7 ปุ่มในรถที่ต้องระวัง หากกดมั่ว เสี่ยงรถพังไม่รู้ตัว

แชร์ต่อ
7 ปุ่มในรถที่ต้องระวัง หากกดมั่ว เสี่ยงรถพังไม่รู้ตัว | มิสเตอร์ คุ้มค่า

อย่างที่ทราบกันดีว่าภายในห้องโดยสาร รายล้อมไปด้วยปุ่มในรถที่มีสัญลักษณ์ต่าง ๆ เต็มไปหมด แต่อย่าได้คิดกดปุ่มบนรถยนต์มั่วเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้รถพังโดยไม่รู้ตัวได้ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนั้นขึ้น มิสเตอร์ คุ้มค่า จะพาไปทำความรู้จักสัญลักษณ์ปุ่มแอร์ในรถ รวมถึงสัญลักษณ์ของปุ่มอื่น ๆ ถ้าพร้อมแล้วตามไปดูกันเลย

รู้จัก 7 ปุ่มในรถ แต่ละปุ่มใช้งานยังไงบ้าง ?

​​รู้จัก 7 ปุ่มในรถ แต่ละปุ่มใช้งานยังไงบ้าง ?​ | มิสเตอร์ คุ้มค่า

สำหรับปุ่มบนรถยนต์ที่ไม่ควรกดเล่น เพราะอาจทำให้รถพังแบบไม่รู้ตัว เนื่องจากเป็น “ตัวควบคุม” การทำงานส่วนต่าง ๆ ของรถ และปุ่มในรถที่ต้องระวังหลัก ๆ มีทั้งหมด 7 ปุ่ม โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • 1. ปุ่มควบคุมการทรงตัวของรถ

    ปุ่มควบคุมการทรงตัวของรถ เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ ที่ช่วยให้ผู้ขับขี่ควบคุมรถได้ง่าย โดยเฉพาะเมื่อรถอยู่ในสภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการทรงตัว หากคุณเผลอกดปุ่มนี้ขึ้นมา จะทำให้การทรงตัวมีปัญหาได้ ยิ่งถ้าเผลอกดปุ่มนี้ตอนเจอทางโค้งล่ะก็ เสี่ยงต่อการหลุดโค้งได้เลยทีเดียว

  • 2. ปุ่มสตาร์ทรถ

    ต้องบอกก่อนว่าปุ่มนี้ไม่ได้มีในรถทุกคัน แต่จะมีเฉพาะรถยนต์ที่ถูกออกแบบมา เพื่อใช้ “ปุ่มในการสตาร์ทรถ” เท่านั้น เมื่อกดปุ่มพุชสตาร์ทในขณะที่เครื่องยนต์กำลังติดอยู่ หรือกดขณะที่รถกำลังเคลื่อนที่ อาจทำให้ระบบไฟฟ้ามีปัญหา และเครื่องยนต์เกิดความเสียหายได้

    พาส่อง วิธีสตาร์ทรถปุ่มสตาร์ท ควรใช้ยังไงให้ถูกต้อง ?

    อย่างที่บอกไปแล้วว่า ปุ่ม Push Start หรือปุ่มสตาร์ทรถ คือ ปุ่มที่ใช้สตาร์ทรถแทนการบิดกุญแจ ทำงานควบคู่กับ Smart Key ซึ่งถ้าหากผู้ขับขี่พกติดตัวเอาไว้ เวลากดปุ่มพุชสตาร์ทระบบไฟฟ้าภายในรถ และเครื่องยนต์จะทำงานทันที

    โดยวิธีสตาร์ทรถปุ่มสตาร์ทที่ถูกต้อง คือ ผู้ขับขี่ต้องเหยียบเบรกพร้อมกับกดปุ่มค้างไว้ ประมาณ 2-3 วินาที จนเครื่องยนต์ติด หากไม่เหยียบเบรกค้างไว้ก็สามารถใช้งานฟังก์ชันอื่น ๆ ได้ ดังนี้

    • กดปุ่มสตาร์ทรถ 1 ครั้ง = บิดกุญแจ 1 ครั้ง สามารถเปิดวิทยุเพื่อฟังเพลงได้
    • กดปุ่มพุชสตาร์ท 2 ครั้ง = เปิดใช้งานระบบไฟฟ้า สามารถปรับกระจก หรือเช็คสถานะต่าง ๆ ที่แผงหน้าปัดได้
    • กดปุ่มพุชสตาร์ท 3 ครั้ง = ปิดระบบไฟ แต่ถ้าเหยียบเบรกพร้อมกับกดปุ่มสตาร์ทรถ ก็จะเป็นการสตาร์ทเครื่องยนต์
  • 3. ปุ่มเบรกมือไฟฟ้า

    ปกติแล้วปุ่มเบรกมือไฟฟ้าจะมีหน้าที่ในการ “หยุดหรือจอดรถ” เพื่อป้องกันไม่ให้รถเกิดการเลื่อนไหล หากเผลอกดปุ่มนี้ค้างไว้ระบบอาจทำการล็อกล้อได้ และในขณะที่เคลื่อนไหวในความเร็วต่ำ จะทำให้รถหยุดเคลื่อนที่ทันที แน่นอนว่าหากกำลังขับขี่อยู่บนท้องถนน จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายมาก ๆ

  • 4. ปุ่มเปิดฝากระโปรงหน้า

    เป็นปุ่มที่ถูกออกแบบมาเพื่อควบคุมการเปิดปิดตัวกระโปรงรถ ซึ่งมีหน้าที่ในการป้องกันเครื่องยนต์ให้พ้นจากลม แดด และการสูญหาย โดยปุ่มดังกล่าวมีเพียงสลักหลวม ๆ ยึดเอาไว้ หากขับขี่เร็วเกินกว่าที่กำหนด อาจทำให้กระโปรงหน้าหลุดเปิดขึ้นมาได้ นอกจากจะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุแล้ว ยังทำให้กระจกหน้ารถได้รับความเสียหายอีกด้วย

  • 5. ปุ่มปิดถุงลมนิรภัย

    โดยปกติแล้วปุ่มนี้จะถูกปิดการใช้งานเอาไว้ เพราะเจ้าของรถกลัวปุ่มนี้ทำงานเองจนได้เกิดการบาดเจ็บและรถได้รับความเสียหาย แต่ถ้ากดปิดปุ่มนี้ไป เมื่อเกิดอุบัติเหตุจะทำให้มันทำงานได้ไม่ทันท่วงที ดังนั้นการเปิดการทำงานเอาไว้จะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ดีมาก ๆ

  • 6. ปุ่มไล่ฝ้า

    ปุ่มไล่ฝ้ามีหน้าที่จัดการฝ้าบนกระจกรถ เวลาที่ฝนตกหรือมีหมอกหนาจัด พูดง่าย ๆ ว่าเป็นปุ่มที่ช่วยเพิ่มทัศนวิสัยในการขับขี่ให้ดีขึ้น แถมยังปล่อยความร้อนออกมา เพื่อทำให้ฝ้าไม่เกาะกระจกรถ

    ในกรณีที่ไม่มีเหตุการณ์ฝนตก หมอกลงหนา หรือเหตุการณ์ใด ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ปุ่ม front ในรถ แต่เผลอกดเปิดแบบไม่รู้ตัว อาจทำให้ขดลวดให้ความร้อนขาด และทำให้มีความร้อนมากเกินไป ส่งผลให้กระจกรถของคุณแตก และสร้างความเสียหายต่อระบบไฟในรถได้อีกด้วย

  • 7. ปุ่มควบคุมความเร็ว

    มีหน้าที่ในการควบคุมการขับขี่รถอัตโนมัติ ช่วยให้ผู้ขับขี่ไม่รู้สึกเมื่อยเพราะต้องเหยียบเบรกตลอดเส้นทาง ตอบโจทย์สำหรับคนที่เดินทางไกลสุด ๆ แต่ถ้าหากลืมปิดปุ่มนี้หลังใช้งาน อาจทำให้ระบบควบคุมรถไม่เสถียร

    นอกจากนี้ยังอาจเกิดการเฉี่ยวชน หรือเป็นอุปสรรคในการเข้าที่จอดรถ ที่จะทำให้บังคับการเคลื่อนที่ได้ไม่ดีเท่าที่ควร ในท้ายที่สุดอาจทำให้เกิดความเสียหายตามมาได้

การให้ความสำคัญกับปุ่มในรถก่อนใช้รถใช้ถนน ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าหากต้องการความอุ่นใจที่มากขึ้น นอกจากจะใช้งานปุ่มบนรถยนต์อย่างมีสติแล้ว การเลือกซื้อประกันภัยรถยนต์ที่คุ้มครองตอบโจทย์ ก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดีมาก ๆ เช่นกัน เช็คประกันรถยนต์ที่ใช้ เลือกกรมธรรม์ที่ชอบได้แล้ววันนี้ ที่เว็บไซต์ MrKumka.com

สัญลักษณ์ปุ่มแอร์ในรถ แต่ละปุ่มทำงานยังไง ?

อีกหนึ่งปุ่มในรถที่เยอะไม่แพ้กันและหลาย ๆ คนต้องในงานในส่วนของฟีเจอร์นี้ทุกครั้งที่ขับขี่ กับปุ่มระบบอากาศในรถยนต์หรือปุ่มแอร์ในรถ ที่หากไม่เข้าใจหน้าที่ต่าง ๆ ของปุ่มแต่ละแบบ ”ดีพอ” อาจทำให้ใช้ประโยชน์จากระบบแอร์ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ รวมถึงยังอาจทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาด้วยเช่นกัน ถ้าอย่างนั้นเราตามไปทำความรู้จักหน้าที่ของปุ่มแอร์ในรถกันเลยดีกว่า

  • 1. ปุ่มปรับอุณหภูมิ (แบบมีฮีตเตอร์)

    หากรถยนต์คู่ใจของคุณใช้ระบบแอร์แบบมีฮีตเตอร์ จะมีปุ่มสัญลักษณ์สีแดงปรากฏบนสวิตช์ควบคุม ปุ่มฮีตเตอร์ในรถสามารถเอาอากาศเย็นและอากาศร้อนผสมกัน เพื่อให้ได้อุณหภูมิตามที่ตั้งค่าไว้มากที่สุด

  • 2. ปุ่มควบคุมทิศทางลม

    ระบบแอร์ในรถยนต์ส่วนใหญ่ สามารถเลือกได้ว่าต้องการเป่าลมไปบริเวณไหน เช่น เป่าลงเท้า เป่าไปที่ร่างกาย หรืออื่น ๆ ซึ่งช่วยให้ขับขี่ในวันที่อากาศร้อนสบายมากขึ้น แถมยังสามารถปรับให้ลมเป่าขึ้นไปยังกระจกบังลมหน้าเพื่อช่วยไล่ฝ้า หรือช่วยลดความร้อนบริเวณเพดานได้ด้วยเช่นกัน

  • 3. ปุ่มปรับความแรงลม

    ถือเป็นหนึ่งในปุ่มเปิดแอร์รถยนต์ที่หลายคนคุ้นเคยกันดี แถมยังเป็นปุ่มที่ใช้งานบ่อยมากที่สุด เพราะเป็นตัวปรับความแรงลมที่เป่าออกมาจากช่องแอร์ เมื่อรู้สึกเย็นเกินไปจะใช้ปุ่มนี้เปิดแอร์รถยนต์แทนการปิดหน้ากากแอร์แทนได้ เนื่องจากจะช่วยให้ความเย็นไหลเวียนได้เต็มประสิทธิภาพ แถมยังลดโอกาสเกิดความชื้นสะสมในตู้แอร์ได้ดีมาก ๆ

  • 4. ปุ่มปรับน้ำยาแอร์ (แบบไม่มีฮีตเตอร์)

    ในรถยนต์รุ่นที่ไม่มีปุ่มฮีตเตอร์ในรถ จะมีเฉพาะสัญลักษณ์ปุ่มแอร์ในรถในรูปแบบ “แถบสีฟ้า” เท่านั้น แถมยังเป็นปุ่มที่ไม่มีตัวเลขอุณหภูมิกำหนดไว้ด้วย เป็นการปรับปริมาณน้ำยาแอร์มากน้อยตามความต้องการของคนในรถ หากหมุนไปยังตำแหน่งเย็นน้อยที่สุด จะถือว่าปิดการทำงานคอมเพรสเซอร์แอร์(ไม่มีความเย็นออกมา) แต่จะไม่อุ่นเท่ากับระบบแอร์ที่มีฮีตเตอร์

  • 5. ปุ่มไล่ฝ้ากระจกบังลมหน้า

    คือ ปุ่มที่มีสัญลักษณ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู พร้อมกับสัญลักษณ์ไอระเหย ทันทีที่กดใช้งานระบบจะดึงอากาศภายนอกเข้ามาในรถ และเป่าตรงไปยังกระจกบังลมหน้า เพื่อช่วยให้อุณหภูมิบนผิวกระจกเท่ากันทั้ง 2 ฝั่ง ช่วยให้ฝ้าจางลงได้

  • 6. ปุ่มไล่ฝ้ากระจกหลัง

    คือ ปุ่มที่มีสัญลักษณ์เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีระบบการทำงานแตกต่างจากปุ่มไล่ฝ้ากระจกบังลมหน้า เนื่องจากกระจกหลังใช้ความร้อนจาก “ลวด” ที่ฝังอยู่ในกระจกเป็นตัวกำจัดฝ้า ทำให้ฝ้าสลายไปอย่างรวดเร็ว

    แนะนำว่าหลังจากที่ฝ้าจางลงหมดแล้ว ควรปิดระบบไล่ฝ้ากระจกหลังหรือปุ่ม rear ในรถทันที เพื่อป้องกันกระจกแตก รวมถึงชิ้นส่วนอื่น ๆ ได้รับความเสียหายตามมา

  • 7. ปุ่มเร่งความเย็นสูงสุด

    ปุ่มเร่งความเย็นสูงสุด (MAX A/C) เป็นปุ่มที่ใช้สำหรับใช้ความแรงลมสูงสุด อุณหภูมิต่ำที่สุดโดยอัตโนมัติ เพื่อสร้างความเย็นภายในห้องโดยสารอย่างรวดเร็ว เมื่อถึงเวลาที่ระบบตั้งไว้ ระบบจะตัดการทำงานโดยอัตโนมัติ และกลับไปใช้อุณหภูมิที่ตั้งไว้แต่แรกแทน

จะเป็นอะไรไหม หากเผลอกดปุ่มพุชสตาร์ท ?

ในกรณีที่เผลอกดปุ่มพุชสตาร์ทเพียง “เสี้ยววินาที” รถจะสามารถวิ่งได้ตามปกติ แต่ถ้ากดค้างไว้ 2-3 วินาที ตามที่เราบอกไปก่อนหน้าว่า ระบบไฟฟ้าและเครื่องยนต์จะได้รับความเสียหาย แถมยังหยุดการทำงานทันที เนื่องจากเครื่องยนต์เข้าใจว่าคุณ “ตั้งใจ” ดับเครื่อง ซึ่งถือว่าอันตรายมาก ๆ !!

นอกจากนี้หากรถของคุณเป็นระบบพวงมาลัยพาวเวอร์(รถยุคนี้ส่วนใหญ่มี) พวงมาลัยจะไม่ทำงาน รวมถึงมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ควบคุมได้ยาก ในส่วนของระบบเบรกจะติดขัด เหยียบได้เพียง 1-2 ครั้ง จากนั้นจะเหยียบเพื่อให้รถหยุดไม่ได้อีก เนื่องจากปั๊มเบรกไม่ทำงานแล้ว ทำให้ปุ่มนี้ เลี่ยงได้เลี่ยงที่จะไปยุ่งกับมันหลังจากสตาร์ทรถไปแล้ว ไว้ใช้อีกครั้งแค่ตอนจะดับเครื่องดีที่สุด

เผลอกดปุ่มสตาร์ทรถ แก้ไขยังไงดี ?

ทันทีที่รู้ตัวว่าเผลอกดปุ่มสตาร์ทรถจนเครื่องยนต์ดับ สิ่งที่ควรทำมากที่สุดคือ “รีบเปลี่ยนเกียร์ไปที่เกียร์ N หรือเกียร์ว่างทันที” พร้อมกับเหยียบเบรกลึก ๆ จนกว่าสัญญาณไฟเบรกจะทำงาน จากนั้นรีบกดปุ่มสตาร์ทรถเพื่อให้รถติดอีกครั้ง

หรือจะประคองรถเข้าเลนซ้ายโดยไม่ต้องเหยียบเบรก เพื่อให้รถมีแรงเฉื่อย เมื่อรถหยุดนิ่งแล้วค่อยสตาร์ทรถใหม่ แน่นอนว่าก่อนพารถเข้าเลนซ้าย ควรระวังรถจากด้านหลังให้ดี อย่าลืมเปิดไฟฉุกเฉินเด็ดขาด

ในรถมีกลิ่นเหม็นอับ ปุ่มไหนช่วยได้บ้าง ?

อีกหนึ่งประเด็นที่หลาย ๆ คนควรรู้ คือ เมื่อรถมีกลิ่นอับปุ่มระบายอากาศในรถช่วยได้! แถมยังไม่ต้องเสียเวลาเปิดกระจกเพื่อระบายกลิ่นอีกด้วย เพียงแค่เปิดใช้งาน “ปุ่มควบคุมช่องอากาศเข้าหรือปุ่มดูดอากาศในรถ” ซึ่งจะอยู่บริเวณแผงควบคุมระบบปรับอากาศภายในรถ มีสัญลักษณ์เป็นรูปรถยนต์ที่มีลูกศรชี้ผ่านมาจากทางด้านหน้า

โดยปุ่มไล่อากาศในรถจะอยู่ข้าง ๆ กับปุ่มหมุนเวียนอากาศในรถหรือปุ่มอากาศหมุนเวียนในรถ ซึ่งมีสัญลักษณ์เป็นรูปรถและมีลูกศรม้วนย้อนกลับที่ภายในนั่นเอง

จะเกิดอะไรขึ้น หากใช้งานปุ่มควบคุมช่องอากาศเข้า ?

หลังจากที่เปิดใช้งานปุ่มควบคุมช่องอากาศเข้า ที่อยู่ข้าง ๆ ปุ่มอากาศหมุนเวียนในรถแล้ว บนปุ่มจะมีไฟแสดงสถานะขึ้น ระบบก็จะทำการเปิดช่องอากาศเข้าที่อยู่บริเวณใต้กระจกหน้ารถ ทำให้อากาศข้างนอกไหลเวียนเข้ามาภายในรถ กลิ่นไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ ก็จะหายไปในทันที

นอกจากนี้ปุ่มไม่ให้กลิ่นเข้ารถยังมี “ข้อดี” อื่น ๆ อีกเพียบ แถมยังตอบโจทย์คนที่ขับรถระยะทางไกลบ่อย ๆ เพราะจะช่วยให้อากาศภายในรถถ่ายเทได้ดี รวมถึงยังช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในรถ จากการรับอากาศด้านนอกเข้ามา ช่วยให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ไม่ง่วง และไม่อ่อนเพลียง่าย

เชื่อว่าหลายคนคงเข้าใจมากขึ้นแล้ว สำหรับปุ่มหน้ารถยนต์หรือปุ่มในรถต่าง ๆ ว่ามีหน้าที่ยังไง และบางปุ่มหากเผลอกดมั่ว ๆ จะทำให้เกิดผลเสียใด ๆ ตามมาบ้าง เหตุผลที่ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับปุ่มบนรถยนต์ให้ดี ก็เพื่อลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายอื่น ๆ ตามมานั่นเอง อย่าได้คิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่ต้องใส่ใจเด็ดขาด หากไม่อยากปวดหัวในภายหลัง

คำจำกัดความ
​​ฮีตเตอร์ ​อุปกรณ์ที่ทำให้เกิดความร้อน หรือเครื่องกำเนิดความร้อน
​คอมเพรสเซอร์แอร์ ​ทำหน้าที่ อัดสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ส่งไปตามท่อ น้ำยาแอร์ ที่เป็นท่อทองแดง ไปยังเครื่องควบแน่นหรือคอนเด็นซิ่ง
​แรงเฉื่อย ​การต้านทานการเปลี่ยนแปลงสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุใด ๆ ​

เปรียบเทียบราคา หรือ ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่เราพร้อมให้บริการ

บทความที่น่าสนใจ

เพราะเรารู้ว่าคุณรู้สึกสับสนและมึนหัวเพียงใด ในตอนที่ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช่