ความปลอดภัยในการใช้รถยนต์ สำหรับเด็ก อะไรบ้างที่ผู้ปกครองมองข้ามไม่ได้เลย

แชร์ต่อ
ความปลอดภัยในการใช้รถยนต์สำหรับเด็ก

การเดินทางไปไหนมาไหนโดยที่มี “ลูกน้อย” ไปด้วย เรื่อง ความปลอดภัยในการใช้รถยนต์ นับเป็นสิ่งสำคัญที่คนเป็นพ่อแม่ทุกคนย่อมมีกังวลไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะการเดินทางด้วยรถยนต์ที่ เด็ก ๆ ต้องนั่งคาร์ซีท ตามกำหนดของกฎหมาย

แต่จริง ๆ ไม่ใช่แค่เรื่องเบาะนั่งเด็ก เรื่องความปลอดภัยอื่น ๆ ต้องใส่ใจด้วยไม่แพ้กัน วันนี้ MrKumka ได้รวบรวมรายละเอียดที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “คาร์ซีท” ข้อควรระวังเมื่อมีเด็กโดยสารมาด้วย และอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อให้การเดินทางของคุณราบรื่นและปลอดภัยกันทั้งคัน ตามไปดูกันเลย

5 วิธีดูแลเด็กบนรถ เสริม ความปลอดภัยในการใช้รถยนต์

“ลูกน้อย” หรือเด็กเล็ก ถือเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ยากมาก เพื่อไม่ให้การเดินทางของคุณติดขัด และมีความปลอดภัยมากที่สุด เราได้รวบรวม 5 วิธีดูแลเด็ก ๆ ขณะโดยสาร ซึ่งจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยดีกว่า

5 วิธีดูแลเด็กบนรถ

1. เตรียมความพร้อมทั้งคน และรถก่อนออกเดินทาง

การเตรียมความพร้อมของ “คน” ก่อนออกเดินทาง โดยเฉพาะคนขับคือการนอนหลักพักผ่อนให้เพียงพอ นอกจากนี้อย่าลืม “เช็กสภาพรถ” ให้ดีก่อนออกเดินทางเสมอ เพื่อป้องกันปัญหาที่ “อาจจะ” เกิดขึ้นในอนาคต

2. ศึกษาเส้นทางที่ดีที่สุดก่อนเดินทาง

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการเดินทางโดยที่มีเด็กร่วมทางไปด้วย ไม่เหมือนกับการเดินทางไปกับผู้ใหญ่ทั่ว ๆ ไป เพราะเรื่องเด็ก “งอแง” ตอนอยู่บนรถจนทำให้ต้องหยุดพักรถบ่อย ๆ เป็นเรื่องที่ต้องเจอ ดังนั้นเรื่อง “ระยะทาง” การเดินทางจึงมีความสำคัญมาก ๆ ยิ่งใช้เส้นทางที่ถึงที่หมายเร็วมากเท่าไหร่ ปัญหาที่จะเกิดขึ้นระหว่างทางก็มีน้อยลงตามไป แนะนำให้ศึกษาเส้นทางให้ดี รวมถึงเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดก่อนเดินทางเสมอ

3. ตรวจสอบอุปกรณ์ให้พร้อม

ในการเดินทางหากคุณมีลูกน้อย “อุปกรณ์” ที่จำเป็นต้องตรวจสอบ ได้แก่ คาร์ซีท, หมวกกันน็อค และเข็มขัดนิรภัย ซึ่งทั้งหมดจะต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ นอกจากนี้อย่าลืมจัดเตรียม “สิ่งจำเป็น” ของลูกให้ครบถ้วนด้วย เช่น ทิชชูเปียก, แพมเพิส, ของเล่น หรืออื่น ๆ ที่สามารถดึงดูดความสนใจ ทำให้เด็กไม่งอแงระหว่างเดินทาง

4. ต้องมีผู้ใหญ่คอยดูแลเด็กเสมอ

คงจะดีไม่ใช่น้อยหากการเดินทางโดยมีลูกน้อยไปด้วย จะมีผู้ใหญ่ 1 คนที่คอยสังเกตอาการเด็กอย่างใกล้ชิด คอยเล่นและพูดคุยเพื่อให้เด็กไม่รู้สึกเบื่อ และรู้สึกปลอดภัย ไม่เหงาระหว่างเดินทาง

5. ให้เด็กทำกิจกรรมดึงดูดความสนใจ

กรณีที่ต้องเดินทางไกล หากปล่อยให้ลูกน้อยนั่งบนคาร์ซีทเฉย ๆ อาจไม่ใช่เรื่องที่ดีสักเท่าไหร่ แนะนำให้หากิจกรรมให้ลูกทำไปพลาง ๆ เช่น เล่นของเล่น ชวนคุย ชวนมองวิวข้างทาง ฯลฯ เพื่อไม่ให้ลูกเกิดความรู้สึกเบื่อ เหงา จนงอแงในที่สุด

3 สิ่งที่ “ไม่ควรทำ” เมื่อมีเด็กอยู่บนรถ

นอกจากจะต้องเรียนรู้วิธีดูแลเด็กบนรถแล้ว คุณยังจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจ “สิ่งต้องห้าม” ที่ไม่ควรทำ หากมีเด็กหรือลูกน้อยร่วมเดินทางไปด้วย ซึ่งเรารวบรวมมาให้ทั้งหมด 3 ข้อ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ห้ามปล่อยให้เด็กอยู่ตามลำพังในรถ

ด้วยสภาพอากาศของประเทศไทยที่ร้อนอบอ้าว หากทิ้งเด็กไว้บนรถเพียงลำพังคงไม่ใช่เรื่องที่ดีสักเท่าไหร่ เพราะอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นไม่ว่าเด็กจะหลับ หรือคุณจะลงไปทำธุระเพียงแค่แป้บเดียว ก็ไม่ควรปล่อยให้พวกเขาอยู่ตามลำพังเด็ดขาด

2. ห้ามให้เด็กนั่งตักขณะรถวิ่ง

เด็กหลายคนงอแงอยากจะนั่งใกล้กับพ่อหรือแม่ อย่าได้คิดใจอ่อนอุ้มเด็กมานั่งบนตักเด็ดขาด เพราะนอกจากจะทำให้คนขับเสียสมาธิแล้ว ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุเด็กอาจได้รับอันตรายร้ายแรง เนื่องจากกระเด็นทะลุกระจกหน้ารถ หรือได้รับแรงกระแทกของถุงลมนิรภัย เป็นต้น

3. ห้ามขาดต่อประกันภัยรถยนต์

ไม่ว่าคุณจะเดินทางระยะใกล้หรือไกล “ประกันภัยรถยนต์” คือหนึ่งสิ่งที่ควรมีติดรถเอาไว้เสมอ เพราะถ้าหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา หรือต้องการความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ ประกันภัยรถยนต์พร้อมอำนวยความสะดวก และให้ความคุ้มครองคุณอย่างเต็มที่ ไม่ปล่อยให้คุณต้องเผชิญหน้ากับปัญหาเพียงลำพังอย่างแน่นอน

ไม่ติด “คาร์ซีท” รถวิ่งไม่ได้ !

“คาร์ซีท” เป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย ที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม และภาครัฐก็เริ่มบังคับใช้กฎหมายคาร์ซีทใน พรบ.จราจร ที่จะมีผลตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป ซึ่งว่าด้วย​ “ข้อกำหนดใหม่” ใน พรบ.จราจร ฉบับที่ 13 “ผู้โดยสารภายในรถทุกคันจะต้องคาดเข็มขัดนิรภัย ยกเว้นรถสองแถว หรือรถที่ไม่สามารถคาดเข็มขัดนิรภัยได้ ส่วนเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ขวบ หรือสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร จะต้องใช้คาร์ซีท” หากไม่ปฏิบัติตามจะมีโทษปรับ 2,000 บาท

นอกจากนี้ ราชกิจจานุเบกษายังได้เผยแพร่ประกาศ พรบ.จราจรทางบก ฉบับที่ 13 พ.ศ.2565 เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2565 ไว้ว่า “ให้ยกเลิกความในมาตรา 123 ของ พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522” และใช้ข้อความที่แก้ไขฉบับนี้แทน ซึ่งกฎหมายคาร์ซีทฉบับใหม่ที่คนไทยทั้งประเทศจะต้องใช้ ระบุเอาไว้ว่าดังนี้

  • ผู้ขับขี่จะต้องคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาที่ขับรถ
  • ผู้โดยสารที่นั่งเบาะด้านหน้าหรือเบาะด้านหลัง จะต้องคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาที่โดยสาร
  • ผู้โดยสารที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 6 ขวบ ต้องนั่งคาร์ซีท หรือมีวิธีป้องกันอันตรายในกรณีที่จะเกิดอุบัติเหตุ
  • ผู้โดยสารที่มีความสูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลาที่โดยสาร ไม่ว่าจะนั่งเบาะด้านหน้าหรือเบาะด้านหลังก็ตาม หรือมีวิธีป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ
  • หากผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารมีสุขภาพร่างกาย ที่ไม่สามารถคาดเข็มขัดนิรภัยได้ จะได้รับข้อยกเว้น แต่ต้องมีวิธีป้องกันอันตรายที่เหมาะสมด้วย

“คาร์ซีท” ที่ใครหลาย ๆ คนอาจมองว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ปกป้องลูกน้อยได้ไม่ดีเท่าอ้อมกอดของผู้เป็นแม่ ในวันนี้คาร์ซีทได้กลายเป็นหนึ่งใน “ข้อกฎหมาย” ที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองควรให้ความสำคัญมาก ๆ เพราะถ้าหากฝ่าฝืนจะถือว่ามีความผิดทางกฎหมาย และมีโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท นอกจากเลือกซื้อคาร์ซีทที่ดี มีคุณภาพให้ลูกน้อยแล้ว การเลือกซื้อ หรือ “เปรียบเทียบประกันรถยนต์” ที่ให้ความคุ้มครองผู้โดยสารทั้งหมด ก็นับเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน หากกำลังมองหากรมธรรม์ดี ๆ MrKumka พร้อมดูแลคุณตลอด 24 ชั่วโมง !

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่