หัวข้อที่น่าสนใจ
- พฤติกรรมเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุรถชน มีอะไรบ้าง ?
- 1. เล่นโทรศัพท์มือถือ
- 2. ฝ่าฝืนกฎจราจร
- 3. เปลี่ยนเลนกะทันหัน
- 4. ขับรถตอนง่วงนอน
- 5. เปิดไฟสูงเมื่อมีรถคันอื่นขับสวนมา
- กฎหมายเมาแล้วขับ 2567 อัปเดตโทษแล้วนะ รู้ยัง ?
- เข้าข่ายเมาแล้วขับ ต้องมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเท่าไหร่ ?
- โทษเมาแล้วขับ มีอะไรบ้าง ?
- ขับรถเร็วเกินกําหนด โทษคืออะไร ?
- ตัด 1 คะแนน
- ตัด 2 คะแนน
- ตัด 3 คะแนน
- ตัด 4 คะแนน
หลายคนอาจไม่รู้ตัวว่า “พฤติกรรมการขับขี่” ของตัวเองนั้น “เสี่ยง” ต่อการเกิดอุบัติเหตุรถชน ขับรถตกไหล่ทาง หรือรถคว่ำเอาง่าย ๆ และเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนั้นขึ้น บางครั้งแค่ไม่ขับรถเร็วอาจไม่พอ ต้องเพิ่มความระมัดระวังในจังหวะขับขี่ เลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดเหตุร้ายบนท้องถนน ตามมิสเตอร์ คุ้มค่า ไปดูกันว่ามีพฤติกรรมไหนบ้างเพื่อคุณจะได้เพิ่มความระมัดระวังในการใช้ถนนมากกว่าเดิม
พฤติกรรมเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุรถชน มีอะไรบ้าง ?
ย้ำก่อนว่าสิ่งสำคัญเป็นอันดับแรก ๆ ในการใช้รถใช้ถนน คือ “ความระมัดระวัง” หากคุณกังวลว่าตัวเองเผลอทำพฤติกรรมเสี่ยง ที่อาจทำให้เกิดเหตุการณ์รถตกไหล่ทาง รถคว่ำ และรถชน เราไปเช็คพฤติกรรมเสี่ยงที่ควรเลี่ยงกันก่อนเลยดีกว่า
1. เล่นโทรศัพท์มือถือ
ในปัจจุบันโทรศัพท์มือถือถือเป็นปัจจัยที่ 5 ที่หลาย ๆ คนขาดไม่ได้ ไม่ว่าจะทำงาน สั่งซื้อของออนไลน์ แต่ไม่ว่าคุณจะมีเหตุผลร้อยแปดใด ๆ ก็ตาม การใช้โทรศัพท์ระหว่างขับรถ ถือเป็นพฤติกรรมเสี่ยง เนื่องจากสมาธิที่ควรจดจ่ออยู่กับการขับรถ กลับไปโฟกัสที่โทรศัพท์มือถือแทน
นอกจากนี้จะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนแล้ว ยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ที่ระบุเอาไว้ว่า “หากฝ่าฝืนใช้โทรศัพท์มือถือระหว่างขับขี่ จะมีโทษปรับ 400-1,000 บาท”
2. ฝ่าฝืนกฎจราจร
“กฎจราจร” คือ กฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมการใช้ถนนของผู้ขับขี่ทุกคน เพราะฉะนั้นจึงมีความสำคัญมาก ๆ หากฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตาม นอกจากจะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุรถชนแล้ว ยังเสี่ยงต่อการได้รับโทษด้วย เช่น ขับรถเร็วเกินกําหนด โทษปรับสูงสุด 4,000 บาท และโดนตัดคะแนนความประพฤติทันที 1 คะแนน เป็นต้น
3. เปลี่ยนเลนกะทันหัน
หากคุณขับขี่มาด้วยความเร็วแล้วเปลี่ยนเลนกะทันหัน หรือที่คุ้นเคยกันดีในคำว่า “ปาดหน้า” รถคันอื่นที่สัญจรอยู่บนถนน นอกจากจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากรถคันหลังหยุดรถไม่ทันแล้ว ยังอาจเกิดความสูญเสียตามมาได้เลย
4. ขับรถตอนง่วงนอน
หลายคนมักชอบพูดติดปากว่า “นอนน้อย แต่นอนนะ” ซึ่งหากเป็นการขับรถล่ะก็ การอดนอนไม่กี่ชั่วโมงหรือการพักผ่อนไม่เพียงพอ เสี่ยงต่อการหลับในได้เลย หากรู้สึกว่าไม่ไหว อ่อนเพลีย ง่วง ห้ามขับรถเด็ดขาด
5. เปิดไฟสูงเมื่อมีรถคันอื่นขับสวนมา
การเปิดไฟตัดหมอก เปิดไฟสูงในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม ถือเป็นหนึ่งในพฤติกรรมเสี่ยงที่ควรเลี่ยง เนื่องจากเป็นการรบกวนทัศนวิสัย และการมองเห็นของรถคันอื่น ๆ ที่ขับสวนมา แนะนำว่าควรเปิดเท่าที่จำเป็น เช่น วันที่ฝนตกหนัก หรือหมอกลงหนา เป็นต้น
ไม่ว่าคุณจะเผลอทำพฤติกรรมเสี่ยงใด ๆ ก็ตาม เพียงเวลาแค่เสี้ยววินาทีก็สามารถเกิดอุบัติเหตุรถชน รถคว่ำ รถตกไหล่ทาง และอุบัติเหตุอื่น ๆ ได้ทั้งนั้น คงจะดีไม่ใช่น้อยหากมี “ประกันภัยรถยนต์” ที่ให้ความคุ้มครองตอบโจทย์ ไม่ว่าจะเดินทางไปไหนก็อุ่นใจ เบี้ยประกันรถยนต์ที่ใช่ แผนประกันที่ชอบได้แล้ววันนี้ ที่เว็บไซต์ MrKumka.com เรายินดีมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้คุณตลอดการเดินทาง
รถชน ไม่มีใบขับขี่เคลมประกันรถยนต์ได้ไหม ?
สงสัยไหมว่า ? กรณีที่ประสบอุบัติเหตุรถชน รถคว่ำ รถตกไหล่ทาง แต่ไม่มีใบขับขี่ แบบนี้ประกันจ่ายไหม ? แจ้งเคลมประกันหรือเรียกค่าสินไหมทดแทน รถชนได้หรือไม่ ? คำตอบคือ “ขึ้นอยู่กับกรณีว่าคุณเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด” โดยมีรายละเอียดดังนี้
ไม่มีใบขับขี่แต่เป็นฝ่ายถูก
หากรถยนต์ของคุณทำประกันชั้น 1, 2+ หรือ 3+ เอาไว้ จะสามารถเรียกค่าสินไหมทดแทน รถชนหรือแจ้งเคลมได้ตามปกติ ส่วนในเรื่องของกฎหมายกรณีไม่พกใบขับขี่ ไม่ว่ายังไงคุณก็ต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบความผิดที่เกิดขึ้น
ไม่มีใบขับขี่แล้วเป็นฝ่ายผิด
กรณีที่ไม่มีใบขับขี่แล้วยังเป็นฝ่ายผิด คุณก็ยังคงได้รับความคุ้มครองตามเดิม แต่อาจมีรายละเอียดความคุ้มครองที่ต่างออกไป ดังนี้
- ไม่มีใบขับขี่แต่มาขับรถ ประกันจะไม่รับผิดชอบทุกกรณี
- มีใบขับขี่แต่ไม่ได้พกติดตัว ประกันจะคุ้มครองความเสียหายครบถ้วน ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์
- ถูกยึดใบขับขี่ ก็ยังคงได้รับความคุ้มครองตามเดิม แต่ต้องมีหลักฐานมาแสดงต่อบริษัทว่าถูกยึดใบขับขี่จริง
กฎหมายเมาแล้วขับ 2567 อัปเดตโทษแล้วนะ รู้ยัง ?
นอกจาก “แอลกอฮอล์” จะขึ้นชื่อว่าเป็นน้ำเปลี่ยนนิสัยแล้ว ยังทำให้สติของคุณพร่ามัวได้ด้วยเช่นกัน หากฝืนขับรถแม้จะบอกว่า “ขับได้ ขับไหว” ก็อาจทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ แถมในปี 2567 ก็ได้มีการอัปเดตกฎหมายเมาแล้วขับแล้วด้วย โดยมีรายละเอียดที่ควรรู้ดังนี้
เข้าข่ายเมาแล้วขับ ต้องมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเท่าไหร่ ?
เชื่อว่าหลายคงเกิดความสงสัยไม่น้อย ว่าขับรถแอลกอฮอล์ ไม่เกินเท่าไหร่ ถึงไม่เข้าข่าย “เมาแล้วขับ” หรือต้องมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดแค่ไหน ถึงต้องโทษเมาแล้วขับ ซึ่งเราได้รวบรวมคำตอบมาให้แล้ว โดยมีรายละเอียดดังนี้
- แอลกอฮอล์ในเลือด 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และเสียค่าปรับ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงถูกพักใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- กรณีขับรถแอลกอฮอล์ ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หากมีอายุน้อยกว่า 20 ปี มีเพียงใบขับขี่ชั่วคราว หรืออยู่ระหว่างพักใบขับขี่ จะไม่ถือว่าเมาแล้วขับ แต่เป็นการเมาสุราเท่านั้น
โทษเมาแล้วขับ มีอะไรบ้าง ?
นอกจากโทษเมาแล้วขับจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000-20,000 บาท ก็ยังมีโทษอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย หลัก ๆ คือ กรณีไม่ยอมเป่าแอลกอฮอล์ และเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ร่างกาย ซึ่งทั้ง 2 กรณีมีโทษดังนี้
ไม่ยอมเป่าแอลกอฮอล์
หากไม่ยอมเป่าแอลกอฮอล์ ในทางกฎหมายจะถือว่าเมาแล้วขับทันที โทษจะเหมือนกัน คือ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
เมาแล้วขับ จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่ร่างกาย
กรณีเมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายต่อร่างกายและจิตใจ มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี ปรับ 20,000-100,000 บาท และถูกพักใบอนุญาตขับขี่ไม่ต่ำกว่า 1 ปี หรือเพิกถอนถาวร
ขับรถเร็วเกินกําหนด โทษคืออะไร ?
อีกหนึ่งพฤติกรรมเสี่ยงที่มีความผิดตามกฎหมาย คือ “ขับรถเร็วเกินกฎหมายกำหนด” โดยกฎกระทรวงได้กำหนดความเร็วรถยนต์เอาไว้ดังนี้
- รถยนต์ 4 ล้อ ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถยนต์ 4 ล้อ วิ่งบนทางด่วนได้ไม่เกิน 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถบรรทุกที่มีน้ำหนักเกิน 2,200 กิโลกรัม, รถบรรทุกคนโดยสารเกิน 15 คน ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถบรรทุกมากกว่า 2,200 กิโลกรัม หรือรถโดยสารเกิน 15 คน ขับบนทางยกระดับหรือทางด่วนได้ไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถโรงเรียนหรือรถรับส่งนักเรียน ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถโรงเรียนหรือรถรับส่งนักเรียน ขับบนทางด่วนได้ไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- รถจูงรถอื่น รถยนต์สี่ล้อเล็ก หรือรถยนต์สามล้อ ให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
บอกไว้ตรงนี้เลยว่าข้อกำหนดเกี่ยวกับความเร็วรถยนต์ ที่เรานำมาบอกต่อเมื่อข้างต้น อ้างอิงจากกฎหมายจราจรใหม่ 2567 จึงจำเป็นต้องรู้เอาไว้ เพื่อป้องกันการโดนโทษปรับ จำคุก รวมถึงการโดนตัดแต้มความประพฤติใบขับขี่ จนในท้ายที่สุดอาจถึงขั้นโดนสั่งพักใบอนุญาตขับขี่ได้เลย
แต้มใบขับขี่คืออะไร ? ใช้เกณฑ์การตัดแต้มยังไงบ้าง ?
“แต้มใบขับขี่” คือ คะแนนความประพฤติของผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคน ซึ่งเดิมทีจะมี 12 แต้มเท่า ๆ กัน หากพบว่ามีพฤติกรรมเข้าข่าย 20 ฐานความผิด ก็จะถูกตัดแต้มในทันที โดยแบ่งระดับความรุนแรงออกเป็น 4 ระดับ ดังนี้
ตัด 1 คะแนน
ความผิดที่เข้าเกณฑ์การตัดแต้มใบขับขี่ 1 คะแนน ได้แก่
- ขับรถเร็วเกินกว่ากำหนด
- ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย
- ไม่สวมหมวกกันน็อค
- ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับขี่
- ไม่ติดป้ายภาษี และไม่ชำระค่าปรับที่คงค้าง
- ขับรถบนทางเดินเท้า
- ไม่หยุดรถเมื่อมีคนใช้ทางม้าลาย
- ไม่หลบรถพยาบาลฉุกเฉิน
- ขับรถโดยประมาท
- ไม่ติดตั้งป้ายทะเบียนให้ถูกต้อง
ตัด 2 คะแนน
ความผิดที่เข้าเกณฑ์การตัดแต้มใบขับขี่ 2 คะแนน ได้แก่
- ขับรถฝ่าไฟแดง
- ขับรถย้อนศร
- ใช้งานรถในขณะที่ใบอนุญาตถูกยึด หรือถูกพักใช้งาน
ตัด 3 คะแนน
ความผิดที่เข้าเกณฑ์การตัดแต้มใบขับขี่ 3 คะแนน ได้แก่
- ขับรถในขณะที่หย่อนความสามารถ
- เกิดอุบัติเหตุรถชนแล้วหนี
- ขับรถในลักษณะที่ผิดปกติวิสัย
ตัด 4 คะแนน
ความผิดที่เข้าเกณฑ์การตัดแต้มใบขับขี่ 4 คะแนน ได้แก่
- แข่งรถในพื้นที่ที่ไม่ได้รับอนุญาต
- ขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยต่อผู้ใช้รถ ใช้ถนนคนอื่น
- เมาแล้วขับ
- ขับรถในขณะเสพยาเสพติด
แม้จะตัดในเรื่อง “ข้อกฎหมาย” ออกไป แต่พฤติกรรมการขับขี่ที่น่าหวาดเสียว ก็ถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ เนื่องจากจะทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชน รถคว่ำ รถตกไหล่ทาง จนทำให้เกิดความเสียหายและสูญเสียตามมา แนะนำให้ขับรถอย่างมีสติ ไม่ประมาท และปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจตามมากวนใจในภายหลัง
คำจำกัดความ
โทษปรับ | โทษทางอาญาฐานหนึ่ง ซึ่งมีข้อดีในแง่ต้นทุนการบริหารจัดการที่ต่ำกว่าโทษจำคุก คุมประพฤติ และกักบริเวณ |
ต้องโทษ | ถูกตัดสินให้ลงโทษในคดีอาญา |
หย่อนความสามารถ | บุคคลที่หย่อนความสามารถเพราะเป็นคนวิกลจริต โดยอาการ วิกลจริตนี้ต้องเป็นถึงขนาดที่ ไม่สามารถจัดกิจการงานของตนเองได้เลย |