

คำจำกัดความ
​​ทางหลวงสัมปทาน ​ทางที่รัฐให้สัมปทานแก่บุคคลใด ๆ ในการสร้างหรือบำรุง รักษา โดยเก็บค่าใช้ทาง ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้ หรือเหนือพื้นดิน หรือใต้ หรือเหนืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น
​อนุโลม ​ใช้แทนกันได้ตามความเหมาะสม, คล้อยตาม, นำมาใช้โดยอาศัยหลักการอย่างเดียวกัน แต่ให้แก้ไขในรายละเอียดได้ตามควรแก่กรณี
​ความดูแล ​ความควบคุม, การปกครอง, การควบคุมดูแล​

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่