หัวข้อที่น่าสนใจ
- 6 กลิ่นในรถ ที่ควรระวังมีอะไรบ้าง ?
- 1. กลิ่นน้ำเชื่อม
- 2. กลิ่นน้ำมันเชื้อเพลิง
- 3. กลิ่นไหม้
- 4. กลิ่นควันไอเสีย
- 5. กลิ่นฉุน
- 6. กลิ่นเหม็นอับ
- 3 วิธีรับมือกลิ่นไหม้ในรถ ที่เจ้าของรถควรรู้ ?
- 1. หลีกเลี่ยงการเหยียบเบรกกะทันหัน
- 2. เปลี่ยนน้ำมันเกียร์
- 3. เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
- รถมีกลิ่นเหม็นอับ กำจัดกลิ่นในรถยังไงดี ?
- 1. ใบชาจีน
- 2. แสงแดด
- 3. น้ำส้มสายชู
- กลิ่นรถใหม่เป็นอันตรายไหม ถ้าต้องสูดดมทุกวัน ?
“รถพูดไม่ได้” แต่ส่งสัญญาณเตือนได้! ผ่านอาการการใช้งานที่ผิดปกติ รวมไปถึงเรื่องกลิ่นที่บางครั้งไม่ใช่แค่ทำให้รำคาญแก่ผู้โดยสาร กลิ่นในรถที่โชยออกมาให้ได้กลิ่นอยู่ทุกวัน หากเป็นกลิ่นอับในรถก็ยังไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นกลิ่นไหม้ในรถ เหม็นไหม้ขึ้นมา บอกเลยว่า “งานงอก” ถ้าไม่รีบจอดและหาต้นตอหรือตรวจเช็กให้ดีอาจก่อให้เกิดอันตรายระหว่างใช้รถได้ ไปจนถึงคร่าชีวิตคนในรถได้เลยก็มีให้เห็นในข่าวมาแล้ว
แล้วเรื่องของกลิ่นที่คุณอาจได้รับรู้เมื่ออยู่ในรถจะมีอะไรบ้าง แต่ละแบบตัวรถกำลังจะบอกอะไรคุณ ตาม มิสเตอร์ คุ้มค่า ไปหาคำตอบกันเลย
6 กลิ่นในรถ ที่ควรระวังมีอะไรบ้าง ?
สิ่งที่ช่วยให้คุณสังเกต “ความผิดปกติ” บนรถยนต์ได้ง่าย นอกจากจะเป็นอาการสั่นแบบผิดปกติแล้ว ยังมีเรื่อง “ กลิ่นในรถ “ ที่ช่วยได้เช่นกัน ซึ่งแต่ละกลิ่นจะเป็นเพียงกลิ่นอับธรรมดา หรือสัญญาณเตือนอันตรายกันล่ะ?
1. กลิ่นน้ำเชื่อม
กลิ่นหอมหวาน ดูไม่มีพิษมีภัยอย่างกลิ่นน้ำเชื่อม เป็นกลิ่นที่หลาย ๆ คนมักมองข้าม แต่ในความเป็นจริง อาจกำลังเตือนถึงสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นจากหม้อพักน้ำหล่อเย็นรั่วซึม แม้จะไม่ได้เป็นอันตรายมากมายนัก แต่ทว่ามันกลับดึงดูดกองทัพมด หรือสัตว์ตัวเล็ก ๆ อย่างหนูเข้ามาในห้องเครื่องยนต์ได้
แน่นอนว่าการที่สัตว์ต่าง ๆ เข้ามาในรถยนต์ โดยเฉพาะในส่วนของห้องเครื่องนั้น อาจทำให้ปัญหาบานปลายมากขึ้นกว่าเดิม เพราะพวกมันอาจกัดระบบสายไฟต่าง ๆ จนเสียหาย แนะนำให้นำรถไปตรวจเช็กระบบระบายความร้อน ว่ามีจุดไหนที่เสียหายเกิดขึ้นหรือไม่
2. กลิ่นน้ำมันเชื้อเพลิง
กลิ่นน้ำมันเชื้อเพลิงที่เกิดขึ้นเมื่อสตาร์ทรถ ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นปกติทั่วไป เนื่องจากการเผาไหม้ยังไม่สมบูรณ์ แต่ถ้าหากได้กลิ่นนี้ขณะขับรถ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าเป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น
นอกจากนี้อาจมีการรั่วซึมของน้ำมันเชื้อเพลิงที่จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งเกิดได้จากน้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์รั่ว, ถังน้ำมันรั่ว, ฝาถังน้ำมันหลวม หรืออาจเกิดความผิดปกติที่ท่อไอเสีย ให้นำรถยนต์ไปตรวจเช็กอาการโดยด่วน เพราะมีโอกาสเกิดอันตรายสูงมาก ๆ
3. กลิ่นไหม้
หากรถยนต์คันโปรดของคุณมีกลิ่นไหม้โชยออกมา ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นระหว่างใช้งานมากกว่าจอดปกติ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ระบบไฟฟ้าภายในรถชำรุด เช่น ฟิวส์ขาด, ผ้าเบรกกำลังมีปัญหา หรือคอมเพรสเซอร์แอร์ร้อนจัด
โดยกลิ่นไหม้ในรถจะมีความคล้ายกับพลาสติกไหม้ หากได้กลิ่นประมาณนี้ แม้จะเป็นเพียงแค่นิดเดียวควรนำรถจอดเข้าข้างทาง หรือนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็กในทันที
4. กลิ่นควันไอเสีย
ควันไอเสียจะดำหรือขาวทุกคนน่าจะเคยชินหรือรู้เป็นอย่างดีว่าเป็นยังไง แต่ถ้าเกิดคุณได้กลิ่นในขณะที่อยู่ในรถประตูปิดสนิทนี่ “ไม่ดีแน่ศรี” กลิ่นควันรถไอเสียไม่เพียงแต่จะเป็นสัญญาณเตือนของ “ระบบการทำงานท่อไอเสียรั่ว” เท่านั้น แต่ยังบ่งบอกถึงปัญหาซีลตัวรถตามหน้าต่าง หรือขอบประตูที่กำลังเสื่อมสภาพด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นจุดที่ต้องระวัง โดยเฉพาะเมื่อเริ่มเข้าสู่หน้าฝน แนะนำให้ดำเนินการตรวจเช็กและแก้ไขโดยด่วน
5. กลิ่นฉุน
อันตรายพอ ๆ กับกลิ่นควันไอเสีย ตามปกติแล้วกลิ่นฉุนเป็นหนึ่งในอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับท่อแคทหรือท่อไอเสียรถยนต์ เนื่องจากท่อมีหน้าที่ในการบำบัดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ที่ฉุน ให้กลายเป็นก๊าซไนโตรเจนและออกซิเจน ที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายแบบเฉียบพลันได้เลย ถ้าได้กลิ่นตอนอยู่ในรถต้องรีบเปิดกระจกให้อากาศเสียถ่ายเทออกไป
หากมีการชำรุดเกิดขึ้น ประกอบกับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้มีกำมะถันสูงร่วมด้วย จะทำให้เครื่องยนต์ปล่อยมลพิษออกมา จนทำให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารเกิดอาการแสบจมูก แนะนำว่าควรหมั่นตรวจเช็กระบบไอเสียอย่างสม่ำเสมอ
6. กลิ่นเหม็นอับ
กรณีที่กลิ่นอับในรถไม่ได้เกิดจากการนำอาหาร หรือของกินที่มีกลิ่นแรงเข้ามาในรถ แต่เกิดขึ้นทุกครั้งที่สตาร์ทเครื่องยนต์ และเปิดที่ปรับอากาศ ส่วนใหญ่มักเกิดจาก “เชื้อรา” บริเวณกรองแอร์ หรือส่วนอื่น ๆ ในระบบการทำงานที่ไม่ได้เปลี่ยนตามอายุการใช้งาน จึงทำให้เกิดการหมักหมมของสิ่งสกปรก
วิธีแก้เบื้องต้นคือ ให้ทำการเร่งลมแรงให้แรงที่สุด พร้อมเปิดหน้าต่างเพื่อกำจัดกลิ่นในรถออกสู่ด้านนอก ก่อนนำรถยนต์ไปตรวจเช็กระบบแอร์ที่ศูนย์บริการอีกครั้ง
หากได้กลิ่นอันตรายเหล่านี้ ดีที่สุดในจอดรถเช็ค ดูความผิดปกติในจุดเสี่ยงก่อนดีที่สุด บางกลิ่นอันตรายหนักไม่ควรฝืนขับต่อเพราะมีแต่จะเสี่ยงให้รถเสียงหายหนักหรือคนในรถได้รับอันตราย และนอกจากจะเสาะหาต้นต้อของกลิ่นในรถ ทั้งกลิ่นไหม้ในรถ กลิ่นอับในรถ กลิ่นฉุน รวมถึงกลิ่นอื่น ๆ ที่ไม่พึงประสงค์ การมองหาประกันภัยรถยนต์ที่พร้อมให้ความคุ้มครองครอบคลุม ตอบโจทย์ แถมราคาสบายกระเป๋า ก็ช่วยให้คุณอุ่นใจได้มาก ๆ เช่นกัน มิสเตอร์ คุ้มค่า ยินดีนำเสนอประกันรถยนต์ที่ดีที่สุดให้คุณ เข้ามาเช็คเบี้ยประกันรถยนต์กับเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง
3 วิธีรับมือกลิ่นไหม้ในรถ ที่เจ้าของรถควรรู้ ?
ขอย้ำอีกครั้งว่า “ กลิ่นไหม้ในรถ “ เป็นหนึ่งในอาการผิดปกติที่เจ้าของรถไม่ควรมองข้าม หากสามารถตามหาต้นตอ หรือหมั่นสังเกตกลิ่นไหม้สม่ำเสมอ จะช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ดีมาก ๆ และเราก็ได้รวบรวม 3 วิธีรับมือมาให้แล้ว ไปดูกัน
1. หลีกเลี่ยงการเหยียบเบรกกะทันหัน
หากรถมีกลิ่นไหม้จากการเบรก เมื่อเปลี่ยนชิ้นส่วนประกอบใหม่แล้ว ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ที่เสี่ยงต่อการเสียดสีให้มาก ๆ โดยเฉพาะเมื่อต้องขับรถทางไหล หรือขับรถขึ้นเขา ขึ้นทางลาดชัน แนะนำว่าควรแตะเบรกเป็นระยะ อย่าเหยียบเบรกกะทันหัน รวมถึงควรจอดแวะพัก เพื่อไม่ให้เครื่องยนต์ทำงานหนักจนเกินไปด้วย
2. เปลี่ยนน้ำมันเกียร์
รถยนต์รุ่นใหม่ ๆ ในปัจจุบัน นิยมใช้ “ระบบเกียร์ออโต้” เนื่องจากมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาช่วยเพิ่มความสะดวกสบายได้มากกว่า แต่เมื่อใช้งานไปสักระยะ บวกกับขาดการดูแลรักษาที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาด ไปจนถึงการเปลี่ยนน้ำมันเกียร์
อาจทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น เกียร์กระตุก เกียร์มีเสียงผิดปกติ และทำให้มีกลิ่นไหม้ในรถได้ด้วยเช่นกัน แนะนำว่าควรเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ทุก ๆ 20,000-30,000 กิโลเมตร หรืออย่างน้อยปีละครั้ง
3. เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะที่กำหนด ช่วยปกป้องสมรรถนะเครื่องยนต์ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการใช้งานรถยนต์ที่น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพ ถือเป็นการเร่งให้เครื่องยนต์ทำงานหนัก แถมยังเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดกลิ่นไหม้ร่วมด้วย
รถมีกลิ่นเหม็นอับ กำจัดกลิ่นในรถยังไงดี ?
ในกรณีที่มีกลิ่นในรถ โดยเฉพาะ “กลิ่นอับ” คละคลุ้งเต็มไปหมด หลายคนมักเลือกวิธีดับกลิ่นในรถ ด้วยการนำ “น้ำหอมติดรถยนต์” มาติดตั้งเป็นอันดับแรก แต่จริง ๆ เรามีวิธีดูดกลิ่นในรถที่ดีกว่านั้น จะมีอะไรบ้าง? ไปดูกัน!
1. ใบชาจีน
ใบชาจีนมีคุณสมบัติในการดูดกลิ่นในรถได้ดีมาก ๆ แนะนำให้นำใบชาจีนห่อด้วยผ้าโปร่ง จากนั้นนำไปวางไว้ในรถ ซึ่งสามารถวางได้หลายจุดตามต้องการ
2. แสงแดด
แสงแดดในบ้านเราโดยเฉพาะช่วงกลางวัน มีอุณหภูมิสูงถึง 40 องศาเซลเซียส หากนำรถไปจอดตากแดดเอาไว้ พร้อมกับเปิดประตูหน้าต่างทุกบาน ก็จะช่วยระบายความชื้นและทำลายเชื้อโรคได้ดีมาก ๆ แถมกลิ่นอับต่าง ๆ ก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัดอีกด้วย
3. น้ำส้มสายชู
น้ำส้มสายชูมีความเปรี้ยว และมีคุณสมบัติในการดับกลิ่นในรถและความชื้นได้ดี แนะนำให้ใช้ปริมาณ 2-4 ช้อนโต๊ะ ใส่ภาชนะตั้งไว้ในรถประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพียงเท่านี้ก็ช่วยกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้แล้วล่ะ
กำจัดกลิ่นในรถด้วยน้ำหอมปรับอากาศ อาจไม่ใช่เรื่องดีเสมอไป ?
เมื่อพูดถึงเรื่องกำจัดกลิ่นในรถ สิ่งแรกที่หลายคนนึกถึงคงไม่พ้น “น้ำหอมติดรถยนต์” ซึ่งในความเป็นจริงไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีสักเท่าไหร่ เพราะอาจทำให้ “แอร์พัง” ได้ เนื่องจากน้ำหอมปรับอากาศมีสารระเหยที่เป็นอันตราย ไม่ว่าจะเป็นพิมเสน การบูร หรืออื่น ๆ สารเหล่านี้จะระเหยวนเวียนอยู่ในระบบแอร์ จากนั้นก็จะไปติดเกาะบริเวณรังผึ้งและกรองแอร์ ทำให้แอร์ตัน แอร์ไม่เย็น และพังในที่สุด
นอกจากนี้การดับกลิ่นในรถด้วยวิธีนี้ ยังอันตรายต่อสุขภาพมาก ๆ เนื่องจาก “น้ำหอมติดรถยนต์เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็ง” ยิ่งมีกลิ่นหอมมากเท่าไหร่ ยิ่งมีสารเคมีมากเท่านั้น เมื่อสูดดมเข้าร่างกายเป็นเวลานาน จะถือเป็นการสะสมเชื้อที่ก่อให้เกิดมะเร็งเข้าสู่ร่างกายแบบไม่รู้ตัว
กลิ่นรถใหม่เป็นอันตรายไหม ถ้าต้องสูดดมทุกวัน ?
อีกหนึ่งประเด็นที่หลายคนสงสัย คือ “กลิ่นรถใหม่” อันตรายไหม? บอกเลยว่าค่อนข้างน่ากังวล เพราะกลิ่นดังกล่าวเป็นกลิ่นของสารอินทรีย์ระเหยง่าย หรือเรียกอีกอย่างว่า VOCs (Volatile Organic Chemicals) ที่สามารถระเหยเป็นไอและกระจายอยู่ในอากาศ
ซึ่งสารอินทรีย์เหล่านี้ประกอบด้วยเบนซิน, ไซลีน, โทลูอีน, ฟอร์มาลดีไฮด์, อะซีโตน และสไตรีน สารพิษที่ปล่อยออกมาอาจไม่คงที่ จะลดลง 20% ต่อสัปดาห์หลังจากผลิต และจะยังมีระดับสูงเกินกว่ากำหนดจนกว่าจะเวลาจะผ่านไป 6 เดือน ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจากร่างกายเมื่อสูดดมกลิ่นรถใหม่ไปนาน ๆ มีดังนี้
- เกิดอาการปวดศีรษะ ง่วงนอน อ่อนเพลีย และระคายเคืองตา จมูก ช่องคอ
- บางครั้งอาจถึงขั้นหมดสติได้
ซึ่งในปัจจุบันผู้ผลิตรถยนต์ได้หันมาใส่ใจสุขภาพของผู้ขับขี่ และผู้โดยสารมากขึ้น ด้วยการพยายามลดการใช้สารเคมีที่ก่อให้เกิดสารพิษ รวมถึงหลาย ๆ ค่ายก็ได้เลิกใช้ PVC ที่เป็นส่วนประกอบภายในรถยนต์ และกว่าร้อยละ 60 ของรถยนต์ ก็ได้เลิกใช้สารโบมีนกันแล้วด้วย
หากไม่อยากพบเจอกับปัญหาน่าปวดหัวที่อาจเกิดขึ้น อย่าได้คิดมองข้ามกลิ่นในรถที่โชยมาแตะจมูกเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นไหม้ในรถ กลิ่นอับในรถ กลิ่นฉุน ก็ตาม เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้ ไม่ใช่แค่เรื่องกลิ่นที่คอยกวนใจแน่นอน แต่อาจต้องควักจ่ายค่าเสียหายที่เกิดขึ้นตามมา จนเข็ดกันไปอีกนานเลยทีเดียว
คำจำกัดความ
สมรรถนะ | ความสามารถ, ใช้แก่เครื่องยนต์ |
เสียดสี | ถูกันไปมา |
หมักหมม | ปล่อยทิ้งไว้ให้คั่งค้างอยู่มาก |