หัวข้อที่น่าสนใจ
- 3 ท่าจับพวงมาลัยที่ถูกต้อง จับยังไงให้ห่างไกลอุบัติเหตุ
- 1. จับพวงมาลัยด้วยมือทั้งสองข้าง
- 2. ระหว่างขับขี่ไม่ควรขับรถมือเดียวเด็ดขาด
- 3. ไม่กำพวงมาลัยแน่นจนเกินไป
- ปรับท่านั่งขับรถอย่างถูกวิธี เพิ่มความปลอดภัยได้ยังไงบ้าง ?
- 1. นั่งให้ชิดเต็มเบาะที่นั่ง
- 2. ปรับระยะห่างเบาะให้เหมาะสม
- 3. ปรับความสูงเบาะให้พอดี
- 4. ปรับพนักพิงให้เอนเล็กน้อย
- ปวดเมื่อยร่างกายเมื่อขับรถนาน บรรเทาอาการยังไงถึงจะดี ?
- ขับรถนานบ่อย ๆ เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง ?
- 1. กล้ามเนื้อคออักเสบ
- 2. หลอดเลือดดำอุดตัน
- 3. หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
- 4. ความเครียด
ขับรถใครก็ขับได้แต่คุณนั่งถูกท่าแล้วหรือยัง ? หรือจับการพวงมาลัยใช้งานได้อย่างปลอดภัยแล้วหรือไม่ ? เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่หลายคนมองข้าม อย่างท่านั่งขับรถและท่าจับพวงมาลัย ที่ถ้าหากนั่งหรือจับผิดบอกเลยชีวิตเปลี่ยนแน่! นอกจากจะทำให้ปวดเมื่อยเนื้อตัวแล้ว ยังอาจทำให้เกิดอันตรายบนท้องถนนได้ทุกเมื่ออีกด้วย แล้วท่าจับพวงมาลัยและท่านั่งขับรถยนต์ที่ถูกต้องต้องปรับยังไงกันล่ะ ? มิสเตอร์ คุ้มค่า รวบรวมข้อมูลมาให้เรียบร้อยแล้ว ไปดูกันเลยดีกว่า
3 ท่าจับพวงมาลัยที่ถูกต้อง จับยังไงให้ห่างไกลอุบัติเหตุ
การให้ความสำคัญในเรื่องท่าจับพวงมาลัยรถยนต์ที่ถูกต้อง ทะมัดทะแมง นั่งขับรถอย่างถูกวิธี เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ผู้ใช้รถใช้ถนนควรใส่ใจเช่นเดียวกัน เพราะจะช่วยลดอุบัติเหตุได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสามารถควบคุมพวงมาลัย เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้อย่างหวุดหวิด แต่จะต้องจับพวงมาลัยยังไง ? ไปดูกันเลย
1. จับพวงมาลัยด้วยมือทั้งสองข้าง
เมื่อเทียบกับหน้าปัดนาฬิกาแล้ว มือซ้ายควรอยู่ในตำแหน่ง 9 นาฬิกา และมือขวาอยู่ในตำแหน่ง 3 นาฬิกาเสมอ เนื่องจากเป็น “ตำแหน่ง” จับพวงมาลัยที่ดีที่สุด ช่วยให้ควบคุมรถได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วยเหตุผลที่ว่าท่าจับดังกล่าวอยู่ตรงกลางวงพวงมาลัยรถยนต์พอดิบพอดี แนะนำให้วางอุ้งนิ้วโป้งบนก้านพวงมาลัย พร้อมกับทิ้งน้ำหนักแขนลง หากปรับท่าจับพวงมาลัยได้อย่างถูกต้อง จะช่วยป้องกันไม่ให้พวงมาลัยสะบัดได้ดีมาก ๆ และยังช่วยเปิดไฟเลี้ยวได้สะดวกอีกด้วย
2. ระหว่างขับขี่ไม่ควรขับรถมือเดียวเด็ดขาด
ไม่ว่าคุณจะมีความชำนาญในการขับรถมากแค่ไหน ก็ไม่ควรขับรถด้วยมือข้างเดียวเด็ดขาด เพราะเมื่อเจอกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น ทางข้างหน้าเป็นหลุมเป็นบ่อ, มีเศษหินกระเด็นใส่ หรือมีสิ่งกีดขวางอยู่ด้านหน้า อาจทำให้รถเสียการควบคุมได้ง่าย
3. ไม่กำพวงมาลัยแน่นจนเกินไป
การกำพวงมาลัยแน่นเกินไปอาจทำให้ฝ่ามือเมื่อยล้า และเกิดอาการเกร็งระหว่างขับขี่ได้ แนะนำให้จับสบาย ๆ จะดีกว่า เว้นแต่ ณ ขณะนั้นใช้ความเร็วสูง หรือฝนตกหนัก แนะนำให้เพิ่มน้ำหนักในการจับพวงมาลัยมากกว่าปกติเล็กน้อย เพื่อความมั่นคงในการควบคุมพวงมาลัย รถยนต์
นอกจากนี้ยังควรฝึกทักษะในการหมุนพวงมาลัยจากตำแหน่งล้อตรง ด้วยการหมุนมาครึ่งรอบ โดยไม่ให้มือหลุดจากพวงมาลัยรถยนต์ แบบนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมรถได้ดีมาก ๆ เลยล่ะ
ทริคปฐมพยาบาลเมื่อข้อมือเคลื่อน จากท่าจับพวงมาลัยผิด ๆ
หากคุณ “รั้น” เลือกจับพวงมาลัยรถยนต์แบบผิด ๆ และเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ทำให้ “ข้อมือเคลื่อน” รู้สึกเจ็บ บวม ไม่สามารถเคลื่อนไหวบริเวณดังกล่าวได้ มิสเตอร์ คุ้มค่า มีทริคปฐมพยาบาลจากการจับพวงมาลัยผิด ๆ มาให้แล้ว
- ไม่ควรพยายามดึงหรือจัดกระดูกด้วยตัวเองเด็ดขาด
- หากมีความจำเป็นต้องถอดเสื้อผ้า แนะนำให้ตัดตามตะเข็บแทน
- หาวัสดุต่าง ๆ ที่หาได้ ณ ตอนนั้น มาทำการหนุนหรือประคองข้อมือเอาไว้ โดยจะต้องจัดให้ข้อมืออยู่นิ่ง ๆ ในท่าที่สบายที่สุด จากนั้นใช้ผ้าพยุงหรือดาม
- ประคบบริเวณที่บาดเจ็บด้วยผ้าหรือถึงใส่น้ำแข็ง
- หากไม่มีความรู้เรื่องการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างถูกวิธี แนะนำให้รอผู้ที่มีความเข้าใจจะดีกว่า ไม่อย่างนั้นอาจเกิดอันตรายอื่น ๆ รวมถึงอาจทำให้เกิดความพิการได้
แม้ว่าจะเรียนรู้การจับพวงมาลัยรถยนต์ที่ถูกต้องไปแล้ว แต่ก็ใช่ว่า “อุบัติเหตุ” จะไม่มีทางเกิดขึ้น ดังนั้นการมีประกันรถยนต์ออนไลน์ จะช่วยให้คุณรู้สึกอุ่นใจได้มากกว่า โดยเฉพาะเมื่อเปิดใจให้ มิสเตอร์ คุ้มค่า เคียงข้างทุก ๆ เส้นทาง นอกจากจะสามารถเช็คประกันรถยนต์ได้ก่อนใครแล้ว ยังปรับแผนความคุ้มครองได้อย่างอิสระ ในราคาสบายกระเป๋า
ปรับท่านั่งขับรถอย่างถูกวิธี เพิ่มความปลอดภัยได้ยังไงบ้าง ?
หากให้เลือกการปรับท่านั่งหรือเบาะที่นั่งบนรถยนต์ให้นั่งขับรถอย่างถูกวิธี แน่นอนว่าหลายคนคงเลือก “ความสบาย” เป็นหลัก ซึ่งมันอาจจะช่วยลดอาการปวดเมื่อยเนื้อตัวได้ก็จริง แต่ก็อาจมี “อันตราย” ตามมาเช่นกัน มิสเตอร์ คุ้มค่า จึงรวบรวม 4 ท่าขับรถมาให้ทำความเข้าใจ ดังนี้
1. นั่งให้ชิดเต็มเบาะที่นั่ง
ว่าด้วยการนั่งขับรถอย่างถูกวิธีง่าย ๆ แค่เริ่มจากการขยับแผ่นหลัง สะโพก และต้นขาให้ชิดกับเบาะที่นั่งมากที่สุด แบบนี้จะช่วยให้เบาะโอบรับสรีระได้ทุกส่วน นอกจากนี้ท่าขับรถนี้ยังช่วยลดอาการเมื่อยล้าได้เป็นอย่างดี แถมยังช่วยเพิ่มความมั่นคงในการขับขี่ มากกว่าการนั่งไม่เต็มเบาะเป็นไหน ๆ แม้ว่าหลายคนโดยเฉพาะคนตัวเล็ก ๆ จะสะดวกกับการนั่งท่านั่งผิด ๆ ก็ตาม
2. ปรับระยะห่างเบาะให้เหมาะสม
การปรับระยะห่างของเบาะที่นั่งอย่างเหมาะสมเพื่อท่านั่งขับรถยนต์ที่ถูกต้อง ต้องปรับระยะให้เข่ามีมุมงอเมื่อเหยียบเบรกจนสุด เพื่อให้สามารถเหยียบเบรกรวมถึงเหยียบคันเร่งได้เต็มที่ แถมการปรับเบาะระยะเบาะแบบนี้ ยังช่วยลดอาการบาดเจ็บได้ดีมาก ๆ อีกด้วย
3. ปรับความสูงเบาะให้พอดี
ด้วยความสูงที่แตกต่างกันออกไปของแต่ละคน ทำให้การปรับความสูงของเบาะต่างกัน แต่ท่าขับรถให้เหมาะสม ควรเหลือระยะห่างระหว่างศรีษะกับเพดานรถประมาณ 1 ฝ่ามือ เพื่อให้มีทัศนวิสัยการขับขี่ที่เหมาะสม
4. ปรับพนักพิงให้เอนเล็กน้อย
การนั่งหลังตรงขณะขับรถไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีเท่าไหร่นัก เพราะจะทำให้การควบคุมรถเป็นไปได้ยาก เนื่องจากจับพวงมาลัยไม่ถนัด แนะนำให้ปรับพนักพิงให้เอนเล็กน้อย ประมาณ 110 องศาจะดีกว่า
ปวดเมื่อยร่างกายเมื่อขับรถนาน บรรเทาอาการยังไงถึงจะดี ?
สำหรับคนที่กำลังมองหาวิธีแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย เมื่อต้องขับรถทางไกลเป็นเวลานาน มิสเตอร์ คุ้มค่า ลิสต์วิธีแก้ปวดเมื่อย กล้ามเนื้อขา และกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ มาให้เรียบร้อยแล้ว ไปดูกันเลย
- ให้หงายมือออกพร้อมวางแขนแนบลำตัว จากนั้นเกร็งข้อศอก ยกขึ้นให้ถึงหัวไหล่ และค่อย ๆ เอายกแขนขึ้น-ลงช้า ๆ ทำซ้ำท่าเดิมประมาณ 2 รอบ จะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้
- ยกแขนขวาให้ตั้งขนานกับพื้น ตั้งฉากกับลำตัว จากนั้นใช้มือซ้ายจับข้อศอกขวา ออกแรงผลักไปข้างหลัง ควรทำค้างและนับ 1-5 จากนั้นสลับทำแบบเดิมกับอีกข้าง ทำซ้ำกันไปเรื่อย ๆ ประมาณ 5 ครั้ง
- นั่งยืดตัวแล้วบีบไหล่ยกขึ้นไปถึงบริเวณหู ทำค้างไว้และนับถึง 2 ทำซ้ำแบบเดิมประมาณ 5 ครั้ง จะช่วยให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า
- นั่งยืดตัวตรงและเอามือจับที่เบาะรถ จากนั้นใช้มือซ้ายสอดเข้าไปใต้ขาขวา บิดตัวค้างไว้ประมาณ 1-5 วินาที ทำสลับไปมาประมาณ 5 ครั้ง
- เหยียดขาออกไปด้านหน้า ยกเท้าขึ้น และเหยียดปลายเท้าให้สุด จากนั้นกระดกปลายเท้าขึ้นลงประมาณ 5 ครั้ง ทำสลับข้างไปเรื่อย ๆ เพื่อบรรเทาอาการเมื่อยล้าที่เกิดจากการขับรถ
ขับรถนานบ่อย ๆ เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง ?
การขับรถระยะทางไกลเป็นเวลานานผ่านท่าขับรถที่ไม่ถูกต้องอาจเป็น “สาเหตุ” ที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา นอกเหนือจากอาการเมื่อยล้าได้เช่นกัน ซึ่งจะมีโรคอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลย!
1. กล้ามเนื้อคออักเสบ
มักมีอาการปวดและตึงบริเวณคอ ส่วนใหญ่พบในผู้ที่นั่งท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ นอกจากนี้ยังส่งผลเสียต่ออวัยวะอื่น ๆ เช่น ไหล่ หลัง และสะโพกได้อีกด้วย แนะนำให้หาเวลาพักหรือจอดรถเพื่อยืดเส้นยืดสายบ้าง
2. หลอดเลือดดำอุดตัน
หากต้องนั่งนิ่ง ๆ เป็นเวลานาน บอกเลยว่าเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดดำอุดตันมาก ๆ โดยโรคนี้น่ากลัวตรงที่ “เป็นอันตรายถึงชีวิต” แนะนำให้ขยับตัวเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถบ้าง
3. หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
หากรู้สึกว่าเริ่มมีอาการปวด เมื่อย หรือตึงบริเวณหลังบ่อย ๆ แล้วไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อาจทำให้โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทถามหาได้ โดยเฉพาะคนที่ขับรถทางไกลบ่อย ๆ ควรจอดรถแวะปั๊มน้ำมัน เพื่อให้กล้ามเนื้อได้ขยับและผ่อนคลายความตึงเครียดลงหน่อย
4. ความเครียด
การที่ต้องใช้ชีวิตอยู่บนรถนาน ๆ โดยเฉพาะช่วงที่รถติดหนัก แน่นอนว่าทำให้เกิดความเครียดได้ง่ายมาก โดย “ความเครียด” สามารถส่งผลเสียได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ดังนั้นหากไม่อยากให้ความเครียดมาระราน ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เตรียมอาหาร ยา และอื่น ๆ ที่จำเป็นติดรถไว้จะดีกว่า
เห็นแล้วใช่ไหมว่า? การปรับท่านั่งและท่าจับพวงมาลัยให้ถูกต้อง มีข้อดีเต็มไปหมด นอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงอุบัติเหตุได้แล้ว ยังช่วยลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายอาการปวดเมื่อยในอนาคต โดยเฉพาะโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากท่าขับรถ “นั่งผิดท่า” ดังนั้นก่อนเดินทางทุก ๆ ครั้งควรปรับทั้ง 2 ท่าให้เหมาะสม นั่งขับรถอย่างถูกวิธี เพื่อตัวของคุณและคนที่คุณรัก
คำจำกัดความ
ทะมัดทะแมง | กระฉับกระเฉง, คล่องแคล่ว, เอาจริงเอาจัง, รัดกุม |
หวุดหวิด | จวนเจียน, เกือบ, ฉิวเฉียด |
สรีระ | ร่างกาย |
อิริยาบถ | อาการที่ร่างกายอยู่ในท่าใดท่าหนึ่ง คือ ยืน, เดิน, นอน หรือนั่ง |