หน้าฝนมาแล้ว(แม้จะยังรู้สึกร้อนเหมือนเดิมก็ตาม) อย่าลืมว่าฝนตกถนนลื่น อีกหนึ่งประเด็นที่ควรเพิ่มความระมัดระวังในการใช้รถ เพื่อการขับรถปลอดภัยให้มากขึ้นของคุณ เพราะการขับรถขณะฝนตกเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุตามมามากมาย นอกจากนี้ยังอาจสร้างปัญหาให้กับรถในภายหลังได้อีกด้วย MrKumka จึงได้ลิสต์เทคนิคการขับรถอย่างปลอดภัย พร้อมวิธีดูแลรถมาให้แล้ว ไปทำความเข้าใจพร้อม ๆ กันได้เลย!
5 ไอเท็มป้องกันฝน ช่วยขับรถปลอดภัยมีอะไรบ้าง ?
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการขับรถขณะฝนตกเป็นอะไรที่ค่อนข้างลำบาก และมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นระหว่างทางได้หลายอย่าง คงจะดีไม่ใช่น้อยหากคุณมีไอเท็มดี ๆ ที่ช่วยให้ขับรถปลอดภัยมากขึ้น และเราก็ได้ลิสต์มาให้เรียบร้อยแล้ว ดังนี้
1. ผ้าเช็ดกระจกคุณภาพดี
หลายคนมองว่าผ้าเช็ดกระจกแบบไหนก็เหมือนกัน ขอแค่เช็ดน้ำฝนได้ก็พอแล้ว แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่แบบนั้นเลย ยิ่งการนำผ้าทั่ว ๆ ไปมาเช็ดกระจกในช่วงหน้าฝน มันจะยิ่งทำให้กระจกมัวหนักกว่าเดิม รวมถึงทำให้พื้นผิวกระจกได้รับความเสียหายไปด้วย
แนะนำว่าให้เปลี่ยนไปใช้ผ้าเช็ดกระจกโดยเฉพาะจะดีกว่า เพราะนอกจากจะไม่ทิ้งคราบสกปรกไว้บนกระจกรถแล้ว ยังช่วยถนอมกระจกไม่ให้เป็นรอยได้อีกด้วย บอกเลยว่าเป็นอีกหนึ่งไอเท็มที่ควรมีติดรถสุด ๆ
2. ที่ปัดน้ำฝนคุณภาพดี
หากต้องขับรถขณะฝนตก ไอเท็มเด็ดที่ไม่นึกถึงคงไม่ได้คือ “ที่ปัดน้ำฝน” และจะต้องเป็นที่ปัดน้ำฝนที่มีคุณภาพสูงด้วย เพราะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันฝน โดยเฉพาะวันที่ฝนตกหนัก ๆ ได้ดีมาก ๆ นอกจากนี้ยังช่วยลดคราบน้ำและฝุ่นละอองบนกระจกได้อีกด้วย
แนะนำว่าควรเช็คที่ปัดน้ำฝัน โดยเฉพาะในส่วนของ “อายุการใช้งาน” ว่าใช้เดิน 6-12 เดือนแล้วหรือยัง หากเกินแล้วควรเปลี่ยนใหม่ทันที เพราะยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไหร่มันยิ่งเสื่อมสภาพ หักหรือหลุดระหว่างจำเป็นต้องใช้จะแย่เอา
3. น้ำยาเคลือบกระจกกันน้ำ
น้ำยาเคลือบกระจกกันน้ำถือเป็นไอเท็มป้องกันฝนที่ควรมีติดรถ เพราะจะช่วยให้น้ำฝนไม่เกาะติดบนกระจกเมื่อขับรถขณะฝนตก โดยฝนที่ตกลงมาจะกระจายหายไปอย่างรวดเร็ว ช่วยให้ทัศนวิสัยในการขับรถดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกระจกหน้า กระจกหลัง หรือกระจกไหน ๆ ก็ใช้ได้หมด
4. เครื่องดูดน้ำแบบพกพา
เป็นเครื่องที่ช่วยดูดน้ำออกจากตัวรถในกรณีที่ฝน หรือน้ำจากภายนอกรั่วไหลเข้ามาภายในห้องโดยสาร มันจะช่วยให้คุณสามารถดูดน้ำออกจากรถได้อย่างทันการ ก่อนที่จะสร้างความเสียหายอื่น ๆ ให้กับห้องโดยสารและอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในรถ
5. ประกันรถยนต์
หนึ่งในไอเท็มที่ควรมีติดรถมาก ๆ ก็คือประกันรถยนต์ เพราะจะช่วยเพิ่มความอุ่นใจเมื่อต้องขับรถขณะฝนตกได้ดีมาก ๆ ยิ่งประกันชั้น 1 ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุม สมกับราคาประกันชั้น 1 ที่จ่ายทุก ๆ ปี เพราะไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุเล็กน้อย อุบัติเหตุใหญ่ ๆ มีหรือไม่มีคู่กรณี ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องอะไรทั้งนั้น
แนะนำว่าก่อนตัดสินใจซื้อประกันรถยนต์ ควรเปรียบเทียบประกันรถยนต์ให้ดี ว่าราคาประกันชั้น 1 ที่ต้องจ่ายทุก ๆ ปี คุ้มค่ากับความคุ้มครองที่ได้รับแค่ไหน คุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุเมื่อขับรถขณะฝนตกยังไงบ้าง เพื่อให้คุณได้รับความคุ้มครองที่ตรงใจ แต่ถ้าไม่รู้ว่าจะต้องเลือกซื้อกับที่ไหน MrKumka ยินดีนำเสนอแผนประกันดีที่สุดให้คุณ ราคาสบายกระเป๋า แถมปรับแผนความคุ้มครองได้อย่างอิสระ เช็คเบี้ยประกันและความคุ้มครองได้ก่อนใคร
ขับรถขณะฝนตกประกันคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นยังไง ?
เมื่อขับรถในช่วงหน้าฝน แล้วปรากฏว่าน้ำท่วมจนรถยนต์ได้รับความเสียหาย ประกันรถยนต์โดยเฉพาะราคาประกันชั้น 1 ที่ค่อนข้างสูง จะให้ความคุ้มครองดังนี้
- กรณีสูญเสียโดยสิ้นเชิง หากคุณไม่ได้ขับรถขณะฝนตก แต่บังเอิญจอดรถไว้เฉย ๆ แล้วปรากฏว่าน้ำท่วมมิดคัน หรือท่วมสูงเกินคอนโซลหน้า ทำให้ห้องโดยสารได้รับความเสียหาย ประกันประเมินว่าซ่อมแล้วไม่คุ้ม บริษัทฯ จะจ่าย 70-80% ของทุนประกันหรือมูลค่ารถยนต์
- กรณีเสียหายบางส่วน หากประเมินแล้วพบว่าสามารถซ่อมแซมเพื่อนำกลับมาใช้ได้ บริษัทประกันจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด
เทคนิคขับรถปลอดภัยช่วงหน้าฝน มีอะไรบ้าง ?
เทคนิคการขับรถอย่างปลอดภัยเมื่อต้องขับรถขณะฝนตก เป็นหนึ่งในทริคสำคัญที่ผู้ขับขี่ทุกคนควรใส่ใจให้มาก ๆ เพื่อเลี่ยงการเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันแบบไม่ทันตั้งตัว แต่จะต้องขับรถยังไงให้ปลอดภัย ไปดูกัน!
1. เปิดที่ปัดน้ำฝนให้แรงพอดี
จำไว้ว่าทัศนวิสัยสำคัญสุดเมื่อคุณขับขี่ กระจกบังลมหน้ารถเปรียบเหมือน “ดวงตา” ของเรา ดังนั้นควรเปิดที่ปัดน้ำฝนให้พอดี สัมพันธ์กับความแรงและปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา เพื่อให้กระจกสะอาด และช่วยให้คุณมองเห็นเส้นทางได้ชัดมากขึ้น
2. เปิดไฟหน้าและไฟท้ายรถ
หากต้องขับรถขณะฝนตกหนัก ๆ และอยากขับรถปลอดภัยตลอดการเดินทาง โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืนที่ทำให้ทัศนวิสัยแย่ลงหลายเท่า แนะนำให้เปิดไฟหน้าและไฟท้าย เพราะนอกจากจะทำให้คุณมองเห็นรถคันอื่น หรือรถคันอื่นมองเห็นคุณแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุได้อีกด้วย
3. ควบคุมความเร็วในการขับรถ
การขับรถขณะฝนตกถนนลื่นด้วยความเร็วสูง ไม่ระมัดระวัง เพราะอยากถึงจุดหมายปลายทางเร็ว ๆ แบบนี้เป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่อาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้น เนื่องจากรถยนต์มีโอกาสเสียการควบคุม ลื่นไถลได้ง่าย เพื่อการขับรถปลอดภัยควรรักษาความเร็วให้อยู่ที่ประมาณ 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง รวมถึงปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดด้วย
4. หลีกเลี่ยงบริเวณน้ำท่วมขัง
ในช่วงหน้าฝนหลาย ๆ พื้นที่อาจมีน้ำท่วมขัง แนะนำให้หลีกเลี่ยงหรือลดความเร็วในบริเวณดังกล่าว เพราะถ้าหากน้ำกระเด็นเข้าเครื่องยนต์ อาจทำให้เกิดความเสียหายตามมาได้
5. รักษาระยะห่างกับรถคันหน้าให้พอดี
ขอย้ำอีกครั้งว่าการขับรถขณะฝนตกถนนจะลื่นมาก ๆ แนะนำให้เว้นระยะห่างกับรถคันหน้ามากกว่าปกติ 2 เท่า เพื่อเพิ่มระยะเบรกของเรา ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินจะได้หยุดรถได้ทัน แถมยังช่วยลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุได้อีกด้วย
ดูแลรถหลังลุยฝนยังไง ให้ไม่สร้างปัญหาในภายหลัง ?
นอกจากจะต้องเพิ่มความระมัดระวัง ขับรถปลอดภัยเมื่อขับรถขณะฝนตกแล้ว การดูแลรถหลังลุยฝนก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ควรใส่ใจไม่แพ้กัน เพราะหากละเลยอาจทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหายตามมาได้ ถ้าอย่างนั้นไปดูวิธีดูแลรถกันเลยดีกว่า
1. อย่าคิดว่าฝนช่วยล้างรถ
อย่าคิดว่า “ฝนช่วยล้างรถ” เด็ดขาด เพราะน้ำฝนไม่ได้สะอาดขนาดนั้น แถมยังมีเศษดิน หิน ทรายปะปนมาด้วย หากไม่ทำความสะอาดทันที จะทำให้คราบสกปรกต่าง ๆ แห้งติดรถ ทำให้สีรถเสื่อมสภาพเร็วขึ้น
2. ใช้กระดาษวางรองบริเวณพื้นรถ
หากเบาะที่นั่งหรือพื้นรถเปียกน้ำ อาจกลายเป็นจุดสะสมเชื้อราได้ แนะนำให้วางกระดาษที่พื้นรถก่อน จะเป็นยางรองหรือหนังสือพิมพ์ก็ได้ ส่วนเบาะผ้าควรหาผ้าพลาสติกติดรถไว้เลย เพื่อป้องกันความชื้นซึ่งเป็นสาเหตุของเชื้อรา
3. ตรวจสอบภายนอกรถ
โดยเฉพาะยางปัดน้ำฝน ว่ามีเศษฝุ่น หิน หรือเศษอื่น ๆ กระเด็นมากับน้ำฝนหรือไม่ หากมีแนะนำให้ทำความสะอาดให้ดี เพื่อให้ที่ปัดน้ำฝนสะอาดอยู่เสมอ และมีสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา
4. ตรวจสอบระบบภายในเครื่องยนต์
ไม่ว่าจะเป็นตัวกรองอากาศ, น้ำมันเกียร์, น้ำมันเครื่อง, ไดสตาร์ท, ถังน้ำมัน และสายไฟ ว่ามีส่วนไหนที่ได้รับความเสียหายหรือไม่ เพราะถ้าหากไม่เช็กให้ดีอาจส่งผลต่อการขับรถปลอดภัยในอนาคตได้
5 ร. คืออะไร เสริมการขับขี่อย่างปลอดภัยได้แค่ไหน ?
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบันเกิดอุบัติเหตุมากขึ้นทุกวัน เนื่องจากมีคนขับรถกันมากขึ้น แต่การขับรถได้ไม่ได้แปลว่าขับรถดี หลายคนยัง “ขาดจิตสำนึก” ด้านการขับขี่อย่างปลอดภัยอยู่พอสมควร เราจึงลิสต์ “หลัก 5 ร.” มาให้เข้าใจเพื่อให้ขับรถปลอดภัยมากขึ้น มีอะไรบ้างไปชมกัน
1. รอบรู้เรื่องรถ
การเป็นคนขับรถหรือนักขับที่ดีจำเป็นต้องรอบรู้เรื่องรถ ด้วยการหมั่นตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนออกเดินทาง หรือก่อนขับรถขณะฝนตก ซึ่งอุปกรณ์สำคัญที่ควรตรวจเช็กอยู่เสมอ
2. รอบรู้เรื่องเส้นทาง
แน่นอนว่าถนนแต่ละเส้นในประเทศไทยแตกต่างกัน ด้วยสภาพภูมิประเทศและสภาพแวดล้อมที่ต่างกันออกไป หากคุณจำเป็นต้องขับรถไปยังเส้นทางที่ไม่คุ้นเคย ควรศึกษาเส้นทางจากแผนที่คู่มือการท่องเที่ยวให้ดี
หรือจะสอบถามจากผู้รู้ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจท้องที่, กรมทางหลวง ฯลฯ นอกจากนี้อย่าลืมสังเกตและปฏิบัติตามป้าย และเครื่องหมายจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อการขับรถปลอดภัยตลอดการเดินทาง
3. รอบรู้เรื่องวิธีขับรถ
ต้องยอมรับว่าการขับรถเป็น “ศิลปะ” อย่างหนึ่ง ดังนั้นการ “ขับรถเป็น” อาจไม่เพียงพอ แต่ผู้ขับขี่จำเป็นต้องมีเทคนิคการขับรถอย่างปลอดภัย และต้องรู้จักวิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีเช่นกัน จึงจะสามารถพาตัวเองหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุบนท้องถนนได้
4. รอบรู้เรื่องกฎจราจร
“กฎจราจร” มีไว้เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนปฏิบัติตาม และปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน ดังนั้นควรรู้กฎจราจรพื้นฐานต่าง ๆ เอาไว้ด้วย เพื่อการขับขี่อย่างปลอดภัย และความสะดวกรวดเร็วในการเดินทาง
5. รอบรู้เรื่องมารยาทในการขับรถ
“มารยาทในการขับรถ” ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ โดยเฉพาะเมื่อต้องขับรถร่วมถนนกับผู้อื่น ผู้ขับที่ดีควรมีความอะลุ่มอล่วย เห็นใจ และให้อภัยต่อความผิดพลาดของผู้อื่น รวมถึงหลีกเลี่ยงการแสดงมารยาทที่ไม่สมควร
หากคุณมีความจำเป็นต้องขับรถขณะฝนตก จำเป็นต้องให้ความใส่ใจในเรื่องขับรถปลอดภัยให้มาก ๆ ควรให้ความสำคัญกับเทคนิคการขับรถอย่างปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงเช็คประกันรถยนต์ให้ดีว่ายังอยู่ในระยะคุ้มครองไหม? หากใกล้หมดให้มองหาประกันที่ให้ความคุ้มครองที่ตอบโจทย์ โดยเฉพาะราคาประกันชั้น 1 ที่ค่อนข้างสูง แต่ถ้ามันคุ้มครองได้ดี ช่วยให้อุ่นใจตลอดการเดินทาง ก็เป็นค่าใช้จ่ายที่ควรควักจ่ายสุด ๆ
คำจำกัดความ
จิตสำนึก | ภาวะที่จิตตื่น และรู้ตัว สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้ |
มารยาท | กิริยาวาจาที่ถือว่าสุภาพเรียบร้อยถูกกาลเทศะ, มรรยาท |
ระยะเบรก | ระยะที่รถต้องใช้ในการหยุดรถ เริ่มนับตั้งแต่ตอนที่ผู้ขับแตะเบรกจนถึงจุดที่รถหยุดนิ่ง |