หัวข้อที่น่าสนใจ
- 6 วิธีเอาตัวรอด เมื่อรถเสียระหว่างทาง
- 1. ตั้งสติให้ดี
- 2. ประคองรถเข้าข้างทาง
- 3. จอดรถให้สนิท
- 4. อย่าพยายามซ่อมรถด้วยตัวเอง
- 5. ไม่ยืนอยู่บริเวณด้านหน้า และด้านหลังรถ
- 6. โทรขอความช่วยเหลือ
- รถเสีย รถเสียตอนกลางคืน ประกันรถยนต์ที่ทำไว้ช่วยอะไรได้บ้าง ?
- บริการช่วยเหลือรถเสียฉุกเฉิน เงื่อนไขอะไรบ้างที่คุณต้องรู้ก่อน ?
- 1. บริการพ่วงแบตฟรี
- 2. บริการรถทดแทน
- 3. บริการเติมน้ำมันฉุกเฉิน
- 4. บริการรถลาก รถยก
- อาการรถเสียที่พบบ่อย พร้อมวิธีรับมือเบื้องต้น
- 1. รถสตาร์ทไม่ติด ดับกลางทาง
- 2. รถยางแบน ยางรั่ว
- 3. มีควันขึ้นมาจากฝากระโปรงรถ
สมัยนี้ผู้หญิงขับรถไปไหนมาไหนด้วยตัวเองเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้วเมื่อเทียบกับเมื่อก่อน แต่ในบริบทการเอาตัวรถเมื่อ “รถเสีย” สุภาพสตรีหลายท่านอาจยังไม่รู้ว่าต้องเอาตัวรอดยังไง ผู้หญิงเจอกับรถเสีย รถพังกลางทาง ต้องทำยังไง ? มิสเตอร์ คุ้มค่า จึงรวมทริคขับรถใช้รถ และวิธีเอาตัวรอด เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์รถเสียฉุกเฉิน โดยเฉพาะเมื่อต้องขับรถคนเดียวตอนกลางคืน รถเสีย รถมีปัญหากลางทางโทรหาใครได้บ้าง ? วิธีรับมือเบื้องต้นทำยังไง ? ตามไปดูพร้อม ๆ กันเลยในบทความนี้
6 วิธีเอาตัวรอด เมื่อรถเสียระหว่างทาง
หากต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์รถเสียในขณะขับรถคนเดียว ผู้หญิงหลายคนคงมีกังวลเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยิ่งรถเสียตอนกลางคืนก็ยิ่งแล้วใหญ่ เอาเป็นว่าตามไปดู 6 วิธีเอาตัวรอดเมื่อรถเสียฉุกเฉินตอนกลางคืนกันเลยดีกว่า
1. ตั้งสติให้ดี
สิ่งแรกที่ผู้หญิงขับรถคนเดียวต้องทำเมื่อเจอเหตุการณ์รถเสียตอนกลางคืน คือ “ตั้งสติให้ดี” แล้วพยายามประคองพวงมาลัยให้นิ่งที่สุด เพราะถ้าหากลนลานอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
2. ประคองรถเข้าข้างทาง
เมื่อรู้ว่ารถเสียระหว่างทาง ควรประคองรถเข้าข้างทางอย่างระมัดระวัง อย่ารีบจนเกินไปเพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุตามมาได้ โดยเริ่มจากเปิดไฟเลี้ยวและเริ่มชะลอรถ จากนั้นก็ประคองรถเข้าข้างทางช้า ๆ
3. จอดรถให้สนิท
หลังจากนำรถเข้าข้างทาง ควรจอดรถให้สนิทพร้อมดึงเบรคมือขึ้น นอกจากนี้อย่าลืมเปิด “ไฟฉุกเฉิน” ไว้ด้วย เพื่อให้รถคันด้านหลังเห็นว่ามีรถเสียฉุกเฉินจอดอยู่ หากในรถมีกรวยจราจรฉุกเฉิน ให้นำไปวางไว้ด้านหลังรถ เพื่อเพิ่มจุดสังเกตให้รถคันอื่น ๆ มองเห็นรถคุณได้ง่ายขึ้น
4. อย่าพยายามซ่อมรถด้วยตัวเอง
หากคุณมีความรู้เรื่องรถ และสามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นเมื่อรถเสียได้ การลงไปซ่อมรถก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดี แต่ก่อนลงจากรถแนะนำว่าให้สังเกตบริเวณรอบ ๆ ก่อน ว่าเป็นจุดเสี่ยงหรือไม่ เช่น เป็นจุดที่จราจรคับคั่ง หรือสถานที่เปลี่ยว ฯลฯ
หากบริเวณรอบ ๆ เป็นอย่างที่เรายกตัวอย่างไปข้างต้น แนะนำว่าไม่ควรลงไปซ่อมรถด้วยตัวเอง เพราะนอกจากจะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้แล้ว ยังไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินอีกด้วย
5. ไม่ยืนอยู่บริเวณด้านหน้า และด้านหลังรถ
“อุบัติเหตุซ้ำซ้อน” หลายคนคงเคยได้ยินประโยคนี้บ่อย หากไม่อยากเจอกับเหตุการณ์แบบนี้กับตัวเอง เมื่อรถเสียพยายามอยู่ให้ห่างจากบริเวณด้านหน้า และด้านหลังรถให้มากที่สุด เพราะมีโอกาสที่รถจากด้านหลังไม่ทันสังเกตรถของคุณที่จอดเสียอยู่
แนะนำว่าให้ยืนรอความช่วยเหลือบริเวณด้านข้างจะดีที่สุด และต้องมีระยะห่างจากตัวรถพอสมควร ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันอุบัติเหตุซ้ำซ้อนที่อาจเกิดขึ้นนั่นเอง
6. โทรขอความช่วยเหลือ
ตามปกติแล้วประกันภัยรถยนต์มักมีศูนย์ช่วยเหลือ รถเสีย หรือบริการช่วยเหลือรถเสียฉุกเฉิน คอยให้บริการ “ผู้เอาประกัน” อยู่แล้ว หากไม่รู้ว่าจะโทรหาใคร สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือฉุกเฉินจากบริษัทประกันรถยนต์ได้เช่นกัน หลังจากแจ้งเรื่องไปไม่นาน บริษัทฯ จะดำเนินการส่งเจ้าหน้าที่ประกันมาหาคุณ หรือประสานงานเพื่อให้ความช่วยเหลือต่อไป
รถเสียฉุกเฉิน โทรหาใครได้บ้าง ?
นอกจากรถเสียฉุกเฉินจะโทรหาบริษัทประกันภัย ขอให้ผู้หญิงขับรถคนเดียวทุก ๆ คนรู้ไว้เลยว่า ยังมี “สายด่วน” อื่น ๆ ที่โทรขอความช่วยเหลือได้อีกเพียบ จดเบอร์ตามนี้ได้เลย!
หน่วยงานทางพิเศษ
- กรมทางหลวง (ทางหลวงและมอเตอร์เวย์): โทร.1586
- ตำรวจทางหลวง: โทร.1193
- กรมทางพิเศษแห่งประเทศไทย (ทางด่วน): โทร.1543
- ดอกเมืองโทลส์เวย์ (ทางยกระดับดอนเมือง): โทร.1233
ศูนย์ช่วยเหลือ รถเสียของแต่ละแบรนด์
นอกจากจะขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานทางพิเศษแล้ว “แบรนด์รถยนต์” ก็มีศูนย์ช่วยเหลือ รถเสียซึ่งเป็นหนึ่งใน “บริการหลังการขาย” คอยให้บริการด้วยเช่นกัน เพียงติดต่อกับทางแบรนด์ พร้อมแจ้งรายละเอียดต่าง ๆ ให้ครบถ้วน เช่น ข้อมูลรถ และข้อมูลของคุณ ปัญหาที่เกิดขึ้น และพิกัด ก็รอรับความช่วยเหลือได้ทันที
- Mitsubishi: บริการช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน 24 ชั่วโมง โทร. 02-039-5785
- Isuzu: สายด่วนลูกค้าสัมพันธ์ โทร. 0-2118-0777
- MG: ติดต่อศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ได้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง โทร. 1267
- Honda: บริการช่วยเหลือฉุกเฉินนอกสถานที่ 24 ชั่วโมงสำหรับเจ้าของรถยนต์ใหม่ ในระยะเวลา 3 ปี โทร. 02-111-1234
- Toyota: บริษัทช่วยเหลือรถเสียฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมง โทร. 1486
- Mazda: บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน โทร. 02-305-8445
- Nissan: บริการช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง โทร. 0-2305-8432
รถเสีย รถเสียตอนกลางคืน ประกันรถยนต์ที่ทำไว้ช่วยอะไรได้บ้าง ?
บางคนอาจมีภาพจำว่า “บริษัทประกันรถยนต์” จะให้ความช่วยเหลือเฉพาะเมื่อเกิดอุบัติเหตุเท่านั้น แต่ขอย้ำอีกครั้งว่า “ รถเสีย “ ก็สามารถโทรแจ้งได้เช่นกัน เพราะบริษัทฯ มีประกันรถเสีย หรือบริการช่วยเหลือรถเสียฉุกเฉินคอยให้บริการ 24 ชั่วโมง ที่สำคัญ ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย! ซึ่งบริษัทฯ จะช่วยเหลือคุณยังไงได้บ้าง ? ตามไปดูกันเลย
- บริการให้คำปรึกษาด้านเทคนิค
- บริการรถยก รถลาก สำหรับยก/ลากจูงไปยังจุดหมายปลายทาง
- บริการช่วยเหลือรถเสียฉุกเฉิน
- บริการช่วยเหลือน้ำมันหมดฉุกเฉิน
- บริการจัดหารถสำหรับใช้ทดแทน
*หมายเหตุ: แต่ละบริษัทฯ อาจมีบริการอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ แนะนำให้ตรวจสอบจากกรมธรรม์ที่ทำไว้ให้ดี
ไม่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน หรือรถเสียฉุกเฉิน รถเสียตอนกลางคืน ก็ไม่ต้องกังวล โดยเฉพาะคนที่ขับรถคนเดียว เนื่องจากบริษัทประกันภัยรถยนต์มีศูนย์ช่วยเหลือ รถเสียคอยให้บริการอยู่ตลอด ช่วยให้คุณอุ่นใจตลอดการเดินทาง หากอยากได้ประกันรถยนต์ที่ตอบโจทย์ แถมยังมีบริการช่วยเหลือรถเสียฉุกเฉินรวดเร็วทันใจ เข้ามาเช็คเบี้ยประกันรถยนต์กับ มิสเตอร์ คุ้มค่า ก่อนได้ เรายินดีนำเสนอแผนประกันที่ตอบโจทย์ เบี้ยประกันรถยนต์ราคาสบายกระเป๋าให้คุณตลอด 24 ชั่วโมง
บริการช่วยเหลือรถเสียฉุกเฉิน เงื่อนไขอะไรบ้างที่คุณต้องรู้ก่อน ?
แม้ว่าบริษัทประกันภัยหลาย ๆ แห่งจะมีบริการช่วยเหลือรถเสียฉุกเฉิน คอยแสตนบายด์ตลอด 24 ชั่วโมง แต่ผู้เอาประกันก็ควรทำความเข้าใจ “เงื่อนไข” เอาไว้ด้วย เพื่อป้องกันปัญหาอื่น ๆ ที่อาจตามมาในภายหลัง โดยเฉพาะ “ค่าใช้จ่าย” ที่อาจเกิดขึ้นจากการเรียกใช้บริการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย โดยเงื่อนไขที่ว่านั้น มีรายละเอียดดังนี้
1. บริการพ่วงแบตฟรี
บริษัทฯ ยินดีประสานงานจัดหาช่างซ่อมจากร้านพ่วงแบตเตอรี่ ใกล้ฉัน มาพ่วงแบตนอกสถานที่ หรือเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้ทันที “แต่ไม่ได้ทำการเปลี่ยนแบตให้ใหม่แต่อย่างใด” เนื่องจากเป็นเพียงบรอการช่วยเหลือ เพื่อให้รถสามารถขับเคลื่อนไปยังอู่ซ่อม หรือศูนย์บริการที่ใกล้ที่สุดเท่านั้น
2. บริการรถทดแทน
เพื่อให้การเดินทางของคุณต่อเนื่อง ไม่สะดุด และเป็นไปตามแพลนที่วางไว้ เมื่อรถยนต์คันที่เอาประกันเกิดเหตุการณ์รถเสียฉุกเฉิน ระยะทางมากกว่า 100 กิโลเมตรขึ้นไป จนต้องเรียกใช้บริการรถลากหรือรถยก และไม่สามารถซ่อมให้แล้วเสร็จได้ภายใน 24 ชั่วโมง
ทางบริษัทฯ จะดำเนินการจัดหารถยนต์ทดแทน รวมถึงที่พัก ตั๋วรถขนส่งสาธารณะ ซึ่ง ‘อาจ’ มีค่าบริการหรือส่วนต่างที่ผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบเพิ่มเติม
3. บริการเติมน้ำมันฉุกเฉิน
หากรถยนต์คันที่เอาประกันดับกลางทางเนื่องจากน้ำมันหมด บริษัทฯ ยินดีจัดหาเจ้าหน้าที่เพื่อนำส่งน้ำมันไปเติมให้ฟรี “ในปริมาณที่เพียงพอต่อการขับรถไปหาปั๊มน้ำมันที่ใกล้ที่สุด”
ซึ่งบริการนี้ “จำกัดจำนวนครั้ง รวมถึงปริมาณในการเติมน้ำมัน (หน่วยเป็นลิตร) ต่อครั้ง” โดยจะเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ทำ แนะนำให้ทำความเข้าใจรายละเอียดต่าง ๆ ให้ดีก่อน
4. บริการรถลาก รถยก
หรณีที่รถเสียไม่สามารถขับเคลื่อนไปไหนได้ จนเป็นเหตุต้องเรียกใช้บริการรถลากหรือรถยก บริษัทฯ จะจัดหารถยกหรือรถลาก ใกล้ฉัน เพื่อช่วยเคลื่อนย้ายรถยนต์นำส่งอู่ซ่อมหรือศูนย์บริการที่ใกล้ที่สุด “โดยให้บริการฟรีที่ระยะทางเริ่มต้น 25 กิโลเมตร หากเกินกว่าที่กำหนด ผู้เอาประกันอาจต้องรับผิดชอบราคารถลาก รถเสียเพิ่มเติมเอง”
อาการรถเสียที่พบบ่อย พร้อมวิธีรับมือเบื้องต้น
ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์รถเสียตอนกลางคืน รถเสียฉุกเฉิน หรือใด ๆ ก็ตาม มักเกิดจาก “อาการ” เพียงไม่กี่อย่าง ซึ่งคนใช้รถไม่ว่าจะหญิงหรือชายมีเรื่องที่ต้องรู้ไว้เป็นพื้นฐานในการใช้รถ และต่อไปนี้คืออาการและวิธีรับมือรถเสียแต่ละแบบ “ขั้นเบื้องต้น” มาให้ทำความเข้าใจก่อนออกเดินทาง ดังนี้
1. รถสตาร์ทไม่ติด ดับกลางทาง
รถดับสตาร์ทไม่คิด ผู้หญิงขับรถรวมถึงผู้ขับขี่คนอื่น ๆ ต้องสันนิษฐานว่า “แบตหมด” เป็นอันดับแรกแน่นอน แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาการดังกล่าวเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้ามีปัญหา, ไดชาร์จชำรุด รวมถึงขั้วลบของแบตเตอรี่หลวม เป็นต้น
วิธีรับมือเบื้องต้น:
เมื่อเกิดอาการดังกล่าวขึ้น แต่รถยนต์ยังไม่ดับสนิททันที ให้รีบประคองรถเข้าข้างทาง แต่ถ้าหากรถดับไปแล้ว ไม่สามารถเคลื่อนรถไปไหนได้อีก ให้เปิดไฟฉุกเฉินเพื่อให้รถที่ขับตามมาเลี่ยงไปทางอื่น จากนั้นจึงค่อยโทรขอความช่วยเหลือจากรถลาก หรือหน่วยงานอื่น ๆ ต่อไป
2. รถยางแบน ยางรั่ว
อาการรถยางแบนมักเกิดจากความหละหลวม ลืมเช็คลมยางก่อนออกเดินทาง ส่วนอาการยางรั่วมักเกิดจากการขับรถเหยียบของแหลม เช่น เศษกระจก ตะปู ของมีคมหรือของแข็งอื่น ๆ หากเป็นแบบนี้ไม่ควรฝืนขับต่อเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
วิธีรับมือเบื้องต้น:
หากรับรู้ได้ถึงอาการผิดปกติโดยเฉพาะในส่วนของ “ช่วงล่าง” และสังเกตเห็นว่ายางแบน ให้นำรถจอดบริเวณที่ปลอดภัย กรณีมียางสำรอง ประกอบกับเปลี่ยนเองได้ ก็ให้เปลี่ยนยางด้วยตัวเองได้เลย จากนั้นค่อยนำรถยนต์เข้าศูนย์ที่ใกล้ที่สุด ในกรณีที่เปลี่ยนไม่เป็นหรือไม่มียางอะไหล่ ก็ไม่ต้องกังวล ให้โทรขอความช่วยเหลือรถเสียฉุกเฉินตามสายด่วนได้เลย
3. มีควันขึ้นมาจากฝากระโปรงรถ
ปกติแล้วหากเกิดเหตุการณ์รถเสียฉุกเฉิน เนื่องจากมีควันพวยพุ่งออกมาจากฝากระโปรงรถ มักเกิดจาก “เครื่องยนต์ร้อนเกินไป” ส่งผลให้น้ำในระบบหล่อเย็นเดือด จนเกิดการระเหยและดันออกมาจากฝากหม้อน้ำ
วิธีรับมือเบื้องต้น:
แนะนำให้รีบเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินพร้อมนำรถจอดข้างทางอย่างระมัดระวัง จากนั้นทำการดับเครื่องยนต์เพื่อเปิดฝากระโปรงรถระบายความร้อน เมื่ออุณหภูมิเครื่องยนต์เริ่มเย็นลง ให้ค่อย ๆ เปิดฝาหม้อน้ำออกทีละนิดเพื่อระบายความร้อนก่อนเติมน้ำเข้าไป
แม้ว่าในปัจจุบันรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ จะมีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย พบเจอกับปัญหาต่าง ๆ ได้น้อยมาก แต่ “ รถเสีย “ ก็เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่คาดเดาได้ยาก ว่าจะเกิดหรือไม่เกิดตอนไหน ดังนั้นหากคุณเป็นผู้หญิงขับรถไปไหนมาไหนตัวคนเดียวบ่อย ๆ นอกจากจะต้องเรียนรู้วิธีรับมือเบื้องต้น และจดเบอร์โทรฉุกเฉินไว้แล้ว การเลือกซื้อประกันรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุม มีบริการช่วยเหลือรถเสียฉุกเฉินที่ตอบโจทย์ ก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีมาก ๆ เลยล่ะ
คำจำกัดความ
อุบัติเหตุซ้ำซ้อน | มีรถชนกันมากกว่า 2 คันขึ้นไป โดยมีสาเหตุจากการที่รถคันที่ขับตามหลังมาเบรกไม่ทัน และชนซ้ำรถที่ประสบอุบัติเหตุอยู่ |
หละหลวม | สะเพร่า, ไม่รอบคอบ, ไม่ถี่ถ้วน, ไม่รัดกุม |
ไดชาร์จ | อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าให้กับระบบต่าง ๆ ในรถยนต์ |