หัวข้อที่น่าสนใจ
- ความเชื่อโบราณ คืออะไร ?
- 5 สิ่งของอัปมงคลนำพาโชคร้าย ที่ไม่ควรนำขึ้นรถมีอะไรบ้าง ?
- 1. นาฬิกาตาย
- 2. พวงมาลัยแห้ง
- 3. เหรียญสตางค์
- 4. กระจกร้าว กระจกแตก
- 5. ของใช้คนตาย
- 3 เครื่องรางควรมีติดรถ มีอะไรบ้าง ?
- 1. ซองสีแดงใส่แบงค์ 20 บาท จำนวน 5 ซอง
- 2. พวงมาลัยแม่ย่านาง
- 3. เศียรพ่อแก่เมตตามหานิยม
- กระจกแตก กระจกร้าว ประกันรับเคลมไหม ?
- ประกันชั้นไหน เคลมกระจกแตก กระจกร้าวได้บ้าง ?
หากคุณเป็น “สายมูเตลู” ที่ใช้รถใช้ถนนบ่อย ๆ และไม่อยากพบเจอกับโชคร้าย มิสเตอร์ คุ้มค่า ลิสต์สิ่งของต้องห้าม สิ่งของอัปมงคลตามความเชื่อโบราณที่ไม่ควรนำขึ้นรถ ทั้งความหมายไม่ดี ไม่เป็นมงคลมาบอกต่อ เพื่อให้คุณขับขี่ได้อย่างสบายใจ ไร้ความกังวล จะมีสิ่งของอะไร และมีข้อควรรู้อื่น ๆ อะไรอีกบ้าง ? ตามไปดูพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า
ความเชื่อโบราณ คืออะไร ?
“ความเชื่อ” หรือความเชื่อโบราณ คือ “ความรู้สึกยึดมั่นถือมั่น และศรัทธา” ของมนุษย์ในสิ่งต่าง ๆ ว่าจะบันดาลอะไรให้เราก็ได้ หากทำหรือปฏิบัติตามความเชื่อในทางที่ถูกที่ควร ความสุข ความโชคดีจะเกิดขึ้นตามมา แต่ถ้าหากละเลยคนที่เชื่อในเรื่องนี้อาจคิดว่านำพาทุกข์ร้อน โชคร้ายมาให้
จะเรียกว่า “พลังเหนือธรรมชาติ” เป็นพลังที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ แถมยังมีขอบเขตกว้างขวาง นอกจากจะเชื่อเรื่องวิญญาณแล้ว ยังเชื่อในเรื่องของภูตผี โชคลาง คาถาอาคม ไสยเวทต่าง ๆ รวมถึงปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มนุษย์ยอมรับ เช่น ป่าเขา ต้นไม้ (ต้นโพธิ์ ต้นไทร) เป็นต้น
5 สิ่งของอัปมงคลนำพาโชคร้าย ที่ไม่ควรนำขึ้นรถมีอะไรบ้าง ?
หากพูดถึงสิ่งของที่ช่วยเสริมสิริมงคลสำหรับคนใช้รถ หลายคนคงนึกถึงพระพุทธรูป ผ้ายันต์ หรือของมงคลต่าง ๆ นั้นเป็นเรื่องที่หลายคนรู้กันดีอยู่แล้ว แต่ที่อาจไม่รู้และเผลอนำสิ่งของต้องห้ามขึ้นรถแบบไม่รู้ตัว โดยเฉพาะของอัปมงคลที่จะนำพาโชคร้ายมาให้ (ตามความเชื่อโบราณ) จะมีอะไรบ้าง ? ไปดูกัน
1. นาฬิกาตาย
ตามความเชื่อโบราณเชื่อกันว่า “นาฬิกาเป็นสัญลักษณ์ของอายุขัย การมีชีวิตอยู่” การนำนาฬิกาตายไว้บนรถจะสื่อถึงความไม่เจริญก้าวหน้า การเจ็บไข้ได้ป่วย และการตกทุกข์ได้ยาก นอกจากนี้ยังอาจส่งผลต่อการเดินทาง เช่น กะระยะทางผิดพลาดได้เช่นกัน
2. พวงมาลัยแห้ง
รถยนต์และ “แม่ย่านาง” เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับชาวไทยมายาวนาน เพราะเชื่อว่าจะช่วยปกป้องคุ้มครองรถยนต์ และส่วนใหญ่นิยมบูชาด้วย “พวงมาลัยสด” หากพวงมาลัยแห้งแนะนำให้รีบเปลี่ยนทันที เพราะเป็นสัญลักษณ์ของความอับเฉา ไร้ชีวิตชีวา ไม่สดใส อาจทำให้การเดินทางทุลักทุเลได้
3. เหรียญสตางค์
“เหรียญสตางค์” ที่หลายคนมีติดกระเป๋าไว้ จะเป็นของอัปมงคลนำพาโชคร้ายมาให้ได้ยังไง สงสัยกันใช่ไหมล่ะ ? ตามความเชื่อโบราณจริง ๆ แล้วสามารถเก็บไว้ใช้งานบนรถได้ แต่ควรเก็บไว้ในกล่อง ไม่ควรปล่อยให้กระจัดกระจาย เพราะสื่อถึงความไม่มงคลเก็บทรัพย์ไม่อยู่นั่นเอง
4. กระจกร้าว กระจกแตก
สำหรับกระจกร้าว กระจกแตกถือเป็นของอัปมงคลที่ห้ามนำมาใช้เด็ดขาด ไม่ว่าจะสถานที่ไหน ๆ ก็ตาม เพราะกระจกร้าวตามความเชื่อโบราณ หมายถึงความสัมพันธ์ที่ร้าวฉาน ไม่ปรองดอง และกระทบกระทั่งอย่ารุนแรง
หากนำกระจกแตก กระจกร้าวมาไว้บนรถ อาจทำให้มีปากเสียง ทะเลาะเบาะแว้ง จนนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ ในกรณีที่เป็นกระจกรถยนต์แตกหรือร้าว อาจส่งผลให้การมองเห็นบกพร่อง และเกิดอันตรายตามมาด้วยเช่นกัน
5. ของใช้คนตาย
เชื่อว่าหลายคนเมื่อต้องสูญเสียบุคคลที่รักไป มักเก็บสิ่งของที่พวกเขาเคยใช้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของทั่วไป เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า หรือแม้กระทั่งของใช้ในรถเอาไว้บนรถเอาไว้ดูต่างหน้า แต่การปล่อยวาง ไม่ยึดติดถือทางออกที่ดีที่สุด ในกรณีที่ต้องการให้บุคคลนั้น ๆ คุ้มครอง ให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่าง ๆ พระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะเป็นที่พึ่งทางใจที่ดีกว่ามาก
ขอย้ำอีกครั้งว่าทั้งหมดนี้คือ “ ความเชื่อโบราณ “ และเป็นความเชื่อส่วนบุคคล ใครจะเชื่อและนำมาปรับใช้ด้วยการไม่นำสิ่งของต้องห้ามไว้บนรถ หาใช่เรื่องผิดหรือแปลกอะไร แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องมีสติและระมัดระวังให้มาก ๆ เพียงเท่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในระดับหนึ่งแล้ว
3 เครื่องรางควรมีติดรถ มีอะไรบ้าง ?
หากคุณอยากมี “เครื่องราง” อื่น ๆ ที่คอยปกป้องคุ้มครองตลอดการเดินทาง นอกจากผ้ายันต์ หรือพระพุทธรูป มิสเตอร์ คุ้มค่า ได้รวบรวม 3 เครื่องรางที่ควรมีติดรถมาให้ด้วยเช่นกัน จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย!
1. ซองสีแดงใส่แบงค์ 20 บาท จำนวน 5 ซอง
ถือเป็นหนึ่งในความเชื่อโบราณ ที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน การนำซองสีแดงใส่แบงค์ 20 บาท จำนวน 5 ซองใส่ไว้ในช่องเก็บของในรถยนต์ จะช่วยเสริมสิริมงคลให้แก่เจ้าของรถ ทำให้มีเงินทองเพิ่มพูนทวีมากขึ้น
2. พวงมาลัยแม่ย่านาง
“แม่ย่านาง” ก็เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่กับรถยนต์มายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรือรถโดยสารประจำทาง มักเห็นพวงมาลัยสดแขวนบูชาอยู่เป็นประจำ การบูชาแม่ย่านางจริง ๆ เป็นเรื่องที่คู่กับรถหรือพาหนะทั้งหลาย จุดประสงค์เพื่อให้ช่วยคุ้มครองคนในรถ รวมถึงผู้ขับขี่ให้แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวงนั่นเอง
3. เศียรพ่อแก่เมตตามหานิยม
เป็นอีกหนึ่งสิ่งคงมงคลที่หลาย ๆ คนนิยมนำมาบูชาบนรถ เนื่องจากเชื่อว่าจะช่วยเรื่องเมตตามหานิยม นำความเจริญรุ่งเรือง โชคลาภ และบันดาลพรให้ร่ำรวย เหมือนคำพูดที่ว่า “ลูกพ่อแก่ไม่มีวันตกอับ”
กระจกแตก กระจกร้าว ประกันรับเคลมไหม ?
หลังจากทำความเข้าใจในเรื่องความเชื่อโบราณไปบ้างแล้ว และพอรู้เรื่องราวคร่าว ๆ ว่ากระจกแตก กระจกร้าวเป็นสิ่งไม่ดีอัปมงคล(สำหรับคนที่เชื่อ) ที่ไม่ควรนำขึ้นรถเด็ดขาด แต่ถ้าเป็นกรณีกระจกรถยนต์แตกในระหว่างขับขี่ แบบนี้ในทางโลกคงจะปวดหัวอยู่ไม่น้อย และหลายคนอาจสงสัยตามมา ว่าสามารถเคลมประกันได้หรือไม่หรือต้องแบกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด?
ประกันชั้นไหน เคลมกระจกแตก กระจกร้าวได้บ้าง ?
หากกระจกแตก กระจกร้าวจากการที่หินดีดใส่ สามารถเคลมประกันได้ แต่ต้องเป็นประกันรถยนต์ชั้น 1 เท่านั้น เนื่องจากเป็นอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี หากสามารถแจ้งรายละเอียดต่าง ๆ เช่น วันเวลา สถานที่เกิดเหตุได้อย่างชัดเจน พร้อมรูปถ่ายหรือคลิปกล้องหน้ารถ ก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก ตามเงื่อนไขที่ คปภ.กำหนด
ในกรณีที่กระจกแตก หรือกระจกร้าวอันเนื่องมาจาก “อุบัติเหตุรถชนรถ” สามารถเคลมประกันได้ทุกชั้น เพราะนับว่าเป็น “การเคลมแบบมีคู่กรณี” แต่จะเป็นการเคลมรวมกับความเสียหายของอะไหล่ส่วนอื่น ๆ ไปพร้อมกัน
หากคุณเป็นหนึ่งคนที่ต้องการความคุ้มครองจาก “ประกันภัยรถยนต์” ที่ครอบคลุมทั้งในกรณีกระจกแตก กระจกร้าว รวมถึงกรณีอื่น ๆ มิสเตอร์ คุ้มค่า ยินดีนำเสนอแผนประกันที่ตอบโจทย์ให้คุณอยากหลากหลาย แถมราคาสบายกระเป๋า เข้ามาเช็คราคาประกันรถยนต์ก่อนใครได้แล้ววันนี้ เพื่อความสบายใจตลอดการเดินทาง
ขั้นตอนการเคลมประกัน เมื่อกระจกแตก กระจกร้าวมีอะไรบ้าง ?
สำหรับขั้นตอนการเคลมประกันกรณีกระจกแตก กระจกร้าว บอกไว้ก่อนเลยว่าไม่ยากอย่างที่คิด ผู้เอาประกันสามารถติดต่อเพื่อแจ้งเคลมได้ทันที โดยแบ่งรายละเอียดการเคลมได้ดังนี้
การเคลมกระจกรถยนต์ แบบซ่อมอู่
ก่อนอื่นแนะนำให้สอบถามทางบริษัทประกันให้ดีก่อนว่า กรมธรรม์ที่ซื้อเอาไว้ รวมถึงหลักฐานที่คุณมีอยู่ในมือ สามารถแจ้งเคลมประกันได้หรือไม่ หากคำตอบคือ “เคลมได้” ก็นัดคิวซ่อมกับอู่ในเครือได้เลย
แต่แนะนำว่าควรสอบถามทางอู่ซ่อมให้ดีก่อนว่าใช้กระจกแบบไหน เพราะส่วนใหญ่จะใช้ของเทียบ ไม่ได้เบิกจากศูนย์โดยตรง รวมถึงควรสอบถามไปถึงฟิล์มรถยนต์ที่ต้องการติดด้วย ว่าเบอร์อะไร เพื่อให้เข้าใจตรงกันก่อนนำรถไปใช้บริการ
การเคลมกระจกรถยนต์ แบบซ่อมศูนย์
หากคุณทำประกันแบบซ่อมศูนย์เอาไว้ ขั้นตอนในการแจ้งเคลมประกันจะเหมือนซ่อมอู่ แตกต่างแค่เพียงตัวกระจก เพราะทางศูนย์จะเบิกมาจากแบรนด์รถยนต์โดยตรง ช่วยให้คุณหมดกังวลเรื่องยี่ห้อกระจก และคุณภาพได้เป็นปลิดทิ้ง นอกจากนี้ยังแตกต่างในเรื่องของ “ระยะเวลา” ที่อาจนานกว่าซ่อมอู่ เนื่องจากต้องทำเรื่องเบิกตามคิวของผู้ใช้บริการนั่นเอง
นอกจากจะให้ความสำคัญในเรื่องสิ่งของต้องห้าม ที่ห้ามนำขึ้นรถแล้ว การดูแลรักษารถยนต์ ไม่ปล่อยให้กระจกแตกหรือร้าวเป็นเวลานาน ก็ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ดีมาก ๆ เช่นกัน เพราะฉะนั้นหากมีชิ้นส่วนไหนได้รับความเสียหาย อย่าได้คิดละเลยเด็ดขาด
ขอย้ำอีกครั้ง ว่าการที่คุณจะเชื่อในเรื่องสิ่งของต้องห้าม ที่ห้ามนำขึ้นรถตามความเชื่อโบราณ หรือเครื่องรางที่ช่วยปกป้อง ช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัย ไม่ใช่เรื่องที่ผิดหรือแปลกอะไรเลย แต่ถึงอย่างนั้นควรขับรถอย่างมีสติ ไม่ประมาท เมื่อชิ้นส่วนใด ๆ ก็ตามของรถยนต์ได้รับความเสียหาย ก็ควรแก้ไข ซ่อมหรือเปลี่ยนทันที เพื่อป้องกันปัญหาอื่น ๆ ที่อาจตามมาในอนาคต
คำจำกัดความ
มูเตลู | เรื่องของความเชื่อ ไสยศาสตร์ โหราศาสตร์ การดูไพ่ การเสริมดวงและโชคชะตา รวมถึงการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ |
กระจัดกระจาย | ขจัดขจาย, เรี่ยรายไป, ซ่านเซ็นไป, แตกกันไปคนละทิศละทาง, ไม่รวมอยู่ในพวกเดียวกัน |
แคล้วคลาด | รอดไป, คลาดไป, พ้นไป, ไม่ประสบ |
แม่ย่านาง | สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนไทยเคารพนับถือว่าคอยคุ้มครองปกป้องกันภัย ให้แก่พาหนะ |
ทุลักทุเล | ที่เป็นไปอย่างขลุกขลัก ติดขัดไม่สะดวก ไม่เป็นระเบียบ |
เครื่องราง | สิ่งที่เชื่อว่าสามารถป้องกันอันตราย ฟันแทงไม่เข้า เช่น เหล็กไหล ตะกรุด |