หัวข้อที่น่าสนใจ
- อาการรถเสียที่ควรเช็กก่อนออกเดินทางมีอะไรบ้าง ?
- 1. คราบน้ำมันรั่ว
- 2. รถมีกลิ่นไหม้
- 4. รถควันขาวหรือควันดำ
- แบตเตอรี่รถยนต์หมด เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง ?
- 1. จอดรถทิ้งไว้เป็นเวลานาน
- 2. เปิดไฟหน้าหรือไฟในห้องโดยสารทิ้งไว้
- 3. อากาศร้อนหรือเย็นเกินไป
- รับมือกับเหตุการณ์รถเสียบนทางด่วนยังไง ให้ปลอดภัยมากที่สุด ?
- 1. เปิดไฟฉุกเฉิน
- 2. ขอความช่วยเหลือจาก สายด่วน 1543
- 3. ใช้โทรศัพท์ฉุกเฉิน
- รถชน รถเสียบนทางด่วน ประกันจะเคลมยังไง ?
รถเสียกลางทางว่าแย่แล้ว ยิ่งไปเสียบนทางด่วน เจอเหตุการณ์รถเสียบนทางด่วน แบบนี้ยิ่งหนักกว่า เพราะมือใหม่ไม่รู้ว่าจะทำยังไง ? รถเสียแจ้งใครได้บ้างมาช่วย มองไปมีแต่รถกับถนน แบบนี้เพื่อไม่ให้คุณใช้รถใช้ถนนด้วยความกังวล MrKumka ได้รวมวิธีรับมือเมื่อรถเสีย ตัวเครื่องยนต์พัง แบตเตอรี่รถยนต์หมด หลายๆ อาการที่ทำให้รถสตาร์ทไม่ติดไปต่อไม่ได้บนทางด่วนมาให้ อะไรบ้างที่ต้องรู้ ไปดูกันเลยดีกว่า
อาการรถเสียที่ควรเช็กก่อนออกเดินทางมีอะไรบ้าง ?
หากคุณไม่อยากพบเจอกับเหตุการณ์รถเสียบนทางด่วน หรือสถานที่ต่าง ๆ แนะนำให้เช็คสภาพรถก่อนออกเดินทางทุกครั้ง เพราะ “ความผิดปกติของรถ” ที่เกิดขึ้น อาจกำลังส่งสัญญาณเตือนว่ารถยนต์ของคุณไม่พร้อมใช้งานก็เป็นได้ ถ้าอย่างนั้นเราไปดูกันดีกว่า ว่า “อาการรถเสีย” ที่สังเกตได้อย่างชัดเจนจะมีอะไรบ้าง?
1. คราบน้ำมันรั่ว
ทำความเข้าใจก่อนว่าคราบน้ำมันที่หยดลงบนพื้น จะแสดงให้เห็นถึง “ตำแหน่งการรั่วซึมของระบบหล่อลื่น” เช่น ฝาครอบวาล์วรั่ว ปะเก็นน็อตถ่ายน้ำมันเครื่องแตก น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพ ฯลฯ แนะนำให้หาตำแหน่งรั่วซึมให้เจอโดยเร็วที่สุด จากนั้นนำรถเข้าซ่อมพร้อมกับแจ้งตำแหน่งให้ช่างทราบ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างถูกจุด
2. รถมีกลิ่นไหม้
หากได้กลิ่นแปลก ๆ ทั้งกลิ่นไหม้หรือกลิ่นอื่น ทั้งในขณะที่กำลังสัญจรบนท้องถนนหรือจอดอยู่ก็ตาม ให้รีบหาว่ากลิ่นดังกล่าวมาจากส่วนไหนของรถ เพราะ “กลิ่นไหม้” มีสาเหตุมาจากหลายอย่าง เช่น สายพานไหม้, คลัทช์ไหม้, เบรคไหม้ หรือสายไฟไหม้ หากปล่อยทิ้งไว้เป็นอันตรายแน่นอน
3. เหยียบเบรกแล้วมีเสียง
หากเหยียบเบรกแล้วมีเสียง โดยเฉพาะ “เสียงโลหะเสียดสีกัน” สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าผ้าเบรกเสื่อมสภาพ แนะนำให้รีบเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ทันที เพราะถ้าหากฝืนใช้งานผ้าเบรกเสื่อมสภาพไปเรื่อย ๆ อาจนำพาอันตรายมาหาตัวได้
4. รถควันขาวหรือควันดำ
หลายอาจสงสัยว่า “ควันขาว” ผิดปกติยังไง เพราะรถยนต์ส่วนใหญ่ก็เป็นแบบนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว รถปกติทั่วไปมักไม่มีควันออกมาจากท่อไอเสียเลยต่างหาก ดังนั้นหากรถของคุณมีควันพวยพุ่งออกมา ไม่ว่าจะสีอะไรก็ตาม บอกไว้เลยว่ามีหลายสาเหตุมาก ๆ ที่กำลังเตือนว่ารถยนต์ของคุณมีปัญหา เช่น
- น้ำมันเครื่องหลุดเข้าห้องเผาไหม้
- ระบบจ่ายน้ำมันอุดตัน
- ระบบกรองไอเสียอุดตัน
- ท่อไอเสียรั่ว
- การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์
5. รถสตาร์ทติดยาก
กรณีที่รถสตาร์ทติดยากหรือรถสตาร์ทไม่ติด ต้องใช้เวลานานมาก ๆ กว่าจะสตาร์ทได้ สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่ารถแบตหมดหรือแบตเสื่อม แนะนำให้เช็กด้วยการจัมป์แบตเตอรี่ดูก่อน นอกจากนี้ยังอาจเป็นเพราะมีปัญหาเกี่ยวกับ “ระบบจุดระเบิด และระบบจ่ายเชื้อเพลิง” ได้เช่นกัน
ย้ำอีกครั้งว่าก่อนออกเดินทางทุกครั้งควรเช็คสภาพรถให้พร้อมอยู่เสมอ เพราะถ้าหากเครื่องยนต์มีปัญหา รถความร้อนขึ้น สตาร์ทรถไม่ติด หรืออื่น ๆ จะได้หลีกเลี่ยงเหตุการณ์รถเสียบนทางด่วนได้ในระดับหนึ่ง แถมยังช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้อีกด้วย
สำหรับคนที่เดินทางคนเดียวบ่อย ๆ การมี “ประกันภัยรถยนต์” ที่ตอบโจทย์ ก็ช่วยให้คุณมีเพื่อนร่วมคู่ใจร่วมเดินทางจนถึงจุดหมายได้เช่นกัน และ MrKumka ยินดีเป็นเพื่อนคนนั้นให้คุณตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะรถเสีย รถเสียบนทางด่วน แบตเตอรี่รถยนต์หมด หรือใด ๆ ก็ตาม มีประกันชั้น 1 หายห่วง คุ้มครองครอบคลุม ราคาสบายกระเป๋าได้แล้ววันนี้
แบตเตอรี่รถยนต์หมด เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง ?
ในกรณีที่รถสตาร์ทไม่ติดหรือติดยากมาก ๆ รู้ไว้เลยว่าเป็นหนึ่งใน “สัญญาณเตือนล่วงหน้า” ว่าเหตุการณ์ต่อจากนี้เริ่มเข้าใจคำว่ารถแบตหมดเข้าไปทุกที ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น มีอยู่ด้วยกันหลายสาเหตุดังนี้
1. จอดรถทิ้งไว้เป็นเวลานาน
สำหรับคนที่ไม่ค่อยได้ใช้รถบ่อยเท่าไหร่ นาน ๆ เอาออกมาใช้ที แบบนี้จะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพได้ง่าย โดยแบ่งอาการแบตรถหมดเอาไว้ดังนี้
- แบตเตอรี่ไม่มีกำลังสตาร์ท “กำลังของแบตเตอรี่” คือ CCA เป็นค่าที่เราวัดได้ก็คือ “ปริมาณแอมป์” ที่แบตส่งให้รถเพื่อหนุนไดสตาร์ทของเครื่องยนต์ จนกระทั่งเกิดการจุดระเบิดขึ้น หากแบตรถเสื่อมสภาพ ค่า CCA จะลดลงจนไม่สามารถหมุนเครื่องยนต์ได้ ทำให้รถสตาร์ทไม่ติดนั่นเอง
- แบตเตอรี่เก็บไฟไม่อยู่ สาเหตุนี้สร้างความรำคาญต่อการขับขี่อย่างมาก เพราะมันสามารถสตาร์ทรถจนติดได้แล้ว แต่เมื่อขับไปสักพักดันรถแบตหมดกลางทางซะงั้น เป็นเพราะว่าแบตฯ เก็บไฟไม่อยู่ หากไม่อยากเจอปัญหานี้คอยกวนใจ การเปลี่ยนแบตใหม่คือคำตอบที่ดีกว่า
- แบตเตอรี่รับการชาร์จไม่ได้ เนื่องจาก “แบตตายสนิท” ไปแล้ว สาเหตุเป็นเพราะคุณทิ้งแบตฯ ไว้นานเกินไป การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือต้องเปลี่ยนใหม่เท่านั้น
2. เปิดไฟหน้าหรือไฟในห้องโดยสารทิ้งไว้
หากคุณเป็นคนขี้หลงขี้ลืม เผลอเปิดไฟรถทิ้งเอาไว้ทั้งคืน ไม่ว่าจะเป็นไฟหน้า ไฟเลี้ยว หรือไฟส่องสว่างในห้องโดยสาร เตรียมเจอกับเหตุการณ์สตาร์ทรถไม่ติดเพราะแบตหมดได้เลย วิธีแก้ไม่อยากแค่เริ่มจากตัวคุณ หมั่นเช็คให้มั่นใจว่าปิดระบบส่องสว่างเรียบร้อยดีแล้วหรือยัง
3. อากาศร้อนหรือเย็นเกินไป
สภาพอากาศที่ร้อนหรือเย็นเกินไป เป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญ ที่ทำให้สตาร์ทรถไม่ติดหรือเครื่องยนต์ดับระหว่างทางด้วยเช่นกัน ทางแก้ที่ดีที่สุด คือ ตรวจเช็คสภาพรถอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะรถที่แบตเตอรี่เก่า เนื่องจากใช้งานมานาน เพื่อป้องกันเหตุไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้น
รถยนต์สตาร์ทไม่ติด แต่มีไฟ หมายความว่ายังไง ?
หากคุณกำลังเผชิญหน้ากับเหตุการณ์รถสตาร์ทไม่ติด ไฟหน้าปัดขึ้น อาจเป็นเพราะ “สาเหตุ” หลาย ๆ อย่าง เช่น แบตเตอรี่เสื่อมหรืออ่อน, ปัญหาเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า, ปัญหาเกี่ยวกับระบบเชื้อเพลิง หรือปัญหาเกี่ยวกับเครื่องยนต์ โดยมีวิธีตรวจสอบเบื้องต้น ดังนี้
- เช็คว่าไฟหน้าปัดยังสว่างหรือไม่ หากไม่สว่างแสดงว่ามีปัญหาที่แบตเตอรี่
- ลองสตาร์ทรถด้วยการเหยียบคันเร่งเบา ๆ กรณีน้ำมันท่วมห้องเผาไหม้
- ตรวจสอบสภาพแบตเตอรี่ให้ดี ว่าบวม ขั้นต่อกร่อน หรือมีรอยร้าวหรือเปล่า
- ตรวจสอบฟิวส์ หากขาดแนะนำให้เปลี่ยนใหม่ทันที
- ลองจัมป์สตาร์ทจากรถยนต์คันอื่น ๆ กรณีที่แน่ใจว่าแบตอ่อน
รับมือกับเหตุการณ์รถเสียบนทางด่วนยังไง ให้ปลอดภัยมากที่สุด ?
บนทางด่วนอันตรายยิ่งกกว่าถนนทั่วไป คือเส้นทางที่รถยนต์หลาย ๆ คันมักขับขี่ด้วยความเร็วสูง ดังนั้นการที่จะลงไปแก้ปัญหาหรือเช็คสภาพรถเมื่อรถเสียบนทางด่วน จึงมีความเสี่ยงมากกว่าถนนทั่ว ๆ ไป เราจึงได้รวบรวมคำแนะนำจาก “การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)” มาให้ปฏิบัติตามเพื่อความปลอดภัย ดังนี้
1. เปิดไฟฉุกเฉิน
หากมั่นใจแล้วว่ารถยนต์ของคุณเกิดความผิดปกติ และจะต้องเกิดเหตุการณ์รถเสียบนทางด่วนแน่ ๆ แนะนำให้เปิดไฟฉุกเฉินเพื่อให้สัญญาณรถคันอื่น ๆ ทันที เมื่อมีโอกาสหรือมีจังหวะควรนำรถเข้าไหล่ทาง หรือบริเวณจุดพักรถด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ
2. ขอความช่วยเหลือจาก สายด่วน 1543
หลังจากที่นำรถเข้าจอดในจุดที่ปลอดภัยได้แล้ว จากนั้นให้ติดต่อไปหาคอลเซ็นเตอร์ สายด่วน 1543 เพื่อขอความช่วยเหลือโดยที่ยังคงนั่งอยู่ในรถตามเดิม และรัดเข็มขัดนิรภัยอยู่ตลอดเวลา จากนั้นควรล็อกรถเอาไว้ด้วย
3. ใช้โทรศัพท์ฉุกเฉิน
กรณีที่โทรศัพท์มือถือของคุณไม่พร้อมใช้งาน สามารถใช้ “โทรศัพท์ฉุกเฉิน” บนทางด่วนได้ ปกติจะมีอยู่ทุก ๆ 500-1,000 เมตร แนะนำว่าควรเดินเลียบไหล่ทางเพื่อความปลอดภัย จากนั้นแจ้งสาเหตุ อาการรถเสีย หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และจุดที่นำรถเข้าจอดบริเวณไหล่ทางโดยละเอียด
รถชน รถเสียบนทางด่วน ประกันจะเคลมยังไง ?
กรณีที่เกิดอุบัติเหตุรถชน หรือรถเสียบนทางด่วน แล้วบริษัทประกันไม่ยินดีที่จะขึ้นไปหาคุณ ไม่ใช่เพราะไม่อยากรับเคลมเลยสักนิด แต่เป็นเพราะ “การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ไม่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ประกันดำเนินการเคลียร์อุบัติเหตุบนทางพิเศษ” เนื่องจากเป็นเส้นทางตามที่กฎหมายกำหนดให้ใช้ความเร็วสูง
ประกอบกับเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันส่วนใหญ่ใช้รถมอเตอร์ไซค์ เพื่อมาเคลียร์เมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุรถเสียต่าง ๆ บนท้องถนน แน่นอนว่ารถมอเตอร์ไซค์ไม่สามารถขับขี่บนทางด่วนได้ (ตามข้อกำหนดของ พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 139) แต่เมื่อคุณมีประกันรถยนต์ที่มีสิทธิประโยชน์บริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน จะมีบริการหลากหลาย เช่น ให้คำปรึกษาผ่านทางโทรศัพท์ โดยช่างเทคนิคตลอด 24 ชั่วโมง หรือในกรณีที่รถเสียไม่ทราบสาเหตุ ก็มีบริการรถลากจูง, บริการพ่วงแบตเตอรี่ คอยให้บริการคุณ
ขอย้ำอีกครั้งว่าถ้าหากไม่อยากพบเจอกับเหตุการณ์รถเสียบนทางด่วน แบตเตอรี่รถยนต์หมด อะไหล่รถบางส่วนได้รับความเสียหาย ฯลฯ แนะนำให้เช็คสภาพรถก่อนออกเดินทางทุกครั้ง เพราะนอกจากจะช่วยให้การเดินทางราบรื่นแล้ว ยังทำให้คุณห่างไกลจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ในระดับหนึ่งอีกด้วย /p>
คำจำกัดความ
ประเก็น | วัสดุที่ใช้กั้นหน้าสัมผัสระหว่างชิ้นส่วนสองชิ้นที่นำมาประกบติดกัน หรือใช้อุดรอยรั่ว |
ทางด่วน | ถนนซึ่งสร้างขึ้นเพื่อให้เดินทางได้รวดเร็ว ลดปัญหาการจราจรติดขัด มีการกำหนดจุดให้ยานพาหนะเข้าออกเฉพาะที่ และไม่มีทางอื่นตัดผ่านในระดับเดียวกัน |