ส่องความผิดปกติพวงมาลัยรถยนต์ อาการ, สาเหตุ และวิธีรับมืออย่างถูกวิธี

แชร์ต่อ
สัญญาณเตือนความผิดปกติพวงมาลัยรถยนต์

ปฏิเสธไม่ได้ว่าพวงมาลัยรถยนต์เป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญ เนื่องจากช่วยให้ผู้ขับขี่ควบคุมทิศทางได้อย่างอิสระ หากวันใดวันหนึ่งพบว่าพวงมาลัยรถต่างไปจากเดิม (ผิดปกติ) เช่น พวงมาลัยหนักหรือสั่น บอกไว้เลยว่าเป็น “สัญญาณผิดปกติ” ที่ควรระวังให้ดี ซึ่งจะมีประเด็นไหนที่ควรให้ความสำคัญและระมัดระวังบ้าง ตาม MrKumka ไปทำความเข้าใจกันเลย

อาการพวงมาลัยรถยนต์ผิดปกติเป็นยังไง ?

บางคนที่ยังไม่เคยเจออาการพวงมาลัยรถหนัก อาจมองภาพไม่ออกว่ามันจะหนักได้ยังไง หรือมีอาการเป็นแบบไหน พูดง่าย ๆ คือหากพวงมาลัยรถยนต์หนัก จะรู้ได้ทันทีเมื่อต้อง “ใช้แรงเยอะมากกว่าปกติ” ขณะจอดหรือขับด้วยความเร็วต่ำ มากไปกว่านั้นในบางครั้งอาจมีเสียงผิดปกติเกิดขึ้นขณะเลี้ยว รวมถึงมีเสียงดังจากช่วงล่างร่วมด้วย

หากมีอาการรุนแรง (หนักเกินไป) หรือมีเสียงที่ดังจนเกินเหตุ แนะนำให้มองหา “ร้านซ่อมรถใกล้ฉัน” เพื่อเช็คสภาพรถยนต์ก่อนออกเดินทางอีกครั้ง เพราะไม่อย่างนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาในภายหลังได้

สัญญาณเตือนอะไรบ้าง ? ที่กำลังบอกว่าพวงมาลัยรถยนต์มีปัญหา

นอกจากอาการหนักหรือหน่วงของพวงมาลัยรถยนต์ และเสียงดังผิดปกติที่สามารถจับสังเกตได้แล้ว ยังมีสัญญาณอื่น ๆ ที่พยายามแจ้งเตือนปัญหา 108 ให้คุณทราบอีกมากมาย ดังนี้

เลี้ยวแล้วไม่คืนพวงมาลัยไม่คืน

เกิดจากวางศูนย์ล้อมาไม่ตรง รวมถึงระบบตั้งศูนย์ล้อเกิดความเสียหาย นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการดัดแปลงช่วงล่างที่ไม่ได้มาตรฐาน มักเกิดขึ้นบ่อยครั้งกับคนที่ดัดแปลงรถเอง หรือใช้บริการ ”อู่ซ่อมรถใกล้ฉัน” ที่ไม่ได้มาตรฐาน

พวงมาลัยสั่น

เกิดจากอุปกรณ์ต่าง ๆ เสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา เช่น โช้คอัพ ลูกปืน เพลา ระบบล้อ รวมถึงการติดตั้งศูนย์ยางที่ผิดพลาด ในกรณีที่ใช้ความเร็วมาก ๆ อาจทำให้รถสั่นและเสียศูนย์ จนทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

พวงมาลัยหลวม

หากจับสังเกตแล้วพบว่าพวงมาลัยรถผิดปกติเวลาเลี้ยว เช่น หมุนมากขึ้นแต่ยังเลี้ยวช้า หรือบางทีก็เร็วเกินจนน่าใจหาย ที่หลาย ๆ คนมักเรียกกันติดปากว่า “พวงมาลัยฟรี” ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าเกิดจากข้อต่อพวงมาลัยที่ผิดปกติ

ตอนเลี้ยวมีเสียงดัง

ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าเกิดปัญหาจากแร็คหรือฟันแร็คที่สึกหรอ แล้วลำดับต่อไปค่อยไปเช็กช่วงล่าง เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่

สาเหตุที่ทำให้พวงมาลัยรถหนัก มีอะไรบ้าง ?

เป็นไปได้ยากหากอยู่ดี ๆ พวงมาลัยรถก็เกิดหนักขึ้นมา เพราะมันควรจะมี “สาเหตุ” ที่ทำให้มีอาการหรือเสียงที่ผิดปกติ แต่จะมีสาเหตุอะไรที่ควรเฝ้าระวังบ้าง ตาม MrKumka ไปดูกันเลยดีกว่า

  • 1. น้ำมันพาวเวอร์ขาด

    ไม่ว่าจะรถยนต์รุ่นใหม่หรือรุ่นเก่า ล้วนใช้ระบบผ่อนแรงพวงมาลัยรถยนต์ด้วยปั๊มพาวเวอร์ ที่มีส่วนช่วยให้การหมุนพวงมาลัยรถง่ายและเบา แต่ถ้าหากน้ำมันพาวเวอร์รั่วซึมจนต่ำกว่าที่กำหนด ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้พวงมาลัยหนักขึ้น

    สามารถสังเกตได้จากน้ำมันที่หยดลงพื้นหรือเสียงดังขณะเลี้ยว การแก้ไขที่ดีที่สุดเมื่อพบความผิดปกติ คือ เติมน้ำมันพาวเวอร์ตามสเปกที่ผู้ผลิตกำหนดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จากนั้นให้มองหา “อู่ซ่อมรถใกล้ฉัน” เพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป

  • 2. ลมยางอ่อนเกินไป

    หนึ่งในสาเหตุที่หลายคนมักมองข้าม เนื่องจากมองว่าไม่เกี่ยวโยงกับพวงมาลัยรถยนต์สักเท่าไหร่ แต่ในความเป็นจริงแล้วการปล่อยให้ลมยางอ่อนเกินไป มักส่งผลต่อการเลี้ยวแถมยังต้องใช้แรงในการหมุนพวงมาลัยรถมากกว่าปกติ หากตรวจเช็กแล้วพบว่ายางอ่อน ควรเติมลมตามค่าที่โรงงานกำหนด เพราะไม่อย่างนั้นนอกจากจะเลี้ยวยาก พวงมาลัยหนักแล้ว ยังอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุอื่น ๆ ตามมาได้อีกด้วย

  • 3. สายพานหน้าเครื่องเสียหาย

    “สายพานหน้าเครื่อง” เป็นตัวขับให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ของรถยนต์ทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะปั๊มพวงมาลัยพาวเวอร์ หากสายพานชำรุดหรือเสียหายควรมองหา “ร้านซ่อมรถใกล้ฉัน” เพื่อเปลี่ยนทันที เพราะถ้าหากมันขาดขึ้นมา อาจเกิดความเสียหายและไม่สามารถขับรถต่อไปได้ ต้องเรียก รถยก รถลาก สถานเดียว

ต้องยอมรับว่าพวงมาลัยรถยนต์มีความสำคัญในการควบคุมรถมากเป็นอันดับต้น ๆ หากพบความผิดปกติควรมองหา “อู่ซ่อมรถใกล้ฉัน” เพื่อตรวจเช็กโดยด่วน และคงจะดีไม่ใช่น้อยหากมี “ประกันภัยรถยนต์” ที่ให้ความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที แม้จะเกิดเหตุไม่คาดฝันในยามวิกาล โดยเฉพาะเมื่อซื้อประกันกับ MrKumka เพราะที่นี่มีบริการรถลากหรือรถยกพร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ออนไลน์ก่อนใครได้แล้ววันนี้

ทริคหมุนพวงมาลัยรถยนต์แบบดึง-ดันช่วยให้ขับขี่ปลอดภัยมากขึ้น

การหมุนพวงมาลัยรถแบบดึง-ดัน ถือเป็นการหมุนพวงมาลัยรถยนต์ที่ใช้ควบคุมทิศทางได้ดีที่สุด เพราะช่วยให้เลี้ยวรถและควบคุมรถได้อย่างนุ่มนวล มั่นใจ โดยมือทั้ง 2 ข้างจะต้องอยู่บนพวงมาลัยตลอดเวลา และทำหน้าที่สลับกันระหว่างดึงและดัน

  1. เมื่อจะเลี้ยวให้เลื่อนมือรูดผ่านวงพวงมาลัยรถมาหาตำแหน่ง 12.30-13.00 นาฬิกา จากนั้นใช้มือขวาดึงพวงมาลัยมาตำแหน่ง 18 นาฬิกา และไม่ควรปล่อยพวงมาลัยรถยนต์ฟรีแบบตีหกลับ
  2. การคืนพวงมาลัยจะทำกลับจากข้อแรก แต่สลับหน้าที่ของมือ จากขวาดึงซ้ายดันมาเป็นซ้ายดึงขวาดันแทน

เมื่อพวงมาลัยรถหนัก มีวิธีรับมือยังไงบ้าง ?

ในกรณีที่พบว่าพวงมาลัยรถหนักอย่างรุนแรง แม้จะเป็นเรื่องน่าตกใจและน่ากังวล แต่ควรตั้งสติไว้ให้ดี เพราะวิธีรับมือ “ขั้นเบื้องต้น” ที่ดีที่สุด คือการจับพวงมาลัยให้มั่น พร้อมทำการออกแรงบังคับให้มากขึ้นกว่าเดิม จากนั้นค่อย ๆ ประคองรถเข้าจอดบริเวณด้านข้างเพื่อความปลอดภัย และควรตามช่างมาเช็คสภาพรถและแก้ไขปัญหาในทันที หรือจะใช้บริการรถลากหรือรถยกเพื่อใช้บริการ “อู่ซ่อมรถใกล้ฉัน” ที่ใกล้ที่สุด

จับพวงมาลัยรถยนต์แบบไหน ถึงเรียกว่าจับอย่างถูกต้อง ?

อย่างที่บอกไปแล้วว่าการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นเมื่อพวงมาลัยรถยนต์หนัก คือการจับพวงมาลัยรถให้ถูกต้อง มั่นคง ยิ่งกับสถานการณ์ความผิดปกติเกี่ยวกับตัวควบคุมรถกว่าจะได้ “ร้านซ่อมรถใกล้ฉัน” ต้องพยายามขับขี่อย่าระมัดระวังบวกกับจับพวงมาลัยให้ถูกต้องเพื่อความปลอดภัย ต้องจับพวงมาลัยยังไงไปดูกัน

สาเหตุที่ทำให้พวงมาลัยรถหนัก มีอะไรบ้าง ที่ MrKumka.com
  • 1. ไม่ควรขับรถมือเดียว

    เพราะการขับรถมือเดียวอาจทำให้รถยนต์เสียการควบคุมเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้ นอกจากนี้หากมีเศษหินกระเด็นใส่ หรือถนนหนทางเป็นหลุมเป็นบ่อ สิ่งที่ควรทำมากที่สุดคือจับพวงมาลัยรถทั้ง 2 มือตลอดเวลา

  • 2. ไม่จับพวงมาลัยรถแบบหงายมือ

    หลายคนมักรู้สึกว่าการจับพวงมาลัยรถยนต์แบบหงายมือ ให้ความสบายได้มากกว่า แต่บอกไว้เลยว่าเป็นท่าทางการจับที่อันตรายมาก เนื่องจากพวงมาลัยอาจตีกลับมาแรง จนทำให้รถยนต์เสียหลัก จนเป็นเหตุทำให้มอเตอร์ไซค์รถล้มหรือเพื่อนร่วมทางคนอื่น ๆ ได้รับผลกระทบ มากไปกว่านั้นเกิดเหตุแล้วจะไม่สามารถควบคุมรถได้

  • 3. ไม่ควรจับพวงมาลัยแน่นเกินไป

    การจับพวงมาลัยรถยนต์แน่นเกินไปดี จะทำให้ฝ่ามือและข้อมือเกิดความเหนื่อยล้า แต่ถ้าหากวันใดวันหนึ่งที่ฝนตกหรือจำเป็นต้องใช้ความเร็วสูง ควรเพิ่มน้ำหนักในการจับให้มากขึ้น แต่ไม่ควรแน่นอนจนเกินไป นอกจากนี้ยังควรฝึกหมุนพวงมาลัยจากตำแหน่งล้อตรง ด้วยการหมุนพวงมาลัยรถมาครึ่งรอบโดยไม่ให้มือหลุดจากพวงมาลัย

  • 4. จับพวงมาลัยรถยนต์ด้วยมือทั้ง 2 ข้าง

    การจับพวงมาลัยรถยนต์อย่างถูกต้อง และควรทำมากที่สุดคือการจับด้วยมือทั้ง 2 ข้าง โดยมือซ้ายจะอยู่ในตำแหน่ง 9 นาฬิกา และมือขวาอยู่ในตำแหน่ง 3 นาฬิกาทุกครั้ง ซึ่งเป็นการจับตรงกลางวงพวงมาลัยพอดิบพอดี ทำให้ควบคุมรถได้ง่ายและสะดวกที่สุด

ขอย้ำอีกครั้งว่าความผิดปกติของพวงมาลัยรถยนต์ ไม่ว่าจะหนัก เบา หรือสั่น ถือเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญมาก ๆ หากพบเจอความผิดปกติ แนะนำให้แก้ไขโดยด่วน หรืออาจจะมองหา “ร้านซ่อมรถใกล้ฉัน” เพื่อตรวจเช็กอาการเบื้องต้น แม้ว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น รถล้มหรือแผลรถล้มได้เป็นอย่างดี แต่ก็ควรมองหา “อู่ซ่อมรถใกล้ฉัน” ที่เชื่อถือได้ เพื่อป้องกันปัญหาอื่น ๆ ที่อาจตามมาในภายหลัง

คำจำกัดความ
เสียศูนย์ ผิดจากแนวที่ถูกต้อง เช่น รถสั่นและเสียศูนย์ หมายถึงรถสั่นจนควบคุมที่ถูกต้องได้ยาก จนทำให้เสียหลักและเกิดอุบัติเหตุตามมา
แร็ค ส่วนหนึ่งของระบบพวงมาลัยหรือระบบบังคับเลี้ยว ลักษณะเป็นบาร์ขนานกับเพลาหน้า ที่จะหมุนไปทางซ้ายหรือทางขวาเมื่อหมุนพวงมาลัย ทำหน้าที่บังคับล้อหน้าให้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง
สายพานหน้าเครื่อง อุปกรณ์ที่คอยส่งกำลังหรือพลังงานไปยังอุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้องกับเครื่องยนต์

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่